พระ ราช กรณียกิจ รัชกาลที่ 6

พระ ราช กรณียกิจ รัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ

1.1)ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

2. ด้านการแพทย์

2.1)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวชิรพยาบาลเมื่อ พ.ศ. 2455

2.3)โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อ พ.ศ. 2457

2.4)ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457

3. ด้านกิจการเสือป่าเเละลูกเลือ

3.1)ทรงจัดตั้งกองเสือป่าเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย ทรงทดลองตั้ง “เมืองมัง” หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง “ดุสิตธานี” ในพระราชวังดุสิต (ต่อมาทรงย้ายไปที่พระราชวังพญาไท)

4. ด้านวรรณกรรม

4.1)ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร สำหรับในด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. 2465 ขึ้น

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8E%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7

พระ ราช กรณียกิจ รัชกาลที่ 6

เจริญรุ่งเรืองมั่นคง พระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาตลอด  นับตั้งแต่ปฐมกษัตริย์สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงทุกพระองค์เนื่องในโอกาสครบรอบ 238 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 21 เมษายน 2563 ที่เป็นโอกาสสำคัญนำเสนอเรื่องราวพระราชกรณียกิจต่างๆ

พระ ราช กรณียกิจ รัชกาลที่ 6

ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราโชบายก่อตั้งโรงเรียนและพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้งโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ทรงจัดตั้งกองเสือป่า เพื่อฝึกหัดอบรมข้าราชการพลเรือนให้ได้รับการฝึกอบรมอย่างทหาร และกองลูกเสือเพื่อฝึกอบรมเยาวชน นับเป็นยุครุ่งเรืองของกิจการพิมพ์และหนังสือพิมพ์ ทรงพระปรีชาสามารถในงานวรรณคดี กวีนิพนธ์ บทละครและบทความแสดงความรักชาติบ้านเมืองจำนวนมาก ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 กรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานคร มีการปรับโฉมครั้งใหญ่ พัฒนาทั้งในส่วนโครงสร้างการบริหารงานและสาธารณูปโภคหลายด้านต่อเนื่อง มีการตัดถนนสายสำคัญๆ ในแหล่งย่านการค้าในพระนครไปสู่ชานเมือง งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ทรงสร้างโรงเรียนไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงพยาบาลในจังหวัดลพบุรี เสด็จประพาสสำเพ็ง ทรงขจัดความขัดแย้งระหว่างชาวไทยและชาวจีน ซึ่งเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่ย่านถนนเยาวราชลงได้ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงตรวจพลสวนสนามของกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรพร้อมกับลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบตเทน ผู้บัญชาการ ซึ่งสร้างขวัญกำลังใจแก่พสกนิกร   

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ พัฒนาประเทศทุกด้าน เพื่อความอยู่ดีกินดีของอาณาประชาราษฎร์ พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 5,000 โครงการ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาราษฎร์ ให้ร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชทานองค์ความรู้เพื่อดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งยกย่องว่า คือ ศาสตร์ของพระราชาทรงได้รับการยกย่องในพระปรีชาสามารถในฐานะอัครศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ พระบิดาแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ เพื่อสร้างความสุขแก่ปวงประชา โปรดเกล้าฯ  ให้ดำเนิน โครงการจิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจสร้างสานสัมพันธ์ระหว่างข้าราชบริพาร หน่วยงานรัฐ เอกชนและประชาชน ทรงสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษามรดกทาง ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติล้ำค่า เพื่อความผาสุกอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ และปวงชนชาวไทย