งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร

1. งานประดิษฐ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทยมีคุณค่าต่อนักเรียน  ท้องถิ่น  และประเทศชาติอย่างไร ?
2. การใช้ผักตบชวามาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?
3. การแกะสลักผักและผลไม้มีหลักการสำคัญอย่างไร ?
4. เพราะเหตุใดจึงต้องเลือกใช้ใบตองตานีในการทำถาดใบตองกลีบกุหลาบ ?
5. ถ้าต้องการให้งานใบตองมีความประณีตไม่เห็นรอยเย็บควรทำอย่างไร ?
6. นักเรียนจะนำความรู้เรื่องการร้อยมาลัยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร ?
7. ถ้าต้องการเก็บมาลัยไว้ให้ได้นานควรทำอย่างไร ?
8. นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยได้อย่างไร
9. ถ้าต้องการประกอบอาชีพเกี่ยวกับงานประดิษฐ์  นักเรียนควรมีความรู้เรื่องใดบ้าง
10. การประกอบอาชีพงานประดิษฐ์ให้ประสบความสำเร็จมีแนวทางอย่างไร ?

ใบความรู้งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย

งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร

งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร
งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร
งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร
งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร
งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร
งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร

งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร

งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร

งานประดิษฐ์มีคุณค่าต่อนักเรียนอย่างไร

ใบความรู้งานประดิษฐ์

งานประดิษฐ์ จึงหมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ เช่น เป็นของเล่น ของใช้ หรือเพื่อควมสวยงาม

1. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์

  1. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่และพัฒนางานประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ขึ้น
  2. งานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นชิ้นงาน สามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนกันได้ และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
  3. ฝึกให้รู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้ตนเอง และมีนิสัยรักในงานประดิษฐ์
  4.  ให้นักเรียนรู้จักใช้และดูแลรักษาเครื่องมือในงานประดิษฐ์อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของงานประดิษฐ์
  5.  ฝึกการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและมีความสุข ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง
  6.  ฝึกให้นักเรียนรู้จักประหยัด สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก
  7. เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้มีการสืบทอดและพัฒนาต่อไปจากภูมิปัญญาเดิมสู่การเรียนรู้ที่มากขึ้นและเป็นผลงานของคนไทย
  8.  สามารถเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ประดิษฐ์ โดยการนำออกไปจำหน่ายในโอกาสต่าง ๆและสร้างเป็นอาชีพได้ในอนาคต
  9.  เกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง ทำให้ผู้อื่นยอมในความสามารถของตนเองในระดับหนึ่ง

2. ลักษณะของงานประดิษฐ์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

  1. งานประดิษฐ์ทั่วไป

เป็นงานประดิษฐ์ที่ไม่มีความเป็นมาจากบรรพบุรุษหรือท้องถิ่น กล่าวคือเป็นงานประดิษฐ์ที่บุคคลทั่วไป สามารถเรียนรู้และนำไปประดิษฐ์ได้
โดยอาศัยการศึกษาจากตำรา เช่นดอกไม้จากเศษวัสดุเหลือใช้ หมวก ตุ๊กตา เครื่องใช้ต่าง ๆ

2.  งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย

เป็นงานประดิษฐ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรืองานประดิษฐ์ที่มีเฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวมาสู่ลูกหลานงานประดิษฐ์หลายอย่างทำขึ้นเพื่องานประเพณีทางเช่น พานพุ่ม มาลัย เครื่องแขวนบายศรี และบางอย่างก็ทำขึ้นเพื่อความสวยงาม สนุกสนาน ภายในครอบครัว เช่นว่าวไทย รถลาก ตุ๊กตา

3. ประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอย

งานประดิษฐ์ต่าง ๆ เราสามารถเลือกชิ้นงานประดิษฐ์ได้ตามประโยชน์ หรือความต้องการใช้สอยในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอยดังนี้

1. ประเภทงานประดิษฐ์เครื่องเล่น งานประดิษฐ์เครื่องเล่นส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนจากผู้ใหญ่มาสู่ลูกหลานในบ้าน และมีการแพร่กระจายจากเพื่อนมาสู่เพื่อน เช่นการประดิษฐ์ตุ๊กตา ว่าว และรถลาก
2. ประเภทเครื่องใช้ งานประดิษฐ์เครื่องใช้เป็นชิ้นงานที่ทำขึ้นเพื่อความสะดวกสบายและเป็นเครื่องทุ่นแรงในการดำเนินชีวิต หรือประกอบอาชีพในชีวิตประจำวัน เช่นเสื้อผ้า แจกัน หมวก ตะกร้า กระจาดและเข่ง
3. ประเภทเครื่องตกแต่ง งานประดิษฐ์ตกแต่ง ทำขึ้นเพื่อความสวยงามและเป็นสิ่งประดิษฐ์ใช้กับบ้านเรือน นอกจากนี้บางชิ้นงานสามารถนำมาใช้ในด้านการใช้สอยได้ เช่นกรอบรูป โคมไฟ ภาพวาด งานแกะสลัก
4. ประเภทเครื่องใช้ในพิธี ทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนา ในช่วงโอกาสต่าง ๆ และงานประเพณีสำคัญ เช่นงานลอยกระทง งานวันเข้าพรรษา ออกพรรษา งานศพ งานประดิษฐ์เครื่องใช้ เช่น พานพุ่ม มาลัย บายศรี การจัดดอกไม้ในงานศพ

4.หลักการทำงานประดิษฐ์

ในการทำงานประดิษฐ์เพื่อให้ได้ผลงานตามจุดหมายที่กำหนดไว้ ควรยึดหลักในการทำงานประดิษฐ์ดังต่อไปนี้

1. ศึกษารายละเอียดของงานที่จะนำมาประดิษฐ์ให้เข้าใจ ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของงานและเลือกทำสิ่งประดิษฐ์ให้เหมาะสมความรู้ ความสามารถของตนเอง และเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
2. วางแผนการทำงาน กำหนดขั้นตอนการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่ายและออกแบบรายละเอียดวิธีการประดิษฐ์ไว้ให้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
3. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำงานประดิษฐ์ไว้ให้ครบถ้วนและใช้ให้เหมาะสมกับการที่ออกแบบไว้ โดยทั่วไปการเลือกวัสดุมาใช้ในงานประดิษฐ์ นิยมเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือวัสดุที่มีอยู่ภายในบ้านซึ่งหาง่าย มีราคาถูก
4. ลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ขณะที่ทำการประดิษฐ์ เมื่อเกิดปัญหาไม่ควรท้อถอย ควรปรึกษาครูหรือผู้ที่มีความสามารถ และควรพยายามตั้งใจปฏิบัติงานต่อไปจนกว่างานจะสำเร็จ