รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

Show

การสร้างรถไฟฟ้า มีผลให้เกิดอะไรได้บ้างครับ

ตอนนี้ผมทำรายงานเกี่ยวกับการคมนาคมครับ แต่มีความรู้เรื่องนี้ค่อนข้างน้อยจึงอยากปรึกษาความเห็นดังนี้ครับ

      ในอนาคตบ้านเราที่มีแผนการสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆนั้น
อยากทราบว่าหากมีรถไฟฟ้าแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ เท่าที่คิดได้ตอนนี้
1.อาจจะเกิดศูนย์กลางคมนาคมย่อยๆเกิดขึ้น เช่นเดียวกับอนุสาวรีย์
2.แหล่งรวมศูนย์การค้าแห่งใหม่
3.เกิดกลุ่มคอนโดในย่านต่างๆ

ขอบคุณทุกความเห็นครับ

0

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

มันกำลังมาแล้วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เมื่อรัฐบาลลุงตู่เราเดินหน้าเอาจริงปั้นให้รถไฟฟ้ากับคนไทยไม่เป็นแค่ฝันอีกต่อไป และแม้ว่าบ้านเราจะเดินหน้าเต็มตัว ทว่าความพร้อมของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็เป็นสิ่งสำคัญ และหลายเรื่องต่อไปนี้อาจจะทำให้คุณคิดเหมือนกันว่า รถไฟฟ้าอาจจะยังไม่พร้อมในเร็วๆ นี้หรอก

1.ระยะทางยังจำกัด 

ปัญฆาสำคัญข้อแรก คือ รถไฟฟ้าพึ่งพาแบตเตอร์รี่เป็นสำคัญ และแบตเตอร์รี่ก็มีข้อจำกัดในการใช้งานในเรื่องของประจุไฟฟ้าอันส่งผลถึงระยะทางในการใช้งาน ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ทีมีวางขายในต่างประเทศ มีระยะทาง ตั้งแต่ 171 กิโลเมตร และสูงสุด  380  กิโลเมตร  ในกลุ่มราคาที่ลูกค้ายอมรับได้ แต่ยิ่งแพงระยะทางและความสามารถก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ถ้าเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน  พวกมันยังมีระยะทางน้อยกว่าพอสมควร 

 

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

2. ระยะเวลาในการชาร์จไฟ  

การชาร์จไฟฟ้าไม่เหมือนการเติมน้ำมัน  มันต้องใช้เวลาในการปะจุไฟเข้าไปแบตเตอร์รี่ ตามปกติแล้วการชาร์จไฟมีเพียงวิธีเดียวแต่การใส่ประจุให้เต็มเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับกำลังดันไฟฟ้าและ ปริมาณกระแสที่ผ่านเข้าไปยังแบตเตอร์รี่ 

ถ้ามาพูดถึงชั่วโมงการชาร์จไฟฟ้าจริงที่เกิดขึ้นจากการใช้สายเสียบปลั้กธรรมดาๆที่แถมมากับรถ โดยเฉลี่ยจะใช้เวลา   4.5- 5 ชั่วโมง  แล้วแต่ประจุของแบตเตอร์รี่ มันยังค่อนข้างนานถ้านับว่าระยะทางรถยนต์พลังไฟฟ้าที่ใช้ได้ก็ยังน้อย แต่อย่าเพิ่งกังวลเพราะในต่างประเทศ มีสถานีชาร์จไฟฟา ซึ่งพวกนี้จะชาร์จเร็วกว่าด้วย และมีความสามารถในการเติมแบตเตอร์รี่  80% ในเวลาครึงชั่วโมง 

 

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

3.  ราคายังแพง

ถึงรถไฟฟ้าจะน่าใช้มันไม่ปล่อยมลพิษและมีสมรรถนะในการขับขี่ที่ดี รถมีความประหยัด และอีกต่างๆนานมากมายที่สามารถบอกได้ถึงข้อดีของรถยนต์พลังไฟฟ้า แต่ก็ต้องยอมรับว่ารถยนต์พลังไฟฟ้า เมื่อมาวางจำหน่ายจริงอจจะยังมีราคาแพงอยู่ไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่นรถยนต์  Chvrolet Bolt   ที่เปิดตัวออกมาหมาดมีราคาจำหน่ายราวๆ เกือบๆ  1.3   ล้านบาท  หรือ   Tesla Model S P85  มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่  2.9   ล้านบาทโดยประมาณ 

ถ้าเทียบกับด้วยระยะทางและความสามารถยังไม่น่าสนใจเท่าที่ควร  แต่กระนั้นในหลายประเทศก็มีการให้เงินสนับสนุนอุดหนุนสำหรับประชาชนที่สนใจจะซื้อรถไฟฟ้า และมีสิทธิทางภาษีที่น่าสนใจตอบแทนการหันมาใช้รถยนต์พลังไฟฟ้าของพวกเขา 

 

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

4.ตัวเลือกยังน้อย 

รถไฟฟ้ายังเป็นของใหม่มาก มีบริษัทรถยนต์เพียงไม่กี่เจ้าที่ให้ความสนใจผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อวางจำหน่าย และแต่ละบริษัทอาจจะมีรถเพียงรุ่นสองรุ่นเท่านั้น 

ปัจจุบันบริษัทรถยนต์ที่วางจำหน่ายรถยนต์พลังไฟฟ้าแล้วคือ  Mitsubishi , Nissan  , Chevrolet , Tesla  , BMW I ,BYD , Renault เป็นต้น ที่สำคัญโดยส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ระดับซิตี้คาร์ เน้นการใช้งานในเมืองเป็นสำคัญ มากกว่ารถยนต์นั่งขนาดใหญ่ 

5.จำนวนสถานีชาร์จ 

เมื่อสักครู่ผมถึงเรื่องสถานีชาร์จไปแล้วใช่ไหม …. ถ้าจะใช้รถไฟฟ้าให้ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ มันมีความสำคัญอย่างมากทีเดียวเชียวล่ะ เนื่องจากข้อจำกัดของระยะทางทำให้ มันไม่สามารถเดินทางไปไกลกว่าระยะทางแบตเตอร์รี่ได้ รถไฟฟ้า ขึงต้องการสถานีชาร์จ ก่อนที่ไฟของมันจะหมดลงและตายกลางทาง  

ข่าวดีคือ สถานีชาร์จสามารถสร้างและใช้งานได้ ทันที แต่ข่าวร้ายคืองบประมาณในการสร้างก็ไม่เบาเช่นกัน บรรดาผู้ผลิตต้องมีจำนวนสถานีชาร์จมากพอจะครอบคลุมตามจุดชาร์จต่างๆที่ลูกค้าเดินทางไปและยิ่งกว่านั้น มาตรฐานหัวชาร์จไฟต้องสามารถใช้ได้ครอบคลุม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

เรื่องราวรถไฟฟ้าวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น และเราได้แต่เฝ้ารอว่า มันจะพร้อมในเร็ววัน แม้ว่าช่วงแรกอาจจะขลุกขลักอยู่บ้างแต่เมื่อผ่านเวลานานไปแล้ว มันจะแสดงให้สังคมประจักษ์ว่าเป็นพลังแห่งอนาคตที่แท้จริง 

เรื่อง โดย ณัฐยศ ชูบรรจง (Bonn)
ติดตามผู้สื่อข่าวและนักทดสอบรถยนต์ นาย ณัฐยศ ชูบรรจง ได้ที่ Facebook หรือ ทาง  Fan page

รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

จากแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการออกแบบเบื้องต้นโครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แบ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงรัชดา-ลาดพร้าว และช่วงพัฒนาการ-สำโรง ต่อมา รฟม. ได้มีการทบทวนโครงการการดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบรถไฟฟ้าให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ตลอดแนวเส้นทางตั้งแต่ รัชดา/ลาดพร้าวจนถึงสำโรง ปรับแนวเส้นทางบางช่วง เปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนสถานี อาคารจอดแล้วจร จึงได้จัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอกากาศ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2559

รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงานฉบับสมบูรณ์)

  1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
    1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดและกิจกรรมของโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งสถานี การเพิ่มสถานี การเปลี่ยนแนวเส้นทาง และการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร
    2. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงการ
    3. เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
    4. เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ
  2.  ขอบเขตการศึกษา

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมในรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ได้ดำเนินกานวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีนัยสำคัญตามแนวทางการจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยศึกษาครอบคลุมพื้นที่ตามแนวเส้นทางของโครงการภายในรัศมีข้างละ 500 เมตร จากกึ่งกลางของแนวเส้นทาง ส่วนบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงจะดาเนินการศึกษาภายในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบพื้นที่ โดยมีรายละเอียดของแต่ละปัจจัยที่ทำการศึกษา ดังนี้

  • ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกายภาพ
  1. สภาพภูมิประเทศ
  2. ทรัพยากรดิน
  3. ธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว
  4. คุณภาพน้าผิวดิน
  5. คุณภาพอากาศ
  6. ระดับเสียง
  7. ความสั่นสะเทือน
  • ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมชีวภาพ
  1. นิเวศวิทยาทางน้ำ
  2. นิเวศวิทยาทางบก
  • คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
  1. การใช้ประโยชน์ที่ดิน
  2. การคมนาคมขนส่ง
  3. ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
  4. การระบายน้ำและการควบคุมน้ำท่วม
  • คุณค่าคุณภาพชีวิต
  1. สภาพเศรษฐกิจ – สังคม
  2. การโยกย้ายและการเวนคืน
  3. การสาธารณสุข สุขภาพ
  4. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  5. แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณคดี
  6. ทัศนียภาพและการท่องเที่ยว
  • รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงานฉบับสมบูรณ์)

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ประกอบด้วย

  • การตรวจสอบคุณภาพอากาศ ระดับเสียง และความสั่นสะเทือน จำนวน 24 จุดซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด และสถานที่ราชการ ตลอดเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบ 5 วันต่อเนื่อง (ครอบคลุมวันทำการ 3 วันและวันหยุด 2 วัน) โดยตรวจวัดก่อนเริ่มงานก่อสร้าง จำนวน 1 ครั้ง และทุกเดือน ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

การตรวจสอบคุณภาพเสียง

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

การตรวจสอบคุณภาพความสั่นสะเทือน

  • การตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวน 10 จุด โดยเป็นคลองที่อยู่ใกล้จุดที่มีกิจกรรมการก่อสร้างตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบก่อนเริ่มงานก่อสร้าง จำนวน 1 ครั้ง และทุกเดือนตลอดระยะเวลาก่อสร้าง

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

การตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน

  • การคมนาคมขนส่ง จำนวน 14 แห่ง โดยสำรวจในถนนสายหลัก และถนนสายรองในแต่ละทางแยก ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบ 3 วันต่อเนื่องโดยครอบคลุมวันทำการ 2 วัน และวันหยุด 1 วัน ก่อนเริ่มงานก่อสร้างจำนวน 1 ครั้ง และทุกเดือน ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

  • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มองค์กรที่ใช้บริการระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบตลอดช่วงเวลาการรื้อย้าย/ เปลี่ยนแปลงระบบสาธารณูปโภคเป็นระยะเวลา 2 ปี

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มองค์กรที่ใช้บริการระบบสาธารณูปโภค

การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

          การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับสัมปทานให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันแก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีการติดตามตรวจสอบเดือนละ 2 ครั้ง ในเวลากลางวัน 1 ครั้ง และกลางคืน 1 ครั้ง

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

รถไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

อ้างอิง : รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม