การเมือง การปกครอง แตก ต่าง กันอย่างไร

ระบอบการปกครองในโลกปัจจุบัน
               ระบบการเมืองการปกครอง เป็นแบบแผนที่ก่อให้เกิดข้อตกลงเพื่อให้มีผลบังคับใช้กับสมาชิกในสังคม เพื่อความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั่วโลกมีรูปแบบการปกครองอยู่ 2 แบบ คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการ ทั้งสองระบอบนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจผ่าน 3 องค์กร อันได้แก่ นิติบัญญัติผ่านรัฐสภา บริหารผ่านรัฐบาล และตุลาการผ่านศาล ซึ่งประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

รูปแบบการเมืองการปกครอง
               ระบบการเมืองการปกครอง หมายถึง แบบแผนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ก่อให้เกิดข้อตกลงใจ รวมทั้งมีอำนาจบังคับสมาชิกในสังคมให้ต้องปฏิบัติ ในปัจจุบันรูปแบบของระบบการเมืองการปกครองที่รัฐหรือประเทศต่างๆ ในโลกที่เด่นชัดมี 2 ระบอบ คือ ระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ

              1. ระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ

การเมือง การปกครอง แตก ต่าง กันอย่างไร

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vblog/1495

              ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
              หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยยึดหลักการต่อไปนี้ คือ
              1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจในกิจการต่างๆ ร่วมกัน
              2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา
              3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อปวงชน กล่าวคือ ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศต้องปกครอง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่มิใช่เพื่อหมู่คณะของตนเอง
              4. หลักเหตุผล ระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง
              5. หลักเสียงข้างมาก เมื่อมีการอภิปรายแสดงข้อคิดเห็นกันแล้ว การหาข้อยุติต้องเกิดจากการออกเสียงลงคะแนนเสียง มติของที่ประชุมเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ
              6. หลักความยินยอม เป็นการได้รับฉันทานุมัติจากปวงชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยให้เข้ามาเป็นตัวแทนใช้อำนาจของประชาชนภายในระยะเวลาที่กำหนด
              7. หลักประนีประนอม เมื่อเกิดข้อขัดแย้งไม่มากนัก ก็อาจมีการประนีประนอมโดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นเกณฑ์ โดยไม่ต้องมีการลงคะแนนเพื่อหาข้อยุติ
              8. หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยให้ความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถือว่า มนุษย์ที่เกิดมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
              9. หลักเสรีภาพ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องให้เสรีภาพแก่ปวงชนภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การชุมนุม การศึกษาอบรม การรวมตัวกันเป็นสมาคม
              10. หลักการปกครองตนเอง เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนหรือท้องถิ่นได้มีโอกาสปกครองตนเอง เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมสามารถรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ดีกว่าบุคคลอื่น

           2. การปกครองแบบเผด็จการ ระบอบเผด็จการ เป็นระบบการปกครองที่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย ผู้ปกครองจะมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง โดยไม่สนใจสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การได้มาของการเป็นผู้นำในระบอบเผด็จการ มักจะเกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร

            หลักการสำคัญของการปกครองแบบเผด็จการ
            หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
            1. อำนาจรัฐอยู่เหนือประชาชน ไม่ยินยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ต้องปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือโต้แย้ง
            2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้อำนาจ แก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง เด็ดขาด ใช้อำนาจทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งต่อรัฐ
            3. ปกครองประเทศโดยมุ่งเน้นประโยชน์ของภาครัฐมากกว่าสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
            4. เน้นการเชื่อผู้นำพาชาติก้าวหน้า เพื่อสร้างศรัทธาและบารมีของผู้นำ
            5. มีการรวมอำนาจปกครองไว้ในที่แห่งเดียว ศูนย์กลางในการสั่งการ คือ ตัวผู้นำซึ่งจะรวมทั้ง 3 สถาบันอยู่ในการปกครองของตนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว
การเมือง การปกครอง แตก ต่าง กันอย่างไร

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132995

การเมือง การปกครอง แตก ต่าง กันอย่างไร

http://krujiraporn.wordpress.com/2011/07/05/ระบอบการปกครองในโลกปัจ/
http://writer.dek-d.com/freya1412/story/viewlongc.php?id=733167
https://sites.google.com/site/tauw2491/sm43

การเมือง การปกครอง แตก ต่าง กันอย่างไร

การเมืองการปกครองมีความหมายว่าอย่างไร

การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น

การเมืองการปกครองของไทยมีอะไรบ้าง

ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งมีการปกครองในกรอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประมุขแห่งรัฐ ส่วนนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันคือประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลไทยเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติอยู่กับรัฐสภาไทย ...

การเมืองมีความสําคัญอย่างไร

การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา

การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบ่งเป็น 4 ระบบมีอะไรบ้าง

รูปแบบ.
ประชาธิปไตยทางตรง.
ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน.
แบบผสมหรือกึ่งทางตรง.
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ.
สาธารณรัฐ.
ประชาธิปไตยเสรีนิยม.
ประชาธิปไตยสังคมนิยม.