ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกัน โดยใช้ “น้ำ” เป็นสื่อในการสร้างสัมพันธไมตรี
          ตามคติโบราณที่สืบทอดกันมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยปกติกำหนดวันสงกรานต์ไว้ ๓ วัน วันแรกเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ คือวันที่พระอาทิตย์ เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ วันที่ ๒ เป็นวันเนา และวันที่ ๓ เป็นวันเถลิงศก (วันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนจุลศักราช) 

          ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา วันมหาสงกรานต์จะตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน แต่กำลังจะเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน เพราะการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์นั้น วันมหาสงกรานต์จะเลื่อนไป ๑ วันทุก ๆ ๖๐ ปีเศษ 

          ปฏิทินหลวงในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน เป็นวันเทศกาลสงกรานต์ แต่วันเถลิงศกยังอาศัยการคำนวณอยู่ บางปีจึงเป็นวันที่ ๑๕ เมษายน และบางปีเป็นวันที่ ๑๖ เมษายน

"ประกาศสงกรานต์"


          ถือเป็นประกาศของทางราชการอย่างหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดปีหนึ่ง ๆ จะเปลี่ยนปีนักษัตรเริ่มศักราชใหม่ ทางราชการจะประกาศสงกรานต์ให้ราษฎรได้ทราบ เกี่ยวกับวัน เดือน ข้างขึ้น ข้างแรมในปีต่อไป 

         

ประกาศสงกรานต์มีสารประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของราษฎรหลายเรื่อง เช่น ทำให้ทราบวัน เวลา ขึ้นศักราชใหม่ กำหนดการพระราชพิธีต่าง ๆ การเกิดจันทรุปราคา สุริยุปราคาในบางปี รวมถึงเกณฑ์น้ำฝนที่จะทำนา และวันเริ่มต้นทำนาปลูกข้าว เป็นต้น

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ประกาศสงกรานต์ ปีรัตนโกสินทร ศก ๑๒๐
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

การก่อพระเจดีย์ทราย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สมัยรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๙

(ที่มา https://www.lp-yaem.com/photographs-thai/)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

การก่อพระเจดีย์ทรายในปัจจุบัน

(https://oer.learn.in.th/search_detail/result/92172)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

งานประเพณีก่อพระทราย วันไหลบางแสน

(https://oer.learn.in.th/search_detail/result/93545)


ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

"เปิดตำนานวันสงกรานต์"

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสงกรานต์มาแต่สมัยโบราณว่า ท้าวกบิลพรหมซึ่งเป็นเทพชั้นพรหมแพ้พนัน ธรรมบาลกุมาร เด็กอายุ ๗ ขวบ ที่เรียนจบพระคัมภีร์ไตรเพท ด้วยปัญหา ๓ ข้อ คือ ในเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาค่ำ มนุษย์นั้นมีราศีอยู่ที่ใดบ้าง จึงต้องตัดเศียรตัวเองบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาที่ตกลงกัน แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมนี้ร้อนแรง หากวางบนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นบนอากาศฝนจะแล้ง หากทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง จึงมอบหน้าที่ให้ธิดาทั้ง ๗ นาง ผลัดเปลี่ยนกันอัญเชิญเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเช่นนี้ประจำทุกปี ธิดาทั้ง ๗ นางนั้น มีชื่อต่าง ๆ กัน แต่รวมเรียกว่า นางสงกรานต์ทั้งสิ้น คือ

         

๑. นางสงกรานต์ทุงษะเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วปัทมราช (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคืออุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          ๒. นางสงกรานต์โคราคะเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกปีบ ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมุกดาเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          ๓. นางสงกรานต์รากษสเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วโมรา ภักษาหารคือโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (สุกร)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          ๔. นางสงกรานต์มณฑาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ ภักษาหารคือนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          ๕. นางสงกรานต์กิริณีเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมรกต ภักษาหารคือถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          ๖. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วบุษราคัม ภักษาหารคือกล้วยและน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (กระบือ)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          ๗. นางสงกรานต์มโหธรเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          นอกจากนี้ ตามตำนานยังมีความเชื่อว่าหากในปีใดนางสงกรานต์ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ ถ้านางสงกรานต์นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ หากนางสงกรานต์นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข และถ้าในปีใดนางสงกรานต์นอนหลับตา พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี

ที่มาภาพนางสงกรานต์ : https://today.line.me/th/v2/article/3qOJJW

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

"สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค"

          คนไทยในแต่ละภูมิภาคจะมีรูปแบบ พิธีกรรม จารีต ความเชื่อ เอกลักษณ์ และการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามคติความเชื่อและการดำเนินชีวิต แต่กิจกรรมหลัก คือ การทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ การอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การรดน้ำดำหัวขอพรผู้อาวุโส การสรงน้ำพระ การก่อพระเจดีย์ทราย การเล่นน้ำ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ และการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความรื่นเริงและความสามัคคีกันในครอบครัวและในชุมชน ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน


ภาคเหนือ

          ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ เรียกว่า “ปเวณีปีใหม่” หรือ “ปาเวณีปีใหม่” อ่านว่า “ป๋า-เว-นี-ปี๋-ใหม่” จัดขึ้นอย่างน้อย 3 – 5 วัน เรียกวันที่ 13 เมษายนว่า วันสังกรานต์ล่อง (อ่านว่า สังขานล่อง) หมายถึง วันที่ปีเก่าผ่านไป หรือวันที่สังขารร่างกายแก่ไปอีกปี

          วันแรก คือ วันสังกรานต์ล่อง ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ตอนเช้ามืดจะมีปู่สังกรานต์หรือย่าสังกรานต์ สวมใส่เสื้อผ้าสีแดงล่องแพไปตามลำน้ำนำสิ่งชั่วร้ายมาด้วย ดังนั้นชาวบ้านจะทำการยิงปืนหรือจุดปะทัดเพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป อีกทั้งยังนำพระพุทธรูปมาชำระและสรงน้ำอบโดยใช้น้ำขมิ้นส้มป่อย และทำความสะอาดบ้านเรือน

          วันที่สอง คือ วันเนา หรือ วันเน่า หรือ วันดา ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ห้ามผู้ใดทะเลาะเบาะแว้งกัน พิธีกรรมของวันเนานี้จะตระเตรียมสิ่งของและอาหารเพื่อนำไปทำบุญในวันพญาวัน ช่วงบ่ายจะขนทรายเข้าวัดและตัดกระดาษเป็นธงสีต่าง ๆ เรียกว่า “ตุง” สำหรับปักที่เจดีย์ทราย

          วันที่สาม คือ วันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญตักบาตร ทำทานขันข้าว (ตาน-ขัน-เข้า) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการไปคารวะผู้ใหญ่ เรียกว่า “ดำหัว” 

          วันที่สี่ คือ วันเล่นสาดน้ำ เรียกว่า วันปากปี๋ หมายถึง การรดน้ำดำหัวเจ้าอาวาสวัดอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง 

         

วันที่ห้า คือ วันปากเดือน ถือเป็นวันเริ่มเดือนใหม่ มีการดำหัวผู้ใหญ่และการเล่นสาดน้ำ

ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

พิธีสรงน้ำพระ

(https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/songkran-festival)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

การรดน้ำและก่อเจดีย์ทราย

(https://today.line.me/th/v2/article/nE6zKK)


ภาคอีสาน

         

ประเพณีสงกรานต์ภาคอีสาน เรียกว่า “บุญสงกรานต์” หรือ “บุญเดือนห้า” หรือ “สังขานต์”
          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ล่อง” หรือ “มื้อสงกรานต์พ่าย” 
          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “มื้อเนา” ชาวบ้านจะแต่งกายสวยงาม นำอาหารไปตักบาตรที่วัด ขอพรจากพระภิกษุผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระพุทธรูปรดไปตามรางริน หนุ่มสาวมักรวมกลุ่มไปรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ มีการจัดทำบายศรีสู่ขวัญผู้ใหญ่ หลังจากนั้นจึงเล่นรดน้ำกันเอง และช่วงกลางคืนมีการร่วมกันสวดมนต์เย็นและฟังธรรม
          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ขึ้น” นิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่อง 7 – 15 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์คนที่ไปทำงานยังต่างถิ่นจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นการรวมญาติและทำบุญอัฐิบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า “สักอนิจจา”

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

ประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์ในแม่น้ำโขง ภาคอีสาน

(https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=2&page=t35-2-infodetail04.html)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

การสรงน้ำพระ

(https://romdee.net/umbrella-buddhist-ceremony/)
.

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

เทศกาลดอกคูน-เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว

(https://travel.mthai.com/region/208816.html)

ภาคกลาง  

วันเถลิงศกขึ้นปีใหม่ มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและรดน้ำผู้ใหญ่เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ในกรุงเทพมหานครประชาชนนิยมตักบาตรและสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ณ ท้องสนามหลวง ประเพณีสงกรานต์ในเขตภาคกลางที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญยังมีในหลายพื้นที่ อาทิ ประเพณีสงกรานต์มอญ มีการจัดในหลายพื้นที่ในประเทศไทย เช่น บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น โดยมีพิธีกรรมและการละเล่นที่หลากหลาย ตั้งแต่การทำบุญถือศีล การเซ่นสังเวยต่อท้าวกบิลพรหม เทวดาและนางสงกรานต์ การแห่ข้าวแช่ การแห่ธงตะขาบ การสรงน้ำพระ การค้ำโพธิ์ การขนทรายเข้าวัด และการเล่นสะบ้า

         

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง เดิมเรียกว่า สงกรานต์ปากลัด เป็นรูปแบบที่คงรักษาวัฒนธรรมของชาวรามัญ-ไทย ที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นหนึ่งในงานเทศกาลมหาสงกรานต์ 4 ภาคของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามตระการตา ขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติ ขบวนสาวรามัญ-หนุ่มลอยชาย เอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญและชุดลอยชายเพื่อไปทำบุญที่วัด เวลากลางคืนจะมีการละเล่นสะบ้าตามบ้านเรือนต่าง ๆ โดยการเล่นน้ำในวันสงกรานต์พระประแดง หรือเรียกว่า “วันไหล” จัดขึ้นในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ หลังจากงานสงกรานต์ปกติประมาณ 1 สัปดาห์





ภาคใต้

ประเพณีขึ้นปีใหม่ของภาคใต้เรียกว่า “วันว่าง” หมายถึง ว่างเว้นจากการทำงานทุกชนิด อีกทั้งยังมีความเชื่อต่าง ๆ เช่น การห้ามตัดผม ห้ามตัดเล็บ ห้ามฆ่าสัตว์ เป็นต้น โดยปกติจะจัดขึ้น 3 วัน คือ วันที่ 13 – 15 เมษายน เป็นโอกาสที่จะแสดงความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ โดยการจัดหาผ้าใหม่ การอาบน้ำ สระหัว และขอพรจากผู้ใหญ่ 

วันที่ 13 เมษายน คือ วันส่งเจ้าเมืองเก่า มีการทำความสะอาดบ้านเรือน และพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ เรียกว่า ลอยเคราะห์ หรือลอยแพ เป็นการทำให้เคราะห์กรรมลอยไปกับเจ้าเมืองเก่า และสรงน้ำพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง

วันที่ 14 เมษายน คือ วันว่าง มาจากความเชื่อว่า ในวันนี้ยังไม่มีเทวดารักษาเมือง ชาวบ้านจึงหยุดการทำงานและไปทำบุญตักบาตร นำอาหารไปทำบุญถวายเพลที่วัด มีการทำพิธีเรียกว่า “ทำขวัญข้าวใหญ่” คือ การมัดรวงข้าวนำไปทำขวัญข้าวร่วมกันที่วัดเพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำมาหากิน และรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมถึงทำบุญอัฐิเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ 

         

วันที่ 15 เมษายน คือ วันรับเจ้าเมืองใหม่ บางท้องถิ่นเรียกว่า วันเบญจา หรือบิญจา เป็นวันรับเทวดาองค์ใหม่มาดูแลรักษาบ้านเมือง มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับใหม่ บางบ้านมีการจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เรียกว่า “พิธีจตุรมุข”

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

การส่งเจ้าเมือง

(https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/29136/041393)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

ประเพณีห่มพระ ณ ถ้ำคูหาภิมุข จ.ยะลา ในเทศกาลสงกรานต์ ของภาคใต้

(https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/60311)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

“การละเล่นครื้นเครง”

เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในงานเทศกาลนี้ผู้คนจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อสร้างความบันเทิง และความสามัคคีในแต่ละชุมชน กิจกรรมเหล่านั้นรวมไปถึงการละเล่นพื้นบ้าน ดนตรี การแสดง และการละเล่นรื่นเริง ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น นับเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ทรงคุณค่า และสมควรสืบสานต่อยอดให้คงอยู่สืบไป


ภาคกลาง

การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ของภาคกลางมักเป็นการละเล่นพื้นเมือง หรือเรียกว่า กีฬาพื้นเมือง เช่น ชักเย่อ ขี่ม้าส่งเมือง มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย (ลูกช่วง) วิ่งเปี้ยว ลิงชิงหลัก และยังมีมหรสพต่าง ๆ เช่น การแสดงลิเก ลำตัด รำวง เป็นต้น 

ภาคใต้

         

การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ของภาคใต้ เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน มหรสพและการละเล่นที่นิยมกันมากคือ มโนห์รา หนังตะลุง มอญซ่อนผ้า อุบลูกไก่ ชักเย่อ สะบ้า จระเข้ฟาดหาง (หรือบางแห่งเรียกว่าฟาดทิง) ยับสาก เตย ปิดตา ลักซ่อน วัวชนและเชื้อยาหงส์ โดยการละเล่นทั้งหลายเหล่านี้ร่วมเรียกว่า "เล่นว่าง"

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
มหรสพหนังตะลุงของภาคใต้
(http://www.geog.pn.psu.ac.th/Ancient63/AncientIndex.html)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
การแสดงโนราห์
(https://bit.ly/3k3FnCr)

ภาคเหนือ

การละเล่นที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันมาก คือ การเล่นรดน้ำปีใหม่ หรือดำหัว นอกจากนั้นยังมีการละเล่นมหรสพ และการละเล่นพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น สะบ้า การแสดงศิลปะฟ้อนรำ


ภาคอีสาน

         

การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคอีสาน มีการจับกลุ่มเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่นสะบ้า มหรสพพื้นบ้าน เช่น  หมอลำ ในบริเวณลานวัด บางกลุ่มเซิ้งไปตามหมู่บ้านเพื่อเรี่ยไรปัจจัยไทยทานถวายวัด บางหมู่บ้านจะมีการเล่น เรือมตรด หรือ รำตรุษ


ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

"รื่นรมย์บรรเลงเพลงไทย"

         

เพลงและดนตรีเป็นสิ่งที่คู่กับวัฒนธรรมและประเพณีของไทย เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยเป็นชนชาติที่ชอบความสนุกสนานรื่นเริง คนไทยมีความคิดว่าหากชีวิตมีความสนุกชีวิตนั้นก็จะเป็นชีวิตที่ดีและสมบูรณ์ เมื่อมีประเพณีไทยสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้จึงเป็นเพลงและดนตรี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและความรื่นเริงจึงมักมีการเล่นเพลงและดนตรีไทยเพื่อให้ความบันเทิง

สงกรานต์ในเพลงพื้นบ้านไทย

เพลงพื้นบ้านไทยที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ที่น่าสนใจ ได้แก่

         

๑. เพลงพิษฐาน นิยมเล่นกันในภาคกลาง เป็นเพลงร้องโต้ตอบกันในโบสถ์ต่อหน้าพระประธาน โดยเนื้อเพลงว่าด้วยการกล่าวอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อช่วยบันดาลให้ตนได้สมหวังตามความปรารถนา อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงดอกไม้และธูปเทียนที่จัดใส่พานเท่านั้น เพลงพิษฐานมีเอกลักษณ์ คือ ขึ้นต้นด้วยคำว่า “พิษฐานเอย...” ผู้เล่นจะชักชวนกันเข้าไปร้องเพลงในโบสถ์ โดยนั่งคุกเข่าว่าเพลงพิษฐาน ขณะว่าก็พนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนไว้ด้วย ลูกคู่ร้องรับไม่ต้องปรบมือและไม่มีการร่ายรำ มีการสวดบูชาพระรัตนตรัยและบทไหว้ครูก่อนเริ่มร้องเพลง

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
https://www.youtube.com/watch?v=eMkuKjJycvk

         

๒. เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงร้องโต้ตอบในประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี้ยวพาราสี มีทั้งร้องแบบเร็ว โดยใช้กลอนสั้น และร้องแบบช้า โดยใช้กลอนยาว มักขึ้นต้นเพลงด้วยคำว่า “เอ้อระเหยลอยมา...” เวลาเล่นจะตั้งวงกันตามลานบ้าน ลานวัด ตีวงเป็นวงกลมชายครึ่งหญิงครึ่ง มีพ่อเพลงแม่เพลงรำโต้ตอบกัน นิยมเล่นกันในวันสงกรานต์ประกอบการเล่นลูกช่วง (ช่วงชัย) เมื่อฝ่ายใดแพ้ก็ต้องออกมารำ เป็นเพลงที่ร้องง่ายและให้ความสนุกสนาน

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
https://www.youtube.com/watch?v=rpqYiyulRT4

๓. เพลงระบำบ้านไร่ เป็นเพลงร้องโต้ตอบที่นิยมร้องกันในภาคกลาง โดยมักจะรับสร้อยด้วยคำว่า “ดงไหนเอย ลำไย หอมหวนอยู่ในดงเอย เข้าดง เข้าดงลำไย หอมหวนอยู่ในดงเอย” มักตั้งวงร้องรำกันตามลานบ้านหรือลานวัด มีพ่อเพลงแม่เพลงร้องนำ โต้ตอบกันด้วยเรื่องเกี้ยวพาราสี คนอื่นช่วยปรบมือให้จังหวะและร้องรับ เนื้อร้องมีลักษณะเด่นคือมักใช้กลอนไลหรือกลอนที่ลงท้ายด้วยสระไอแบบเพลงฉ่อย

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
https://www.youtube.com/watch?v=eojoDLMcJLs

         

๔. เพลงฮินเลเล เป็นเพลงร้องโต้ตอบกันด้วยเรื่องเกี้ยวพาราสี ขึ้นต้นเพลงว่า “ฮินเลเล ฮินเลเล” มีจังหวะกระชั้นและเนื้อร้องสั้นมาก เพียงบทละ ๒ วรรค คำลงท้ายสะกดด้วยสระเอเสมอ มักตั้งวงเล่นตามบ้านและลานวัดในช่วงประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
https://www.youtube.com/watch?v=iJXOxn6tINk

๕. เพลงเข้าผี เป็นการละเล่นกึ่งพิธีกรรมที่มีมาแต่โบราณในภาคกลาง โดยร้องเพื่อเชิญผีมาเข้าแล้วยั่วให้รำ หรือให้ทำอาการตามธรรมชาติของผีนั้น มีอุปกรณ์ประกอบการเล่นหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะเล่นเข้าผีอะไร มีทั้งผีคน (แม่ศรี) ผีข้าวของเครื่องใช้ และผีสัตว์ บทร้องเชิญผีเชิญเจ้าให้ลงมาเข้าร่างคนทรงของแต่ละที่ไม่มีบทตายตัว แต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันทั้งเนื้อหาและความสั้นยาว

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
https://www.youtube.com/watch?v=DDnZ_F362So

          ๖. เจรียงตรษ หรือ เจรียงตรุษ เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคอีสาน ส่วนใหญ่พบมากในเขตอีสานใต้ ผู้เล่นจะรวมกลุ่มกันเป็นคณะ เที่ยวร้องอวยพรปีใหม่ตามบ้านต่าง ๆ เหมือนกับเพลงบอกทางภาคใต้ เครื่องมือที่นำไปด้วยมีกลองกันตรึม ๑ คู่ หรืออาจจะเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปอีกตามความสนุก กับไม้จองกรอง ซึ่งเป็นไม้ใช้ถือกระทุ้งกับพื้น เวลากระทุ้งจะมีเสียงลูกสะบ้า ลูกกระพรวนที่ผูกอยู่ดังเป็นจังหวะ เมื่อร้องอวยพรแล้ว เจ้าของบ้านจะบริจาคเงินทองข้าวของไปทำบุญหรือร่วมสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์

         

เครื่องดนตรีที่นิยมใช้ในการเจรียง


๗. เพลงบอก เพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคใต้ เป็นเพลงที่ใช้บอกกล่าวสื่อสารเหตุการณ์ ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนหรือแจ้งให้ประชาชนทราบ โดยมีแม่เพลง ๑ คน และลูกคู่ ๓ - ๕ คน มีเครื่องดนตรีให้จังหวะ คือ ฉิ่ง ๑ คู่ ลูกคู่อาจตบมือพร้อมกับการขับรับทำนองและบทกลอนของแม่เพลง

สำหรับการละเล่นเพลงบอกสงกรานต์ คณะเพลงบอกจะตระเวณตามบ้านใกล้เรือนเคียงเพื่อแจ้งบอกป่าวร้องให้ชาวบ้านได้ทราบว่าถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในสมัยก่อนไม่มีการพิมพ์ปฏิทินอย่างเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะรายละเอียดการเปลี่ยนปีหรือการประกาศสงกรานต์ประจำปี เมื่อเสร็จสิ้นการร้องเพลงบอก เจ้าของบ้านจะบริจาคเงินทองข้าวของไปทำบุญให้กับวัด หรือร่วมสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์


ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
https://www.youtube.com/watch?v=3JoDOaFs-FQ
เพลงบอก ตอน ความเป็นมาเพลงบอก (วันสงกรานต์)
โดย เพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ หรือ นายสร้อย ดำแจ่ม ศิลปินเพลงบอกชาวใต้
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-เพลงบอก) พ.ศ. ๒๕๓๘

สงกรานต์ในดนตรีร่วมสมัยของสุนทราภรณ์

         

“เพลงรำวงวันสงกรานต์” ของสุนทราภรณ์เป็นผลงานการประพันธ์เพลงของครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูเพลงที่มีบทบาทโดดเด่นในการสร้างสรรค์บทเพลงให้กับวงสุนทราภรณ์ โดยในคำร้องของบทเพลงนี้ได้มีการนำขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีอยู่ในวันสงกรานต์ของไทยมาใส่ไว้อย่างครบถ้วน เพลงนี้ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันและมักได้ยินตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี


รวมเพลงเทศกาลวันสงกรานต์ ขับร้องประสานเสียงโดย วงสุนทราภรณ์

สงกรานต์ในเพลงไทยลูกทุ่ง

         

เพลงไทยลูกทุ่ง มีบทบาทต่อการบันทึกและสะท้อนภาพของสังคมไทยมาทุกยุคสมัย เพลงไทยลูกทุ่งที่สะท้อนภาพของเทศกาลสงกรานต์ที่ได้รับความนิยมมีหลายบทเพลงด้วยกัน โดยเนื้อหาของบทเพลงนอกจากจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาวแล้ว ยังสอดแทรกขนบธรรมเนียมและประเพณีของเทศกาลสงกรานต์ไว้ใน คำร้องของบทเพลงนั้น ๆ ด้วย ศิลปินที่ได้ชื่อว่ามีเพลงสงกรานต์มากที่สุดในวงการเพลงไทยลูกทุ่ง คือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สงกรานต์บ้านนา  แม่นางสงกรานต์ ควันหลงสงกรานต์ มอญซ่อนผ้า เทพีสงกรานต์ลืมทุ่ง

ชุดสงกรานต์บ้านนา ของศิลปิน รุ่งเพชร แหลมสิงห์

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

“ถนนแห่งสายน้ำชุ่มฉ่ำ”

ถนนสายสงกรานต์แห่งแรกของไทย คือ ถนนข้าวสาร มีวัตถุประสงค์ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักอาศัยและท่องเที่ยวในย่านถนนข้าวสารได้สัมผัสกับกิจกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่สนุกสนาน 

ถนนข้าวสารสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเริ่มจากถนนหน้าวัดชนะสงครามมาตามตรอกข้าวสาร แล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนครหน้าสวนหลวงตึกดิน แล้วพระราชทานนามถนนตามเดิมว่า “ถนนข้าวสาร”

         

ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจบนถนนข้าวสารได้จัดงานสงกรานต์ขึ้นตลอดเส้นทางบนถนนข้าวสาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่พักอาศัยในย่านดังกล่าวและใกล้เคียงได้ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ จึงทำให้งานสงกรานต์ถนนข้าวสารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศและทั่วโลก ถนนข้าวสารจึงเป็นเป้าหมายหลักที่ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติต่างเดินทางเข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์บนถนนข้าวสารนี้ ส่งผลให้จังหวัดต่าง ๆ สร้างถนนสายสงกรานต์ของตนเองขึ้นมา

                   

จังหวัดแรกที่นำแนวคิดการจัดงานสงกรานต์แบบถนนข้าวสารมา คือ จังหวัดขอนแก่น โดยใน พ.ศ. 2545 จังหวัดขอนแก่นกำหนดให้ถนนศรีจันทร์ตั้งแต่แยกถนนหน้าเมืองไปจนถึงบริเวณศาลหลักเมืองเป็นถนนสำหรับเล่นน้ำสงกรานต์ ปัจจุบันขยายไปจนถึงประตูเมือง จังหวัดขอนแก่นกำหนดชื่อเรียกเฉพาะงานนี้ว่า “ถนนข้าวเหนียว”

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น

(https://www.posttoday.com/social/local/359045)

ต่อมาจังหวัดต่าง ๆ พากันตั้งชื่อถนนภายในจังหวัดให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละภาค เพื่อเป็นพื้นที่ในการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสนุกสนาน

ภาคกลาง มีถนนข้าวแช่ จังหวัดปทุมธานี, ถนนข้าวสุก จังหวัดอ่างทอง, ถนนข้าวต้ม จังหวัดนครนายก, ถนนข้าวตอก จังหวัดสุโขทัย และถนนข้าวหมูแดง จังหวัดนครปฐม

ภาคเหนือ  มีถนนข้าวแคบ จังหวัดตาก, ถนนข้าวข้าวปุก จังหวัดแม่ฮ่องสอน, ถนนข้าวโพด จังหวัดเพชรบูรณ์, ถนนข้าวแต๋น จังหวัดน่าน และถนนข้าวขนมเส้น จังหวัดแพร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีถนนข้าวโพด จังหวัดนครราชสีมา, ถนนข้าวเปียก จังหวัดอุดรธานี, ถนนข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ด, ถนนข้าวปุ้น จังหวัดนครพนม, ถนนข้าวเย็น จังหวัดศรีสะเกษ และถนนข้าวกล่ำ จังหวัดกาฬสินธุ์

         

ภาคใต้  มีถนนข้าวยำ จังหวัดปัตตานี, ถนนข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง และถนนข้าวหมาก จังหวัดนราธิวาส

ภาคกลาง
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวแช่ (ปทุมธานี)
https://bit.ly/3xJYTw1
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวตอก(สุโขทัย)
https://www.banmuang.co.th/news/region/147727
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวหลาม (ชลบุรี)
https://www.facebook.com/Teeneechonburi1/posts/_rdr
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวคลุกกะปิ (ระยอง)
https://bit.ly/3y47x8T

ภาคอีสาน
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวปุ้น(นครพนม)
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/605544
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวก่ำ (กาฬสินธุ์)
http://www.yaikintiew.com/blogs/316
   

ภาคเหนือ
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวแต๋น (น่าน)
https://mgronline.com/travel/detail/9600000036334
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

ถนนข้าวโพด (เพชรบูรณ์)
https://bit.ly/3kbuIpf

ภาคใต้
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวยำ (ปัตตานี)
https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
ถนนข้าวดอกข่า (พังงา)
https://www.matichon.co.th/region/news_1450004

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

“อาหารไทยสี่ภาคเลิศล้ำ”

         

หากกล่าวถึงประเพณีสงกรานต์ นอกจากเรื่องการสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ไทยแล้วนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกเรื่องคือ อาหารการกินในวันสงกรานต์ ที่มีรายละเอียดความสำคัญในด้านความประณีตในการทำ ความหมายที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.gourmetandcuisine.com/news/detail/1644)
          ข้าวแช่ เป็นอาหารชาวมอญ นิยมทำในช่วงวันสงกรานต์เพื่อถวายพระ ต่อมาคนไทยรับวัฒนธรรมนี้เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เดิมทีเป็นอาหารชาววัง ต่อมาจึงได้แพร่หลายในหมู่ชาวบ้านทั่วไป

          แกงฮังเล เป็นอาหารที่ชาวเหนือนิยมนำไปทำบุญในประเพณีต่าง ๆ เช่น ทำบุญ ตานขันข้าว และเป็นอาหารที่นำไปไหว้และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://goodlifeupdate.com/healthy-food/223122.html)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.xn--12cg3cq6bmlr1hc3fujdh.com/2994)
          ขนมจีนน้ำเงี้ยว คนเมืองเรียกว่า เข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว เป็นอาหารที่นิยมทำในวันสงกรานต์ของภาคเหนือช่วงเวลาที่ลูกหลานกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์

          แกงขนุน เป็นอาหารชื่อมงคล เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง มีคนค้ำจุนไปตลอดทั้งปี นิยมทำรับประทานกันช่วงวันสงกรานต์ของภาคใต้ในวันปากปี
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/960642/)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://kasineeaor187.wordpress.com/)
          ขนมจ๊อก หรือ เข้าหนมจ็อก หรือ ขนมนมสาว มีความหมายว่าขนมที่มีลักษณะเป็นจุก ภาคกลางเรียกว่าขนมเทียน เดิมชาวเหนือนิยมทำขนมจ๊อกเฉพาะไส้หวาน ปัจจุบันบางบ้านก็จะมีการทำไส้เค็มด้วย เป็นขนมที่ชาวเหนือนิยมทำกันในช่วงวันสงกรานต์ และนำไปถวายพระในวันเนา

          เข้าหนมปาด หรือ ขนมปาด เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทลื้อ ภาคกลางเรียกว่าศิลาอ่อน ปัจจุบันยังพอหาชิมได้ในพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลเมืองลี จังหวัดน่าน
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.lannapost.net/2021/09/blog-post_15.html)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://sistacafe.com/summaries/46898)
          เข้าพอง (อ่านว่า ข้าวปอง) ภาคกลางเรียกว่า ข้าวพอง ในอดีตมักนำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพาหนะใช้ในการเดินทาง
          เข้าหนมเกลือ (อ่านว่า เข้าหนมเกื๋อ) หรือ ขนมเกลือ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำเกลือ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาห่อใบตองให้มีลักษณะแบน เนื้อขนมที่สุกจะมีสีขาว รสเค็มเล็กน้อย ปัจจุบันมีการเติมกะทิและงาดำ หรือน้ำตาลปี๊บเพื่อเพิ่มรสชาติ
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.lannafood.com/blog/)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://bit.ly/3ka4ZNW)
          ข้าวเหนียวแดง หรือชาวล้านนาเรียกว่า ข้าววิตู หรือ เข้าอี่ทู หรือ เข้าวิทู เป็นขนมที่นิยมทำในช่วงสงกรานต์ เพราะเป็นช่วงที่ลูกหลานกลับภูมิลำเนาและร่วมแรงร่วมใจกันทำขนมเพื่อนำไปทำบุญถวายพระ แจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านและญาติมิตร รวมทั้งรับประทานกันในครอบครัว
          กาละแม เป็นขนมหวาน นิยมกันในหมู่ชาวมอญ และมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.agoda.com/th-th/travel-guides/thailand/songkran-festival-2019)

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

“ความสำคัญของประเพณี”

ประเพณีสงกรานต์ นับเป็นประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่าและความสำคัญทางวัฒนธรรมที่จะแสดงถึงความรัก ความผูกพันในครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน 

คุณค่าความสำคัญทางวัฒนธรรมของประเพณีสงกรานต์ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

คุณค่าต่อตนเอง วันสงกรานต์อาจถือได้ว่า เป็นวันแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เป็นโอกาสที่ทำให้กลับมาสำรวจตนเองว่า ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา เราได้กระทำการใดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว คนรอบข้าง หรือสังคม รวมถึงสำรวจสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าหรือความสุข  

         

คุณค่าต่อครอบครัว รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ของทุกปีเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อให้ลูกหลานตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ บุพการี หรือผู้อาวุโสภายในครอบครัว และกำหนดให้วันที่ ๑๔ เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เนื่องด้วยช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับบ้านหรือภูมิลำเนาไปหาครอบครัว และมีโอกาสอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ บิดามารดา เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่และเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งทำกิจกรรมอื่น ๆ ภายในครอบครัวร่วมกัน

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
(https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book55_2/culture.html)

คุณค่าต่อชุมชน ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ทำบุญตักบาตร หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัดร่วมกัน ได้สังสรรค์และสนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นรดน้ำ และการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่น

         

คุณค่าต่อสังคม ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ ทำความสะอาดวัดวาอาราม พื้นที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ของชุมชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

          คุณค่าต่อศาสนา วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ฟังธรรม สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลที่ดำรงสืบทอดพระพุทธศาสนา การทำบุญทำทาน และการถือศีลปฏิบัติธรรม ล้วนเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน
          ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงามทรงคุณค่า เป็นช่วงเวลาแห่งการรักษาความสะอาดทั้งกาย ใจ และสิ่งแวดล้อม คุณค่าในการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและการแสดงความรักความปรารถนาดีและความเอื้ออาทรแก่ญาติมิตร นับเป็นประเพณีแห่งความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย ในฐานะประชาชนคนไทยควรตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามและช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามด้วยการยึดถือปฏิบัติกันสืบไป

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

“สงกรานต์ปีนี้ ๒๕๖๕”

         

ในเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้เผยแพร่ประกาศสงกรานต์ พร้อมคำทำนายดวงเมืองประจำปี ของฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ดังนี้

ปีขาล (ผีเสื้อผู้หญิง ธาตุไม้) จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๘๔ ทางจันทรคติ เป็นปกติมาสวาร ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๐๙ นาฬิกา ๔๕ นาที ๔๖ วินาที

นางสงกรานต์ ทรงนามว่า "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จยืนมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ
นางกิริณีเทวี

_______________________________________________________________________________

วันที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๙ นาที ๔๘ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๘๔

ปีนี้ วันพุธเป็นธงชัย

วันอังคาร เป็นอธิบดี

วันอังคาร เป็นอุบาทว์

วันพฤหัสบดี เป็นโลกาวินาศ

ปีนี้วันอาทิตย์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า นาคให้น้ำ ๔ ตัว 

เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๒ ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิขาติ (ด้วงและแมลง)
จะได้ผลกึ่งเสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีเตโช (ไฟ) น้ำน้อย

____________________________________________________________________________

ประวัติวันสงกรานต์ แบบ ย่อ

สงกรานต์มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม

ประเพณีสงกรานต์เกิดขึ้นเมื่อใด

ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นประเพณีฉลองการขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งโดยทั่วไปจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ตรงกับเดือน 5 ตามจันทรคติ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยมีประเพณีวันสงกรานต์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ตราขึ้น กล่าวถึงการพระราชพิธีเผด็จศกและพระราชพิธีลดแจตร พระราชพิธี ...

วันสงกรานต์มีความหมายว่าอย่างไร

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่า การสิ้นปีประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการ ...

วันสงกรานต์มีไว้เพื่ออะไร

ประเพณีวันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ประชาชนจะจัดให้มีกิจกรรมที่ถือ ปฏิบัติเป็นกิจกรรมของชุมชนและสังคม ที่ทุกเพศ ทุกวัย และ ต่างฐานะสามารถสมัครสมานในงานเทศกาลนี้ แสดงออกด้วย ความพร้อมเพรียงในการตระเตรียมทำความสะอาดบ้านเรือน วัด ความพร้อมใจในการทำบุญให้ทาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ...