น้ำมัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

การดำรงชีวิตอย่างปราศจากโรคภัยเป็นความต้องการสูงสุดของมนุษย์ แต่ผู้คนต้องการมากกว่านั้น...นั่นก็คือการมีชีวิตอย่างยืนยาวเพื่ออยู่กับคนที่เรารักให้นานที่สุด การชะลอความชราภาพและยืดอายุขัยจึงเป็นศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบันได้ค้นพบว่ามีสารอาหารที่มีผลในการช่วยชะลอวัยและยืดอายุขัยได้ นั่นก็คือ น้ำมันปลา ซึ่งอุดมด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่ม “โอเมก้า-3”

Show

น้ำมันปลาคือสารอาหารกลุ่มไตรกลีเซอไรด์  ซึ่งสกัดได้จากส่วนต่าง ๆ (ยกเว้นจากตับ) ของปลาทะเลบางชนิด สารสำคัญในน้ำมันปลาที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่ม “โอเมก้า-3” น้ำมันปลาที่มีสภาพเป็นน้ำมันบริสุทธิ์หรือเป็นไตรกลีเซอไรด์บริสุทธิ์จะมีองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่มโอเมก้า-3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด กรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า-3 ประกอบด้วยกรดไขมันหลัก 2 ตัว คือ “ดีเอชเอ” (DHA) และ “อีพีเอ” (EPA) ซึ่งส่งผลต่อกลไกการทำปฏิกิริยาระดับเมแทบอลิซึมที่เกี่ยวพันกับดีเอ็นเอ

บทบาทของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีต่อกลไกการยืดอายุขัยและชะลอความชราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory)

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมถอยลง นำไปสู่การเกิดภาวะอักเสบในเซลล์และอวัยวะต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอักเสบ ภูมิต้านทาน และความชราภาพเช่นนี้เองทำให้เกิดคำใหม่เรียกว่า Inflammaging ซึ่งหมายถึงภาวะอักเสบจากความเสื่อมถอยของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากความชราภาพ นำไปสู่การสิ้นอายุขัยของเซลล์ จึงกล่าวได้ว่าความชราภาพคือภาวะอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั่นเอง การลดภาวะอักเสบจึงเป็นกลไกสำคัญในการยืดอายุขัยและลดความชราภาพ มีข้อมูลวิจัยยืนยันว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 จากปลา ทั้งชนิด EPA และ DHA สามารถลดภาวะอักเสบในเซลล์ผ่านกลไกการเพิ่มสารต้านอาการอักเสบ (Anti-inflammation) ที่สำคัญๆ หลายชนิด จึงส่งผลให้ความชราภาพถูกชะลอให้ช้าลงได้

2. เติมอารมณ์เบิกบาน (Good mind)

กรดไขมันโอเมก้า-3 ได้รับสมญานามอย่างไม่เป็นทางการว่า Happy fat หรือไขมันก่อสุข เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 ทั้งชนิด EPA และ DHA สามารถออกฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าได้ โดยเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางตัวที่ทำลายเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารกึ่งฮอร์โมนที่สร้างขึ้นในสมอง การลดลงของสารเซโรโทนินก่อปัญหาในผู้ป่วยทางสมองหลายกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยสมาธิสั้น (ADHD, Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ไบโพลาร์ จิตเภท และผู้ป่วยทางอารมณ์บางกลุ่ม เช่น ภาวะซึมเศร้า ดังนั้น อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าอันเป็นผลจากการขาดสารเซโรโทนิน นั่นคือการได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปริมาณไม่เพียงพอนั่นเอง ที่สำคัญ ภาวะซึมเศร้าตลอดจนโรคทางสมองอื่นๆ ยังเร่งความชราภาพให้เกิดมากขึ้นด้วย

3. ต่ออายุขัยให้เทโลเมียร์ (Elongated Telomere)

เทโลเมียร์คือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมแต่ละแท่ง ทำหน้าที่สำคัญคือกำหนดอายุขัยของเซลล์ ทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว เทโลเมียร์จะสั้นลง ด้วยเหตุนี้เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่วัยชรา เทโลเมียร์ที่ผ่านการแบ่งตัวหลายครั้งจึงสั้นลงจนไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก เป็นผลให้อายุขัยจบสิ้นลง ความยาวของเทโลเมียร์จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสื่อมสภาพของเซลล์ การยืดอายุขัยอาจทำได้โดยทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น หรือโดยชะลอการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ แม้นักวิทยาศาสตร์จะยังไม่เข้าใจกลไกนี้ดีนัก แต่ก็รู้ว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ออกฤทธิ์ช่วยชะลอการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ได้

นอกเหนือจากน้ำมันปลาที่มีสารที่ให้ผลดีต่อการชะลอความชราภาพและยืดอายุขัยผ่านกลไกต่างๆ แล้ว ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยืดอายุขัยและชะลอความชราดังนี้

สารสกัดจากกระเทียม (Garlic extract)

สารไฟโตนิวเทรียนท์สำคัญในกระเทียม ได้แก่ S-1-Propenyl-l-cysteine (S1PC) และ S-Allyl-L-cysteine (SAC) สาร 2 ชนิดนี้สามารถพบได้ในกระเทียมดิบในปริมาณต่ำ มีเพียงวิธีบ่มสกัดเท่านั้นจึงจะทำให้ได้ปริมาณสารที่มากพอที่จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดความดันโลหิต และมีผลในการชะลอวัยได้ นอกจากนี้ สารสกัดจากกระเทียมยังช่วยเสริมการทำหน้างานของสมองและเซลล์ประสาท จึงช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์และโรคทางระบบประสาทอื่นที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

โคเอนไซม์คิว 10 (CoQ10)

การพัฒนาการด้านเวชศาสตร์ไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial medicine) โดยพบว่าไมโตคอนเดรียเป็นอวัยวะย่อยภายในเซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายพลังงานให้กับเซลล์ กลไกการสลายพลังงานในไมโตคอนเดรียทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้น และหากควบคุมได้ไม่ดีอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาต่างๆ ในไมโตคอนเดรียอาจหลุดออกมา นำไปสู่การเร่งความชราภาพและลดอายุขัยของเซลล์ได้ ดังนั้น นักโภชนาการยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับโคเอนไซม์คิว 10 มากขึ้นโดยเชื่อว่าสามารถลดความบกพร่องของไมโตคอนเดรียซึ่งนำไปสู่การชะลอความชราภาพลงได้

วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซีเป็นสารเกี่ยวข้องกับสารพันธุกรรม จึงช่วยป้องกันโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้ เช่น อัลไซเมอร์ และโรคทางระบบประสาทและสมองอื่นๆ ความเข้าใจที่มากขึ้นต่อวิตามินตัวนี้อาจนำไปสู่วิทยาการใหม่ที่ช่วยค้นพบวิธีการชะลอการลดความยาวของเทโลเมียร์ รวมถึงวิทยาการทางด้าน Inflammaging และอื่นๆ ข้อควรระวังในการใช้วิตามินซีคืออย่าให้ปริมาณมากเกินไปจนกระทั่งสร้างปัญหาออกซิเดชัน แทนที่จะต้านออกซิเดชัน

น้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ชื่อคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วทั้งสองอย่างนั้นไม่เหมือนกัน โดยน้ำมันปลาได้จากการสกัดจากส่วนต่างๆ ของปลาทะเล เช่น หนัง หรือหางปลา ในขณะที่น้ำมันตับปลาส่วนใหญ่ได้จากการสกัดจากตับของปลาทะเล แล้วการกินน้ำมันปลาช่วยอะไรบ้าง กินตอนไหน และน้ำมันปลากินวันละกี่มิลลิกรัม รวมถึงข้อควรระวังในการกินมีอะไรบ้าง บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยกัน

น้ำมัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

น้ำมันปลา vs น้ำมันตับปลา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

น้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นสารสกัดที่ได้จากส่วนหนัง เนื้อ หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึก ส่วนน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) เป็นสารสกัดที่ได้จากส่วนตับของปลาทะเล โดยความเหมือนและความต่างของทั้งคู่ มีดังนี้

  • ความเหมือน ทั้งน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาจะมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง กรดไขมันโอเมก้า 3 (OmegaEicosapentaenoic Acid (EPA)) จึงช่วยในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันนอกจากนี้ ยังมี Docosahexaenoic Acid (DHA) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง และช่วยเสริมเรื่องระบบการเรียนรู้ได้

  • ความแตกต่าง ภายในน้ำมันตับปลาจะมีปริมาณของวิตามินเอ และวิตามินดีที่สูง ปัจจุบัน จึงมีคำเตือนเกี่ยวกับปริมาณที่นำไปใช้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้9 ส่วนน้ำมันปลา ในขณะที่น้ำมันปลา มีความปลอดภัยกว่าเมื่อบริโภคไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน7

น้ำมัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

ประโยชน์ของน้ำมันปลามีอะไรบ้าง? กินแล้วช่วยเรื่องอะไร

น้ำมันปลามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สำคัญอย่าง DHA และ EPA ในปริมาณที่สูง ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ การกินน้ำมันปลาเสริมจากอาหารมื้อหลักจึงช่วยให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน โดยสามารถจำแนกประโยชน์ของน้ำมันปลาที่มีต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ดังนี้

1. การทำงานของสมอง

กรดไขมัน DHA ที่มีอยู่ในน้ำมันปลาเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันพื้นฐานที่พบได้ในเซลล์สมองมากถึง 40% จากงานวิจัยพบว่าระดับกรดไขมัน DHA ที่ลดลงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้ อีกทั้งยังมีการศึกษาพบว่าความสมดุลของกรดไขมันมีผลต่อภาวะซึมเศร้า โดยผู้ที่มีระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำกว่าปกติ และมีโอเมก้า-6 สูง มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้รุนแรงมากกว่า

รวมถึงมีงานวิจัยกล่าวว่าการกินน้ำมันปลามีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้นในผู้มีภาวะถดถอยทางสมอง ทั้งนี้อาจจะสามารถช่วยได้มากเมื่อเริ่มกินในช่วงแรกที่การทำงานของสมองลดลง1

2. สุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจ

โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ โดยผลการวิจัยพบว่าการกินน้ำมันปลาหรือปลาเป็นประจำจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โดยน้ำมันปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจในด้านต่างๆ ดังนี้2

  • ลดโอกาสการเกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้ 15–30%

  • เพิ่มระดับคอเรสเตอรอลชนิดดี (HDL) และอาจลดระดับคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)

  • ลดความดันในเลือด ในผู้ที่มีความดันเลือดสูง

  • ช่วยในการไหลเวียนของเลือด จึงลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • ลดโอกาสการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน เนื่องจากช่วยยับยั้งการจับตัวกันของเกล็ดเลือดและลดภาวะการอักเสบ

3. สุขภาพของดวงตา

กรดไขมัน DHA นอกจากจะพบได้มากในสมองแล้ว ยังพบได้มากในจอประสาทตาด้วย ซึ่งมีมากถึง 60% ของกรดไขมันในประสาทตา โดยมีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับ Omega-3 ไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อโรคทางตามากขึ้น เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งการกินน้ำมันปลาในปริมาณที่สูงเป็นเวลา 19 สัปดาห์ สามารถจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุมีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้3

4. ลดภาวะอักเสบ

น้ำมันปลาสามารถต้านการอักเสบ ซึ่งการอักเสบเรื้อรังมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และโรคหัวใจ รวมถึงช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ข้อฝืด ข้อเสื่อม และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ด้วย จากงานวิจัยหลายงานพบว่า DHA เป็นกรดไขมันสำคัญที่สามารถต้านการอักเสบได้ โดยลดระดับไซโตไคน์ ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจลดการอักเสบของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นหลังการออกกำลังกายได้ด้วย

5. สุขภาพผิว

ผิวหนังของคนเรานั้นมี Omega-3 อยู่เป็นจำนวนมาก แต่สุขภาพผิวจะค่อยๆ เสื่อมถอยลงเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำมันปลาประกอบไปด้วย DHA และ EPA ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ น้ำมันปลาจึงช่วยลดการอักเสบของผิวหนังและเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง

โดยจากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่กินน้ำมันปลาเป็นเวลา 60 วัน มีความชุ่มชื่นของผิวหนังเพิ่มขึ้น 30% และมีงานวิจัยพบว่าการกินน้ำมันปลาที่มีกรดไขมัน EPA ปริมาณตั้งแต่ 1-14 กรัม และกรดไขมัน DHA ปริมาณตั้งแต่ 0-9 กรัม ทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน ช่วยให้อาการของโรคสะเก็ดเงินซึ่งเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังดีขึ้น และช่วยลดการแห้งแตกของผิวหนัง4

6. ช่วยบรรเทาอาการหรือลดความเสี่ยงการเกิดโรค

ในน้ำมันปลามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในกลุ่ม Omega-3 ที่สำคัญอย่าง DHA และ EPA ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากมาย2 ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันปลามีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

  • โรคความดันโลหิตสูง ช่วยให้ความดันลดลงในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

  • โรคอัลไซเมอร์ กรดไขมันชนิด DHA ช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้ โดยเพิ่มสารที่ช่วยลดการสร้างเส้นใยที่ทำลายใยประสาทส่วนความจำ

  • ภาวะซึมเศร้า โอเมก้า-3 ช่วยปรับสมดุลของกรดไขมันในร่างกาย ทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงน้อยลง

  • โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โอเมก้า-3 โดยเฉพาะกรดไขมัน DHA สามารถต้านการอักเสบได้ โดยทำให้ระดับไซโตไคน์ (Cytokine) ลดลง

  • โรคเบาหวาน กรดไขมัน EPA มีผลช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

  • โรคไมเกรน กรดไขมัน EPA และ DHA ที่พบมากในปลาสามารถช่วยลดอาการและความถี่ในการปวดหัวไมเกรน

  • โรคหอบหืด ในน้ำมันปลามี โอเมก้า-3 ที่เมื่อได้รับมากเพียงพอ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จะช่วยลดการอักเสบและอาการหอบหืด โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก

  • โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน กรดไขมัน EPA และ DHA ช่วยให้ผิวหนังอักเสบและแห้งแตกอาการดีขึ้น

น้ำมันปลา
ดีต่อสมองและหัวใจ

น้ำมัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

ข้อควรรู้ในการกินน้ำมันปลา

การกินน้ำมันปลาเพื่อช่วยทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างเพียงพอ ควรคำนึงถึงปริมาณที่ต้องกินต่อวัน ช่วงเวลาที่ควรกิน เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และสิ่งที่ไม่ควรกินร่วมกันเพราะอาจเกิดอันตรายได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ควรกินน้ำมันปลาวันละเท่าไหร่?

แม้ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุปริมาณ DHA และ EPA ที่ร่างกายควรได้รับต่อวันไว้อย่างชัดเจน แต่องค์กรด้านสุขภาพส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่า วัยผู้ใหญ่ควรได้รับ DHA และ EPA ประมาณ 250-500 มิลลิกรับต่อวัน โดยในส่วนของกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha-linolenic Acid) ที่ผู้ชายควรได้รับต่อวันจะอยู่ที่ 1.6 กรัมต่อวัน และผู้หญิงอยู่ที่ 1.1 กรัมต่อวัน6

ดังนั้น ในการบริโภคน้ำมันปลา ควรบริโภคไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการตกเลือด หรืออาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ตามมาได้ ทั้งนี้ การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลากับมื้ออาหารสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการเหล่านี้ได้7

กินน้ำมันปลาตอนไหนดี?

น้ำมันปลา หรือ Fish Oil ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังมื้ออาหาร เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ดี และช่วยลดอาการข้างเคียง เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ เรอ หรือมีกลิ่นปาก ที่สำคัญควรกินอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลที่ดี และเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยช่วงที่แนะนำให้กินคือพร้อมมื้ออาหารจะดีที่สุด8

สิ่งที่ไม่ควรกินร่วมกับน้ำมันปลา

การกินน้ำมันปลานั้น ต้องกินอย่างระมัดระวัง ไม่ควรกินร่วมกับอาหาร ยา หรืออาหารเสริมบางชนิด เพราะอาจเป็นอันตรายกับร่างกายได้ เช่น

  • น้ำมันตับปลา การกินร่วมกันอาจทำให้ได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 มากเกินไป จนเกิดผลข้างเคียง

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือโคลพิโดเกล เมื่อกินพร้อมกันอาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า เสี่ยงต่อการเลือดออกแล้วหยุดช้า

  • อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เพราะการกินน้ำมันปลาในปริมาณที่มากร่วมกับอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง จะส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายยิ่งสูงจนเกินไป จนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

น้ำมัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

น้ำมันปลาเหมาะกับใคร?

น้ำมันปลานั้นมีโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์จึงเหมาะกับคนหลายกลุ่ม เช่น

  • ผู้ที่รับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้อาจขาดกรดไขมันที่จำเป็น

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

  • ผู้ที่ชอบกินอาหารไขมันสูง หรือมีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง

  • ผู้ที่มีปัญหาปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพทั่วไป รวมถึงผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะการแข็งตัวของเลือด

ผู้ที่ต้องระวังในการกินน้ำมันปลา เพราะอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เช่น

  • ผู้ที่แพ้อาหารทะเล แพ้ปลา หรือแพ้สารที่ใช้ในการผลิต จึงควรอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์ก่อนรับประทานเสมอ

  • ผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือโคลพิโดเกล เป็นต้น

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการแข็งตัวของเลือด เลือดหยุดไหลได้ยาก หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร

  • ผู้ที่กำลังจะต้องเข้ารับการผ่าตัดในอีกไม่นานนี้

น้ำมันปลา
ดีต่อสมองและหัวใจ

น้ำมันปลาช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และความดันเลือดในผู้ที่มีค่าสูง ช่วยต้านการอักเสบ ลดการแห้งแตกของผิวหนัง และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคสะเก็ดเงิน ผู้ที่ต้องการกินน้ำมันปลาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรอ่านฉลากอย่างละเอียดและทำความเข้าใจก่อน ระวังการกินในปริมาณมากจนเกินไป และไม่กินร่วมกับน้ำมันตับปลา ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ถ้าหากมีโรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วย

น้ํามันปลา แอมเวย์ช่วยเรื่องอะไร

Amway น้ำมันปลา Fish Oil Nutrilite น้ำมันปลา บำรุงระบบประสาทและสมอง ลดความดัน ชะลอวัย ต้านการอักเสบ ลดคอเลสเตอรอล บรรจุ 90 แคปซูล ช็อปไทย

น้ำมันปลาแอมเวย์ทำจากปลาอะไร

ส่วนประกอบสำคัญใน 1 เม็ด: น้ำมันจากปลาแซลมอนและปลาอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง 525 มก. (69.62%)

น้ำมันปลาทานตอนไหนดีที่สุด

น้ำมันปลา หรือ Fish Oil ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังมื้ออาหาร เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ดี และช่วยลดอาการข้างเคียง เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ เรอ หรือมีกลิ่นปาก ที่สำคัญควรกินอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลที่ดี และเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยช่วงที่แนะนำให้กินคือพร้อมมื้ออาหารจะดีที่สุด

น้ำมันปลาควรทานวันละกี่เม็ด

ปริมาณการใช้น้ำมันตับปลาเพื่อเสริมวิตามินเอ วิตามินดี และกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 แก่ร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์ แต่โดยทั่วไปไม่ควรรับประทานเกิน 30 มิลลิลิตรต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่รับประทานวันละ 1 เม็ด