สังคมและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

หน้าที่ทางเศรษฐกิจเป็นหน้าที่อันจำเป็นของสังคม  เป็นหน้าที่ที่สังคมจะต้องจัดให้มีขึ้น เพื่อความอยู่รอดของสังคม  หากสังคมใดไม่จัดให้มี  หรือไม่สนใจหน้าที่ทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร  สังคมนั้นก็จะเสื่อมสลาย เพราะสมาชิกในสังคมไม่มีกินไม่มีใช้ หรือมีแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการที่จำเป็น
  
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงเป็นกิจกรรมที่สังคมต้องจัดให้มีขึ้น  เพื่่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม  และยังเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในสังคมอีกด้วย

เศรษฐกิจและสังคมจึงมีอิทธิพลซึ่่งกันและกัน  กล่าวคือ  เมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างและหน้าที่ของสังคม  จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตามไปด้วย  ในขณะเดียวกัน เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

นักเศรษฐศาสตร์การพัฒนายังพบอีกว่า ความแตกต่างของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา ก็เกิดมาจากความแตกต่างของแบบแผนทางสังคมที่แตกต่างกันเป็นส่วนใหญ่

แบบแผนทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในประเทศด้อยพัฒนามักจะไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  กล่าวคือ จะมีความคิด ความเชื่อ และค่านิยม หรือมีวัฒนธรรมที่ไม่กระตุ้นให้คนทำงานหนัก มีการเสี่ยงในการลงทุน ตลอดจน ไม่กระตุ้นให้เกิดการอดออม

จึงสามารถสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็ดี การพัฒนาเศรษฐกิจ ก็ดี มีผลมาจากความพยายามของสมาชิกในสังคม ส่วนสมาชิกจะมีความพยายามมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสมาชิกในสังคมนั้น  ว่าเป็นอุปสรรคหรือส่งเสริมการพัฒนา

ดังนั้น การพัฒนาตามแนวความคิดใหม่ จึงมุ่งที่การปรับปรุงชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้นทุกๆด้าน หรืออย่างน้อยจะต้องดีขึ้นใน 3 ด้านใหญ่ๆต่อไปนี้ คืิอ

          1. มีสิ่งสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิตอย่างเพียงพอ  ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ตลอดจนบริการทางการแพทย์และสาธารณะสุข

          2. มีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  อันเกิดจากการมีการศึกษาและการมีงานทำ รวมทั้งมีสถานภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม

          3. มีเสรีภาพทางสังคมในด้านต่างๆ เช่น เสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพ การเลือกถิ่นที่อยู่ และการเลือกบริโภค เป็นต้น

นั่นคือ ถ้าจะศึกษาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมให้เข้าใจได้ดีขึ้น จำเป็นจะต้องศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไปพร้อมๆกัน  ในขณะเดียวหากต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืน จะต้องพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย

การศึกษาพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างไร

การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม  เป็นการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ หน้าที่ ปทัสถาน แนวความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของสังคม เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข

สำหรับการจัดการศึกษเพื่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมนั้น  เป็นการจัดเพื่อให้ระบบการศึกษาได้ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ได้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

การถ่ายทอดสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม  เพราะวัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม  จึงเป็นหน้าที่ของการศึกษาที่จะต้องถ่ายทอดสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมให้กับผู้เรียน  เพื่อให้สังคมรักษาไว้  เพราะหากไม่มีวัฒนธรรม  ความเป็นสังคมและความเป็นชาติจะหมดไปในที่สุด  อย่างก็ตาม  วัฒนธรรมที่ถ่ายทอดนั้นจะต้องมีการเลือกสรรอย่างดี เพื่อจะได้ถ่ายทอดเฉพาะแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อความอยู่รอดของสังคม เป็นวัฒนธรรมที่ช่วยให้สังคมเกิดความก้าวหน้า และดำรงไว้ซึ่งความมีเอกลักษณ์ของชาติ

การเปลี่ยนแปลง การศึกษาจะต้องทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และปทัสแบบดั้งเดิมบางอย่าง  ที่อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนา เป็นต้นว่า การไม่เห็นความสำคัญของเวลา การเชื่อในอำนาจภายนอก การมุ่งประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ การไม่มีวินัย  รังเกียจงานใช้มือ การมุ่งในปัจจุบัน ฯลฯ เหล่านี้  การศึกษาจะต้องทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง  เพราะลักษณะที่กล่าวมาแล้วนั้น  ไม่เพียงแต่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเท่านั้น  ยังก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้นมาอีกด้วย

การสร้างเสริม  ถ้าหากจะให้การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมดำเนินไปด้วยดี  การศึกษาจะต้องทำหน้าที่สร้างเสริมลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนา  ให้เกิดขึ้นในตัวสมาชิกของสังคม  เป็นต้นว่า การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีศรัทธาในความสามารถของตนเอง  ความมีวินัย การรักการทำงาน การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม  มีค่านิยมในเชิงเสมอภาค การมุ่งอนาคต ฯลฯ เพราะลักษณะดังกล่าวนี้  เป็นลักษณะที่ช่วยให่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อสังคมจะได้อยู่กันอย่างปกติสุขและมีความมั่นคง

อย่างไรก็ตาม การศึกษาจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้สมบูรณ์  ก็ต่อเมื่อระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านบริหาร การเรียนการสอน การจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผลการศึกษา เพื่อไม่ให้การศึกษาเป็นตัวแทนของความด้อยพัฒนา ที่สร้างเสริมและอนุรักษ์ความด้อยพัฒนาให้คงอยู่ในสังคม

การที่จะสามารถนิยามความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมจารีตได้นั้น ขั้นแรกต้องเข้าใจถึงลักษณะจำเพาะ เป้าประสงค์ และผลผลิตของทั้งศาสนาและวัฒนธรรมเสียก่อน.

บางคนปฏิเสธความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง ทัศนคตินี้ค่อนข้างจะไร้เหตุผล ทั้งนี้ก็เพราะแม้ว่าวัฒนธรรมจารีตบางประเภทอาจจะผิดแผกและไม่เป็นที่ยอมรับโดยศาสนาเนื่องจากขัดต่อเป้าประสงค์ที่ศาสนามุ่งนำพามนุษย์สู่ความผาสุก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีวัฒนธรรมจารีตอีกมากมายที่สอดคล้องและได้รับการยอมรับโดยศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีวัฒนธรรมจารีตบางส่วนที่เกิดขึ้นจากคุณค่าที่ได้รับการฟูมฟักโดยศาสนาเช่นกัน.

คำตอบโดยละเอียด :

คำว่า "ดีน"  (ศาสนา) ในเชิงภาษาอรับมีความหมายที่หลากหลาย อาทิเช่น  การตอบแทน ,การภักดี, ความเคยชิน ,การตัดสินพิพากษา แต่จากจำนวนความหมายดังกล่าว ขุมตำราตัฟซีรกุรอาน(อรรถาธิบาย)รวมทั้งตำราไวยากรณ์อรับบ่งชี้ว่าอัลกุรอานใช้คำว่า ดีน เพื่อสื่อความหมายถึงความภักดี และการตอบแทนเสียส่วนใหญ่ ส่วนความหมายอื่นๆที่มีอยู่ประปรายนั้นก็ได้แก่ การหยิบยืมทรัพย์สิน การคำนวณและการตราคำสั่ง[1]

โองการที่สื่อความหมายถึงการภักดีนั้นได้แก่ "لااکراه فی الدین"؛  (ไม่มีการข่มบังคับในเรื่องของการภักดี)[2]  ส่วนโองการที่สื่อความหมายถึงการตอบแทนก็ได้แก่ "مالک یوم الدین"(จ้าวแห่งวันตอบแทน)

ส่วนความหมายของคำว่าดีนหรือศาสนาในแวดวง(วิชาการอิสลาม)นั้น ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานี (นักไวยากรณ์อรับนามอุโฆษ)เชื่อว่าเป็นการอุปมาอุปมัยถึง ชะรีอัต[3](บทบัญญัติศาสนา) ส่วนท่านฟาฎิล มิกด้าด เชื่อว่าหมายถึง ฎอรีกัตและชะรีอัต[4](วิถีทางและบทบัญญัติศาสนา)  นอกจากนี้ศาสนายังหมายถึงพันธะสัญญาต่างๆที่มีต่อพระเจ้า ซึ่งจะขับเคลื่อนมนุษย์ให้ประคองตนสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ประทานแก่ท่านศาสดา  ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความหมายเชิงกว้างของคำว่า "ดีน" (ศาสนา) ที่สามารถปรับประยุกต์และนำมานิยามบทบัญญัติจากพระเจ้าที่ได้ประทานแก่เหล่าศาสดาทุกท่าน.[5]

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาสนาอุดมไปด้วยแนวความเชื่อ ,ศีลธรรมจรรยา และประมวลบทบัญญัติจากพระเจ้านั่นเอง[6]

อย่างไรก็ดี ความหมายจำเพาะของคำว่าดีน (ศาสนา) หรือศาสนาที่เที่ยงธรรมดังที่ปรากฏในโองการอัลกุรอานนั้นก็คือ "อิสลาม"

 "ان الدین عندالله الاسلام..."(แน่แท้ อิสลามคือศาสนา(อันเที่ยงธรรม) ณ อัลลอฮฺ)[7]

ส่วน "วัฒนธรรม"นั้น นับเป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมมากที่สุดคำหนึ่งในเชิงสังคมศาสตร์ โดยมีผู้นิยามความหมายคำนี้ไว้อย่างหลากหลาย

ในเชิงภาษา วัฒนธรรมหมายถึงจรรยามารยาท, องค์ความรู้, ศาสตร์ และความเข้าใจ[8]

ส่วนความหมายในแวดวงสังคมศาสตร์นั้นหมายถึง ความรู้และจรรยามารยาท, จารีตประเพณี, วัตรปฏิบัติของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งกลุ่มชนนั้นๆสืบสานและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด[9]

บ้างก็นิยามวัฒนธรรมว่า หมายถึงประมวลองค์ความรู้ต่างๆ ศิลปแขนงต่างๆ แนวคิดและความเชื่อ, ศีลธรรมจรรยา, กฎเกณฑ์และข้อตกลง รวมทั้งจารีตประเพณีทั้งหลาย.[10]

เพราะฉะนั้น ต่อข้อซักถามที่ว่า ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่?  และหากมีความเชื่อมโยงกัน จะถือว่าสองข้อเท็จจริงนี้คือสิ่งเดียวกันได้หรือไม่? เราจะถือว่าศาสนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฒนธรรม หรือในทางกลับกัน เราจะเชื่อว่าศาสนาคือบ่อเกิดของวัฒนธรรมได้หรือไม่?  ปริศนาเหล่านี้ เนื่องจากวัฒนธรรมมีคำนิยามที่หลากหลาย จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงวิชาการต่อไป

บางคนเชื่อว่าไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆระหว่างคำว่าศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคมและเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของชาติ  วัฒนธรรมค่อยๆผลิดอกออกผลภายในสังคม โดยที่ปัจจัยทางธรรมชาติและภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่นสามารถก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมมิใช่สิ่งอื่นใดเลยนอกจากผลผลิตที่สังคมได้สังเคราะห์ขึ้นท่ามกลางบริบททางธรรมชาติและภูมิประเทศ (และปัจจัยทางประวัติศาสตร์) และได้มอบเป็นมรดกแก่คนในสังคมสืบไป  ทว่าในทางตรงกันข้าม ศาสนามิใช่มรดกทางสังคม ศาสนามิใช่ผลงานที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้น หากจะกล่าวตามประสานักเทวนิยมก็ก็กล่าวได้ว่า "ศาสนาเป็นสถาบันที่พระเจ้าสถาปนาขึ้น"  หากมองในมุมนี้แล้ว เราจะพบว่าศาสนามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในแง่จุดกำเนิด แต่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสอดคล้องกัน[11]

อย่างไรก็ดี นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นการยากที่จะปฏิเสธสัมพันธภาพที่มีระหว่างนัยยะของศาสนาและวัฒนธรรม  ทั้งนี้เนื่องจากคำสอนศาสนาหลายประการนับเป็นคำสอนทางวัฒนธรรมด้วยนั่นเอง  กล่าวคือ หากศาสนาสอนเกี่ยวกับหลักความเชื่อและศีลธรรมจรรยา ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งดังกล่าวถือเป็นแก่นของวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน  และหากจรรยามารยาทและจารีตต่างๆคือองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรม อย่าลืมว่าชะรีอัต (บทบัญญัติ) ของศาสนาก็พูดถึงเรื่องดังกล่าวเช่นกัน [12]

อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางภูมิประเทศและสภาวะดินฟ้าอากาศ  วัฒนธรรมจารีตบางอย่าง อาทิเช่นการฝังบุตรสาวทั้งเป็นในยุคอรับญาฮิลียะฮ์  รวมถึงอุตริกรรมและสิ่งงมงายอันแพร่หลายซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ค่อยๆแปรสภาพเป็นวัฒนธรรมนั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนของศาสนาอย่างแน่นอน วัฒนธรรมจารีตบางประเภทสามารถเป็นที่ยอมรับของศาสนาได้หากได้รับการสังคายนาแก้ไขบ้างเสียก่อน  และวัฒนธรรมจารีตบางประเภทก็เกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาคำสอนของศาสนาโดยตรง

หากจะพิจารณาถึงจุดกำเนิดของศาสนา  ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆชี้ให้เห็นว่าศาสนาแต่ละศาสนาจะกำเนิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของระบอบศาสนาที่มีอยู่เดิมได้เสื่อมลงหรืออาจเกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อศาสนาหนึ่งเริ่มแผ่ขยายขึ้นก็มักจะปฏิวัติโค่นล้มหรือไม่ก็ปฏิรูปโครงสร้างค่านิยมเดิมในสังคม ส่งผลให้วัฒนธรรมของสังคมดังกล่าวสั่นสะเทือนรุนแรงและหาทางกำจัดเนื้อหาของตนบางประการ และยอมรับเนื้อหาอันสอดคล้องกับคุณค่าชุดใหม่ของศาสนาหรือสำนักคิดใหม่  จากจุดนี้เองที่เราจะเห็นว่าศาสนาหรือสำนักคิดสามารถสร้างวัฒนธรรมได้

อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าทุกศาสนาจะสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาได้ ข้อเท็จจริงก็คือ ศาสนาทุกศาสนาจะสร้างสรรค์/นำเสนอคุณค่าชุดหนึ่งขึ้นมา โดยที่คุณค่าเหล่านี้:

1.             สวมบทบาทวัฒนธรรมเข้าแก้ไขวัฒนธรรมเดิมที่ขัดแย้งกับคุณค่าดังกล่าว ดังกรณีที่วัฒนธรรมจารีตการฝังบุตรสาวทั้งเป็นได้ถูกเพิกถอนหลังอิสลามแผ่ขยาย

2.             เข้าเติมเต็มวัฒนธรรมที่ว่างเปล่าไร้ซึ่งเนื้อหาคุณค่า หรือในกรณีที่วัฒนธรรมบางอย่างห่อหุ้มเนื้อหาที่เป็นภัยคุกคามต่อคุณค่าชุดใหม่ แต่ยังสามารถชำระให้บริสุทธิ์จากเนื้อหาเก่าได้ ศาสนาก็จะแปรสภาพวัฒนธรรมดังกล่าวให้พร้อมต่อการเจริญงอกงามของคุณค่าชุดใหม่ ดังจะเห็นได้จากกรณีการประกอบพิธีฮัจญฺที่เคยคลาคล่ำไปด้วยเนื้อหาของการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ดในยุคญาฮิลียะฮ์ (อวิชชา) อิสลามมิได้ขจัดวัฒนธรรมดังกล่าวอย่างถอนรากถอนโคน แต่ได้อนุรักษ์ไว้โดยเติมเต็มเนื้อหาเข้าไปให้สมบูรณ์  ด้วยเหตุนี้เองที่วัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่ได้ในโครงสร้างของคุณค่าชุดใหม่ต่อไปได้ ดังเช่น วัฒนธรรมการฉลองปีใหม่ของชาวอิหร่านก่อนและหลังอิสลาม[13]

ขอย้ำอีกครั้งว่าศาสนาใหม่มิได้นำมาซึ่งวัฒนธรรมใหม่  แต่ศาสนาจะนำเสนอคุณค่าชุดใหม่  โดยที่สังคมจะก่อกำเนิดวัฒนธรรมขึ้นตามบริบทของคุณค่าชุดดังกล่าว  และเมื่อวัฒนธรรมใหม่ถือกำเนิดขึ้นตามคำสอนของศาสนาใหม่ ครั้นเวลาผ่านไป ศาสนาก็จะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆในที่สุด

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ก็คือ หากศาสนาใดศาสนาหนึ่งมีอิทธิพลเหนือความคิดของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ย่อมจะให้กำเนิดพหุวัฒนธรรมอันหลากหลายทว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าชุดเดียวกัน  คงไม่ถูกต้องนักที่จะคิดว่าเมื่อศาสนาเข้าสู่เขตคามใดย่อมจะบังเกิดวัฒนธรรมเดียวเท่านั้น  ที่ถูกต้องก็คือ ศาสนาจะผลักดันให้คุณค่าชุดเดียวโดดเด่นและมีอิทธิพลเหนือกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย  ส่วนวัฒนธรรมนั้นจะแตกต่างกันไปตามภูมิหลังทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่น  ทั้งนี้ก็เพราะกรอบแห่งวัฒนธรรมเกิดขึ้นบนพื้นฐานทางภูมิประเทศและสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง[14]

วัฒนธรรมสำคัญอย่างไรในสังคม

วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ 2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย 3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมก่อให้เกิดกระบวนการใดบ้าง

เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้ กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน สังคม เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ตนเองได้รับ เกิดความมีระเบียบวินัยในสังคมนั้นๆ เพราะทุก

สังคมและวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย 1. ยึดถือพระมหากษัตริย์และนับถือพระพุทธศาสนา 2. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่ค่อยมีการรักษากฎเกณฑ์ระเบียบอย่างเคร่งครัด มีการผ่อนปรนใน เรื่องต่าง ๆ 3. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ 4. ส่วนใหญ่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและจิตใจเรียกว่าอะไร

1. คติธรรม คือ วัฒนธรรมทางศีลธรรมและทางจิตใจ อันเป็นคติหรือหลักการดาเนินชีวิตที่ ส่วนใหญ่รับมาจากหลักธรรมทางศาสนามีความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจเป็นสาคัญ