หลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ในการทำงานอย่างไร

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ไม่ว่าใครที่ได้ติดตามการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้วคงได้ประจักษ์ถึงคุณูปการที่มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดไม่ได้อย่างไร เพราะโครงการในพระราชดําริแต่ละโครงการมีความลึกซึ้งในหลักวิชาการที่สะกัดจนเหลือแต่แก่นแท้ที่เป็นสากลในการนำไปปฏิบัติ ผมเองในฐานะนักการศึกษาที่ทำงานสายพัฒนาก็พยายามศึกษาหลักคิดต่าง ๆ มาพิจารณางานพัฒนาที่ดำเนินการอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร

Ministry of Learning สำหรับฉบับนี้ถือเป็นฉบับพิเศษที่น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์แนวทางในการทำงานพัฒนาของ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดในภาษาง่าย ๆ แบบเล่าสู่กันฟังดู โดยขอจะอ้างถึงบทความเรื่อง ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง 101 ที่ได้สรุปแนวคิดที่ได้จากการบรรยายของท่านศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน ที่เล่าถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชิงระบบ (System Approach) ได้อย่างลึกซึ้งอย่างเป็นรูปธรรม

อันคำว่าเชิงระบบที่ว่านั้น หมายถึง การคิดแบบมีที่มาที่ไป มีความสัมพันธ์กันตามหลักการและเหตุผล (Logical) ซึ่งเมื่อผูกรวมกันเป็นภาพใหญ่แล้ว ก็จะเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวการ (Processes) ผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และ ผลกระทบ (Impacts) อย่างเป็นโครงสร้างชัดเจนที่สามารถไล่เรียงได้ดังนี้

ปัจจัยนำเข้า หรือ Inputs ประกอบไปด้วย “สองเงื่อนไข” ประกอบไปด้วย ความรู้ และ คุณธรรม

ในด้านความรู้นั้น การทำงานพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นจะต้องใช้องค์ความรู้ตามหลักทางวิชาการและประสบการณ์การทำงานทั้งในและต่างประเทศ หลักสำคัญคือก่อนที่จะดำเนินโครงการใด ๆ จะต้องศึกษาข้อมูลเชิงบริบทเพื่อเกิดความเข้าใจ และ ปรับปรุงรายละเอียดของแผนงานต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการ (Implementation) อยู่ในจุดที่สมดุลระหว่างผลลัพธ์ (Results) และ ความสัมพันธ์ที่ดี (Relationship) กับทุกฝ่าย

ในขณะที่ด้านคุณธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักปฏิบัติในการทำงานทุกขั้นตอนที่เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล โดยเฉพาะระบบตรวจสอบการบริหารการจัดการภายใน และ การตรวจสอบบัญชีจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการต่าง ๆ ของคีนันเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

กระบวนการ หรือ Processes ประกอบไปด้วย “สามห่วง” ได้แก่ ภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณ และ ความมีเหตุผล

ภูมิคุ้มกัน ในฐานะองค์กรพัฒนาคีนันได้สั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ เพื่อจัดทำระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กับพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพราะความเชี่ยวชาญคือทุนขององค์กร ดังนั้นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถ พร้อมต่อการทำงานที่มีคุณภาพจะเป็นภูมิคุ้มกันให้องค์กรสามารถพึ่งพาตนเองเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ความพอประมาณ หลักการสำคัญหนึ่งในการทำงานของเราคือการสร้างพันธมิตร (Partnership) กับภาคส่วนอื่น ๆ ดังนั้นการตั้งเป้าหมายการพัฒนาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพร่วมกับหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าโครงการต่าง ๆ จะตอบโจทย์ของการพัฒนาที่ยังอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่าย

ความมีเหตุผล การทำงานพัฒนาจะต้องมองหาความเชื่อมโยงถึงเหตุและผลในการดำเนินงาน เพื่อติดตามและประเมินความสำเร็จของโครงการอย่างมีหลักการ โดยคีนันได้พัฒนา Result Framework (ยังไม่พบคำแปลภาษาไทย) เพื่อที่จะรวบรวมผลลัพธ์การดำเนินการของโครงการต่าง ๆ ในภาพขององค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของผลการทำงานต่าง ๆ

ผลผลิต หรือ Outputs เป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการที่ดำเนินการมา ประกอบไปด้วย ความยั่งยืน ความสมดุล และ ความมั่นคง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ความยั่งยืน เมื่อมีความรู้และความชำนาญในการทำงานพัฒนาแล้ว ก็จะนำไปสู่การบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นความยั่งยืนขององค์กรให้สามารถดำเนินงานด้านการพัฒนาต่อไปได้อย่างต่อไปในระยะยาว

ความสมดุล ความสมดุลในที่นี้คือคำว่า “ไม่ทุกข์” เมื่อมีการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ร่วมกันอย่างเหมาะสม ก็จะทำงานที่มองเห็นเส้นชัยอย่างมีความเข้าใจ สามารถใส่ความตั้งใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่ ผลงานที่ได้ก็มีคุณภาพ เรียกว่า เหนื่อยแต่มีความสุข

ความมั่นคง เมื่อมีวิธีการทำงานที่มีเหตุผลตามหลักการแล้ว ความสำเร็จในการดำเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ ก็จะไม่คลาดเคลื่อนไปจากแผนที่วางไว้มากนัก (แน่นอนไม่มีอะไรสำเร็จทุกอย่าง/ทั้งหมด) แต่เมื่อเกิดความมั่นคงในการทำงานแล้วอัตราความสำเร็จ (Success Rate) ก็จะสูงขึ้นไปด้วย การลงทุนในงานพัฒนา (Return of Impact) ก็จะคุ้มค่ากับเงินบริจาคอย่างเต็มที่

ผลลัพธ์ หรือ Outcomes คือ ความสุขที่ได้จากความสำเร็จในการทำงานพัฒนาร่วมกัน ทั้งจากพนักงาน ผู้บริจาค ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ผู้รับผลประโยชน์ จากการมีความรู้ที่ดีขึ้น มีทัศนคติที่เป็นบวกกับการดำเนินชีวิตมากขึ้น และ มีแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความยั่นยืนทางสังคมต่อไป แม้ว่าคีนันจะเป็นหน่วยงานพัฒนาเล็ก ๆ แต่ความสำเร็จเล็ก ๆ นี้แหละ จะเป็นเมล็ดพันธุ์ให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานพัฒนาทั้งภายในและภายนอกต่อไป

ผลกระทบ หรือ Impacts ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะหมายถึง “ประโยชน์สุข” แต่ระดับขององค์กรหนึ่ง ๆ จะทำได้คงหมายถึงประโยชน์สุขในพื้นที่ที่เราลงไปทำงานด้วยตามสาขาที่มีการดำเนินงาน ทั้งด้านการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจ ชุมชน และ สาธารณสุข ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าเมื่อมองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านเลนส์ของงานพัฒนาแล้ว จะพบความสอดคล้องกันอย่างแยกไม่ออก เพราะเป็นปรัชญาที่เข้าใจแล้วเราจะมองหาการทำอะไรให้คนอื่นมากขึ้น ดังนั้นคีนันในฐานะองค์กรไม่แสวงหากำไรจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างทุนมนุษย์จึงเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมให้เดินต่อไปอย่าง เข้าใจ เข้าถึง และ พัฒนา

สำหรับฉบับนี้ Ministry of Learning ก็สมควรแก่เวลาแล้ว ขอให้มีความสุขและแรงบันดาลใจดี ๆ ในการทำงาน (ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็แล้วแต่) แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดี

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างไร

ทำไร่นาสวนผสม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนอกจากจะได้พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ก็ยังประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากอีกด้วย ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว เลือกใช้ปุ๋ยคอก ทำปุ๋ยหมักใช้เองร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น

การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชีวิตด้านการทำงานสามารถประยุกต์ในลักษณะใดได้บ้าง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรบุคคล การคัดสรร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องใช้หลักเหตุผล ในการวิเคราะห์ความต้องการของงานกำหนดตำแหน่งงานให้เหมาะสมในด้าน จำนวนและคุณสมบัติของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของงานในปัจจุบัน และสามารถรองรับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ดี

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

แนวทางการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้  ยึดหลักสามพอ พออยู่พอกิน พอใช้  ประหยัด  ประกอบอาชีพสุจริต  เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง  ทามาหากินก่อน ทามาค้าขาย  ใช้ภูมิป๎ญญาพื้นบ้าน ที่ดิน คืนทุนสังคม  ตั้งสติมั่นคง ทางานอย่างรู้ตัวไม่ประมาท  ใช้ป๎ญญาใช้ความรู้แท้  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ

นักเรียนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป เช่น ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อที่จะจัดการการใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบ ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสํานึกที่ดี เอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว