วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ค่าเทอม

หลักสูตรใหม่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

2.จำนวนรับทั้งหมด

40 ที่นั่ง

3.คุณสมบัติของผู้สมัคร

สัญชาติไทย

คะแนนเฉลี่ยรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00

คะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, และภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 3.00

เข้าค่าย สอวน. ถึงรอบที่ 2 หรือมีผลงานการแข่งขันวิชาการระดับชาติ

 

4.เกณฑ์การคัดเลือก

เกรดเฉลี่ย

สอบสัมภาษณ์

5.เอกสารที่ใช้สมัคร 

1. ไฟล์สแกน ปพ.1 (ใบแสดงผลการเรียนหรือ transcript)
2. รูปถ่ายของผู้สมัครสอบขนาด 1 นิ้ว
3. จดหมายแนะนำตัวเองของผู้สมัคร (ภาษาไทย: ความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 หรือ ภาษาอังกฤษ: ความยาวประมาณ 300 คำ)

6.ค่าสมัครสอบ

ไม่ได้ระบุ

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

หลักสูตรของสาขาวิชา   คลิกที่นี้

เว็บไซต์รับสมัครนักศึกษา คลิกที่นี้

———————————————————————————————

Sponser by

ใครอยากเรียนคณิตศาสตร์ สมัครแล้วเรียนได้ทั้งชีวิตแถมไม่แพงด้วย มีติวฟรีอีก คลิกที่รูปได้เลยนะ

วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ค่าเทอม

>>คลิกสมัครที่นี้<<

————————————————————————————

ติดตามช่องทางรับการข่าวจากลิงค์ด้านล่างได้เลยนะครับ มีข่าวรับตรง ค่าย ทุนตั้งแต่ม.ปลายถึงปริญญาเอก รอให้น้องสมัครอยู่

ประกาศคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา (เหมาจ่าย) และค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2563

Posted by วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ on Thursday, April 23, 2020

ภายใต้ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดหลักสูตรใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Science) ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2561 เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในระดับอาเซียน ตอบโจทย์การขยายตัวอย่างรวดเร็วของข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และรองรับความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งเป็นสาขาใหม่และมีความสำคัญต่อการรองรับการผลิตข้อมูลจำนวนมหาศาลในทุก ๆ วัน ทั้งจากข้อมูลประวัติการรักษา ข้อมูลการใช้ยา ข้อมูลการวิจัย ตลอดจนแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Science) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระบบสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศไทย โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งเป็นสาขาวิชาใหม่ที่ไม่เคยมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีมาก่อน ดังนั้น บัณฑิตของหลักสูตรฯ จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ โดยเมื่อจบการศึกษาออกไป บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลภายในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือบริษัทที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น บริษัทประกันชีวิต และสถาบันวิจัยต่าง ๆ นอกจากนี้ บัณฑิตยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ต่อยอดกับการทำงานในภาคส่วนธุรกิจได้ และหากบัณฑิตต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ เช่น แพทย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล นักวิชาการสาธารณสุข หรือด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย ฯลฯ โดยทั้งสองสถาบันมุ่งหวังให้บัณฑิตของหลักสูตรฯ ออกไปเป็นบุคลากรที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลสุขภาพจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนนำมาใช้แก้ปัญหาทางการแพทย์และการสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีระเบียบแบบแผน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) คือศาสตร์ที่เกิดจากการหลอมรวมศาสตร์ทางความน่าจะเป็น (probability) สถิติ (Statistic) คณิตศาสตร์ (Mathematics) และการเขียนโปรแกรม (Programming) เข้าด้วยกันเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาในอดีตเพื่อนำไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือ ทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การทำนายราคาบ้านในแต่ละพื้นที่ หรือ การสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สมารถจดจำใบหน้าของคนแต่ละคนได้

วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Science) เป็นศาสตร์สาขาย่อยของวิทยาศาสตร์ข้อมูลซึ่งมีการแตกสาขาย่อยออกไปมากมายทั้งในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร ธุรกิจ และสังคม โดยศาสตร์ในด้านสุขภาพนี้จะมีการเพิ่มเสริมเพิ่มเติมความรู้ไปในด้านสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคและการระบาด (Disease) กายวิภาคศาสตร์และระบบร่างกาย(Anatomy and Body System) และ ระบบบริการสุขภาพ (Healthcare System) เป็นต้น ความรู้เหล่านี้จะทำให้สามารถเข้าใจข้อมูลในแขนงของสุขภาพนี้และนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ค่าเทอม


Find us on Facebook

หลักสูตรและการศึกษา

  • รายละเอียด
  • แผนการเรียนการสอน
  • รายวิชาที่เปิดสอน
  • สถานที่เรียน
  • ค่าเล่าเรียนและทุนการศึกษา
  • การรับสมัคร

ปีการศึกษา

2564

ระยะเวลา

4 ปี

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การออกใบปริญญาบัตรจะกระทำร่วมกันโดยทั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนการรับปริญญาให้รับร่วมกับทางวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะปฏิบัติที่ดี สามารถเรียนรู้ได้เองอย่างต่อเนื่อง ประยุกต์องค์ความรู้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพของประชาชน

ความสำคัญของหลักสูตร

วิทยาศาสตร์ข้อมูลมีบทบาทโดยตรงต่อการออกแบบ พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพบุคคล อันเป็นรากฐานสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพและสุขภาพของประชาชน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ข้อมูลให้มีทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักในคุณธรรมและจริยธรรม มีทักษะทางสังคม และเป็นนักปฏิบัติ

2. ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ข้อมูลให้มีความรู้ด้านซอฟต์แวร์การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพและสุขภาพของประชาชน

3. เพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากต่างประเทศ

4. เพื่อให้บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลในประเทศไทยโดยเน้นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้ข้อมูลทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์ สุขภาพ และสาธารณสุข

5. เพื่อปลูกฝังนักศึกษาให้มีจิตสำนึกในการใฝ่เรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

รายละเอียดของหลักสูตร (Programme Specification): มคอ.2

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1จำนวนหน่วยกิตCPE 102 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
(จธวค ๑๐๒) (Computer Programming Basics)3(2-2-6)CPE 103 คณิตศาสตร์ดิสครีต
(จธวค ๑๐๓) (Discrete Mathematics)3(2-2-6)CHHD 101 แนวคิดด้านสุขภาพและระบบการบริการสุขภาพ
(จภขส ๑๐๑) (Concepts of Health and Health Care Systems)1(1-0-3)LNG 101 ภาษาอังกฤษทั่วไป
(จธภศ ๑๐๑) (General English)3(3-0-6)MTH 101 คณิตศาสตร์
(จธคณ ๑๐๑) (Mathematics I)3(3-0-6)MTH 101 คณิตศาสตร์
(จธคณ ๑๐๑) (Mathematics I)3(3-0-6)PHY 103 ฟิสิกส์ทั่วไปสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ 1
(จธฟส ๑๐๓) (General Physics for Engineering Student 1)3(3-0-6)GEN 101 พลศึกษา
(จธศท ๑๐๑) (Physical Education)1(0-2-2)รวม17(14-6-35)
ชั่วโมง /สัปดาห์ = 55ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2จำนวนหน่วยกิตCPE 111 การเขียนโปรแกรมด้วยโครงสร้างข้อมูล
(จธวค ๑๑๑) (Programming with Data Structures)3(2-2-6)CHHD 102 กายวิภาคศาสตร์และระบบต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
(จภขส ๑๐๒) (Introduction to Anatomy and Body Systems Health Data Science)3(2-2-6)CHHD 103 สุขภาพโลกเบื้องต้น
(จภขส ๑๐๓) (Introduction to Global Health)1(1-0-3)CHHD 104 จริยธรรมในการวิจัยทางการแพทย์และข้อมูลสุขภาพ
(จภขส ๑๐๔) (Ethics for Medical Research and Health Informatics)1(1-0-3)GEN 121 ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา
(จธศท ๑๒๑) (Learning and Problem Solving Skills)3(3-0-6)LNG 102 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค
(จธภศ ๑๐๒) (Technical English)3(3-0-6)MIC 101 ชีววิทยาทั่วไป
(จธชว ๑๐๑) (General Biology)3(3-0-6)รวม17(15-4-36)
ชั่วโมง /สัปดาห์ = 55ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1จำนวนหน่วยกิตCPE 231 ระบบฐานข้อมูล
(จธวค ๒๓๑) (Database Systems)3(2-2-6)CHHD 201 พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลพื้นฐาน
(จภขส ๒๐๑) (Fundamental Molecular Genetics)3(3-0-6)CHHD 202 โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
(จภขส ๒๐๒) (Communicable and Non-communicable Diseases)3(3-0-6)MTH 102 คณิตศาสตร์ 2
(จธคณ ๑๐๒) (Mathematics II)3(3-0-6)GEN 231 มหัศจรรย์แห่งความคิด
(จธศท ๒๓๑) (Miracle of Thinking)3(3-0-6)LNG 103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในอาชีพ
(จธภศ ๑๐๓) (Academic English)3(3-0-6)รวม18(17-2-36)
ชั่วโมง /สัปดาห์ = 55ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2จำนวนหน่วยกิตCPE 325 ข้อมูลขนาดใหญ่
(จธวค ๓๒๕) (Big Data)3(2-2-6)CPE 329 การคัดกรองข้อมูลทางธุรกิจ
(จธวค ๓๒๙) (Business Intelligence)3(3-0-6)CHHD 203 ชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศเบื้องต้น
(จภขส ๒๐๓) (Introduction to Computational Biology and Bioinformatics)3(2-2-6)CHHD 204 หลักการวินิจฉัยทางคลินิกและการรักษา
(จภขส ๒๐๔) (Principles of Clinical Diagnostics and Therapeutics)2(2-0-4)CHHD 301 ชีวสถิติ
(จภขส ๓๐๑) (Biostatistics)3(3-0-6)GEN 111 มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต
(จธศท ๑๑๑) (Man and Ethics of Living)3(3-0-6)รวม17(15-4-34)
ชั่วโมง /สัปดาห์ = 53ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1จำนวนหน่วยกิตCPE 352 วิทยาศาสตร์ข้อมูล
(จธวค ๓๕๒) (Data Sciences)3(2-2-6)CPE 383 ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยข้อมูล
(จธวค ๓๘๓) (Data Privacy and Security)3(3-0-6)CPE 353 การออกแบบการทดลอง
(จธวค ๓๕๓) (Design of Experiment)3(3-0-6)GEN 241 ความงดงามแห่งชีวิต
(จธศท ๒๔๑) (Beauty of Life)3(3-0-6)GEN xxx วิชาเลือกหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 1
(จธศท xxx) (General Education Elective I)3(3-0-6)CHHDxxx วิชาเลือกทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 1
(จภขสxxx) (CHHD Elective I)3(3-0-6)รวม18(17-2-36)
ชั่วโมง /สัปดาห์ = 55ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2จำนวนหน่วยกิตCPE 378 การเรียนรู้ของเครื่อง
(จธวค ๓๗๘) (Machine Learning)3(2-2-6)CHHD 302 การจัดการการบริการสุขภาพและเศรษฐศาสตร์สุขภาพ
(จภขส ๓๐๒) (Health Care Management and Health Economics)2(2-0-4)CHHD 303 สัมมนาหัวข้อวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
(จภขส ๓๐๓) (Seminar in Health Data Science)1(0-2-3)GEN 351 การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ
(จธศท ๓๕๑) (Modern Management and Leadership)3(3-0-6)CPE xxx วิชาเลือกทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์1
(จธวค xxx) (Computer Engineering Elective I)3(3-0-6)GEN xxx วิชาเลือกหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2
(จธศท xxx) (General Education Elective II)3(3-0-6)XXX xxx วิชาเลือกหมวดวิชาเลือกเสรี 1
(Free Elective I)3(3-0-6)รวม18(17-2-36)
ชั่วโมง /สัปดาห์ = 55ชั้นปีที่ 3 ภาคฤดูร้อนจำนวนหน่วยกิตCPE 301 บูรณาการการเรียนและการทำงาน
(จธวค ๓๐๑) (Work Integrated Learning)2(0-36-4)รวม2(0-36-4)
ชั่วโมง/สัปดาห์ = 40ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1จำนวนหน่วยกิตCPE 407 โครงงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ 1
(จธวค ๔๐๗) (Health Data Science Project I)3(0-6-9)CXXX xxx วิชาเลือกหมวดวิชาเลือกเสรี 2
(จภขส xxx) (CHHD Elective II)3(3-0-6)CHHDxxx วิชาเลือกทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2
(จภขส ๓๐๓) (Seminar in Health Data Science)3(3-0-6)รวม9(6-6-21)
ชั่วโมง/สัปดาห์ = 33
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2จำนวนหน่วยกิตCPE 408 โครงงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ 2
(จธวค ๔๐๘) (Health Data Science Project II)3(0-6-9)XXX xxx วิชาเลือกหมวดวิชาเลือกเสรี 3
(Free Elective III)3(3-0-6)XXX xxx วิชาเลือกหมวดวิชาเลือกเสรี 4
(Free Elective IV)3(3-0-6)รวม9(6-6-21)
ชั่วโมง/สัปดาห์ = 33

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยทั้งสอง ตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน บุคลากรของภาควิชา และผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ดังนี้

PLO1 : ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในการสกัดองค์ความรู้จากข้อมูล (Extract Knowledge from Data)

    • Sub PLO1 : 1A วิเคราะห์ สร้าง และประเมิน โมเดลทางคณิตศาสตร์ ได้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบ
    • Sub PLO1 : 1B ออกแบบการทดลองเกี่ยวกับข้อมูล ได้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบ
    • Sub PLO1 : 1C ประยุกต์ความรู้พื้นฐานในการออกแบบและสร้างเครื่องมือสารสนเทศเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
    • Sub PLO1 : 1D สามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสาร เสาะหาความรู้ วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาได้ด้วยตัวเอง และบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา ปรับปรุงแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
    • Sub PLO1 : 1E สามารถคิดได้อย่างเป็นระบบและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม
    • Sub PLO1 : 1F สามารถทำงานตามบทบาทและหน้าที่ในการทำงานรวมกันเป็นทีมจากกลุ่มคนจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ

PLO2 : มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งทางการพูด การเขียน และการนำเสนอ องค์ความรู้และความเข้าใจที่ลึกซี้งให้กับบุคคลทั่วไป (Communicate Insight)

    • Sub PLO2 : 2A มีทักษะในการสื่อสารและต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ
    • Sub PLO2 : 2B มีทักษะในการนำเสนอผลงานและอธิบายองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิผล
    • Sub PLO2 : 2C ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือการสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัย ในการสร้าง Dashboard เพื่อนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล

PLO3 : ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ยึดหลักจริยธรรม และคำนึงประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Practice with Professional Ethics and Social Awareness)

    • Sub PLO3 : 3A เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
    • Sub PLO3 : 3B มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    • Sub PLO3 : 3C คิดอย่างมีวิจารณญาณในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้

1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สังคมและการจัดการจำนวนหน่วยกิตGEN 101 พลศึกษา
(จธศท ๑๐๑) (Physical Education)1(0-2-2)GEN 111 มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต
(จธศท ๑๑๑) (Man and Ethics of Living)3(3-0-6)GEN 121 ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา
(จธศท ๑๒๑) (Learning and Problem Solving Skills)3(3-0-6)GEN 231 มหัศจรรย์แห่งความคิด
(จธศท ๒๓๑) (Miracle of Thinking)3(3-0-6)GEN 241 ความงดงามแห่งชีวิต
(จธศท ๒๔๑) (Beauty of Life)3(3-0-6)GEN 351 การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ
(จธศท ๓๕๑) (Modern Management and Leadership)3(3-0-6)2. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสารLNG 101 ภาษาอังกฤษทั่วไป
(จธภศ ๑๐๑) (General English)3(3-0-6)LNG 102 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค
(จธภศ ๑๐๒) (Technical English)3(3-0-6)LNG 103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในวิชาชีพ
(จธภศ ๑๐๓) (Academic English)3(3-0-6)LNG 231 สุนทรียะแห่งการอ่าน
(จธภศ ๒๓๑) (Reading Appreciation)3(3-0-6)LNG 232 การแปลเบื้องต้น
(จธภศ ๒๓๒) (Basic Translation)3(3-0-6)LNG 233 การอ่านอย่างมีวิจารญาณ
(จธภศ ๒๓๓) (Critical Reading)3(3-0-6)LNG 234 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(จธภศ ๒๓๔) (Intercultural Communication)3(3-0-6)LNG 235 ภาษาอังกฤษเพื่องานชุมชน
(จธภศ ๒๓๕) (English for Community Work)3(2-2-6)LNG 243 การอ่านและการเขียนเพื่อความสำเร็จในวิชาชีพ
(จธภศ ๒๔๓) (Reading and Writing for Career Success)3(3-0-6)LNG 296 ทักษะการเขียนภาษาไทย
(จธภศ ๒๙๖) (Writing Skills in Thai)3(3-0-6)LNG 410 ภาษาอังกฤษธุรกิจ
(จธภศ ๔๑๐) (Business English)3(3-0-6)3. กลุ่มวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมและการจัดการGEN 352 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(จธศท ๓๕๒) (Technology and Innovation for Sustainable Development)3(3-0-6)GEN 353 จิตวิทยาการจัดการ
(จธศท ๓๕๓) (Managerial Psychology)3(3-0-6)4. กลุ่มวิชาสุขพลานามัยGEN 301 การพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม
(จธศท ๓๐๑) (Holistic Health Development)3(3-0-6)5. กลุ่มวิชาการเรียนรู้ตลอดชีวิตGEN 321 ประวัติศาสตร์อารยธรรม
(จธศท ๓๒๑) (The History of Civilization)3(3-0-6)6. กลุ่มวิชาการคิดอย่างมีระบบGEN 331 มนุษย์กับการใช้เหตุผล
(จธศท ๓๓๑) (Man and Reasoning)3(3-0-6)7. กลุ่มวิชาคุณค่าและความงามGEN 441 วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
(จธศท ๔๔๑) (Culture and Excursion)3(2-2-6)

2.  รายวิชาเลือก2.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์CHHD 304 การแพทย์แม่นยำเบื้องต้น
(จภขส ๓๐๔) (Introduction to Precision Medicine)3(3-0-6)CHHD 305 เทคโนโลยีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล
(จภขส ๓๐๕) (Experimental Techniques in Molecular Biology)3(2-2-6)CHHD 306 มะเร็งวิทยาเบื้องต้น
(จภขส ๓๐๖) (Introduction to Oncology)3(3-0-6)CHHD 307 โภชนศาสตร์และสุขภาพเบื้องต้น
(จภขส ๓๐๗) (Introduction to Nutrition and Health)3(3-0-6)CHHD 308 จุลชีววิทยาทางการแพทย์
(จภขส ๓๐๘) (Clinical Microbiology)3(3-0-6)CHHD 309 พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม
(จภขส ๓๐๙) (Environmental Toxicology)3(3-0-6)2.2 กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์CPE 355 การวิเคราะห์ด้านการเงิน
(จธวค ๓๕๕) (Financial Analytics)3(3-0-6)CPE 356 การตลาดและโมเดลเชิงทำนาย
(จธวค ๓๕๖) (Predictive Analytics in Marketing)3(3-0-6)CPE 357 การวิเคราะห์ทรัพยากรบุคล
(จธวค ๓๕๗) (People Analytics)3(3-0-6)CPE 371 ปัญญาประดิษฐ์
(จธวค ๓๗๑) (Artificial Intelligence)3(3-0-6)CPE 372 การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
(จธวค ๓๗๒) (Natural Language Processing)3(3-0-6)CPE 373 การประมวลผลเสียงพูด
(จธวค ๓๗๓) (Speech Processing)3(3-0-6)CPE 391 หัวข้อพิเศษ 1
(จธวค ๓๙๑) (Special Topic I)1(1-0-2)CPE 392 หัวข้อพิเศษ 2
(จธวค ๓๙๒) (Special Topic II)2(2-0-4)CPE 393 หัวข้อพิเศษ 3
(จธวค ๓๙๓) (Special Topic III)3(3-0-6)CPE 453 เครื่องสืบค้นและการเจาะหาในอินเทอร์เน็ต
(จธวค ๔๕๓) (Search Engine and Internet Mining)3(3-0-6)CPE 454 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
(จธวค ๔๕๔) (Internet of Things)3(3-0-6)CPE 463 การประมวลผลรูปภาพและการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์
(จธวค ๔๖๓) (Image Processing and Computer Vision)3(3-0-6)CPE 465 การค้นคืนสารสนเทศสื่อประสม
(จธวค ๔๖๕) (Multimedia Information Retrieval)3(3-0-6)

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา ตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 4 ปี รวมประมาณ 452,800 บาท Click

ประเภทและจำนวนทุนการศึกษา Click

ทุนการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2562 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ทุนประเภท ก. เป็นทุนค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา จำนวน 56,000 บาท ต่อภาคการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา รวมทั้งสิ้น 448,000 บาท จำนวน 25 ทุน
  • ทุนประเภท ข. เป็นทุนค่าบำรุงการศึกษา จำนวน 25,000 บาท ต่อภาคการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา รวมทั้งสิ้น 200,000 บาท จำนวน 15 ทุน

ทุนเฉลิมพระกียรติ 60 พรรษา ปีการศึกษา 2563-2569

นักศึกษาที่เริ่มศึกษาในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป จะได้รับทุน ดังนี้

  • ทุนค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา

ภาคการศึกษาละไม่เกิน 50,000 บาท จำนวน 40 ทุน/ภาคการศึกษา

    • คุณสมบัติของผู้ได้รับทุน:

1.มีสถานะเป็นนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

2.GPAX ≥ 2.50

เข้าสู่ระบบรับสมัคร



ประกาศ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (หลักสูตรร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) ประจำปีการศึกษา 2566

วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ค่าเทอม

หลักสูตรเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ตามรูปแบบและช่วงเวลาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้

รอบการรับรูปแบบการรับเกณฑ์การรับสมัคร1Portfolio– คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– มีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
– Portfolio
– เรียงความแสดงความสนใจในวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ2Quota– นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ-ราชวิทยาลัย หรือโรงเรียนดรุณสิกขาลัย
– คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT23Admission 1– คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT24Admission 2– ผลคะแนน GPAX (คิดเป็น 20%)
– ผลคะแนน ONET (คิดเป็น 30%)
– ผลคะแนน GAT (คิดเป็น 10%)
– ผลคะแนน PAT1 (คิดเป็น 20%)
– ผลคะแนน PAT2 (คิดเป็น 20%)
หมายเหตุ การรับสมัครของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ อยู่ในกลุ่ม ที่ 2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบการรับในรอบนี้เป็นไปตามที่ ทปอ. กำหนด5Direct admission– คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– Portfolio
– เรียงความแสดงความสนใจในวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
– ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT2
หมายเหตุ การรับสมัครในรอบนี้อาจจะไม่ได้เปิดรับทุกปี

ทั้งนี้ ผู้สมัครสามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครของหลักสูตรได้จาก Facebook page ของหลักสูตร (ไปที่ page )