ธุรกิจสตาร์ทอัพ และ ธุรกิจ SMEs มีความแตกต่างกันในเรื่องของเงินทุนและแหล่งเงินทุนอย่างไร

“สตาร์ทอัพ” อีกคำยอดฮิตในยุคนี้ โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ที่ใครๆ ก็อยากเป็นสตาร์ทอัพ เพราะฟังดูแล้วรู้สึกคูล สะท้อนถึงความเป็นคนรุ่นใหม่ที่รักความท้าทาย มีความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถึงแม้จะเป็นคำที่คนจำนวนมากคุ้นหูแต่ก็ยังมีอีกหลากหลายคำถามเกี่ยวกับสตาร์ทอัพที่คนอยากรู้หรืออยากเข้าใจคำนี้ให้ชัดเจนขึ้น แค่เบื้องต้นหลายคนยังสับสนว่า Startup สะกดยังไงกันแน่ ติดกันหรือแยกกัน จริงๆ แล้วสามารถสะกดได้สองแบบคือติดกัน Startup และ Start-up (เขียนแยกต้องมีขีดกลาง) จะเลือกสะกดแบบไหนเลือกตามที่สะดวก เรามาเริ่มทำความเข้าใจกับสตาร์ทอัพกับ 5 คำถามที่คนอยากรู้กันเลย  


1.สตาร์ทอัพคืออะไร

สตาร์ทอัพที่ได้ยินกันบ่อยๆ แล้วรู้หรือไม่ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร? จริงๆ แล้วมีผู้ให้คำนิยามสตาร์ทอัพอยู่หลายเวอร์ชั่น แต่รวมๆ แล้วสตาร์ทอัพ คือผู้ประกอบธุรกิจที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือความต้องการของตลาดโดยนำเสนอผลิตใหม่ๆ หรือกระบวนการให้บริการแบบใหม่ ที่เรียกว่าเป็น Innovation สตาร์ทอัพเหมือนเป็นบริษัทเล็กๆ ที่อาจมีเจ้าของคนเดียวหรือทำธุรกิจในรูปแบบ partnership ที่ถูกออกแบบให้เติบโตเร็วและสามารถลดหรือขยายขนาดได้ง่าย เรามักคุ้นเคยกับสตาร์ทอัพที่นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้เทคโนโลยีเสียเป็นส่วนมาก นั่นเป็นเพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น internet, e-commerce, telecommunications หรือ robotics เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคใหม่มากขึ้น โดยกระบวนการจะเน้นการวิจัย การออกแบบ การทดลอง และการตรวจสอบยืนยันว่า innovation หรือสมมติฐานนั้นๆ สามารถใช้งานได้จริง

2.สตาร์ทอัพเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ใครคือสตาร์ทอัพรุ่นแรกๆ

จริงๆ แล้วสตาร์ทอัพเกิดขึ้นนานแล้ว เช่น บริษัท British East India ซึ่งอาจสามารถเรียกได้ว่า The pre-startup แต่ถ้าจะพูดถึงจุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพในยุคปัจจุบันมักมีการโยงถึง Silicon Valley ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ Tech company ในปัจจุบัน ตัวอย่างของสตาร์ทอัพรุ่นแรกๆ เช่น International Business Machines หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ IBM ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1911

ธุรกิจสตาร์ทอัพ และ ธุรกิจ SMEs มีความแตกต่างกันในเรื่องของเงินทุนและแหล่งเงินทุนอย่างไร

 แต่ถ้าจะพูดถึงสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ๆ ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 1990 ในยุคที่เรียกว่า dot.com boom ที่คนเชื่อว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ บริษัทที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นเช่น Amazon, Netscape หรือ Google เองซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1998 ที่จุดเริ่มต้นเป็นเพียงการทดลองแต่สุดท้ายเติบโตกลายเป็นบริษัทที่มีอิทธิพลต่อชีวิตผู้คนมากที่สุดบริษัทหนึ่งในโลก ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่สตาร์ทอัพทุกคนฝันอยากไปให้ถึง
 

3. เมื่อไหร่จะหมดความเป็นสตาร์ทอัพ (เปลี่ยนเป็น Enterprise)

จริงๆ แล้งคำถามนี้ยากที่จะตอบเพราะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว อย่างเช่นสตาร์ทอัพบางรายอาจใช้เวลา 4 ปีในการเปลี่ยนเป็นเอ็นเตอร์ไพรซ์ ในขณะที่บางแห่งใช้เวลา 7-10 ปี ซึ่งอาจวัดจากรายได้สุทธิ ผลกำไร จำนวนพนักงานที่แตะถึงจุดหนึ่ง ได้มีผู้ตั้งเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสตาร์ทอัพนั้นๆ โตเกินกว่าจะเรียกว่าสตาร์ทอัพหรือไม่โดยใช้กฎ  The 50-100-500 rule โดยผู้กำหนดเกณฑ์นี้คือ Alex Wilhelm โดยถ้าสตาร์ทอัพรายใดมีตัวเลขถึงหรือเกินจำนวนที่กำหนดก็ถือโตเกินกว่าที่จะเรียกว่าสตาร์ทอัพได้แล้ว

  • มีรายได้สุทธิเท่ากับหรือมากกว่า $50 ล้าน (ในรอบ 12 เดือน)
  • มีจำนวนพนักงาน 100 คนขึ้นไป
  • มีมูลค่าบริษัทเท่ากับหรือมากกว่า $500 ล้าน

4. สตาร์ทอัพต่างจาก SME อย่างไร?

ทั้งสตาร์ทอัพและ SME มีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นองค์กรขนาดเล็กคือมีผลประการไม่มากและมีพนักงานน้อย แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่นกัน โดยแบ่งความแตกต่างออกได้ใน 3 มุม ได้แก่

ธุรกิจสตาร์ทอัพ และ ธุรกิจ SMEs มีความแตกต่างกันในเรื่องของเงินทุนและแหล่งเงินทุนอย่างไร

INTENT: สตาร์ทอัพมีจดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่จะโตไปสู่องค์กรขนาดใหญ่ ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจเดิม (disruptive) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการบริการแบบใหม่ๆ จนไปถึงการสร้างตลาดใหม่  ในขณะที่ SME ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง มีรายได้ที่มั่นคงในตลาดของตัวเอง (Local market)

FUNCTION: โครงสร้างองค์กรของสตาร์ทอัพเน้นโครงสร้างที่เป็นโมเดลที่นำไปทำซ้ำได้ ขยายหรือลดขนาดได้ โดยใช้กระบวนวิจัย การตั้งสมมติฐาน การทดลอง และประเมินผล นั่นแปลว่าสตาร์ทอัพนั้นๆ อาจประสบความสำเร็จกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่ถ้าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูก แต่ถ้าสมมติฐานและการทดลองผิดพลาดอาจต้องล้มเลิกและต้องเริ่มต้นหาโอกาสหรือสมมติฐานใหม่ๆ   ในขณะที่ SME มีโครงสร้างองค์กรที่เน้นในเรื่องการส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าของตัวเอง ดังนั้นโครงสร้างองค์กรของ SME จึงไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆหรือต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

FUNDING: สำหรับสตาร์ทอัพเพื่อที่จะสามารถเติบโตเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการได้ ต้องมีการระดมหรือหาเงินทุน หาผู้ร่วมลงทุนทั้งการแชร์ผลกำไร หรือการหานักลงทุนมาลงทุนในโครงการ  ในขณะที่ SME เจ้าของธุรกิจจะดำเนินธุรกิจด้วยตัวเองหาเงินทุนเอง ซึ่งอาจเป็นเงินทุนส่วนตัวหรือการกู้ยืมจากธนาคาร


5. สตาร์ทอัพหาเงินทุนอย่างไร

สตาร์ทอัพมีวิธีการหาเงินทุนอยู่หลักๆ 4 แบบ ได้แก่

ธุรกิจสตาร์ทอัพ และ ธุรกิจ SMEs มีความแตกต่างกันในเรื่องของเงินทุนและแหล่งเงินทุนอย่างไร

1. Bootstrapping หรือการใช้เงินทุนของตัวเอง เป็นวิธีที่เหมาะสมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจที่ยังไม่มีผลงานหรือผลลัพธ์ที่จะโชว์กับนักลงทุน
 

2. Crowdfunding เป็นอีกวิธีการที่เป็นที่นิยม และเหมาะสำหรับสตาร์ทอัพที่เริ่มมีชื่อเสียงมีผลงานที่สามารถแสดงได้ชัดเจน เจ้าของสตาร์ทอัพจะต้องแสดงรายละเอียดของธุรกิจ เป้าหมายทางธุรกิจ แผนการในการสร้างกำไร และจำนวนเงินทุนที่ต้องการพร้อมทั้งเหตุผลเพื่อแสดงบน crowdfunding แพลตฟอร์ม เมื่อมีผู้สนใจในแนวคิดและแผนงานเขาก็สามารถให้เงินทุนซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบของการจ่ายเงินเพื่อสินค้าหรือบริการล่วงหน้า หรืออาจให้เปล่าในรูปของการบริจาค ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจและมีความเชื่อในความคิดของสตาร์ทอัพนั้นๆ สามารถร่วมสนับสนุนเงินทุนได้


3. Angel Investment คือ การหานักลงทุนที่มีความสนใจและมีความเชี่ยวชาญในการลงทุนในสตาร์ทอัพ โดยปกติมักจะมีการขอ proposals และมีการตรวจสอบก่อนการลงทุน นอกจากนั้นนักลงทุนอาจร่วมให้คำปรึกษาหรือเป็นเมนเทอร์ให้กับสตาร์ทอัพด้วย นักลงทุนมีส่วนอย่างมากในการช่วยสตาร์ทอัพที่โดดเด่นและมีศักยภาพ อย่างเช่น Google หรือ Yahoo ในอดีต การลงทุนในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่สตาร์ทอัพอยู่ในช่วงแรกของการเติบโต (early stages of growth) โดยนักลงทุนหวังผลกำไรถึง 30% จากเงินลงทุน และมักนิยมในการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน

4. Venture Capital (VC) Venture capitals เป็นผู้บริหารเงินทุนและลงทุนอย่างมืออาชีพที่จะลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง มีความโดดเด่น นักลงทุนกลุ่มนี้มักออกจากการลงทุนเมื่อสตาร์ทอัพรายนั้นเติบโตจนเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือถูกซื้อจากนักลงทุนรายอื่น นอกจากให้เงินทุน VC ยังช่วยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยประเมินผลทั้งในแง่ของ sustainability and scalability อีกด้วย

จากคำถามทั้ง 5 ข้อคงทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่าสตาร์ทอัพคืออะไร มีจุดริ่มต้นอย่างไร รวมทั้งมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจแบบไหน การเป็นสตาร์ทอัพอาจฟังดูแล้วทันสมัย โก้เก๋ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์และฝันใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าทุกรายจะประสบความสำเร็จ เพราะผลการศึกษาพบว่า 90% ของ สตาร์ทอัพไปไม่ถึงฝั่ง แต่ถ้าคุณกำลังตัดสินใจเป็นสตาร์ทอัพก็อย่าทำให้ตัวเลขนี้ทำให้คุณถอยหลัง เพราะคุณอาจเป็นหนึ่งใน 10% ที่ประสบความสำเร็จก็ได้ และเราก็หวังว่าจะมีสตาร์ทอัพไทยบินไปไกลถึงระดับยูนิคอร์นในอนาคตอันใกล้นี้

อ้างอิง

https://www.growly.io/what-is-a-startup-the-historical-background/

https://starting-up.org/en/starting-up/introduction/startup-history/

https://www.business.com/articles/at-what-point-are-you-no-longer-a-startup/

ธุรกิจสตาร์ทอัพกับธุรกิจ SME ต่างกันอย่างไร

หากเราวัดความแตกต่างที่ “ขนาดของกิจการ” เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ สำหรับ Start Up มักจะมีขนาดที่เล็กมาก ๆ และสินทรัพย์ส่วนใหญ่ในตอนต้นจะมีน้ำหนักไปทาง “ไอเดียใหม่ ๆ” หรือสินทรัพย์ทางปัญญา ในขณะที่ SME จะมีขนาดกิจการที่ใหญ่กว่า และสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้นั่นเองครับ

SME กับ Startup เหมือนกันอย่างไร

ความเหมือนและแตกต่างระหว่างธุรกิจเอสเอ็มอี และ Startup คือ การลงทุนของ SME เป็นการใช้เงินทุนส่วนตัวและการกู้ยืม ส่วน Startup เป็นทุนส่วนตัว และการระดมทุน สำหรับผลิตภัณฑ์นั้น ผลิตภัณฑ์ของ SME มักเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ของ Startup เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่และเปลี่ยนวิถี ...

SMEs กับ SME ต่างกันยังไง

หลายคนคงสงสัยว่าเจ้าตัว SME กับSMEs แตกต่างกันอย่างไร จากการหาข้อมูลแล้วพบว่าทั้งสองตัวนี้ไม่ได้แตกต่างกันเลย ซึ่งทั้งสองคำย่อมาจากทำว่า Small and Medium Enterprises ซึ่งแปลว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่นเดียวกัน ซึ่งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และภาครัฐส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้คำว่าSMEs.

Startup ต่างจากธุรกิจทั่วไปอย่างไร

Startup : มักขึ้นกับโมเดลธุรกิจ โดยมากธุรกิจ Startup จะนำเงินทุนมาใช้พัฒนาธุรกิจ โดยอาจสร้างนวัตกรรมใหม่ จัดจ้างพนักงาน ทำให้ยังไม่เห็นรายได้ที่ชัดเจนในช่วงแรก แต่อาจเห็นภาพการทำงาน ผลิตภัณฑ์ของ Startup ได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อผลิตภัณฑ์ของ Startup ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีรายได้เข้ามาจนเกิดเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น