ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

โจทย์ปัญหา

ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

  • มัธยมต้น
  • วิชาอื่น ๆ

ไซโกตเเละเอ็บบริโอเกิดได้อย่างไร เเละเจริญอยู่ในส่วนใด ตามลำดับ

ไซโกตเกิดขึ้นจากการผสมเซลล์สืบพันธุ์สองเพศเสมอ และเป็นขั้นแรกของการเจริญของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ โดยปกติไซโกตเกิดขึ้นจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์แฮพลอยด์สองเซลล์ คือ ออวุม (เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) กับสเปิร์ม (เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้) ซึ่งรวมกันเกิดเป็นเซลล์ดิพลอยด์หนึ่งเซลล์ ไซโกตนั้นมีดีเอ็นเอที่มาจากทั้งพ่อและแม่ และให้ข้อมูลพันธุกรรมที่จำเป็นต่อการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ การเกิดเอ็มบริโอ (อังกฤษ: Embryogenesis) เริ่มหลังจากปฏิสนธิได้ไซโกตแล้ว ไซโกตจะแบ่งตัวแบบไมโทซิสจาก 1 เป็น 2 และจาก 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆจนได้เป็นเอ็มบริโอที่เป็นกลุ่มของเซลล์ที่เป็นก้อน จากนั้นเอ็มบริโอจะมีการเจริญไปเป็นระยะต่างๆ


เกี่ยวข้องกัน เพราะเมื่อสิ้นสุดกระบวนการปฏิสนธิของพืชกระบวนการต่อไปคือ การเกิด ผลและเมล็ด รังไข่ภายในเกสรตัวเมียจะเจริญกลายเป็นผล (fruit) ส่วนผนังรังไข่จะเปลี่ยนเป็นเพริคาร์ป (pericarp) ซึ่งมีลักษณะหรือรูปร่างแตกต่างกันไป เพอริคาร์ปประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เอ็กโซคาร์ป (Exocarp) มีโซคาร์ป (Mesocarp) และเอนโดคาร์ป (Endocarp)

    โจทย์ที่คล้ายกันกับโจทย์ข้อนี้

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    • มัธยมต้น
    • วิทยาศาสตร์ทั่วไป

    อาเซียน

    เที่ยวเชียงราย

    รัชกาลที่10

    รัชกาลที่9

    วันเฉลิมพระชนมพรรษา

    ทัศนศึกษาเชียงราย2560

    เรื่องน่ารู้

    • การเจริญเติบโตของสัตว์

    เรื่องน่ารู้(ภาษาไทย)

    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

    Bitcoin

    โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการมูลฝอยตามหลัก3MS

    การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่46 เจียงฮายเกมส์ ระหว่างวันที่ 18-28 พฤศจิกายน 2561

    การเจริญเติบโตของสัตว์

    วิดีโอ YouTube

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    การเจริญเติบโตของสัตว์

              ไซโกตที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์จะต้องมีกระบวนการเจริญเติบโต เพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์ กระบวนการดังกล่าวต้องถูกต้องแม่นยำ มิฉะนั้นจะทำให้ร่างกายผิดปกติได้ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น

                คำถามนำ 

    ไซโกตมีการเปลี่ยนแปลงจนเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเต็มวัยได้อย่างไร และสัตว์แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

              กระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตมี 4 กระบวนการ คือ การแบ่ง เซลล์ ของไซโกตเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ให้เอ็มบริโอประกอบด้วยเซลล์ที่คล้ายเซลล์เดียวกันจำนวนมากแต่ยังไม่มีการพัฒนาไปทำหน้าที่จำเพาะ เมื่อเซลล์ได้รับสารอาหารเพียงพอก็จะ มีการเพิ่มขนาดของเซลล์หรือการ  เติบโต (growth) ต่อจากนั้นเซลล์แต่ละกลุ่มจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ อย่าง (celldifferentaition) เช่น เป็นเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ประสาท เป็นต้น เซลล์ที่เหมือนกันจะรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อและพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ กระบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นอวัยวะและเกิดเป็นรูปร่าง เรียกว่า  มอร์โฟเจเนซิส  (morphogenesis)

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

     ภาพที่ 11-13 การเปลี่ยนแปลงของเซลล

    ไปเป็นเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะ 

    นักเรียนทราบได้อย่างไรว่าสัตว์มีการเจริญเติบโต และจะวักการเจริญเติบโตได้อย่างไร 

    เมื่อพิจารณาจากกราฟแสดงการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดหนึ่งโดยการวัดความยาว

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

      ภาพที่ 11-14 กราฟแสดงความยาวของสัตว์ชนิดหนึ่ง 

    -สัตว์ชนิดนี้มีลำตัวยาวเต็มที่เมื่ออายุเท่าไร

    -ช่วงอายุเท่าไรที่กราฟมีความชันมากที่สุด นักเรียนคิดว่าอัตราการเจริญเติบโตในช่วงนี้เป็นอย่างไร

    -นักเรียนคิดว่าเส้นกราฟในระยะหลังจากสัตว์มีอายุ25วันไปแล้วมีแนวโน้มเป็นอย่างไร และสัตว์ชนิดนี้ยังมีการเจริญเติบโตอยู่หรือไม่ เพราะเหตุใด

    จากกราฟจะเห็นได้ว่าเมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้นจะมีการเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระยะหนึ่งก็จะหยุด หลังจากระยะนั้นผ่านไปแล้วเส้นกราฟก็จะไม่สูงขึ้นอีก การเจริญเติบโตในลักษณะเช่นนี้เป็นแบบแผนของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั่วๆ ไป

    -นักเรียนคิดว่ามีวิธีใดอีกบ้างที่จะใช้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

    -นักเรียนคิดว่าสัตว์แต่ละชนิด มีการเจริญเติบโตตลอดชั่วอายุของสัตว์หรือไม่

    โดยทั่วไปการวัดการเจริญเติบโตของสัตว์มีหลายวิธี วิธีที่นิยมมากก็คือ การหามวลของสัตว์ที่เปลี่ยนไป หรือการวัดความสูงแต่บางกรณีความสูงอาจไม่เพิ่มในอัตราส่วนเช่นเดียวกับมวลดังนั้นการวัดความสูงจึงเป็นการคาดคะเนการเจริญเติบโต

    สิ่งที่น่าศึกษาคือการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  การศึกษาการเจริญเติบโตของสัตว์ในระดับนี้จะกล่าวถึงการเจริญเติบโตของสัตว์บางชนิด เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงแบบแผนของการเจริญเติบโต

    การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์บางชนิด 

    สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม หลังจากการแบ่งเซลล์จะมีการเพิ่มขนาดของเซลล์จนมีขนาดเท่ากับเซลล์ทั่วไป

    สัตว์หลายเซลล์โดยทั่วไปที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการเจริญเติบโตจะเริ่มจากไซโกตมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเอ็มบริโอซึ่งรายละเอียดของการเจริญเติบโตในสัตว์แต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่พอจะนับได้ว่ามีขั้นตอนและแบบแผนการเจริญเติบโตคล้ายคลึงกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการเจริญเติบโตของสัตว์มีกระดูกสันหลังบางชนิดได้แก่ กบ และไก่ ซึ่งใช้เป็นตัวแทนในการศึกษากระบวนการเจริญเติบโตของสัตว์ทั่วไป

    การเจริญเติบโตของกบ 

    เซลล์ไข่ของกบไม่มีเปลือกแข็งหุ้มแต่มีวุ้นห่อหุ้มอยู่โดยรอบเมื่อลอยน้ำจะเห็นด้านที่มีสีเหลืองอยู่ด้านล่าง เนื่องจากมี ไข่แดง (yolk) ซึ่งเป็นอาหารสะสมอยู่มาก ส่วนด้านบนสีเทาเข้มจนเกือบเป็นสีดำ เนื่องจากมีสารสีอยู่หนาแน่นที่บริเวณใกล้ผิวของเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ ดังภาพที่ 11-15

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

     ภาพที่ 11-15 การเจริญเติบโตของกบ 

    รู้หรือเปล่า 

    การแบ่งเซลล์ของไซโกตจะมีแบบแผนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณและการกระจายตัวของไข่แดงภายในเซลล์ไข่ เช่น พวกที่มีไข่แดงน้อย ได้แก่ เม่นทะเลสัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีรกจะมีแบบแผนในการแบ่งเซลล์ไซโกตต่างจากพวกที่มีไข่แดงมาก เช่น นก และ สัตว์เลื้อยคลาน

    จากการศึกษาการเจริญเติบโตของกบ ดังภาพที่ 11-15สามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงในระยะเอ็มบริโอของกบ ได้ 4 ขั้นตอนคือ  คลีเวจ (cleavage)  บลาสทูเลชัน  (blastulation) แกสทรูเลชัน  (gastrulation) และ ออร์แกโนเจเนซิส  (organogenesis)

    คลีเวจ 

    เป็นกระบวนการที่ไซโกตมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสอย่างรวดเร็วทำให้ได้เอ็มบริโอที่มีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น แต่ขนาดของแต่ละเซลล์ของเอ็มบริโอเล็กลงตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดระยะคลีเวจจะได้เอ็มบริโอที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก

    บลาสทูเลชัน 

    เป็นกระบวนการที่เซลล์ของอ็มบริโอมีการจัดเรียงตัวเป็นชั้นอยู่รอบนอก ตรงกลางเป็นช่องว่างที่มีของเหลวบรรจุอยู่เต็มเรียกว่า  บลาสโทซีล (blastocoel) เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่า  บลาสทูลา  (blastula)

    แกสทรูเลชัน 

    เป็นกระบวนการที่เซลล์มีการเคลื่อนที่และจัดเรียงเป็นตัวเป็นเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ โดยมีการเคลื่อนที่ของเซลล์ในลักษณะต่างๆ กันเช่น กลุ่มเซลล์ชั้นนอกบุ๋มตัวเข้าไปข้างใน หรือมีการม้วนตัวเข้าไปในช่องว่างภายในเอ็มบริโอ เป็นต้น เอ็มบริโอที่ผ่านกระบวนการนี้จะมีรูปร่างต่างไปจากเดิม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ เอกโทเดิร์ม (ectoderm)  เมโซเดิร์ม  (mesoderm) และ  เอนฌดเดิร์ม  (endoderm) เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่า  แกสทูลา (gastrula)

    ออร์แกโนเจเนซิส 

    เป็นกระบวนการที่เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นของเอ็มบริโอมีพัฒนาการไปเป็นอวัยวะต่างๆ

    ตัวอ่อน  (larva) ของกบที่ฟักออกจากไข่ เรียกว่า ลูกอ๊อดจะมีลักษณะแตกต่างไปจากพ่อแม่ ซึ่งจะต้องมีการเลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะการดำรงชีวิตหลายครั้ง เรียกกระบวนการนี้ว่าเมทามอร์โฟซิส(metamorphosis) จนกระทั่งได้สัตว์ที่มีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่

    -การเจริญของสัตว์ที่มีเมทามอร์โฟซิสแตกต่างจากสัตว์ที่ไม่มีเมทามอร์โฟซิสอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างสัตว์ที่มีเมทามอร์โฟซิสแบบต่างๆ

    กิจกรรมเสนอแนะ 

    ให้นักเรียนนำไข่ของสัตว์สะเทินบก เช่น ไข่กบ เขียด คางคก ที่วางไข่ตามแหล่งน้ำต่างๆ มาศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเอ็มบริโอ และวาดภาพลักษณะของเอ็มบริโอหลังจากศึกษาเสร็จแล้วควรนำสัตว์ไปปล่องยังแหล่งน้ำ 

    การเจริญเติบโตของไก่ 

    เซลล์ไข่ของไก่เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณไข่แดงซึ่งเป็นอาหารสะสมอยู่ภายในเซลล์เป็นจำนวนมาก และมีเพียงบริเวณเล็กๆ ใกล้ผิวเซลล์ด้านบนของเซลล์ไข่ที่มีนิวเคลียสและไซโทรพลาซึมเป็นบริเวณที่เกิดการปฏิสนธิกับอสุจิได้ไซโกตซึ่งจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอต่อไป เอ็มบริโอของไก่จะมีการเจริญเติบโตตามขั้นตอนต่างๆ คล้ายกบ ดังภาพที่ 11-

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    ภาพที่ 11-16 ส่วนประกอบของเซลล์ไข่ไก่และบริเวณที่จะเจริญเป็นเอ็มบริโอ

    ก. ภาพถ่าย                   ข. ภาพวาด

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร
     

    ภาพที่ 11-17 การแบ่งเซลล์ในบริเวณที่จะเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอของเซลล์ไข่ไก่ 

    -เอ็มบริโอของไก่ในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 6 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

    เอ็มบริโอของไก่ซึ่งเป็นสัตว์บกจะพบปัญหาอะไรบ้างที่แตกต่างจากเอ็มบริโอของสัตว์น้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 

    เนื่องจากไก่เป็นสัตว์ที่วางไข่บนบก เอ็มบริโอของไก่มีการปรับโครงสร้างหลายประการที่แตกต่างไปจากเอ็มบริโอที่เจริญในน้ำ ได้แก่ การมีเปลือกไข่เพื่อป้องกันอันตรายและแก้ไขปัญหาการสูญเสียน้ำของเซลล์ไข่ นอกจากนี้เอ็มบริโอยังห่อหุ้มด้วยถุง 2 ชั้นถุงชั้นในคือ  ถุงน้ำคร่ำ  (amnion) มีของเหลวบรรจุอยู่เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนและป้องกันไม่ให้เอ็มบริโอแห้งส่วนถุงชั้นนอก เรียกว่า แอลแลนทอยส์  (allantois) จากตัวเอ็มบริโอแทรกไปชิดกับเปลือกไข่พร้อมกับมีหลอดเลือดฝอยอยู่โดยรอบ ถุงนี้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก็สกับภายนอกและเก็บของเสียประเภทกรดยูริกสะสมไว้จนกระทั่งเอ็มบริโอออกจากไข่ เมื่อเอ็มบริโอนี้เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะฟักออกจากไข่ แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบเมทามอร์โฟซิส

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    ภาพที่ 11-18 การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอไก่ ก. ขณะเจริญอยู่ในไข่ ข.เมื่อฟักออกจากไข่ 

    -การเจริญเติบโตของไก่เหมือนหรือแตกต่างจากของกบอย่างไร

    การเจริญเติบโตของตน 

    เริ่มจากเซลล์ไข่ปฏิสนธิกับอสุจิเป็นไซโกตที่ท่อนำไข่ส่วนต้นมีกระบวนการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ เรียก คลีเวจ ได้เป็นเอ็มบริโอในระยะ มอรูลา  (morula) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเอ็มบริโอระยะบลาสทูลา ขณะที่มีการเจริญเติบโตเอ็มบริโอจะเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่และมาฝังตัวในผนังมดลูกชั้นเอรโดมีเทรียมดังภพที่ 11-19

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    ภาพที่ 11-19 การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอคน 

    ประมาณวันที่ 7 หลังจากการปฏิสนธิ เอ็มบริโอจะสร้างถุงคอเรียนล้อมรอบเอ็มบริโอ และมีบางส่วนยื่นเป็นแขนงเล็กๆแทรกในเอนโดมีเทรียมของมดลูกซึ่งต่อมาจะพัฒนาเป็นรก ดังนั้นรกจึงประกอบด้วยส่วนของถุงคอเรียนของลูกและเนื้อเยื่อชั้นเอนโดมีเทรียมของแม่ เอ็มบริโอมีการสร้างถุงน้ำคร่ำหุ้มตัวเองภายในถุงบรรจุของเหลวที่เรียกว่าน้ำคร่ำเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนและช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และตัวเอ็มบริโอยังมีการสร้างสายสะดือเชื่อมกับรก ดังภาพที่ 11-20

    รู้หรือเปล่า 

    น้ำคร่ำส่วนใหญ่มาจากเลือดของทารกโดยผ่านทาง ปอด ไต อีกส่วนหนึ่งจะซึมจากทารกและผนังของถุงน้ำคร่ำปริมาณน้ำคร่ำจะเพิ่มตามอายุครรถ์ ในช่วงใกล์คลอดจะมีปริมาณน้ำคร่ำ 800-1,500 [tex] cm^3 [\tex] ซึ่งถ้าน้ำคร่ำมีปริมาตรมากหรือน้อยเกินไปอาจบ่งถึงภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

    น้ำคร่ำส่วนประกอบคล้ายกับของเหลวที่อยู่รอบๆ เซลล์ ซึ่งจะมีปริมาณแร่ธาตุ โปรตีน ไขมัน และน้ำตาล น้อยกว่าในพลายสมามาก นอกจากนี้ยังมีฮออร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ

    การเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อศึกษาเพศ ความผิดปกติของโครโมโซม ปริมาณฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เป็นวิธีการหนึ่งในการวินิจฉัยความผิดปกติและสภาพทั่งไปของทรกในครรภ์

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    ภาพที่ 11-20 การเจริญเติบโตของคนในระยะที่อยู่ในครรภ์ 

    -เอ็มบริโอของคนได้รับสารอาหาร แก็สออกซิเจนหรือขับถ่ายของเสียด้วยวิธีการที่ต่างจากเอ็มบริโอของไก่หรือไม่ อย่างไร

    รู้หรือเปล่า 

    โนโทคอร์ด เป็นโครงสร้างค้ำจุนร่างกาย มีลักษณะเป็นแท่งมีความยืดหยุ่น ทอดยาวไปตามลำตัวใต้ไขสันหลัง แต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร พบได้ในเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด ในสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่โนโทคอร์ดจะถูกแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง หรือกระดูกอ่อนเมื่อโตเต็มวัย

    เมื่ออายุได้ 2 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีกรเจริญเติบโตในระยะแกสทรูลาทำให้เกิดเนื้อเยื่อ3 ชั้น คือ เอกโทรเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม

    เอกโทเดิร์มจะเจริญเป็นเยื่อบุผิว เยื่อบุผิวของโพรงจมูกเยื่อบุผิวที่ทำหน้าที่รับกลิ่น ระบบประสาท เช่น สมอง ไขสันหลังต่อมบางชนิด เลนส์ตา สารเคลือบฟัน และเนื้อฟัน

    เมโซเดิร์มจะเจริญเป็นโนโทคอร์ด (notochord) ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบโครงร่างค้ำจุนรางกาย ชั้นหนังแท้ ระบบขอบถ่าย ระบบสืบพันธุ์

    ส่วนเอนโดเดิร์มจะเจริญไปเป็นเยื่อบุทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อนในสัปดาห์ที่ 3 เริ่มปรากฏร่องรอยของระบบอวัยวะ ได้แก่ระบบประสาท หัวใจมีลักษณะเป็นท่อ และเริ่มต้นเป็นจังหวะระยะนี้เอ็มบริโอมีความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร หลังจากนั้นเอ็มบริโอจะเริ่มมีอวัยวะต่างๆ เจริญเพิ่มขึ้น แขนและขาเริ่มปรากฏชัดเจนเมื่ออายุได้ 4 สัปดาห์ อวัยวะต่างๆ จะเจริญเติบโตและมีอวัยวะครบเมื่ออายุได้ 8 สัปดาห์ซึ่งเป็นระยะสิ้นสุดของเอ็มบริโอและหลังจากระยะนี้แล้วจะเรียกว่า ฟีตัส ดังภาพที่ 11-21

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

      ภาพที่ 11-21 การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอและฟีตัสของคนในระยะที่อยู่ในครรภ์ 

                     เชื่องโยงกับคณิตศาสตร์ 

                     เมื่อแรกเกิดความยาวส่วนหัวของทารกจะมีอัตราส่วนเป็น 1 : 4 ของความยาวลำตัว ให้นักเรียนวัดความยาวส่วนหัวและความสูงของเพื่อร่วมชั้นเรียนอย่างน้อย 10 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณอัตราส่วนของความยาวส่วนหัวกับความยาวลำตัว

               เมื่ออายุได้ 8-9 สัปดาห์ จะมีนิ้วมือ และนิ้วเท้าเจริญเห็นได้ชัดเจน สามารถบอกเพศได้ ในช่วงเดือนที่ 4-6 ฟีตัสจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ มีการเลื่อนไหวมากขึ้น สามารถรับฟังเสียงจากภายนอกได้ มีการเจริญเติบโตของกระดูก มีผม มีขน ฟีตัสในเดือนที่ 6จะมีน้ำหนักประมาณ 680 กรัม ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ฟีตัสจะมีขนาดโตมาก ระยะนี้เป็นระยะที่มีระบบประสาทเจริญมาก

             หลังจากแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 280 วัน ซึ่งนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายก็ถึงระยะครบกำหนดคลอดโดยปกติส่วนหัวของทารกจะออกมาก่อน หลังจากคลอดออกมาภายใน 1 นาที ทารกจะเริ่มหายใจและติดตามด้วยเสียงร้อง

              ในกรณีที่มีการคลอดก่อนกำหนดโดยมีระยะตั้งครรภ์ประมาณ7 เดือน ทารกอาจรอดชีวิตได้ แต่ต้องเลี้ยงไว้ในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในร่างกายแม่ และบางรายอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

                 กิจกรรมที่ 11.4 อัตราการเจริญเติบโตของคน 

                  ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของคนในระยะที่อยู่ในครรภ์มารดา แล้วเขียนกราฟและอภิปราย

                                                                     อายุหลังปฏิสนธิ                 ขนาด(เซนติเมตร) 

                                                                            3 สัปดาห์                                    0.3

                                                                            4 สัปดาห์                                    0.6

                                                                            6 สัปดาห์                                    1.2

                                                                            7 สัปดาห์                                     2.0

                                                                            8 สัปดาห์                                     4.0

                                                                            9 สัปดาห์                                 5.0

                                                                            3 เดือน                                    7.5

                                                                            4 เดือน                                     15

                                                                            5 เดือน                                      25

                                                                            6 เดือน                                      30

                                                                            7 เดือน                                      35

                                                                           8 เดือน                                      40

                                                                           9 เดือน                                       50

                -ช่วงอายุเท่าใดที่มีอัตราการเจริญเติบโตมากที่สุด

               -อัตราการเจริญเติบโตในช่วงที่เป็นเอ็มบริโอกับฟิตัสต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

               -ช่วงใดที่มีอัตราการเจริญเติบโตน้อย เพราะเหตุใด

              การเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางอย่างของคน เมื่อเทียบกับขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อนั้นๆ เมื่อโตเต็มที่แล้ว ก็จะเห็นชัดว่าแต่ละอวัยวะมีการเจริญเติบโตเร็วช้าแตกต่างกัน ดังตัวอย่างเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสมองและศีรษะ เนื้อเยื่อผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและอวัยวะสืบพันธุ์ของคน ดังภาพที่ 11-22 

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

    ภาพที่ 11-22 การเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกาย 

                -เมื่อโตเต็มที่ เนื้อเยื่อที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนมากขึ้นหรือน้อยลงกว่าเมื่ออายุประมาณ 12 ปี

    -อวัยวะสืบพันธุ์ของคนเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่ออายุประมาณเท่าใด และช่วงอายุนั้นมีอัตราการเพิ่มขนาดของร่างกายอย่างไร

    -ระยะใดที่สมองมีอุตราการเจริญเติบโตมากที่สุดมีรายงานจากการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการของสมอง

    ซึ่งศึกษาเนื้อเยื่อสมองของเด็ก พบว่าเด็กในครรภ์ซึ่งอยู่ในระยะ2-3 เดือนก่อนคลอด และในระยะ6 เดือนหลังคลอด ถ้าขาดสารอาหารที่จำเป็นจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง สมองจะพัฒนาช้า มีจำนวนเซลล์ของสมองน้อยเนื่องจากเซลล์แบ่งตัวน้อยลงซึ่งจะมีผลต่อสติปัญญาของเด็ก สามารถแก้ไขได้โดยการให้อาหารเสริมเพื่อการเจริญเติบโตของสมองของเด็กเหล่านี้ การแก้ไขจะทำได้เฉพาะในระยะที่สมองมีการเจริญเติบโตอยู่ ถ้าหลังจากระยะนี้แล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้

    เชื่องโยงกับอินเทอร์เน็ต

    หัวข้อ : ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ลิงค์ไปที่ http://w.ipst.ac.th/boilogy/Bio-Artcles/monthly-mag.htrml

    สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ 

    เซลล์ไข่ของคนนั้นมีไข่แดงน้อยมาก ดังนั้นเอ็มบริโอและฟีตัสต้องได้รับอาหารจากแม่โดยผ่านทางรก ผู้ที่เป็นแม่จึงต้องบริโภคอาหารให้ครบละพอเพียงต่อความต้องการทั้งโปรตีนคาร์โบไฮเดรต ลิพิด แร่ธาตุ และวิตามิน โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเหลือง ความต้องการโปรตีนของหญิงมีครรภ์มากกว่าปกติในระยะ 3 เดือนก่อนคลอด ถ้าขาดโปรตีนในช่วงนี้จะทำให้การเจริญของระบบประสาทของทารกผิดปกติ นอกจากนี้อาหารที่มีแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ ก็ต้องบริโภคให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย หญิงมีครรภ์ที่มีนิสัยการบริโภคไม่ถูกต้อง เช่นไม่รับประทานผัก เนื้อสัตว์ หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องอาหารควรแก้นิสัยและความเชื่อเหล่านั้น มิฉะนั้นมารกที่เกิดมาอาจไม่สมบูรณ์หรือมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าผิดปกติได้

    หญิงมีครรภ์ได้รับพลังงานจากการกินอาหารวันละประมาณ 2,300 กิโลแคลอรี น้ำหนักของหญิงมีครรภ์ไม่ควรเพิ่มเกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ สารเคมีบางอย่างที่แม่ได้รับอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ยากล่อมประสาทพวก  ทาลิโดไมด์  (thalidomide) นอกจากนี้สุราและบุหรี่อาจทำให้การเจริญเติบโตของทารกผิดปกติได้

    นอกจากสารเคมีต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การเจริญเติบโตของฟีตัสอาจผิดปกติด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะต้นจะทำให้การเจริญเติบโตของหัวใจ เลนส์ตา หูส่วนในและสมองของทารกผิดปกติได้ในขณะที่เชื้อนี้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใหญ่และเด็ก กรรมพันธุ์ก็มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารก นอกจากนี้การได้รับรังสีเอกซ์มากเกินไปหรือความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้เช่นกัน

    ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกอ่อน

    ปัจจัยที่มีความจำเป็นมากสำหรับลูกอ่อน คือ อาหาร และการคุ้มภัย เซลล์ไข่ของสัตว์บางชนิดที่มีไข่แดงน้อยจึงมีกระบวนการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถออกหากินและหาอาหารเองได้ ส่วนเซลล์ไข่ของสัตว์ที่มีไข่แดงอยู่มากก็จะมีกระบวนการเจริญเติบโตยาวนานขึ้น นอกจากนี้เซลล์ที่มีไข่แดงน้อยแต่เอ็มบริโอสามารถรับสารอาหารจากแม่โดยตรงจะมีระยะเวลาในการเจริญเติบโตแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของสัตว์

    -นักเรียนคิดว่าปริมาณไข่แดง มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิดหรือไม่อย่างไร

    การป้องกันอันตรายของพ่อและแม่ให้แก่ลูกอ่อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกอ่อนอยู่รอดเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ สัตว์หลายชนิดเมื่อลูกอ่อนฟักออกจากไข่ หรือ คลอดออกมาแล้วพ่อแม่จะคอยดูแล เช่น หาอาหารมาให้ พาลูกอ่อนออกหาอาหาร และคอยเฝ้าระวังภัยด้วยวิธีการต่างๆ ให้กับลูกด้วยเช่น การเฝ้าระวังดูแลไข่ของปลากัด ดังภาพที่ 11-23

    ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร

     ภาพที่ 11-23 การเฝ้าระวังดูแลไข่ของปลากัด 

                  นอกจากนี้ปัจจัยทางกายภาพซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ เช่น ไก่ เป็ด จะมีการกกไข่เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการฟักไข่ และเมื่อลูกอ่อนเกิดมาใหม่ๆ ก็จะได้รับการกกจากแม่เพื่อให้ความอบอุ่นและป้องกันภัย

     กิจกรรมท้ายบทที่ 11 

    1.ในการตรวจสอบการตั้งครรภ์ เพราะตุใดจึงตรวจสอบปริมาณของ HCG ในเลือดของหญิง ที่สงสัยว่ามีครรภ์

    2. รกมีความสำคัญของการรักษาดุลยภาพของฟีตัสอย่างไร จงอธิบาย

    3. หญิงมีครรภ์คนหนึ่งแจ้งกับนายแพทย์ว่า วันแรกของการมีรอบประจำเดือนครั้งสุดท้ายผ่าน มาแล้ว 50 วัน อยากทราบว่าเอ็มบริโอที่อยู่ในครรภ์ของหญิงคนนี้มีอายุประมาณเท่าใด

    4. จงลำดับขั้นตอนพัฒนาการของเอ็มบริโอตั้งแต่ระยะไซโกตจนถึงระยะที่เป็นฟีตัส

    5. ชายคนหนึ่งป่วยเป็นไข้ อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าผิดปกติ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการสร้างอสุจิ หรือไม่อย่างไร

    6. จากการศึกษาพบว่า อสุจิเมื่ออยู่ในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงจะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง แต่จะมีอายุยืนยาวกว่าเมื่ออยู่ในอัณฑะของเพศชาย เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

    7. จงอธิบายประเดนต่อไปนี้

        7.1 รูปร่างของอสุจิเหมาะสมต่อการทำหน้าที่อย่างไร

        7.2 ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของเพศชายอย่างไร

        7.3 หญิงที่ไม่สามารถสร้าง FSH และ LH ในปริมาณที่เพียงพอ จะมีผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์หรือไม่ อย่างไร

    8. จงออกแบบการทดลองว่า แมลงวันจะมีกระบวนการเมทามอร์โฟซิสได้รวดเร็ว ถ้าอยู่ในที่มืด

    9. จงอธิบายบทบาทของฮอร์โมนในเพศหญิง ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของผนังมดลูกและรังไข่กับการมีประจำเดือน และในขณะตั้งครรภ์ร่างกายของหญิงมีครรภ์จะมีวิธีการอย่างไรในการป้องกันไม่ให้เกิดประจำเดือน

    10. ปัจจุบันมีการนิยมใช้เทคโนโลยีการตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์ ท่านคิดว่าการตรวจครรภ์ด้วยวิธีนี้มีประโยชน์อย่างไร จงอธิบาย


    เอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร และเจริญอยู่ในส่วนใด ตามลําดับ

    เริ่มจากเซลล์ไข่ปฏิสนธิกับอสุจิเป็นไซโกตที่ท่อนำไข่ส่วนต้นมีกระบวนการ แบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ เรียก คลีเวจ ได้เป็นเอ็มบริโอในระยะมอรูลา (morula) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเอ็มบริโอระยะบลาสทูลา ขณะที่มีการเจริญเติบโตเอ็มบริโอจะเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่และมาฝังตัวใน ผนังมดลูกชั้นเอรโดมีเทรียม

    ไซโกตมีการเจริญเติบโตอย่างไร

    ไซโกตเกิดขึ้นจากการผสมเซลล์สืบพันธุ์สองเพศเสมอ และเป็นขั้นแรกของการเจริญของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ โดยปกติไซโกตเกิดขึ้นจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์แฮพลอยด์สองเซลล์ คือ ออวุม (เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) กับสเปิร์ม (เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้) ซึ่งรวมกันเกิดเป็นเซลล์ดิพลอยด์หนึ่งเซลล์ ไซโกตนั้นมีดีเอ็นเอที่มาจากทั้งพ่อและแม่ และ ...

    ไซโกต เอ็มบริโอ คืออะไร

    ไซโกต, เซลล์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียพร้อมที่จะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอ ในสัตว์ชั้นสูงไซโกตก็คือ ไข่ที่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิแล้ว [พจนานุกรมศัพท์ สสว.] life cycle.

    ไซโกตมาจากไหน

    ไซโกต, เซลล์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียพร้อมที่จะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอ ในสัตว์ชั้นสูงไซโกตก็คือ ไข่ที่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิแล้ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]