จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซึมเศร้า

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งวันนี้ ท่านมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน

1. เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

3. หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

4. เหนื่อยง่าย หรือ ไม่ค่อยมีแรง(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

5. เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือทำให้ตนเองหรือครอบครัวผิดหวัง(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

7. สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

8. พูดช้า ทำอะไรช้าลง จนคนอื่นสังเกตเห็นได้ หรือกระสับกระส่ายไม่สามารถอยู่นิ่งได้เหมือนที่เคยเป็น(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

9. คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี(*)

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน

เป็นบ่อย

เป็นทุกวัน

กรุณาเลือกคำตอบด้วยค่ะ

กรุณาติ๊กถูกในช่องสี่เหลี่ยม(*)

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซึมเศร้า

ในประเทศไทยมีคนที่ต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคนต่อปี แต่มีคนที่เข้ารับการรักษาแค่ร้อยละ 30 เท่านั้น หมายความว่ายังมีคนจำนวนมากไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ หรือบางคนรู้แต่คิดว่าไม่ต้องรักษาเดี๋ยวก็หายเองได้ และคนที่เป็นอยู่แต่ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่หายขาดก็กลับมาเป็นใหม่ ทำให้โรคนี้กลายเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่พรากชีวิตคนไทยไปอย่างคาดไม่ถึง

โรคซึมเศร้าเกิดได้หลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ เนื่องจากสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitters) ที่ไม่สมดุลกัน กรรมพันธุ์ก็ทำให้เรามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ แต่จะต้องประกอบกับปัจจัยข้ออื่น ๆ ด้วย เช่น ชอบคิดมาก หงุดหงิดง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ชอบว่าตัวเอง เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ทำอะไรคนเดียวบ่อย ๆ พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง รวมไปถึงการเข้าสังคมและการทำงาน ควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้คนที่ขาดความมั่นใจ วิตกกังวลง่าย มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ความเครียดสะสม ปัญหาชีวิตที่แก้ไม่ได้ อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ตกงาน ไม่มีเงินใช้ ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น รวมทั้งพบเจอกับความสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นอาการป่วยให้แสดงออกมา รวมถึงอาการป่วยจากโรคและการใช้ยารักษาโรคที่ตามมาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงในลักษณะอาการซึมเศร้าได้

10 สัญญาณบ่งบอกโรคซึมเศร้า

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว
  2. ขาดความสนใจ ความชอบในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำ
  3. เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากขึ้น น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก
  4. นอนไม่หลับ หรือนอนนานกว่าปกติ
  5. เคลื่อนไหวหรือพูดจาช้ากว่าปกติ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยตลอดเวลา
  6. มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า โดดเดี่ยว และมีความรู้สึกผิด
  7. ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง และขาดการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
  8. รอบเดือนผิดปกติ มีความสนใจเรื่องเพศลดลงหรือมากขึ้น
  9. เจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
  10. มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง

หมายเหตุ: ต้องมีอาการ 5 ใน 10 ข้อติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และเป็นอยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน

การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือน ๆ หรือเกิดขึ้นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มากระทบรุนแรงแค่ไหน แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะเปลี่ยนไปจากเดิมแน่นอน เนื่องจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองเสียสมดุลส่งผลให้มีอาการป่วยทางด้านร่างกาย จิตใจและความคิด ร้องไห้บ่อยกับเรื่องเล็กน้อย รู้สึกเบื่อคน เบื่องาน เบื่อโลก เบื่อชีวิต คิดว่าตัวเองเป็นภาระคนอื่น กลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจ หลงลืมง่ายโดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก พูดด้วยเมื่อเช้าก็จำไม่ได้ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานได้ไม่ละเอียดเพราะไม่มีสมาธิ เริ่มลางาน ขาดงานบ่อยขึ้น ไม่อยากเข้าสังคม เก็บตัวไม่พูดคุยกับใคร อ่อนเพลีย ซึ่งคนรอบข้างมักจะไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเปลี่ยนไป เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ซึ่งหากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจในช่วงนี้ก็อาจเกิดการทำร้ายตัวเองไปจนถึงคิดฆ่าตัวตายได้

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อให้อาการดีขึ้นและหายในที่สุด รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และให้ความร่วมมือกับนักจิตบำบัดในการรักษา ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้ามี 3 วิธีหลักได้แก่ ยารักษาโรคซึมเศร้า(ปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล) จิตบำบัด และการรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์สมอง

เราสามารถฝึกรับมือกับภาวะซึมเศร้าได้ด้วยตนเองโดยไม่ตั้งเป้าหมายการทำงานที่ยากเกินไป อย่าตัดสินใจเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต เช่น การหย่า การลาออกจากงาน ในช่วงที่ซึมเศร้า บริหารจัดการเวลา ลำดับความสำคัญ วางแผนสิ่งที่ต้องทำให้เป็นระเบียบในแต่ละวันจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ เขียนบันทึกระบายความรู้สึกออกมาบ้าง ออกกำลังกายผ่อนคลายความเครียดจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น กินอาหารได้ดี ชวนเพื่อนมาเล่นที่บ้านหรือทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว พฤติกรรมทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราก้าวผ่านโรคซึมเศร้าได้

ความเข้าใจจากคนรอบข้างก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่าคิดว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเป็นคนอ่อนแอ คิดมากเกินไป หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา แต่เพราะคนเป็นโรคซึมเศร้าคือผู้ป่วย ฉะนั้นถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะกลับมาเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคง พร้อมทำกิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม และอย่าเพิกเฉย ถ้าคนข้างกายของเราพูดถึงเรื่องการตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่เด็ดขาด ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนักบำบัดทางจิตทันที

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาการเป็นยังไง

เหนื่อยและอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงอยู่เกือบตลอด รู้สึกตนเองไร้ค่า รู้สึกผิดและโทษตนเองอยู่ตลอด สมาธิและความสามารถในการคิดและการตัดสินใจลดลง คิดเรื่องตายหรือคิดอยากตาย

วิธีเช็คว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าไหม

อาการของโรคซึมเศร้า.
โรคซึมเศร้ามีอาการรู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ.
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต.
น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป.
นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ.
คนที่เป็นโรคซึมเศร้า จะรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า.

โรคซึมเศร้า และภาวะซึมเศร้าต่างกันอย่างไร

เราสามารถที่จะแยกแยะความแตกต่างของภาวะซึมเศร้า และ โรคซึมเศร้า ได้โดยสังเกตจากอาการต่างๆ เช่น มักแสดงออกทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อาการนอนไม่หลับ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างผิดปกติ และคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ คนที่มีโรคซึมเศร้า แสดงอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หลงผิด และประสาทหลอน ซึ่ง ...

โรคซึมเศร้าหมายถึงอะไร

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบบ่อย โดยมีความชุกตลอดช่วงชีวิตถึง 12% พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก เช่น การสูญเสีย ความผิดหวัง หรือการหย่าร้าง การเป็นโรคนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ ...