ประวัติการจัดเก็บภาษีอากร สมัยสุโขทัย

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศได้เป็นปึกแผ่นและทรงขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ ความเจริญรุ่งเรื่องนี้ทำให้มีการประกอบการค้าทั้งในประเทศและนอกราชอาณาจักร ในยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหล้กฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง ดังข้อความตอนหนึ่งว่า


เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อจองวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า ใครจักค้าม้าค้า

จากข้อความที่กล่าวมาจากเดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ จกอบ เป็นค่าเดี่ยวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือหมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นในอัตรา 10 ชัก 1 และการจัดเก็บนั้นมิได้เป็นตัวเงินเสมอไป คื่อเก็บสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่เก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้นการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งสถานที่จัดเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่น ถ้าเป็นทางบกก็จะไปตั้งที่ปากทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะคอยเป็นที่จัดเก็บสินค้าทั่วไป ไม่เพียงเฉพาการน้ำและขนออกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และขนอนตลาด เป็นต้น

การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรื่อไม่

ที่มา กรมสรรพากร

แล้ววันหลังจะเอาบทความภาษีของสมัยอื่น ๆ มาให้อ่านนะคะ

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

ประวัติการจัดเก็บภาษีอากร สมัยสุโขทัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชา

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.จังกอบ หรือ จำกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่ายตามที่ได้อธิบายข้างต้น

2.อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

3.ส่วย ความหมายของส่วย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า คำว่า ส่วย

-สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง ส่วยตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นเครื่องราชบรรณาการ

-เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล เนื่องจากสังคมไทยแต่ดั้งเดิม มีระบบเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยรัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน ทั้งนี้เดิมราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงาน จะมาประจำการเป็นเวลาปีละ 6 เดือน โดยผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรงนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเงินรัชชูปการในระยะต่อมา ( รัชกาลที่ 6 )

              -เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกณฑ์ให้ช่วยสร้างป้อมปราการ เป็นต้น
              -ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง อันเนื่องจากเกินกำลังของทายาทที่จะเอาไว้ใช้สอย เป็นต้น

4.ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว เช่น ผู้ใดจะขอโฉนดตราสาร เพื่อมิให้ผู้อื่นบุกรุกแย่งชิงที่เรือกสวนไร่นา จักต้องเสียฤชาแก่รัฐ เป็นต้น ฤชาที่สำคัญได้แก่ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับทางการศาล

เมื่อพิจารณาตามลักษณะการจัดเก็บภาษีอากรข้างต้น จะเห็นว่ามีการจัดเก็บภาษีทั้งในรูปของการบังคับจัดเก็บจะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม คือ กรณีจังกอบและส่วย ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือในรูปที่ผู้ถูกจัดเก็บจะได้รับผลประโยชน์จากรัฐโดยตรง คือ อากรและฤชา

ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าถึงวิวัฒนาการในด้านการบริหารงานจัดเก็บในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะพบว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นช่วงเวลาที่มีการปฏิรูประบบการปกครองแผ่นดินครั้งใหญ่ ทั้งในด้านการวางระเบียบทางการคลัง การส่วยสาอากร ฯลฯ โดยพระองค์ได้ทรงแบ่งการบริหารการปกครองออกเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่ ดังนี้

เวียง เรียกว่า นครบาล มีหน้าที่ราชการปกครองท้องที่ และดูแลทุกข์สุขของราษฎรพลเมือง

วัง เรียกว่า ธรรมธิกรณ์ มีหน้าที่ว่าราชการศาลหลวง และว่าราชการอรรถคดีในพระราชสำนัก

คลัง เรียกว่า โกษาธิบดี มีหน้าที่ราชการจัดการพระราชทรัพย์ เก็บส่วยสาอากรซึ่งเป็นผลประโยชน์แผ่นดิน

นา เรียกว่า เกษตราธิบดี   มีหน้าที่ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับ เรื่องนาและสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

ทั้งนี้โดยรูปแบบการบริหารงานฯของพระองค์ข้างต้น ได้ถูกใช้เป็นแบบอย่างรูปแบบการปกครองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ภาษีสมัยสุโขทัย มีอะไรบ้าง

ในสมัยสุโขทัย จังกอบคือภาษีชนิดหนึ่งอันเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของสินค้าไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือนำเข้ามาขายในกรุงสุโขทัย การเรียกเก็บจังกอบใช้วิธี "สิบชักหนึ่ง" หรือ "สิบหยิบหนึ่ง" คือเก็บในอัตราร้อยละสิบตามภาษาปัจจุบัน และจังกอบนั้นไม่จำเป็นต้องชำระเป็นเงินสดเสมอไป อาจเป็นสิ่งขอหรือสัตว์ก็ได้เนื่องจากระบบการเงินใน ...

ภาษีข้อใดที่ไม่มีการเรียกเก็บในสมัยสุโขทัย

ข้อความในศิลาจารึกได้กล่าวถึง “จกอบ” หรือ “จังกอบ” ซึ่งเป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากพ่อค้าที่นำสินค้าเข้ามาขาย แต่ในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ระบุว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง” แปลว่าในยุคนั้นไม่มีการเก็บภาษีส่วนนี้

การจัดเก็บภาษีเกิดขึ้นในสมัยใด

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2468 - ปัจจุบัน) แต่เดิมในตอนต้นรัชกาลที่ 7 การจัดเก็บภาษีอากรยังคงคล้ายคลึงกับในสมัยก่อน ภายหลังจากที่คณะราษฎร์ได้มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการออกพระราชบัญญัติในการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ ดังนี้ พระราชบัญญัติภาษีเงินเดือน พ.ศ. 2475.

ด่านขนอน มีหน้าที่เก็บภาษีประเภทใด

+ 1. จังกอบหรือจกอบ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าที่ผ่านด่าน ภาษี ด่านภาษีเรียกกันมาแต่เดิมว่า “ขนอน” ซึ่งเป็นที่สำหรับคอยดัก เก็บจังกอบ อ่านขนอนมักจะตั้งอยู่ปากทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเมืองตั้งอยู่ใกล้ แม่น้ำ ใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่สัญจรไปมา ด่านขนอนมักตั้งอยู่ตรงทางน้ำ ร่วมกัน โดยเหตุที่จังกอบจัดเก็บจากสินค้าผ่านด่านนี้เอง ...