สนธิสัญญา เบา ว์ ริ ง สร้าง จุด เปลี่ยน สำคัญ ให้ กับ ประเทศไทย อย่างไร

 โหราศาสตร์ทำให้เห็นภาพใหญ่และเข้าใจถึงกงล้อประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต

วัตถุประสงค์สำคัญของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และรัฐไทยใหม่ คือการฟื้นฟูอารยธรรมและความรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา ไม่เพียงโครงสร้างการเมือง การปกครอง แต่รวมถึงสถาปัตยกรรมและราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2328 ที่ยึดแบบอย่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรของอยุธยาเมื่อปี 2301

ต้นรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองอยู่ในช่วงฟื้นฟูความมั่นคงของชาติและบูรณภาพของดินแดนยังคงมีการศึกสงครามหลายครั้ง ครั้งใหญ่สุดคือศึก 9 ทัพกับกองทัพพม่าของพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์คองบองปี 2328 ล่วงจนสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367) พันธกิจฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของอยุธยาจึงสำเร็จลุล่วง

ภัยคุกคามจากพม่าหมดไป หลังจากพม่าแพ้สงครามกับอังกฤษช่วงปี 2367-2369 จนต้องเสียดินแดนบางส่วนและชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม 1 ล้านปอนด์ เหตุการณ์นี้ทำให้โลกทัศน์ของบรรดาเจ้านายผู้ปกครองต้องเปลี่ยนไป เภทภัยที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวกว่าจากฝรั่งตะวันตกกำลังคืบคลานเข้ามา

ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคมในเอเชียเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสคือชาติแรกที่ครองเส้นทางการค้าทางทะเล บริษัทดัทช์อีสต์อินเดีย คือผู้ท้าทายและเอาชนะโปรตุเกสไปได้ ต่อมาบริษัทบริติชอีสต์อินเดีย ก็ขึ้นครองความยิ่งใหญ่แทน โดยเฉพาะเมื่อเข้าครองอินเดีย ค.ศ.1757 และในปี 1818 อินเดียทั้งหมดก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและถูกปกครองโดยบริติชอีสต์อินเดีย

อังกฤษจ้องไปที่พม่าอยู่แล้ว เมื่อขัดแย้งกันเรื่องแคว้นอัสสัมของอินเดีย อังกฤษจึงทำสงครามทันที พม่าพ่ายแพ้และตกเป็นอาณานิคมในที่สุด และด้วยฐานที่มั่นในอินเดีย อังกฤษจึงขยายการค้าไปจีน จุดเปลี่ยนอยู่ที่ปี 1781 เมื่ออังกฤษนำฝิ่นที่ปลูกในอินเดียไปขายจีน เพียง 40 ปียอดขายเพิ่มขึ้น 5 เท่า ปี 1838 เพียงปีเดียว อังกฤษขายฝิ่นมากถึง 1,400 ตัน มันสร้างปัญหาอย่างมากแก่จีน

ความพยายามของจีนที่จะหยุดยั้งการค้าฝิ่น นำไปสู่สงครามฝิ่นครั้งแรกกับอังกฤษเมื่อ 18 มีนาคม 1839 จีนพ่ายแพ้และยอมเซ็นสนธิสัญญานานกิงในวันที่ 29 สิงหาคม 1842 จีนและอินเดียคือมหาอำนาจเอเชีย เมื่อทั้งคู่แพ้แก่อังกฤษ พม่าศัตรูเก่าก็ถูกยึดครอง มหันตภัยมาถึงประตูบ้านแล้ว สยามจะทำเช่นไร?

อันที่จริง อังกฤษรุกสยามตั้งแต่ต้นกรุงแล้ว พ.ศ.2329 อังกฤษยุแหย่และยึดเกาะหมาก (ปีนัง) จากไทรบุรี เพื่อเป็นฐานที่มั่นของอีสต์อินเดียในการยึดครองคาบสมุทรมลายู ปี 2365 จอห์น ครอเฟิร์ด ข้าหลวงในอินเดียเข้ามาเจรจาการค้าและเรื่อง 4 หัวเมืองมลายู แต่ตกลงกันได้แค่เรื่องการค้า

3 ปีต่อมา อังกฤษส่งร้อยเอก เฮนรี เบอร์นีย์ แห่งอิสต์อินเดีย มาเป็นฑูตเจรจาและทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ในรัชกาลที่ 3 โดยลงนามวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สยามทำกับชาติตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์

การเปิดประเทศเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบมากมาย สยามจึงประวิงเวลา แต่อังกฤษก็รุกเร้าตลอด ถ้าไม่ยอมตาม ก็จะถูกนโยบาย เรือปืนบังคับเอาจนได้ (เหมือนจีน) ช่วงเวลานั้น พม่าก็ยอมแพ้ต่ออังกฤษในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2369 สถานการณ์บีบคั้น สยามจำต้องลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์

แต่อังกฤษยังไม่พอใจ ปี 2393 เซอร์เจมส์ บรุ๊ค เข้ามาเจรจาขอแก้ไขสัญญาสยามปฏิเสธ ทำให้เกิดความหวาดกลัวว่า จะเกิดสงครามสยามกับอังกฤษ เพียง 6 เดือนจากนั้น รัชกาลที่ 3 ก็เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 เมื่อ 2 เมษายน 2394

สถานการณ์เวลานี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง จะยอมรับการค้าเสรีและอิทธิพลชาติตะวันตกหรือไม่? รัชกาลที่ 4 ทรงใช้เวลาระหว่างผนวช 26 พรรษา ศึกษาสภาพความเป็นไปในบ้านเมือง ภาษาอังกฤษ วิทยาการตะวันตก และสถานการณ์โลก พระองค์จึงเหมาะสมที่สุดในการตัดสินปัญหาใหญ่ที่ชี้ชะตาบ้านเมือง

ชาติตะวันตกมีพลังอำนาจเหนือกว่าสยามมากนัก ทั้งมีเจตจำนงค์แน่วแน่ให้เปิดการค้าเสรี สยามจึงไม่มีทางเลือกอื่น เพราะอ่อนแอกว่า คงต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่เสียเปรียบก็ยังดีกว่าเสียเมือง มีสัญญาผูกมัดยังดีกว่าไม่มีข้อต่อรองใดเลย การเปิดประเทศก็ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวและมีโอกาสเปิดรับวิทยาการใหม่ รัชกาลที่ 4 ทรงตัดสินพระทัยนำสยามสู่การเปลี่ยนแปลง พระองค์ประกาศพร้อมทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ

อังกฤษจึงส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง เข้ามาเจรจาและทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับสยามโดยลงนามวันที่ 18 เมษายน 2398 ประทับตราและบังคับใช้ 6 เมษายน 2399 นี่คือสนธิสัญญาสำคัญและส่งผลกระทบมากที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทั้งเปลี่ยนประเทศไปสู่ยุคใหม่โดยสิ้นเชิง

สนธิสัญญาเบาว์ริ่งก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 4 ประการคือ (1) เปิดประตูให้ชาติอื่นๆ ทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับไทย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เท่ากับไทยถูกเอาเปรียบมากขึ้น (2) ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (3) ระบบเจ้าภาษีนายอากรถูกเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี โครงสร้างการคลังเปลี่ยนไป (4) การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ จากพึ่งพาตัวเองไปเป็นผลิตสินค้าพื้นฐานบางอย่างเพื่อส่งออก เช่น ข้าว ดีบุก ยางพารา สยามกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Global Supply Chain ของอังกฤษ

ในมุมโหราศาสตร์ สนธิสัญญาเบาว์ริ่งบอกอะไร? ตำแหน่งดาวในวันลงนามน่าสนใจมาก (1) มี Stellium ของอาทิตย์ จันทร์ อังคาร มฤตยู พลูโตในราศีเมษ เมษคือราศีลัคนา บ่งชี้ถึงความสำคัญและผลกระทบอย่างสูงต่อบ้านเมือง (2) เป็นวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 เพิ่งพ้นอมาวสีแค่ 2 วัน อมาวสีอยู่ที่ 3 องศาเมษ เป็นสงกรานต์พร้อมอมาวสีชี้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายตามมา

(3) อาทิตย์อุจจ์ อังคารเกษตร์ คงมีการหาฤกษ์วันลงนาม ถ้าเซ็นก่อนเที่ยง จันทร์เข้าภรณีฤกษ์ (มหัทธโน) ทับลัคน์พอดี ทั้งได้ดิถีอำมฤตโชค แต่จันทร์เพิ่งพ้นจันทร์ดับ อังคารก็กุมอาทิตย์สนิท เป็นอังคารดับซ้ำ บั่นทอนความเข้มแข็ง แต่ (ผู้วางฤกษ์) วางพฤหัสกุมภ์โยคหลัง 60 อังคารอาทิตย์สนิท ช่วยฟื้นฟูกำลัง (4) อังคาร-ดาวเจ้าเรือนลัคน์ เสียหายจริงๆ จากเสาร์ที่ทับสนิทและมุม 90 จากเนปจูน บ้านเมืองต้องเผชิญความยากลำบากและสับสนวุ่นวาย

(5) พุธทับพุธเดิมสนิท พุธคือสัญญาชี้ถึงการทำสัญญาสำคัญ พุธนิจจ์แต่เพ็ญและตกภพวินาศ มันให้ผลดีแต่ก็ซ่อนผลร้ายเอาไว้ด้วย (6) ศุกร์เกษตร์โยคหน้า 60 กับศุกร์เดิม เศรษฐกิจดีขึ้น (7) มฤตยูกุมจันทร์ (ดาวเจ้าเรือนภพ 4) และทับลัคน์สนิท มฤตยูคือการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง

สนธิสัญญาเบาว์ริงคือจุดเปลี่ยนของสยามเก่ากับใหม่ อารยธรรมอยุธยากับตะวันตก มฤตยูเข้าเมษตั้งแต่ 4 เมษายน 2392 เจมส์ บรุ๊ค ขอแก้ไขสัญญา แต่กว่าสยามจะตกลงกัน (ภายใน) ได้ ก็เป็นรัชกาลใหม่ โชคดีที่รัชกาลที่ 4 ทรงเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ปิดกั้นเหมือนจีน

มฤตยูทับลัคน์ดวงเมือง จึงเปลี่ยน วิกฤติเป็น โอกาสอย่างแท้จริง

การทำสนธิสัญญาบาวริ่งมีความสำคัญอย่างไร

สรุปสาระสําคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริง ได้ดังนี ให้คนในบังคับอังกฤษอยู่ภายใต้การควบคุมของกงสุลอังกฤษ ทําให้คนในบังคับอังกฤษไม่ต้อง ขึนศาลไทย 2. ยกเลิกพระคลังสินค้า ให้คนในบังคับของอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าเสรีในทุกเมืองท่า สามารถ ซือขายสินค้าได้โดยตรงกับธุรกิจเอกชนของไทย

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลต่อระบบใดของไทย

ความเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราที่มีต่อเศรษฐกิจไทยหลังสนธิสัญญา เบาว์ริง ในพ.ศ. 2398 ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการพัฒนาระบบ เงินตราที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น การค้าขายขยายตัวออกไป อย่างกว้างขวาง โดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การขยายตัว ทางการค้าทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศไม่เพียงพอกับ การค้าขาย ...

ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงคืออะไร

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าเสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้

สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยใด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

สนธิสัญญาเบาว์ริง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้า สนธิสัญญาฉบับนี้มีชื่อเรียกตามนามของทูตที่เข้ามาเจรจาว่า "สนธิสัญญาเบาว์ริง"