ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาได้ต้องทำอย่างไร

ปัญหานี้มีสอบถามกันมากช่วง 1 ปีก่อนหน้านี้ต่อเนื่องมาตลอดว่า จะทำอย่างไรดีผ่อนรถไม่ไหวแล้วจะขอคืนรถผู้ให้เช่าซื้อไม่ยอมรับคืน หรือถ้ารับคืนก็จะต้องเสียค่าส่วนต่างค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้ออีกไหม และเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดสามงวดติดต่อกัน หรือมากกว่า แต่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้บอกเลิกสัญญา หรือมีหนังสือบอกเลิกสัญญามาแล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนดเวลาที่จะเลิกสัญญา  อย่างนี้เกิดมีทีมยึดรถมาขอรับรถคืนไปก่อน หรือมายึดรถก่อนและผู้เช่าซื้อก็ไม่ขัดขวาง ยินยอมให้เอารถคืนไปโดยดี จะต้องรับผิดส่วนต่างดังกล่าวอีกหรือไม่   

หลักกฎหมาย  ป.พ.พ. การบอกเลิกสัญญา ผลของการเลิกสัญญา ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา มาตรา ๓๘๗, ๓๙๑, ๕๗๓

            มาตรา ๓๘๗  ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้

            มาตรา ๓๙๑  เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

            มาตรา ๕๗๓  ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง      

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๔๓/๒๕๖๓   บริษัท ส. (โจทก์) นาย ส.กับพวก(จำเลย)

            สัญญาเช่าซื้อมีข้อ  กำหนดว่า  “ผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง เจ้าของจะบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในเวลาอย่างน้อย ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าได้รับหนังสือ หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าซื้อพร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่าย และเงินอื่นใดที่ต้องชำระให้ครบจำนวนทันงวด ณ วันที่ชำระ ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลงทันที”  

จำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙  โดยโจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ ทวงถามให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตั้งแต่งวดวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ เบี้ยปรับและค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว หากไม่ชำระภายในกำหนดโจทก์ขอถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็นการบอกเลิกสัญญา  

โดยจำเลยที่ ๑ ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าววันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งจะครบกำหนด ๓๐ วัน ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๙  แต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ โจทก์กลับเข้าครอบครองรถแทรกเตอร์ในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน

ส่วนจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๗๓ ก็ยินยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองรถแทรกเตอร์โดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน

พฤติการณ์ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง และเมื่อเป็นการเลิกสัญญากันด้วยเหตุอื่น มิใช่การเลิกสัญญาเพราะเหตุที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระงับไปแล้วได้ คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินจากการใช้รถแทรกเตอร์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ยังคงครอบครองใช้สอยอยู่ตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ตามมาตรา ๓๙๑ วรรคสาม

       �ҵ�� 566 ��ҡ�˹������������ҡ�㹤�����赡ŧ�ѹ�������֧�ѹ��ɰҹ����� ��ҹ��Ҥ���ѭ�ҽ���㴨к͡��ԡ�ѭ�����㹢��������ش���������ѹ�繡�˹����Ф����ҡ���ء���� ���ͧ�͡��������ա����˹���������ǡ�͹���ǡ�˹����Ҫ��Ф���������˹�������ҧ���������ӵ�ͧ�͡�������ǧ˹�ҡ����ͧ��͹

                 การบอกเลิกสัญญาจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 คือ จำเลยจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในกำหนดเวลานั้น ถ้าโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ จึงจะถือว่าโจทก์ผิดนัดและจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแม้สัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที โดยไม่คำนึงว่าจำเลยเคยผ่อนผันการผิดสัญญาเช่นนั้นมาก่อนก็ตาม แต่การผ่อนผันการผิดสัญญาตามข้อสัญญาดังกล่าว

กรณีเรื่องเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อรถยนต์ได้เช่าซื้อรถยนต์ไปแล้วเห็นว่าตนไม่สามารถที่จะชำระค่าเช่าซื้อต่อไปได้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อได้ โดยวิธีส่งมอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อกลับคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นเจ้าของ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืนด้วยตนเอง และผู้เช่าซื้อจะต้องไม่ค้างชำระค่าเช่าซื้อแต่อย่างใด ซึ่งเป็นสิทธิของผู้เช่าซื้อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573 อย่างไรก็ดีแม้ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยการส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแล้วก็ตาม หากทรัพย์สินที่เช่าซื้อชำรุดบกพร่อง ผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ภายในอายุความหกเดือนนับแต่วันได้รับการส่งคืนรถยนต์ตามบทบัญญัติมาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2561

ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ 2 งวด โดยยังไม่ผิดนัดจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นเวลาก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 3 หนึ่งวัน แสดงว่าในขณะส่งคืนทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ยังหาได้ตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ กรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแล้วนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อในขณะที่ตนเองยังมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573ซึ่งบัญญัติว่า ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง อันเป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาได้ และส่งผลให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 มิได้ประพฤติผิดสัญญาแม้ในสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อความว่ากรณีที่เจ้าของได้รถกลับคืนมาไม่ว่าจะด้วยเหตุที่เจ้าของเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาโดยการส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนเจ้าของ หากเจ้าของนำรถออกขายได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดส่วนที่ขาดก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ปรากฏว่าขณะที่สัญญาเลิกกันจำเลยที่ 1 มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย