เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

การบอกว่าเด็กคนหนึ่งเติบโตดีตามปกติหรือไม่นั้นจะต้องวัดจากน้ำหนักส่วนสูงและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามอายุ ถ้าอยู่ในระหว่างพิสัยปกติ คือ ค่าเฉลี่ย +2SD หรือจาก Percentile ที่ 3 ถึง Percentile ที่ 97 ถือว่าปกติตามอายุนั้น ๆ

ในชุมชนที่มีปัญหาเด็กขาดอาหารมากจึงมีการคำนวนแบ่งชั้นตามความรุนแรง (Modified Gomez's Classification) เพื่อประโยชน์ในการแบ่งคัดเด็กตามความรุนแรงสำหรับ

การดูแลรักษา
ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการ ดูกราฟน้ำหนักและส่วนสูงประกอบ

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

แต่การประเมินการเจริญเติบโตจากการวัดครั้งเดียว (cross sectional) นั้น มักมีข้อเสีย ตรงที่ไม่สามารถบอกการเพิ่มหรือการลดของขนาดตัวเด็กเพียงแต่บอกว่าขณะนั้นน้ำหนัก หรือส่วนสูงของเด็ก ถือเป็นปกติสำหรับวัยของเขาหรือไม่นั่นก็คือบอกภาวะเติบโตได้เฉพาะเมื่อเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ ชัดเจนแล้วเท่านั้น การประเมินการเจริญเติบโตที่ดีจึงควรติดตามวัดเด็กเป็นระยะ บันทึกไว้และจุดลงในกราฟ (longitudinal)จะเห็นแนวโน้มของการเพิ่มและลดได้ชัดเจน ช่วยให้วินิจฉัยภาวะ "โตช้ากว่าที่ควร" ได้เร็ว ก่อนที่เด็กจะตกลงสู่ภาวะทุพโภชนาการ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเด็กเองว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรจึงดีกว่าที่จะเทียบกับค่าเฉลี่ยหรือเกณฑ์ปกติตามวัยอย่างเดียว เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่าง ขนาดตัว และอุปนิสัยความเป็นอยู่

ถ้าเด็กเติบโตตามปกติ เส้นน้ำหนักที่จุดต่อกันจะขนานกับเส้น P50 ถ้ามีภาวะชะงักงัน โตช้า เส้นน้ำหนักจะราบ หรือถ้าน้ำหนักลดเส้นก็จะชี้ลงซึ่งแสดงว่าเด็กควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุและ แก้ไขปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นภาวะทุพโภชนาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การติดตามความเปลี่ยนแปลงนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการติดตามผลการรักษาหรือการให้โภชนบำบัดอีกด้วย

ในตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ ส่วนสูงมีอัตราเพิ่มเร็วมากอยู่ 2 ช่วง คือระยะตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงวัยรุ่น (รูปที่ 1) การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ ระยะไตรมาสที่ 2 และ 3 ดูใน Intrauterine growth chart สำหรับส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ ดูได้จากตารางที่ 2.1

นอกจากความสูงแล้วยังดูความเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนช่วงตัวบนต่อช่วงตัวล่าง (upper : lower ratio) ในตารางที่ 2.2 และยังดูสัดส่วนช่วงแขนต่อความสูงที่เปลี่ยนไปตามวัยด้วย (span : height)

2. การเติบโตของส่วนสูงปกติ
2.1. ส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กอายุต่าง ๆ

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

หมายเหตุ
1. ความสูงโดยประมาณเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะเป็น 2 เท่าของความสูงเมื่ออายุ 2 1/2 ปี
2. อายุแรกเกิดถึง 3 ปี วัดส่วนสูงเป็นความยาวโดยวัดในท่านอนหงาย อายุเกิน 3 ปี วัดในท่ายืนตรง

2.2. สัดส่วนของความสูงอัตราส่วนช่วงบนต่อช่วงล่าง upper/lower ratio

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

หมายเหตุ
upper segment = ศีรษะถึงหัวเหน่า, lower segment = หัวเหน่าถึงส้นเท้า

2.3. สัดส่วนช่วงแขนต่อความสูง Span/Height Ratio
ช่วงกางแขน (Span) คือการวัดความยาวจากปลายนิ้วกลางข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
ในท่ากางแขนเหยียดตรงไปข้าง ๆ ระดับไหล่
- แรกเกิดมีช่วงกางแขนสั้นกว่าความยาวของร่างกาย
- เด็กชายอายุ 7 ปี หรือเด็กหญิงอายุ 9 ปี มีช่วงกางแขนเท่ากับส่วนสูง
- วัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่มีช่วงกางแขนยาวกว่าส่วนสูง
- ช่วงกางแขนในเด็กชายจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 2 ซม.
- ช่วงกางแขนในเด็กหญิงจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 0.5-0.8 ซม.

ตารางที่ 3 น้ำหนักตัวเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

ตารางที่ 4 ขนาดรอบศีรษะเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

หมายเหตุ
1. ในระยะ 6 เดือน ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 1.5 ซม.
ในระยะ 6 เดือนหลัง ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 0.5ซม.
ในขวบปีที่ 2 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 2-3 ซม.
ในขวบปีที่ 3 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 0.5-2 ซม.
อายุ 3-10 ปี ศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 ซม. ทุก ๆ 3 ปี

2. Anterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 18 เดือน
Posterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 6 สัปดาห์

ตารางที่ 5 Bone Age การปรากฎของศูนย์การเกิดกระดูกจากภาพรังสีของกระดูกมือและข้อมือใน เด็กชาย

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

หมายเหตุ
- การแปลผลภาพรังสีของศูนย์การเกิดกระดูก ให้ถือว่าเป็นปกติ ถ้าสูงกว่า อายุจริงไม่เกิน 1 ปี และต่ำกว่าอายุจริงไม่เกิน 2 ปี
- เด็กหญิงจะมีศูนย์การเกิดกระดูกเร็วกว่าเด็กชายเล็กน้อย

ตารางที่ 6 การเจริญเติบโตของฟัน (dental growth)
6.1. ฟันน้ำนม (deciduous teeth)

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

หมายเหตุ
1. มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ฟันหน้าซี่บนขึ้นก่อนฟันหน้าซี่ล่างอายุที่ฟัน น้ำนมขึ้น ก็แตกต่างกันได้มาก
2. เด็กปกติบางคนฟันอาจจะขึ้นเมื่ออายุ 1 ปี หรือเด็กอาจจะมีฟันตั้งแต่ก่อน 6 เดือนได้ ฟันน้ำนมจะขึ้น ครบเมื่ออายุประมาณ 2 1/2 ปี
3. ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี โดยมีฟันแท้ (Permanent teeth) 32 ซี่ ขึ้นตามลำดับดังนี้

6.2. ฟันแท้ (permanent teeth) .

เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

ตารางที่ 7 การเจริญเติบโตในวัยรุ่น (pubertal changes : secondary sex characteristics)

7.1. ขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (pubic hair) มีการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวัยรุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะที่ 2 จะเริ่มมีขนที่เนินหัวเหน่า (mons pubis) บาง ๆและขนเป็นเส้นตรง มีสีดำเล็กน้อย
ระยะที่ 3 ขนจะดำ เส้นหยาบและขอดปลาย ขอบเขตมีเฉพาะที่ส่วนเนินหัวเหน่าที่อยู่ติดกับอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะที่ 4 ขนมีลักษณะเหมือนของผู้ใหญ่ แต่ปกคลุมเฉพาะอยู่ที่เนินหัวเหน่ายังไม่ เป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม
ระยะที่ 5 ลักษณะขนเหมือนของผู้ใหญ่และขยายออกเป็นบริเวณสามเหลี่ยม โดยเกิดขึ้นที่ด้านในของต้นขา

ในเด็กชายและเด็กหญิงมีระยะการเติบโตของ pubic hair เหมือนกัน และการเติบโตของ pubic hair นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์

อะไรเป็นเกณฑ์ในการวัดการเจริญเติบโต

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของคนเหล่านั้นจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวและส่วนสูงเป็นหลักซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตของวัยรุ่นในแต่ละคนว่ามีการเจริญเติบโตหรือมีพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐานที่ควรเป็นหรือไม่หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นก็จะประเมินได้ว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือมีปัญหา ...

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตมีประโยชน์อย่างไร

การเรียนรู้เรื่องเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต มีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร ท าให้ทราบถึงการเจริญเติบโตทางร่างกายของตนเอง เพื่อน าไปสู่ การปรับปรุงหรือเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งทาให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดีและมีการเจริญเติบโตที่สมวัย

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตล่าสุดของไทยทำขึ้นเมื่อพ.ศ.ใด

เกณฑ์อ้างอิงภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 6-19 ปี กรมอนามัย (เริ่มพัฒนา 2558 เผยแพร่ 2564) กรมอนามัยได้พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงภาวะการเจริญเติบโต ครั้งแรกเมื่อปี 2538 ทำการเผยแพร่เอกสารเมื่อปี 2543 และครั้งล่าสุด เริ่มพัฒนาเมื่อ 2558 ได้ทำการเผยแพร่เอกสารเมื่อ.2564.

เกณฑ์ที่ใช้ดูการเจริญเติบโตของทารกมีอะไรบ้าง

2.วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากความยาว.
ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กหญิงควรตัวยาวขึ้น >/ 16 cm. เด็กชายควรตัวยาวขึ้น >/ 17 cm..
เด็ก 6-12 เดือนควรยาวเพิ่มขึ้นอีก >/ 8 cm. หรือเมื่ออายุ 1 ปีความยาวควรจะเป็น 1.5 เท่าของแรกเกิด.