จุลินทรีย์ กับแบคทีเรีย ต่างกันอย่างไร

ไวรัสกับแบคทีเรียใคร ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line

จุลินทรีย์ กับแบคทีเรีย ต่างกันอย่างไร

ณ ตอนนี้เชื่อว่าหลายๆคนคงให้ความสนใจกับเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กันมาก ทั้งนี้ยังทำให้คนหันมาสนใจอ่านบทความหรือฟังเรื่องราวที่เกี่ยวกับเชื้อโรคและการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยกันมากยิ่งขึ้น และหลายคนก็อาจจะได้ยินคำว่าไวรัสกับแบคทีเรียกันอยู่บ่อยๆ เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ไวรัสกับแบคทีเรียมีความแตกต่างกันอย่างไร และก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง ไวรัสกับแบคทีเรียใครร้ายกว่ากัน ?

มาเริ่มกันที่แบคทีเรีย แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์เล็ก ๆ ที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว มีส่วนประกอบคล้ายเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นแต่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ มีขนาดตั้งแต่ 0.3 ไมครอนไปจนถึงขนาด 750 ไมครอน โดยมีความหลากหลายมากและสามารถมีรูปร่างและลักษณะโครงสร้างได้หลากหลาย โดยแบคทีเรียสามารถอาศัยอยู่ได้ในเกือบทุกสภาพแวดล้อมรวมถึงไปถึงในร่างกายของมนุษย์ เมื่อเข้าไปในร่างกายหรือสิ่งมีชีวิตจะก่อให้เกิดโรคจากการที่ตัวมันปล่อยสารพิษออกมาหรือการที่ร่างกายตอบโต้แบคทีเรียก็จะทำให้ เกิดอาการบวมอักเสบ เป็นไข้ ตัวร้อนได้เช่นกัน รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดเองก็จู่โจมถึงระดับเซลล์ แย่งอาหารและทำให้เซลล์ตายในที่สุดได้ด้วย

ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กอีกประเภทหนึ่งแม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียก็ตาม เช่นเดียวกับแบคทีเรีย พวกมันมีความหลากหลายมากและมีรูปร่างและคุณสมบัติที่หลากหลาย โดยตัวของเป็นอนุภาคชนิดหนึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน และมีขนาดอยู่ในช่วงระหว่าง 20-300 นาโนเมตร มีโครงสร้างและส่วนประกอบง่าย ๆ คือ ส่วนแกนกลาง (Core) มีกรดนิวคลีอิกทำหน้าที่ควบคุมการสร้างส่วนประกอบไวรัสและ ถ่ายทอดพันธุกรรม ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นโปรตีนห่อหุ้มหรือแคปสิด(Capsid) ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันส่วนแกนกลางและใช้ยึดเกาะกับเซลล์สิ่งมีชีวิต เปลือกหุ้ม (Envelope) หุ้มรอบแคปสิดอีกที ไวรัสสามารถบุกรุกเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ได้โดยใช้ส่วนประกอบเซลล์ของมนุษย์เพื่อเติบโตและเพิ่มจำนวน เสมือนโรงงานผลิตไวรัสและเซลล์นั้นก็จะ ไม่สามารถทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายจนตายไปในที่สุดแล้วไวรัสก็จะไปจู่โจมเซลล์ตัวใหม่ไปเรื่อยๆจนเป็นที่มาของการเกิดโรค

ทั้งนี้ไวรัสและแบคทีเรียเองก็มีรูปร่างและขนาดแตกต่างไปตามสายพันธุ์อีก แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถเห็นพวกมันทั้งคู่ ด้วยตาเปล่าได้อยู่ดีทำให้เรามีโอกาสโดนโจมตีจากเชื้อโรคทั้งสองชนิดได้ทุกเมื่อทุกเวลา โดยความน่ากลัวของเชื้อโรคสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ที่ได้พบโดยตรงหรือทางอ้อมซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบ อาจได้ผลที่ต่างกัน แต่ที่แน่ๆคือเราทุกคนควรรู้จักป้องกันตัวรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้ติดเชื้อเหล่านี้ เลยจะดีที่สุด

สงสัยหรือไม่ว่าสารต้านจุลชีพของ Microban ช่วยเรื่องอะไร ?

มีจุลินทรีย์ไม่กี่ชนิดที่สามารถทนต่อสารต้านจุลินทรีย์ของ Microban® ได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างเกี่ยวกับแบคทีเรีย, รา, ยีสต์ และจุลินทรีย์อื่น ๆที่เทคโนโลยีต้านจุลินทรีย์ของเราสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดูรายละเอียดการให้บริการทดสอบ

ดูรายละเอียดการให้บริการทดสอบ

โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร?

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สองคำนี้เหมือนกันหรือไม่?

ในร่างกายของเรานั้นมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อประโยชน์และโทษและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย หากเกิดความผิดปกติในร่างกาย อาจส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายในท้องตลาดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย โดยคำคุ้นหูที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งคือ “โพรไบโอติกส์” และ “พรีไบโอติกส์” มีความแตกต่างกัน ดังนี้

โพรไบโอติกส์คืออะไร ?

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติกส์ คือ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้”

พรีไบโอติกส์คืออะไร ?

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

กล่าวง่ายๆ ก็คือ พรีไบโอติกส์เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกส์ก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกส์ได้ดียิ่งขึ้น

ทำไมเราถึงควรได้รับโพรไบโอติกส์เสริม?

           

โพรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย  จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้

                ลองจินตนาการดู หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา อาจมีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายได้

ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกส์จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

มีจุลินทรีย์ใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มโพรไบโอติกส์?

ในปัจจุบันโพรไบโอติกส์ที่เราพบเห็นกันได้ในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง (Powders), รูปแบบแคปซูล (Capsules), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว (Chewable tablets), รูปแบบสารละลาย(Solution drops) หรือรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด (Vaginal Tablets) โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีวีธีการเก็บรักษาและประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเชื้อที่พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

  • เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กลุ่ม Lactobacillus spp. เป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้และ Bifidobacterium spp. เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน เช่น Bifidobacterium longum, Bifidobacterium bifidum, Lactobacillus acidophilus, Bifidobacterium infantis, Lactobacillus casei subsps, และ Lactococcus lactis เป็นต้น
  • เชื้อยีสต์ เช่น Saccharomyces boulardii เป็นต้น
 

พรีไบโอติกส์ในท้องตลาดมีรูปแบบใดบ้าง?

พรีไบโอติกส์ที่พบเห็นในท้องตลาดนั้น ส่วนใหญ่มักจะพบในรูปแบบผงแป้ง (Powders) ประกอบไปด้วยสารประกอบเชิงซ้อนของคาร์โบไฮเดรต เช่น สารกลุ่มอินูลินและฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์หรือในบางผลิตภัณฑ์อาจจำหน่ายในรูปแบบสูตรผสม ประกอบด้วยโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ในตัวเดียวผลิตภัณฑ์เดียวกัน

บทบาทของโพรไบโอติกส์ในร่างกายมีอะไรบ้าง?

               

โพรไบโอติกส์มีบทบาทมากมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

  • ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
  • กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด
  • ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
  • เหนี่ยวนำการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้
 

โพรไบโอติกส์มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

จากการศึกษาพบว่าโพรไบโอติกส์มีประโยชน์ในการรักษาหรือช่วยบรรเทาความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น

ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์หลากหลายมากขึ้น โดยมีการปรับสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมและเสริมฤทธิ์กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโพรไบโอติกส์ โดยประเภทและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์ที่ต่างกันล้วนมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

อาการข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากรับประทานโพรไบโอติกส์?

           

ส่วนใหญ่มักพบเมื่อมีการรับประทานในขนาดที่สูงเกินไป โดยอาจจะทำให้เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น เกิดท้องอืดหรือแน่นท้องได้

                    หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง

References

  1. De Vrese M1, Schrezenmeir J. Probiotics, prebiotics, and synbiotics.[Online]. Available from :  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18461293
  2. Maria Kechagia, Dimitrios Basoulis, Stavroula Konstantopoulou, et all. Health Benefits of Probiotics: A Review. [Online]. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4045285/
  3. Paulina Markowiak and Katarzyna Slizewska. Effects of Probiotics, Prebiotics, and Synbiotics on Human Health. [Online]. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5622781/
  4. Justin L Carlson, Jennifer M Erickson, Beate B Lloyd, and Joanne L Slavin. Health Effects and Sources of Prebiotic Dietary Fiber. [Online].  Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6041804/pdf/nzy005.pdf
  5. Hong Zhang, Chiajung Yeh,, and H. Kathleen Dannelly. Prospective study of probiotic supplementation results in immune stimulation and improvement of upper respiratory infection rate.[Online]. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5995450/

Contact information:
Drug Information Service
ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Tel: 02 011 3399
Email: [email protected]

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: