การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมของทวีปยุโรปส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ฝนตกหนักในยุโรปน่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์

  • แมตต์ แม็กกราธ
  • ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม

25 สิงหาคม 2021

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมของทวีปยุโรปส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

ที่มาของภาพ, Getty Images

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตในยุโรปช่วงเดือน ก.ค. น่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

น้ำท่วมในเยอรมนี เบลเยียม และอีกหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 220 คน

นักวิจัยระบุว่า โลกร้อนมีโอกาสทำให้เกิดเหตุฝนตกหนักเช่นนี้ในยุโรปตะวันตกมากขึ้นเป็น 9 เท่า ขณะที่ปริมาณน้ำฝนในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3-19% เนื่องจากปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์

น้ำท่วมที่รุนแรงในเยอรมนี เบลเยียม และพื้นที่อื่น ๆ ในช่วงกลางเดือน ก.ค. สร้างความตกตะลึงให้แก่บรรดานักพยากรณ์อากาศและเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นอย่างมาก

มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือน ถนนและทางรถไฟได้รับความเสียหายจากน้ำที่ไหลทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

รถยนต์พังเสียหายจากน้ำท่วมตามแนวแม่น้ำอาร์ในเยอรมนี

น้ำท่วมรุนแรงเกิดจากฝนตกหนักในช่วงเวลา 1-2 วัน ในพื้นที่ที่มีความชุ่มน้ำอยู่แล้ว ประกอบกับปัจจัยด้านอุทกวิทยาในพื้นที่หลายอย่าง เช่น พื้นที่ที่เป็นดิน และโครงสร้างพื้นฐาน

การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเหตุการณ์เช่นนี้ นักวิจัยจากกลุ่มเวิลด์ เวเธอร์ แอตทริบิวชัน (World Weather Attribution--WWA) มุ่งเน้นไปที่ฝนตกหนักที่ทำให้เกิดน้ำท่วมตามมา

พวกเขาวิเคราะห์ได้เพียงบางส่วน เพราะว่า ระบบเฝ้าระวังด้านอุทกวิทยาบางอย่าง ซึ่งควรจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับน้ำท่วมได้รับความเสียหายจากน้ำ

ข้อมูลปริมาณฝนเผยให้เห็นว่า ในพื้นที่โดยรอบแม่น้ำอาร์ (Ahr) และ แม่น้ำแอร์ฟ (Erft) ในเยอรมนี และในภูมิภาคเมิส (Meuse) ของเบลเยียม มีฝนตกหนักวัดปริมาณได้ 90 มิลลิเมตรภายในวันเดียว

  • โลกร้อน : สภาพอากาศสุดขั้วเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร
  • สหประชาชาติเรียกร้องนานาชาติผนึกกำลังกอบกู้สิ่งแวดล้อมโลก
  • จีนน้ำท่วมใหญ่ ระดับน้ำแตะพระบาทพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาองค์ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งแรกนับแต่ปี 1949

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์พบแนวโน้มปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเล็ก ๆ เหล่านี้ การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะมีความแปรปรวนทางธรรมชาติหลายอย่างในแต่ละปีที่ส่งผลต่อรูปแบบฝนตกในพื้นที่

การพิจารณาถึงอิทธิพลของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น นักวิจัยต้องขยายการวิเคราะห์และศึกษาพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขึ้นของยุโรปตะวันตกรวมถึง ทางตะวันออกของฝรั่งเศส, ทางตะวันตกของเยอรมนี, ทางตะวันออกของเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก และทางเหนือของสวิตเซอร์แลนด์

ที่มาของภาพ, Getty Images

คณะนักวิจัยพบว่า ในภูมิภาคใหญ่นี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากจากมนุษย์ ทำให้ปริมาณฝนตกในหนึ่งวันเพิ่มสูงขึ้น 3-19% ในช่วงฤดูร้อน

อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ยังมีโอกาสทำให้เกิดฝนตกที่คล้ายกันกับฝนที่ทำให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น 1.2-9 เท่า

การศึกษาเหตุการณ์ฝนตกหนักมีความท้าทายมาก

ดร.ชอเก ฟิลิป ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศที่สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งเนเธอร์แลนด์ (Royal Dutch Meteorological Institute--KNMI) และเป็นส่วนหนึ่งของทีม WWA กล่าวว่า "เรารวบรวมความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากการศึกษาหลายด้านเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อน้ำท่วมรุนแรงเมื่อเดือนที่แล้ว และเพื่อทำให้เกิดความชัดเจนว่า เราสามารถวิเคราะห์อะไรได้และไม่ได้ ในเหตุการณ์เช่นนี้"

ที่มาของภาพ, Getty Images

"มันเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อฝนตกหนักในระดับท้องถิ่น แต่เราสามารถที่จะแสดงได้ว่า ในยุโรปตะวันตก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้มากขึ้น"

นักวิจัยระบุว่า ในสภาพอากาศปัจจุบัน พื้นที่ต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก คาดว่าจะมีโอกาสเกิดฝนตกหนักเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในเดือน ก.ค. หนึ่งครั้งในรอบ 400 ปี

การที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่องและอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ฝนตกหนักที่ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อหลายพื้นที่ในยุโรป จะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น

ศาสตราจารย์เฮย์ลีย์ ฟาวเลอร์ จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล กล่าวว่า แบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่ทันสมัย บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของเหตุฝนตกหนักรุนแรงในโลกที่ร้อนขึ้นในอนาคต

"เหตุการณ์นี้เผยให้เห็นว่า หลายพื้นที่ไม่สามารถทนทานต่อความรุนแรงของสภาพอากาศในปัจจุบันได้ เราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการพัฒนาการเตือนภัยฉุกเฉินและระบบการจัดการ และทำให้โครงสร้างพื้นฐานของเรา 'ทนทานต่อสภาพอากาศ' เพื่อลดการบาดเจ็บล้มตาย และความเสียหาย ทำให้พวกมันทนทานต่อเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงให้ได้"

การศึกษานี้ ซึ่งใช้วิธีการตรวจทานผลงานที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง ได้รับการจัดทำขึ้นจากนักวิจัย 39 คน

จับตาทิศทางการรับมือกับวิกฤติโลกร้อนของสหภาพยุโรป

จับตาทิศทางการรับมือกับวิกฤติโลกร้อนของสหภาพยุโรป

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 พ.ย. 2565

| 1,804 view

เป็นเวลาหนึ่งปีเต็มนับตั้งแต่มีการประกาศใช้นโยบาย European Green Deal ของนาง Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทวีปยุโรปให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) หรือในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยในช่วงที่ผ่านมานั้น มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายประการที่สะท้อนถึงพยายามของภูมิภาคยุโรปที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ไปพร้อมกับการรับมือผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ ซึ่งทีมงาน ThaiEurope ได้รวบรวมพัฒนาการสำคัญที่เกิดขึ้นไว้ ดังนี้

สหภาพยุโรปมองว่า วิกฤติโควิด-19 คือ โอกาสปฏิรูปการพัฒนาภูมิภาคยุโรปที่คำนึงสิ่งแวดล้อม และเพื่อเตรียมความพร้อมสังคมรับวิกฤตโลกร้อน โดยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 ผู้นำสหภาพยุโรปประกาศให้คำมั่นว่าจะร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทวีปยุโรปให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ผ่านการดำเนินการตามแผน European Green Deal และแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจสหภาพยุโรป (EU recovery plan) ซึ่งใช้เงินกว่า 1.8 ล้านล้านยูโรในช่วงระยะ 7 ปีข้างหน้า ซึ่งล่าสุดงบประมาณดังกล่าวเพิ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภายุโรปไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยจะเน้นช่วยเหลือภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน
สอดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น แกนหลักของแผนการดังกล่าว ประกอบด้วยเสาหลัก 3 ด้าน ได้แก่

(1) การเป็นผู้นำในเวทีระหว่างประเทศเพื่อการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

(2) การลดการปล่อยมลพิษคาร์บอนในภูมิภาคยุโรป ควบคู่ไปกับการสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อม

(3) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในทวีปยุโรปและในระดับชุมชนท้องถิ่น

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปจะผลักดันออกกฎกติกาใหม่เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนให้มากขึ้น เพื่อนำภูมิภาคยุโรปมุ่งสู่เศรษฐกิจจากฐานพลังงานสะอาด โดยภายในปี 2564 สหภาพยุโรปจะผลักดันให้มีการระบุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนในกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate law) โดยสหภาพยุโรปตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกสำหรับปี 2573 (ค.ศ.2030) จากเดิมร้อยละ 40 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55 เพื่อเป็นการสะท้อนจุดยืนของสหภาพยุโรปในการเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมไปกับการออกยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ (EU Climate Strategy) เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนเจตนารมณ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

สหภาพยุโรปยังสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การลงทุนในตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐเป็นผู้ลงทุนหรือสนับสนุนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสีเขียวในอนาคต ภายใต้นโยบายการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ในการนี้ สหภาพยุโรปได้ทำการจัดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว หรือ Taxonomy Regulation ซึ่งสะท้อนหลักการ “Do no harm” เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการในการเข้าถึงเงินลงทุน หรือการระดมทุนจากมวลชนด้วยการออกพันธบัตรหรือตราสารทุนอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ จากภาครัฐ และเพื่อพัฒนาความแข็งแกร่งของตลาดสหภาพยุโรปในภาพรวม

นอกจากนั้น สหภาพยุโรปยังต้องการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนที่อาจได้รับผลกระทบ ผ่านการจัดสรรงบประมาณที่เรียกว่า Just Transition Fund จำนวน 17.5 พันล้านยูโร พร้อมการจัดตั้งเครือข่ายโลกร้อน หรือ Climate pact เพื่อดึงประชาชนจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาโลกร้อนกับภาครัฐ โดยสหภาพยุโรปจะเน้นการเพิ่มขีดความสามารถระดับชุมชนท้องถิ่น ใน 4 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวลดภาวะโลกร้อน การอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งและอาคาร รวมถึงการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต

ที่น่าสนใจ คือ สหภาพยุโรปได้มีการวางข้อจำกัดบางประการในการเบิกจ่ายงบประมาณของประเทศสมาชิก เช่น การฝ่าฝืนหลักนิติธรรม (Rule of Law) เพื่อใช้เป็นกลไกในการตรวจสอบและกำกับดูแลจากการฉ้อโกง ทุจริต หรือการหาประโยชน์อันมิชอบได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพและควบคุมระดับความเสี่ยงในระบบ

ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้เดินหน้าผลักดันนโยบายรองรับการก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับผลักดันภาคอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยเน้นปฏิรูปการใช้พลังงานและเร่งให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากภาคการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางรางให้ได้ร้อยละ 90 ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) โดยล่าสุดเพิ่งประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะอย่างยั่งยืนของสหภาพยุโรปฉบับใหม่ (EU Strategy on Sustainable and Smart Mobility) ซึ่งมุ่งการลดการขนส่งทางถนนเปลี่ยนเป็นการขนส่งทางราง ผลักดันการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูงราคาถูกใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยทวีปยุโรปตั้งเป้าจะใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบภายใน 30 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกับการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน ให้เป็นแหล่งพลังงานใหม่สำหรับการขับเคลื่อนเครื่องบินและเรือบรรทุกสินค้าในอนาคต

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังมีแผนที่จะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากการสร้างฟาร์มกังหันลมและแสงอาทิตย์ (Green Energy) ให้ได้ร้อยละ 80 โดยการสร้างแรงจูงใจทางภาษีและมาตรการด้านการคลังอื่นๆ ให้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมไปถึงการรื้อกฎระเบียบว่าด้วยการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเดิมให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถประหยัดพลังงานได้อย่างเต็มที่ เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Sink และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Nature & Biodiversity) ตลอดจนการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจที่มีการหมุนเวียนการใช้วัสดุที่ดี (Circular Economy) และการปรับปรุงกฏระเบียบเกี่ยวกับมาตรการ EU Emissions Trading Scheme หรือ ETS ตลอดจนมาตรการวัดก๊าซ CO2 ในรถยนต์ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น แนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายเศรษฐกิจสีเขียวของสหภาพยุโรป ไม่เพียงแต่เป็นการแก้ไขปัญหาด้านเทคนิค เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือก แต่ต้องอาศัยการปฎิรูประบบเศรษฐกิจสังคมทั้งระบบ เนื่องจากวิกฤตโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกัน ทั้งในระดับประชาคมโลก และระดับประเทศ รวมถึงต้องมีการบูรณาการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ จึงจะเกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้

*****************

ที่มา: https://www.consilium.europa.eu/en/policies/climate-change/

https://www.euractiv.com/section/energy-environment/news/55-reduction-is-a-big-step-but-wont-close-the-gap-to-2050/

https://www.euractiv.com/section/energy-environment/news/eu-commission-launches-climate-pact-to-bring-public-on-board-with-green-deal/

ขอขอบคุณทีมงาน Thaieurope.net

Credit ภาพปก https://www.theswitchersfund.eu/en/category/switchersfund-news/

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมของทวีปยุโรปส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร