Glucosamine Chondroitin คือ

บทสรุปของ Glucosamine . Glucosamine เป็นสารธรรมชาติที่พบและสร้างขึ้นในร่างกายมนุษย์โดยมีน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนประกอบหลัก...

Posted by สุขภาพดีไม่มีในขวด on Tuesday, April 28, 2020

คือสารประกอบทางเคมีที่ร่างกายผลิตได้เองจากกลูโคสเพื่อใช้สร้างกระดูกอ่อน นอกจากนั้นยังมีการผลิตขึ้นในรูปแบบยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยอ้างว่ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวด บวมตามข้อต่อจากโรคข้ออักเสบ กลูโคซามีนที่สังเคราะห์ขึ้นนี้มีหลายชนิด เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate) กลูโคซามีนไฮโดรคลอดไรด์ (Glucosamine Hydrochloride) และกลูโคซามีนคลอโรไฮเดรต (Glucosamine Chlorohydrate) ทั้งนี้ เฉพาะกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้นที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ใช้สำหรับรักษาโรคข้อเสื่อม และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) อนุญาตให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

Glucosamine Chondroitin คือ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางการแพทย์ไม่อาจยืนยันถึงประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในการบรรเทาอาการจากโรคข้ออักเสบได้แน่ชัด เนื่องจากผลวิจัยมีทั้งสนับสนุนและคัดค้านสรรพคุณของกลูโคซามีน อีกทั้งงานวิจัยในแต่ละชิ้นมีจำนวนผู้เข้าร่วมทดลองไม่มากพอที่จะระบุว่าใช้ได้ผลดีกับทุกคน กลูโคซามีนจึงไม่ใช่ยาหลักที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบ แต่มักใช้เป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ป่วย

เกี่ยวกับกลูโคซามีน

กลุ่มยาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทยายาตามใบสั่งแพทย์ ยาหาซื้อได้เอง สรรพคุณบรรเทาอาการปวด บวม และฝืดแข็งของข้อต่อจากโรคข้ออักเสบและช่วยชะลอการเสื่อมของข้อกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่รูปแบบของยายาเม็ด แคปซูล แคปซูลชนิดนิ่ม ยาผงชนิดผสมก่อนใช้แกรนูลสำหรับผสมก่อนใช้

คำเตือนของการใช้กลูโคซามีน

  • ควรใช้กลูโคซามีนที่ผ่านการรรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น
  • ห้ามใช้ยานี้ หากเคยมีประวัติแพ้กลูโคซามีน ไอโอดีน หรือสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็ง มีคอเรสตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะเลือดออกง่าย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กลูโคซามีน
  • เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • ผู้ที่กำลังใช้กลูโคซามีนต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าก่อนวางแผนผ่าตัดหรือรับการรักษาทางทันตกรรม

ปริมาณการใช้กลูโคซามีน

ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ผู้ใหญ่ โดยทั่วไปรับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง หรือตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ

การใช้กลูโคซามีน

  • ควรใช้กลูโคซามีนตามฉลากหรือตามคำแนะนำจากแพทย์ ห้ามรับประทานเกินปริมาณที่กำหนด
  • ห้ามรับประทานกลูโคซามีนหลายชนิดพร้อมกัน นอกจากจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ควรรับประทานร่วมกับมื้ออาหาร เนื่องจากกลูโคซามีนอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบอาจต้องใช้กลูโคซามีนตามปริมาณที่แพทย์แนะนำติดต่อกันนาน 2 เดือน อาการจึงจะทุเลาลง
  • หากลืมรับประทานให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงมื้อถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานมื้อนั้น โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า
  • เก็บกลูโคซามีนไว้ที่อุณหภูมิห้องและหลีกเลี่ยงความชื้น

ผลข้างเคียงจากการใช้กลูโคซามีน

กลูโคซามีนมีผลข้างเคียงจากการใช้ที่พบได้ทั่วไปและมักไม่เป็นอันตราย ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • เกิดลมในกระเพาะ
  • เวียนศีรษะ
  • ท้องเสีย ท้องผูก
  • แสบร้อนกลางอก

ทั้งนี้ ผู้ใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการต่อเนื่องหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และหากพบผลข้างเคียงรุนแรงต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

โรคข้ออักเสบ(osteoarthritis) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดที่พบบ่อยที่สุดและมีมานนานที่สุด ภาวะดังกล่าวเป็นการอักเสบของข้อที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนข้อต่อเสื่อมลง โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมจากการใช้งานข้อต่อเป็นเวลานานเสมอไป ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและใช้งานที่เหมาะสมของข้อต่อจะช่วยรักษาสภาพของกระดูกอ่อนข้อต่อได้เป็นอย่างดี

ในภาวะข้อเข่าปกติ กระดูกอ่อนข้อต่อจะได้รับการเสริมซ่อมบำรุงให้คงสภาพปกติอยู่เสมอ แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดกระบวนการที่ทำให้กระดูกอ่อนสึกหรอ โดยในที่สุดเหลือเพียงปลายกระดูกที่เสียดสีกัน มักเกิดตรงปลายกระดูกแต่ละอันที่เชื่อมต่อกัน ซึ่ง ณ บริเวณที่มีความพร่องกระดูกอ่อน จะมีการสร้างกระดูกขึ้นมารอบๆข้อ (spurs หรือ osteophytes) ขึ้นมาเกาะแซมบริเวณที่พร่องนั้น เกิดเป็นเหมือนกระดูกงอก ทำให้เกิดอาการปวดและการเคลื่อนไหวของข้อต่อจะมีความลำบากมากขึ้น

ปัจจัยของโรคไขข้ออักเสบอาจเกิดได้จาก: วัย ความอ้วน กรรมพันธุ์ การที่ข้อต่อรับน้ำหนักมากซ้ำๆ หรือ การเคลื่อนไหวใช้งานของข้อที่ไม่เหมาะสม อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อก็เป็นปัจจัยหนึ่งเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน ชาวไร่ ชาวนา คนเก็บขยะ แม้กระทั่ง บรรณารักษ์ เป็นต้น นอกจากนี้ การเล่นกีฬา หรือวิชาชีพบางแขนงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะโรคข้อกระดูกอักเสบเช่น นักเต้นบัลเล่ย์ หรือนักฟุตบอล เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคข้ออักเสบจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เกือบทุกคนมักมีปัญหาข้ออักเสบโดยมีความรุนแรงแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม การเกิดข้ออักเสบก็มีความแตกต่างระหว่างเพศเช่นกัน โดยพบว่า ข้ออักเสบมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายมักพบข้อเสื่อมที่สะโพกมากกว่าผู้หญิง

Glucosamine&Chondroitin คือยาอะไร

Glucosamine และ Chondroitin เป็นสารที่มีการใช้รักษาข้อและกระดูกอักเสบมามากกว่า 20 ปีในประเทศ ทางทวีปยุโรป แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วไป อันเเนื่องจากผลลัพธ์การรักษาที่ผู้ป่วยและสัตว์ป่วยได้รับเป็นที่น่าพอใจจนเป็น ที่ยอมรับของวงการแพทย์และสัตวแพทย์ในปัจจุบัน สารสองชนิดนี้ได้รัยการยอมรับในอเมริกาว่าเป็นสาร ...

กลูโคซามีน ดีไหม

กลูโคซามีนมีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างและคงความแข็งแรงของข้อต่อในร่างกาย ผลการวิจัยหลายชิ้นระบุว่ากลูโคซามีนมีส่วนช่วยสร้างกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสีขาวหุ้มอยู่ที่ปลายกระดูกและบริเวณข้อต่อ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อไม่ติดขัด

Glucosamine ทำจากอะไร

กลูโคซามีน(Glucosamine) คือสารที่มีอยู่ภายในร่างกายที่ช่วยส่งเสริมโครงสร้างของกระดูกอ่อน กลูโคซามีนที่มีประสิทธิผลสกัดได้จากเปลือกแข็งของสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หรือ ปู ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ กลูโคซามีน ในผู้ที่มีประวัติแพ้จากการรับประทานสัตว์น้ำเหล่านี้