ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

จุดแรกเป็นจุดที่ผมเดินไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อยู่ด้านในเกือบสุด จะมีแอ่งใหญ่ มีชั้นน้ำตก ตรงนี้สวยเลยครับ

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ เหมือนบลูลากูนเลย แต่คิดว่าตรงนี้น้ำน่าจะลึกมากแน่ๆ ตอนไปไม่มีคนเล่นเลยครับ

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

ถัดมาเป็นอีกจุดที่ผมชอบ อยู่ตรงใกล้ๆกับต้นไผ่ ถัดลงมาจากจุดแรก

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

มีชั้นน้ำตกเล็กๆ เงียบสงบไร้ผู้คน ที่สำคัญน้ำใสมากๆ

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

ถัดมาเป็นจุดที่มีแอ่งน้ำให้นอนแช่ มีชั้นน้ำตก

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

ไฮไลท์เลยคือจะมีกิ่งไม้ พาดลงไปตรงแอ่งน้ำ ไปนั่งถ่ายรูปเท่ๆได้ น้ำไม่ลึกลงเล่นได้

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

บรรยากาศร่มรื่นเลยครับ

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

กลับมาตรงจุดที่คนกางเต็นท์กันเยอะๆ ก็จะมีแอ่งน้ำให้เล่นเหมือนกัน ที่กางริมน้ำค่อนข้างน้อย ไปถึงก่อนได้เปรียบ

ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง
ไปสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง

จุดตั้งแคมป์ กางเต็นท์ก็จะประมาณนี้ครับ กลางวันไม่ค่อยร้อน แต่กลางคืนร้อนมาก แนะนำพกพัดลมไปด้วย มีปลั๊กไฟให้พ่วง แค่เตรียมสายไปยาวๆก็พอ

ลานกางเต็นท์ธรรมชาติสวยอีกแห่งที่เราอยากแนะนำให้คุณรู้จักกับ ‘สวนรุกขชาติวังก้านเหลือง’ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นลานกางเต็นท์ริมธารน้ำสีเทอร์ควอยซ์ที่ไหลมาจากน้ำตกวังก้านเหลืองซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน 

 

น้ำตกวังก้านเหลืองเป็นสายน้ำตกที่เกิดขึ้นจากตาน้ำขนาดใหญ่ซึ่งผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อยู่ห่างจากบริเวณตัวน้ำตกประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยไหลลัดเลาะโขดหินปูนขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 ชั้น แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสักเบื้องล่าง รอบบริเวณยังปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ มีหินงอกหินย้อยหลายแห่ง เสน่ห์ของน้ำตกวังก้านเหลือง สีน้ำฟ้าเทอร์ควอยซ์ไหลแรงตลอดปี ตัวหินยังไม่ลื่น สามารถเดินเหินได้ง่าย เหมาะแก่การเล่นน้ำและพักผ่อน

 

แม้จะชื่อน้ำตกวังก้านเหลืองเหมือนกัน แต่ลานกางเต็นท์กับตัวน้ำตกนั้นอยู่ห่างกันพอสมควร สวนรุกขชาติวังก้านเหลืองซึ่งเป็นจุดกางเต็นท์ต้องขับรถลึกเข้ามาอีกประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่บริเวณเดียวกับน้ำตกวังตะเคียน 

 

สวนรุกขชาติวังก้านเหลืองสามารถตั้งแคมป์ กางเต็นท์ ประกอบอาหารได้ตลอดแนวริมน้ำ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้นให้เดินได้พอเหนื่อย เปิดให้กางเต็นท์ได้ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. ไม่มีการโทรจองล่วงหน้า ใครมาถึงก่อนสามารถเลือกตำแหน่งได้ก่อน ข้อควรรู้สำหรับไปที่นี่ ทางเจ้าหน้าที่แนะนำว่าให้มาช่วงวันธรรมดา ถ้าไปสุดสัปดาห์ต้องไปแต่เช้าตรู่ และถึงแม้จะสามารถประกอบอาหารได้ แต่ห้ามก่อไฟบนพื้น ห้องน้ำมีน้อย และเตรียมถุงดำไปใส่ขยะด้วยเพื่อนำขยะออกมาทิ้งด้านหน้า

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ในสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง มีจำนวน ๒๙๕ ชนิด ๑๓๐ สกุล ๗๖ วงศ์ แบ่งตามลักษณะวิสัย ได้แก่

  • ไม้ยืนต้น ๑๔๗ ชนิด ไม้พุ่ม ๖๔ ชนิด

  • ไม้ล้มลุกและหญ้า ๓๗ ชนิด

  • ไม้เลื้อยและไม้พุ่มทอดเลื้อย ๓๘ ชนิด

  • ไม้น้ำ ๙ ชนิด

ในจำนวนนี้เป็นพืชพื้นเมืองในท้องถิ่น ๑๖๑ ชนิด พืชพื้นเมืองจากแหล่งอื่นในไทย ๔๔ ชนิด และพืชต่างถิ่น ๓๑ ชนิด

พื้นที่ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้เด่นโดยรวม ได้แก่ มะดูก อินทรชิต มะเกลือ ตะโกนา ลำตาควาย สะเดา มะกา เสี้ยวป่า ไผ่รวก และป่าดงดิบชื้นเป็นสังคมพืชย่อยแบบป่าดงดิบชื้นชายน้ำ

พันธุ์ไม้เด่นโดยรวม ได้แก่ ก้านเหลือง ประดู่ส้ม สัตตบรรณ มะเดื่อกวาง หาด โสกน้ำ มะเดื่ออุทุมพร ดีหมี เป็นต้น จากการตรวจสอบสถานภาพพบพืชถิ่นเดียว (Endemic) ๕ ชนิด ได้แก่ จำปีสิรินธร (Magnolia sirindhorniae Noot.& Chalermglin) โมกราชินี (Wrightia sirikitiae Mid.& Santisuk) ลำตาควาย (Diospyros coaetanea (Craib) Fletcher) อรพิม (Bauhinia winitii Craib) และเข้าพรรษา (Globba winitii C.H. Wright) พืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง (Critically Endangered : CR) ๑ ชนิด คือ กฤษณา (Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte)

พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable : VU) ๒ ชนิด ได้แก่ จำปีสิรินธร และโมกราชินี พืชหายาก (Rare : R) ๒ ชนิด ได้แก่ ลำตาควาย และเข้าพรรษา พืชที่ถูกคุกคาม (Threatened : T) ๔ ชนิด คือ หูหมี (Epithema carnosa Benth.) มะยมป่า (Ailanthus triphysa (Dennst.) Alston) อรพิม และกฤษณา

ทั้งนี้พืชที่มีสถานภาพและการคุกคามที่พบในพื้นที่ศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นพืชที่นำเข้ามาปลูกโดยมีถิ่นกำเนิดจากแหล่งอื่นในประเทศไทย มิได้เป็นพืชในท้องถิ่น ยกเว้น ลำตาควาย และหูหมี เป็นพืชพื้นเมือง

ข้อมูลพรรณไม้สำคัญที่พบในสวน เช่น


พรรณไม้ท้องถิ่นดั่งเดิม ได้แก่ มะดูก มะเกลือ ลำตาควาย มะกา ประดู่ส้ม
พรรณไม้หายาก ได้แก่ ลำตาควาย เข้าพรรษา อรพิม
พรรณไม้ใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ กฤษณา
พรรณไม้อื่นๆ...จำปีสิรินธร โมกราชินี โมกเหลือง แคสันติสุข จันทน์หอม

สภาพดิน


เป็นดินบริเวณที่ราบตะกอนลุ่มแม่น้ำป่าสัก ชุดดินส่วนใหญ่จะเป็นดินชุดสบปราบ ดินชุดชัยบาดาล และดินชุดลำนารายณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มชุดดินที่เป็นดินร่วนปนเหนียวชั้นหน้าดินตื้น จนถึงปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางจนถึงค่อนข้างสูง เหมาะสมในการปลูกพืชไร่

สภาพอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี ๒๙ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ ๓๘ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ ๑๔ องศาเซลเซียส มีฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ ๑,๒๐๐ มิลลิเมตรและมีความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยร้อยละ ๗๑.๐ มี ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว โดยอากาศจะร้อนจัดในเวลากลางวันและค่อนข้างหนาวเย็นในเวลากลางคืน ฤดูหนาวมีอากาศหนาวและลมพัดแรงจัด

ที่ตั้ง

สวนรุกขชาติวังก้านเหลือง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล และหมู่ที่ ๑ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๓๕๐ ไร่


ทิศเหนือ จรดเขตพื้นที่ทำกินของราษฎร
ทิศใต้ จรดเขตพื้นที่ทำกินของราษฎร
ทิศตะวันออก จรดเขตพื้นที่ทำกินของราษฎร
ทิศตะวันตก จรดเขตพื้นที่ทำกินของราษฎร

การเดินทาง

สวนรุกขชาติวังก้านเหลือง อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๕๖ - ๕๗ ของทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๘๙ (สายอำเภอวังม่วง – อำเภอ ท่าหลวง - อำเภอชัยบาดาล) เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเดินทางจากกรุงเทพมาท่องเที่ยวมาเช้ากลับเย็นได้อย่างสบาย มีรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางในการเดินทาง ดังนี้

จากจังหวัดลพบุรี

ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑ ระยะทาง ๑๖ กิโลเมตรถึงสามแยกพุแค เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ (จากพุแค - สี่แยกซอย ๑๒ - สี่แยกม่วงค่อม) ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเพื่อเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (จากสี่แยกม่วงค่อม - อำเภอท่าหลวง) ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกไฟแดงอำเภอท่าหลวง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘๙ (สายอำเภอท่าหลวง-อำเภอ ชัยบาดาล) ระยะทาง ๘ กิโลเมตร ถึงสวนรุกขชาติวังก้านเหลือง รวมระยะทาง ๘๙ กิโลเมตร