จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

                       1.การสื่อสารโทรคมนาคม
          การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์ 
         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อขยายขีดความสามารถที่มีจำกัด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแบ่งปันทรัพยากรให้มีการใช้งานร่วมกัน   
         โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ระเบียบวิธีการ มาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันของเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ หรือ วิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ 
         อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

Show

          – ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม
          – แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Trends) 

ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม
          การสื่อสาร (Communication) หมายถึงการติดต่อระหว่างมนุษย์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนความคิดเห็นให้รับรู้เรื่องราวร่วมกันและเกิดการตอบสนองระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยอาศัยสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร
          สื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึง การส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) แต่ข้อมูลที่ส่งถึงกันนั้นจะเป็นเพียงข้อมูล (Data) เท่านั้นไม่รวมเสียงพูด (Voice)
         โทรคมนาคม (Telecommunication)  หมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในระยะทางไกล ๆ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารเหมือนกับการสื่อสารข้อมูล แต่สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล (Data) และเสียงพูด (Voice)

         เนื่องจาก ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน แค่ไหนก็ตาม จึงก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้กับธุรกิจ เพื่อสร้างทางเลือกการตัดสินใจและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจมากยิ่ง ขึ้น  ดังนั้นผู้อ่านจึงควรทราบแนวโน้มที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารโทรคมนาคม โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ แนวโน้มด้านอุตสาหกรรมการสื่อสาร แนวโน้มด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและแนวโน้มด้านแอปพลิเคชั่นธุรกิจ

1. แนวโน้มด้านอุตสาหกรรมการสื่อสาร (Industry Trends)
         เมื่อ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมในหลายๆประเทศ โดยได้เปลี่ยนจากการควบคุมดูแลของรัฐเพียงเดียว มาเป็นการแข่งขันการให้บริการระหว่างบริษัทผู้ให้บริการหลาย ๆ รายซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้ได้เตรียมทางเลือกไว้หลาย ๆ ทางเพื่อให้องค์กร บริษัทเอกชน และผู้บริโภคทั่วไปได้เลือกใช้บริการทางการสื่อสารตั้งแต่โทรศัพท์ภายใน ประเทศไปจนถึงการสือสารผ่านดาวเทียม เคเบิลทีวี โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต
         การเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์และ WWW (World Wide Web) ได้ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการและผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมากมาย เพื่อสนองตอบต่อการเติบโตดังกล่าวบริษัทเอกชนหรือองค์กรต่างๆ จึงได้เพิ่ม ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) มากขึ้นดังนั้นการพบปะสนทนาเพื่อนำเสนอบริการและฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ์แก่บริษัทที่ต้องการใช้การสื่อสารโทรคมนาคมนี้จึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2.แนวโน้มด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (Technology Trends)
         เนื่องจาก การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้เกิดแรงผลักด้นในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เช่น เว็บบราวเซอร์เครื่องมือในการเขียนภาษา HTML เพื่อสร้างเว็บเพจ ซอฟแวร์เพื่อการจัดการเครือข่าย ไฟร์วอลล์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ในแอปพลิเคชั่นบนเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอปพลิเคชั่นสำหรับE-commerce และการทำงานร่วมกัน เพื่อการเติบโตขององค์กรโดยแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่าน ี้ได้มุ่งไปสู่การสร้างเครือข่ายไคลเอ็นท์/เซิร์ฟเวอร์บนพื้นฐานของ สถาปัตยกรรมระบบเปิด (Open System)
         ระบบเปิด (Open System) คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่น และเครือข่ายที่เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถ เชื่อมต่อและเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของพวกเขาเอง โดยระบบเปิดนี้จะต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อที่ดี กล่าวคือเป็นความสามารถของระบบที่ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย  เพื่อให้เข้าถึงและใช้งานสารสนเทศและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายระบบเปิดบางระบบนั้นอาจจะมีความสามารถในการทำงานร่วมกันบนเครือข่าย ได้นั้น คือผู้ใช้งานสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่แตกต่างกันหลาย ๆ แอปพลิเคชั่นให้สำเร็จโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฐานข้อมูลที่แตกต่างกันบนเครือข่ายที่ต่างกันได้ บ่อยครั้งที่มีการนำซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “มิดเดิลแวร์ (Middle)” มาใช้เพื่อช่วยให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้
         แนว โน้มการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงการใช้สื่อกลางในการส่งข้อมูลที่เป็นสายทองแดง และระบบการสื่อสารด้วยไมโครเวฟบนพื้นดินมาเป็นการใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง เซล ลูลาร์ดาวเทียมสื่อสารและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบอื่น ๆ โดยการใช้เคเบิลใยแก้วนำแสงจะทำให้ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ด้วยความเร็วแสง ไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน และใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าสายสัญญาณแบบอื่น การใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงที่มีปริมาณมหาศาล ข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว การใช้เซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ จะอำนวยความสะดวกต่อการใช้อุปกรณ์พกพาแบบต่าง ๆ  ให้สามารถสื่อสารกับเครือข่ายทั่วโลกได้

3.แนวโน้มด้านแอปพลิเคชั่นธุรกิจ (Business Application Trends)
         การ เปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแวดวงธุรกิจที่ใช้การติดต่อสื่อสาร โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์การให้บริการอินเตอร์เน็ต และระบบเปิดนอกจากนี้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ต WWW อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต  ทำให้มีแอปพลิเคชั่นที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกันระหว่าง 2 บริษัทหรือมากกว่า
รวม ทั้งแอปพลิเคชั่นที่ภายในองค์กร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานการจัดการและการวางแผนกลยุทธ์ ดังนั้นเครือข่ายโทรคมนาคม จึงมีบทบาทและมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก

          การ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร การใช้งานทรัพยากรร่วมกัน (Share Resources) การทำงานร่วมกันเป็นทีมและสนับสนุน E-commerce เป็นต้น ส่งผลให้การตัดสินใจมีความสำคัญและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ต้องมีการแข่งขันกันทั้งภายในและภายนอก
          เมื่อ เห็นแนวโน้มและความสำคัญในการใช้การสื่อสารโทรคมนาคมแล้ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงองค์ประกอบรูปแบบของการติดต่อสื่อสารและ เครือข่ายคอมพิวเตอร  ์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจ

               2. ชนิดของสัญญาญข้อมูล (Signal Types)
ความแตกต่างระหว่างสััญญาณ Analog และ Digital

          สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของ ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) โดยสัญญาณจะมีขนาดไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ สัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป ยกตัวอย่างเช่น การที่เราโยน ก้อนหินลงน้ำ บนผิวน้ำเราจะเห็นว่า น้ำจะมีการเคลื่อนตัวเป็นคลื่น กระจายออกเป็นวงกลมรอบจุดที่หินจม ระดับคลื่นจะสังเกตุได้ว่าเริ่มจากจุดกลางแล้วขึ้นสูง แล้วกลับมาที่จุดกลางแล้วลงต่ำ แล้วกลับมาที่จุดกลาง เป็นลักษณะนี้ติดต่อกันไป แต่ละครั้งของวงรอบเราเรียกว่า 1 Cycle โดยการเคลื่อนที่ของสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) นี้ จะมีระยะทางและเวลาเป็นตัวกำหนดด้วย จึงทำให้มีผลต่อการส่งสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) ส่วนใหญ่จึงสามารถถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือจากตัวของระบบอุปกรณ์เอง เพราะสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะเป็นสัญญาณจริง และเมื่อถูกรบกวนก็อาจ จะทำให้คลื่นสัญญาณมีการเปลี่ยนไป จึงทำให้ผู้รับหรือปลายทางนั้นมีการแปลความหมายผิดพลาดได้ เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น 

          สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและ ติดต่อสื่อสารกัน หรือกล่าวได้ว่าสัญญาณดิจิตอลก็คือการที่เรานำเอาสัญญาณ Analog (อนาล็อก) มา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลข (0,1) โดยการแปลงสัญญาณนี้ต้องอาศัยวงจรประเภทหน่ึงที่เรียกว่า A To D (A/D) หรือ Analog To Digital converter โดยวงจร A/D หลังจากนั้น ก็จะได้สัญญาณ Digital ออกมาเป็นสัญญาณในรูปแบบของตัวเลข (0,1) นั่นเอง โดยจะเป็นสัญญาณที่เกิดจากแรงดันของ ไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 ค่าคือ 0 = Min และ 1 = Max โดยค่า Min จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 0 โวลต์ และ Max จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 5 โวลต์ ดังนั้นสัญญาณชนิดนี้มนุษย์เรา จึงไม่สามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้เลย และเมื่อได้เป็นสัญญาณ Digital ออกมาแล้ว จึงทำการส่งข้อมูลไปยัง ผู้รับหรือปลายทาง ทางฝั่งผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณจาก Digital ให้กลับเป็น Analog อีกครั้ง โดยผ่านตัวแปลง คือ D To A (D/A) หรือ Digital To Analog converter

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัญญาณ Analog และ สัญญาณ Digital

          สรุปได้ว่าสัญญาณ Digital เปรียบเสมือนการเปลี่ยนรูปแบบจากสัญญาณ Analog ที่เป็นสัญญาณ คลื่นให้ เป็นสัญญาณไฟฟ้า

          ความแตกต่างของระบบระบบกล้องวงจรปิด CCTV ระหว่าง Analog, IP, และ HD-SDI

ทุกวันนี้ระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือเรียกกันติดปากว่าระบบกล้องวงจรปิด CCTV ได้ถูกนำมาใช้ด้วย กันหลายระบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. ระบบ Analog

          เป็นระบบที่ใช้ตั้งแต่มีการคิดค้นระบบกล้องวงจรปิด CCTV ระบบ Analog เป็นระบบที่ใช้สาย สัญญาณ (Coax cable) เช่น สาย RG6 RG11

ข้อดี

  • ต้นทุน : ระบบอนาล๊อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
  • ยืดหยุ่นกว่า : เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบ ใหญ่ที่มีอินฟราเรดตั้งตั้งมาพร้อมกับกล้องทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม
  • ความเข้ากันได้ : ในระบบอนาล๊อก มีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถ เลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
  • ปัญหาน้อย : เนื่องจากว่าระบบอนาล็อกถูกพัฒนามามากจนแทบจะเรียกได้ว่า อยู่ในช่วง สุดท้ายของเทคโนโลยีของระบบอนาล๊อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ปัญหาต่าง ๆ ของระบบอนาล็อก จึงเกิดขึ้นน้อยมาก
  • ช่างที่ทำการติดตั้งไม่ต้องมีความรู้ด้านเน็ตเวิร์ก ก็สามารถติดตั้งได้

ข้อเสีย

  • Function : ระบบอนาล๊อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนา็๊ล็อกที่มี ราคาสูงมาก ๆ เท่านั้น
  • ความปลอดภัย : ระบบอนาล็อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากว่าไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็ สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้
  • ระยะทาง : ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญานในระยะไกล ๆ ได้
  • ความละเอียดของภาพที่ได้ไม่มาก เนื่องจากระบบ Analog ไม่สามารถส่งภาพที่มีความ ละเอียดสูงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสาย

2. ระบบ IP (Network)

          เป็นระบบกล้องวงจรปิด CCTV ที่นำมาใช้แทนระบบ Analog ซึ่งระบบ IP จะส่งสัญญาณในรูปแบบ Digital ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัด ไม่เกิดการสูญหายของสัญญาณ คือถ้ามีการเดินระบบผิดพลาด ภาพก็จะไม่แสดงเลย แต่ถ้าเดินระบบได้ถูกต้องภาพจะมีความชัดตามคุณภาพของกล้องที่ส่งภาพมา ซึ่งต่าง กับระบบ Analog ที่ภาพจะมีทั้ง ภาพชัด ภาพไม่ชัด และภาพหาย สายสัญญาณที่ใช้ในระบบ Digital ส่วนมากจะเป็นสาย Cat5

ข้อดี

  • Wireless : สนับสนุนการทำงานผ่านระบบไร้สายมากกว่า Analog
  • ระบบเครือข่ายเดิม : กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดิน สายใหม่
  • พิ่มกล้องได้ง่าย : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่าย โดยไม่ติดข้อจำกัดในส่วนของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
  • ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผล ที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ "เต็มที่" ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป
  • แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
  • ความละเอียด : เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบ Analog ไม่ สามารถทำได้นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p หรือ "Hidefinition" ทำให้ได้ภาพที่มี ความละเอียด "สูงมาก" เปรียบเสมือนกับระบบ Analog คือการที่เราดูหนังจาก VDO ธรรมดา แต่ ระบบ Digital เทียบได้กับการดูหนังแบบ Blue ray ได้เลยทีเดียว
  • POE : บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกเพิ่ม ออกไปอีกต่างหาก
  • ความปลอดภัยสูงมาก : เนื่องจากการทำงานบนของระบบ Digial สามารถที่จะ Backup ข้อมูลบน Server ได้ตลอดเวลา และ Hacker ไม่สามารถ "ดัก"เอาข้อมูลระหว่างทางได้

ข้อเสีย

  • การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Brandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก
  • ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบAnalog ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา แต่ก็มี แนวโน้มที่ลดลงจากเมื่อก่อนมาก
  • ใช้ข้ามยี่ห้อไม่ได้ : เนื่องจากระบบถูกพัฒนาจากหลายรายทำให้มีมากกว่า 1 มาตราฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันเพื่อติดต่อกันได้ หรือให้เข้าใจง่ายๆคือ "ข้ามยี่ห้อไม่ได้" นั่นเอง
  • ผู้ติดตั้งจะต้องมีความรู้ทางด้าน Network รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล

3. ระบบ HD-SDI

          กล้องวงจรปิด CCTV แบบ SDI ย่อมาจาก Serial Digital Interface เป็นระบบ Digital ที่ใช้สาย สัญญาณแบบ Coax หรือ แบบเดิมที่เป็น RG6 เป็นตัวนำสัญญาณ ระบบนี้สามารถส่งสัญญาณภาพโดย ไม่จำเป็นต้องบีบอัดสัญญาณ เพราะระบบรองรับการส่งสัญญาณที่มีความละเอียดมากกว่าความละเอียด แบบธรรมดาถึง 5 เท่า ทำให้สัญญาณภาพมีความคมชัดในระดับ HD

ข้อดี

  • สามารถใช้สายสัญญาณเดิมของระบบ Analog ได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการ Upgrade
  • ภาพมีความคมชัดสูง
  • ผู้ติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญด้านระบบเน็ตเวิร์ค

ข้อเสีย

  • ราคาของกล้องและเครื่องบันทึก ยังมีราคาสูงอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มลดลง
  • ตัวกล้องยังมีให้เลือกน้อย ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด ยังไม่ได้ทำการผลิตระบบนี้ในจำนวนมาก

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาพที่ได้จาก กล้องวงจรปิด CCTV ระบบ Analog และ ระบบ Digital

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

ตารางเปรียบเทียบความละเอียดของภาพในช่วงที่ต่างกัน

     __________________________________________________________________
                         3.องค์ประกอบของการสื่อสาร

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
           การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
กระบวนการสื่อสาร
          กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
          1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
          2. มีทักษะในการสื่อสาร
          3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
          4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
          5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
          6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
          9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
         10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
         11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
         12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

           การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

           การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการองค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย           1.ผู้ส่งข้อมูล (Sender)           2.ผู้รับข้อมูล (Receiver)           3.ข้อมูล (Data)           4.สื่อนำข้อมูล (Medium)           5.โปรโตคอล (Protocol)

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

      1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
      2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
      3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
      4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 
         4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
         4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
         4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
         4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
      5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

     _________________________________________________________

                          4. ประเภทของระบบเครือข่าย

1. LAN (Local Area Network)
          ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ
2. MAN (Metropolitan Area Network)
          ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก
3. WAN (Wide Area Network)
          ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)
            

ประเภทของระบบเครือข่าย
Peer To Peer
          เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware

                                            

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

Client / Server
          เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
          ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

                                              

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

ข้อดี
           ม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนักสามารถขยายระบบได้ง่ายเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อเสีย

           อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วยการตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้ 

แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

                                           

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย


การเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้
ข้อดี

          ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
          หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก
แบบ Star(แบบดาว) การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า 
แบบ Starจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก

                                             

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

ข้อดี
           ติดตั้งและดูแลง่ายแม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติการมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด
ข้อเสีย
          เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงานการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบ  วงแหวน (Ring Network)

            แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

                           

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย
                                                            
จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

       __________________________________________________________

              5. รูปแบบเครือข่าย (Network Topology)

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย หรือที่เรียกว่า Network Topologies คือการแบ่งแยกการเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ในลักษณะเชิงกายภาพ (Physical Topology) โดยมี 4 รูปแบบ ดังนี้ 

- Bus Network Topology

Ring Network Topology

- Mesh Network Topology

- Star Network Topology

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)

รูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัสจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน(Backbone)โดยจำเป็นต้องมี  T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ และจำเป็นต้องมี Terminator ปิดที่ด้านท้ายและหัวของสายสัญญาน เพื่อดูดซับไม่ให้สัญญาณสะท้อนกลับ

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

การส่งผ่านข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้งสองด้านที่เครื่องนั้นได้เชื่อมต่ออยู่ โดยเครื่องปลายทางจะคอยตรวจสอบแพ็คเกจว่าตรงกันกับตำแหน่งของตนเองหรือไม่ หากไม่ก็จะผ่านไป 

เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่กำลังส่งข้อมูลอยู่ เครื่องอื่นๆจะไม่สามารถส่งข้อมูลได้  เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นหากมีการเชื่อมต่อแบบบัสจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงจำนวนเครื่องที่จะใช้ในเชื่อมต่อเครือข่าย

                    

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

                   (การ์ด LAN , Terminator , และ T-Connector) 

ข้อดีของการเชื่อมต่อรูปแบบบัสนี้คือมีรูปแบบการเชื่อมต่อที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ตัวอย่างเช่นหากมีการเชื่อมต่ออยู่แล้ว 2 เครื่องก็สามารถเพิ่มเป็น 3 เครื่องด้วยวิธีการถอด Terminator ที่ปลายสาย จากนั้นนำเครื่องที่ 3 พร้อมสายสัญญานอีกอันมาต่อ จากนั้นจึงปิด Terminator ที่ด้านท้ายสุดเช่นเดิม แต่ด้านอุปกรณ์ดูเหมือนจะเป็นข้อเสีย เพราะปัจจุบันหาซื้อได้ยาก เช่น NIC หรือการ์ด LAN ที่มีพอร์ทที่สามารถเชื่อมต่อ T-Connector หาซื้อไม่ได้แล้ว ระบบบัสแทนที่จะง่าย ปัจจุบันกับเป็นเรื่องยากนั่นเอง ขอเสียด้านการส่งข้อมูลอย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นคือระบบบัสจะมี backbone เพียงแค่ตัวเดียว การส่งข้อมูลจึงส่งได้ทีละเครื่อง ประการที่สอง เมื่อการส่งข้อมูลมีปัญหา จะสามารถตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากทุกอุปกรณ์ต่างก็เชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักทั้งหมด หากสายสัญญาณชำรุดระบบก็จะล่มทั้งหมด นอกจากนี้การส่งผ่านระหว่างเครื่องสู่เครื่องด้วยระบบบัสยังมีจำกัดเรื่องระะห่างที่ไม่มาก เพราะสัญญาณข้อมูลอาจส่งไปไม่ถึง

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

โทโพโลยีแบบเมช (Mesh Topology)

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology)

สรุปรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Topology)

Ring Topology เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันโดยมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน (Ring Topology บางระบบสามารถส่งได้ 2 ทิศทาง) โดยจะมีเครื่อง Server ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่ เครื่องใดที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องรอให้เครื่องอื่นๆส่งข้อมูลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน (เช่นเดียวกับบัส)

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

ข้อดี ของโทโปโลยีแบบวงแหวนคือการส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ เครื่องพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงไปในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล ซึ่ง repeater ของแต่ละเครื่องจะคอยตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
ข้อเสีย หากวงแหวนชำรุดหรือขาด จะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด และตรวจสอบได้ยากเช่นเดียวกันหากระบบเกิดมีปัญหา 

Mesh Topology ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงแบบ point to point โดยแต่ละเครื่องจะมีการเชื่อมโยงที่เป็นของตนเอง ข้อดีของรูปแบบเมชคือไม่มีการแชร์ข้อมูลกันระหว่างเครื่องใดๆ จึงสามารถใช้แบนด์วิดท์ (bandwidth) ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นกันสื่อสารกันระหว่าง 2 เครื่องไม่มีเครื่องอื่นๆเลย แต่มีข้อเสียคือเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สิ้นเปลืองสายสื่อสารมากที่สุด 

Star Topology เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch (จะกล่าวถึงอุปกรณ์ network ในบทต่อไป) โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องต่างๆในระบบ LAN ข้อดีของระบบแบบดาวนี้คือสามารถควบคุมดูแลได้สะดวกเนื่องจากมีจุดควบคุมอยู่ที่จุดเดียว เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดชำรุด ระบบก็จะยังคงทำงานได้ตามปรกติ การส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องรอคอยเครื่องใดๆสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายได้เลย แต่มีข้อเสียคือต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ได้แก่ เครื่องสวิตช์หรือฮับ รวมถึงอุปกรณ์สายสัญญาณที่ต้องสิ่นเปลืองกว่าระบบอื่นๆ ประการที่สอง หากอุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลางชุดรุดระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย
  

อย่างไรก็ตามถึงแม้โทโปโลยีแบบดาวจะสิ้นเปลืองมาก แต่ก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อย เพราะถึงแม้การสื่อสารเครื่องใดๆมีปัญหาก็จะสามารถทราบได้ทันทีว่าเครื่องใดชำรุด และถึงแม้เครื่องนั้นๆจะชำรุดก็ไม่ส่งผลใดๆไปยังระบบส่วนรวม กรณีที่ฮับหรือสวิตช์ชำรุดก็สามารถทราบและดำเนินการแก้ไขได้ในทันที Star Topology จึงเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมากที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 

จะเห็นว่ารูปแบบ(Topology)ของการเชื่อมต่อต่างๆล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ข้อเสียที่กล่าวมาบางข้ออาจเป็นข้อดีของบางระบบ เช่น รูปแบบวงแหวน(Ring Topology) ที่จะสามารถส่งข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นเสร็จเรียบร้อย และไม่มีการร้องขอใดๆ ตรงจุดนี้สามารถเอาไปใช้ในการทำงานที่ต้องส่งข้อมูลทีละงาน ปัจจุบันรูปแบบ Ring ยังถูกใช้งานในการส่งและประมวลผลข้อมูล บริษัทชั้นนำอย่าง IBM ก็ใช้รูปแบบวงแหวน(Ring Topology)เช่นกัน  

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Topology) เป็นพื้นฐานของความรู้ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ท่านอาจจะเคยได้ยินโทโพโลยีอีกบางรูปแบบ เช่น Tree Topology , Hybridge Topology เป็นต้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการประยุกต์รูปแบบต่างๆมารวมกัน ในบทต่อไปเราจะเริ่มกล่าวถึงอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ LAN พื้นฐาน รวมถึงระบบ Internet ที่เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน

_______________________________________________________
6. อุปกรณ์เครือข่าย (Network Equipment)

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

การ์ด LAN

การ์ด (lan)

          เครื่องพีซีจะเชื่อต่อกันเป็นระบบ LAN ขึ้นมานั้น แต่ละเครื่องต้องติดตั้งการ์ด LAN เครื่องรุ่นใหม่ๆอาจจะมีการ์ด LAN ฝังตัวอยู่ในบอร์ดให้แล้ว (Lan Onboard) หรือในโน๊ตบุ๊คใหม่ๆก็มักจะมีพอร์ต LAN มาให้แล้ว โดยส่วนใหญ่จะมีความเร็ว 1000หรือ100 เมกกะบิต (ถ้าเป็นรุ่นเก่าจะมีความเร็วเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น) เรียกว่าเป็น Fast Ethernet และบางแบบก็อาจใช้ได้ทั้ง 2 ความเร็วโดยสามารถปรับแบบอัตโนมัติแล้วแต่จะไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Hub หรือ Switch แบบใดการ์ด LAN รุ่นใหม่จะมีคุณสมบัติ Plug&Play หรือ PnP มักเสียบเข้ากับสล๊อตแบบ PCI (การ์ดรุ่นเก่าจะใช้กับสล๊อตแบบ ISA ซึ่งไม่ค่อยพบแล้ว จึงไม่ขอกล่าวถึง) โดยมีช่องด้านหลังเครื่องให้เสียบสายได้

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

ฮับ(hub)

ฮับ(hub) 
          เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address)ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

สวิตซ์(switch)

สวิตซ์(switch) 
          เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี (อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามา แอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

เราเตอร์ (router)

เราเตอร์ (router) 
          ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูล โดยกำหนด

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

สาย UTP (Unshield Twisted Pair)

          สาย UTP (Unshield Twisted Pair) สายที่ใช้กับ LAN เรียกว่าสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งใช้หัวต่อแบบ RJ-45 ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขา สายแบบนี้ที่เข้าหัวไว้แล้วจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะซื้อแบบเป็นม้วนมาตัดเข้าหัวเองก็ได้ แต่ต้องมีเครื่องมือหรือคีมเข้าหัว RJ-45 โดยเฉพาะ มีข้อจำกัดคือ จะต้องยาวไม่เกิน 100 เมตร จากเครื่องไปยัง Switch และแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
• สายตรง (Straight-through Cable) คือสายปกติที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ด LAN และ Hub / Switch
• สายไขว้ (Crossover Cable) ใช้ต่อการ์ด LAN บนคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือพอร์ตของ Hub หรือ Switch 2 ตัวโดยตรง เพื่อเพิ่มขยายพอร์ต ซึ่งวิธีการเข้าหัวจะต่างจากปกติ

      ______________________________________________________________

        สื่อหรือตัวกลางการสื่อสารข้อมูล (communication media) ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการ

สื่อสารข้อมูล เพราะการเลือกใช้สื่อที่เหมะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลและประหยัด

ต้นทุน ตัวกลางหรือสื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งได้เป็น 2 ประเทใหญ่ๆ ดังนี้

สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย

        สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (wired media) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า guided media ซึ่งก็คือ สื่อที่

สามารถบังคับให้สัญญาณข้อมูลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนดได้ แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1.สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable)

        ลักษณะทางกายภาพ : สายคู่บิดเกลีบวเป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและ

ดิจิทัล ลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป ราคาไม่แพงมาก น้ำหนัหเบา ติดตั้งได้ง่าย ภายในสายคู่บิดเกลียว

จะประกอบด้วยสายทองแดงพันกันเป็นเกลียว เป็นคู่ๆ ซึ้งอาจจะมี 2,4 หรือ 6 คู่ สายคู่บิดเกลียวแบ่ง

ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

   แบบไม่มีชั้นโลหะห่อหุ้ม เรียกว่า unshielded twisted pair หรือเรียกย่อๆว่า สาย usp

   * แบบมีชั้นโลหะห่อหุ้ม เรียกว่า shielded twisted pair หรือเรียกย่อๆว่า stp ซึ่งภายในสายมีโลหะ

ห่อหุ้มอีกชั้น โลหะจะทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวนที่มา

จากภายนอก

        คุณสมบัติ : เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดงพันเป็นเกลียว การพันกันเป็น

เกลียวทำเพื่อรบการรบกวนจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงในสายเคบิลเดียวกันหรือ
ภายนอกลงได้

        ความถี่ในการส่งข้อมูล : 100 เฮิรตซ์ (Hz) ถึง 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)

        ความเร็วในการส่งข้อมูล : 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps)
                                               

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

2.สายโคแอกเชียล (coaxial cable)

        ลักษณะทางกายภาพ : สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและ

ดิจิทัลเช่นเดียวกับสายคู่บิดเกลียว ลักษณะคล้ายสายเคเบิคทีวี โดยภายในมีตัวนำไฟฟ้าเป็นแกนกลาง

และห่อหุ้มด้วยฉนวนเป็นชั้นๆตัวนำโลหะทำหน้าที่ส่งสัญญาณ ส่วนฉนวนทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณ

รบกวนจากภายนอก

         คุณสมบัติ :  สายโคแอกเชียลมีฉนวนห่อหุ้มหลายชั้น ทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้มากกว่า

สายคู่บิดเกลียว ส่งข้อมูลได้ระยะทางไกล และมีช่วงความกว้างในการส่งข้อมูลมาก ทำให้ส่งข้อมูลด้วย

อัตราเร็ว มีราคาสูงกว่าสายคู่บิดเกลียว

         ความถี่ในการส่งข้อมูล : 100 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ถึง 500 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)

         ความเร็วในการส่งข้อมูล : 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 1 พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)

                                    

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

3.สายใยแก้วนำแสง (optical fiber cable)

         ลักษณะทางกายภาพ : สายใยแก้วนำแสง ภายในสายประกอบด้วย แกนกลางทำจากใยแก้วนำ

แสง ซึ่งเป็นท่อแก้วหรือท่อซิลิกาหลอมละลาย และห่อหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง สัญญาณที่ส่งผ่านสายใย

แก้วนำแสง คือ แสง ดังนั้น ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นเเสงที่มีความเข้มของแสงต่างระดับกัน เพื่อส่งผ่านสาย

ใยแก้วนำแสง

         คุณสมบัติ : เนื่องจากสายใยแก้วนำเเสงนำสัญญาณที่เป็นแสง ดังนั้นเเสงมีการเคลื่อนที่เร็วมาก 

การส่งข้อมูลผ่านสายใยแก้วนำเเสงจึงทำการส่งได้เร็วเท่ากับความเร็วแสง สิ่งรบกวนจากภายนอกมี

เพียงแสงเท่านั้น ดังนั้นสัญญาณรบกวนจากภายนอกจึงมีน้อยมาก แต่ราคาของสายใยแก้วนำแสง

มีราคาสูง และการติดตั้งเดินสายทำได้ยากกว่าสายประเภทอื่นๆ ส่วนใหญ่การเดินสายจะเดินใส่ท่อลง

ใต้ดินเพื่อป้องกันแสงรบกวน

         ความเร็วในการส่งข้อมูล : 10 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 2 พันล้านบิตต่อวินาที (gbps)

                                     

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย

          สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (wireless media) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ unguided media คือ 

สื่อที่ไม่สามารถกำหนดทิศทางให้ข้อมูลเดินทางไปในทิศทางที่ต้องการได้ อากาศเป็นสื่อหรือตัวกลาง

ในการนำข้อมูลไปยังปลายทางชนิดหนึ่ง การสื่อสารโดยใช้อากาศเป็นตัวกลางมีลักษณะการสื่สาร 4 

ประเภท ดังนี้

1.แสงอินฟราเรด

           การสื่อสารโดยการส่งด้วยแสงอินฟราเรด (infrared) จะใช้ในการสื่อสารระยะทางใกล้ๆ เช่น 

การใช้แสงอินฟราเรดจากเครื่องรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ การส่งข้อมูลจาก

โทรศัพท์มือถือไปยังมือถือด้วยกันเอง หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเนื่องจากแสง

อินฟราเรดไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้ ดังนั้นไมสามารถส่งข้อมูลในระยะทางไกลได้

                                       

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

2.สัญญาณวิทยุ

            การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งสัญญาณวิทยุ (radio wave) ที่มีความถี่ต่างๆกัน สามารถส่งไปได้

ในระยะทางไกลๆ หรือในสถานที่ที่ไม่สามารถใช้สายส่งได้ แต่เนื่องจากใช้อากาศเป็นตัวกลางในการ

สื่อสาร ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศไม่ดี จึงมีผลต่อสัญญาณวิทยุที่ทำการส่งออกไป สัญญาณวิทยุมีหลาย

ความถี่ ซึ่งใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่น สัญญาณที่ความถี่ 300 กิโลเฮิรตซ์ (KHz) -3 เมกะเฮิรตซ์ 

(MHz) ใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง 3,5,7,9 วิทยุสายการบิน เป็นต้น

          

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

3.ระบบไมโครเวฟ

            ระบบไมโครเวฟ (microwave) เป็นการสื่อสารไร้สายโดยการส่งสัญญาณป็นคลื่นไมโครเวฟ

จากเสาไมโครเวฟต้นหนึ่งไปยังเสาไมโครเวฟที่ตั้งอยู่ในระยะทางที่ไกลออกไป เนื่องจากทิศทางการ

ส่งข้อมูลระหว่างเสาไมโครเวฟ 2 ต้น ส่งในทิศทางที่เป็นเส้นตรง หรือเรียกว่าระยะเส้นสายตา 

(line of sight) ดังนั้นถ้าระหว่างเส้นทางการส่งข้อมูลมีสิ่งกีดขวางก็จะไม่สามารถส่งสัญญาณได้ 

ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งจานรับส่งเป็นสถานีทวนสัญญาณ (repeater station) เพื่อเป็นจุดส่ง

สัญญาณต่อไปยังเสาไมโครเวฟต้นต่อไป ซึ่งเป็นลักษณะการสื่อสารแบบส่งสัญญาณต่อเนื่องเป็นช่วงๆ

ไป โดยปกติคลื่นไมโครเวฟจะถูกส่งได้ไกลประมาณ 20-30 ไมล์ คลื่นไมโครเวฟ จะถูกรบกวนได้จาก

สภาพอากาศที่ไม่ดี เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น

             คลื่นไมโครเวฟมีความถี่สูงถึง 2 ล้านรอบ (MHz) ถึง 40 พันล้านรอบต่อวินาที (GHz) สามารถ

ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากถึง 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)

              ข้อดีของการสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟ คือ สามารถทำการสื่อสารระยะทางไกลๆได้โดยไม่

ต้องเดินสายให้ยุ่งยาก และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมารมาก แต่ข้อเสียคือ คลื่นไมโครเวฟถูกรบกวน

ได้ง่ายจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และมีค่าติดตั้งเสาและจานรับและส่งที่มีราคาแพง
    

                                 

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

4.การสื่อสารผ่านดาวเทียม

              เมื่อต้องการทำการสื่อสารในระยะทางที่ไกลออกไป การเชื่อมต่อโดยใช้สายเคเบิลไมสามารถ

ทำได้ การสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและทำการติดตั้งยาก ดังนั้นคำตอบของ

การสื่อสารในระยะทางไกลอีกวิธีหนึ่ง คือ การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite communication) 

การสื่อสารดาวเทียม เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกไปสู่ดาวเทียม โดยบนพื้นโลกจะมีสถานีส่งสัญญาณ

ข้อมูลไปยังดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลก ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณและกระจายสัญญาณส่งกลับมา

ยังสถานีรับบนพื้นโลก โดยจะทำการส่งดาวเทียมขึ้นไปอยู่ห่างจากพื้นโลกประมาณ 22.000 ไมล์์ 

ด้วยระยะทางการส่งข้อมูลระหว่างโลกและดาวเทียมที่อยู่ไกลกันมากทำการส่งข้อมูลมีความล่าช้า 

(dalay) การสื่อสารผ่านดาวเทียมเหมาะสมกับการสื่อสารระยะไกลมากๆ เช่น การสื่อสารระหว่างประเทศ

                     

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

   __________________________________________________________________    

 8. แบบของการส่งข้อมูล (Data Transfer Types)

การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ 

1.การส่งแบบขนาน 

2.การส่งแบบอนุกรม 

       การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร
       กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

       รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น 
       ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น
       การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดังรูป

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

       ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน
        การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
       1.การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

       ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร
       2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง 

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย
จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้ัรับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต
              การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา: http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_datacom3.htm

______________________________________9. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น

        การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว 

        การทำสำเนา(copy) หรือ บันทึก(save) ข้อมูลลงในแผ่นดิสก์(floppy disk) แล้วส่งให้คนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันก่อนที่จะมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนับว่าเป็นวิธีที่เสียเวลาและยุ่งยากน้อยกว่าการส่งเป็นแผ่นกระดาษ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล เพราะคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์ได้เลย การใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้เรียกว่า sneakernet หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล การใช้เครือข่ายแบบ sneakernet นี้ ถือว่ายังช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่บ้างในองค์กรที่ไม่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

           การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันโดยสายสัญญาณ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องจะเร็วมากเนื่องจากการเดินทางของข้อมูลผ่านสายสัญญาณนี้ จะมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะอยู่ห่างกันแค่ไหน การแลกเปลี่ยนข้อมูลก็จะเร็วกว่าการใช้แผ่นดิสก์มาก เครือข่ายแบบนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

- คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง

- เน็ตเวิร์คการ์ด(NIC : Network Interface Card)

- สายสัญญาณและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล เช่น เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น

- โปรโตคอล(Protocol) หรือ ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(NOS : Network Operating System)

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

- สามารถแชร์ซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

- สามารถรวมการจัดการไว้ในเครื่องที่เป็น server

- สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) เพื่อติดต่อผู้ที่อยู่ไกลกันได้อย่างรวดเร็ว

- การสนทนาผ่านเครือข่าย(chat)

- การประชุมทางไกล(video conference)

- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์จำนวนมาก เนื่องจากใช้ร่วมกันได้

                                              

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความหมาย, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คืออะไร


เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ (Centralized Computer Network) 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (Decentralized Computer Network)

  _______________________________________________________________  

10. ความเป็นส่วนตัวของอินเทอร์เน็ต

1. อินเทอร์เน็ต คืออะไร

11. ทิศทางการส่งข้อมูล (Direction of Data Sending)

    การสื่อสารข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับมีทิศทางการส่งข้อมูล (transmission mode) 3 รูปแบบ ดังนี้

1.การส่งข้อมูลทิศทางเดียว

          การสื่อสารข้อมูลทางเดียว (simplea transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียวและผู้รับทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว ตลอดการทำการสื่อสารข้อมูลกันผู้รับจะไม่มีการตอบกลับมายังผู้ส่งเลย การสื่อสารข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น การรับฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ การรับข้อมูลจากเพจเจอร์ เป็นต้น

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

2.การส่งข้อมูลสองทิศทางสลับกัน

           การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (half-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ผู้ส่งเเละผู้รับทำหน้าที่ผลัดกันส่งและรับ โดยที่ระหว่างฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ส่ง อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องรอให้ผู้ส่งให้เสร็จก่อนถึงจะสามารถส่งกลับได้ นั่นคือ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง จะมีผู้ส่งเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่สามารถส่งโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน จึงเป็นการผลัดการส่งและรับข้อมูล เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร เป็นต้น

3.การส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน

           การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (full-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถเป้นผู้ส่งและผู้รับพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน นั่นคือ ระหว่างอีกฝ่ายหนึ่งทำการส่งข้อมูลอยู่ อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้เลยโดย ไม่ต้องรอให้ส่งข้อมูลหมดก่อน เช่น การคุยโทรศัพท์ และการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย


แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/netarm41/thisthang-kar-sng-khxmul___________________________________________________________               12. โมเด็ม (Modem)โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก และแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล มาจากคำว่า MOdelatory/DEModulator กระบวนการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modlation) และกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation)
โดยวิธีการจะเป็นการแปลงรูปทรงของคลื่นเพื่อให้สามารถรับรู้สารสนเทศแบบดิจิทัลได้เท่านั้น เช่น กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่น (frequency) รอบคลื่นปกติในคาบเวลาที่กำหนดให้อาจใช้แทนบิต 0 หรือกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงช่วงกว้างของคลื่น (amplitude) อาจใช้แทนบิต 1 นั่นคือ ความสูงของคลื่นปกติอาจมีนัยนะแทน 1 ในขณะที่คลื่นที่ต่ำกว่าใช้แทน 0 เนื่องเพราะว่า คุณสมบัติของคลื่นย่อมไม่อาจแปลงรูปทางเป็นลักษณะเปิด/ปิด เพื่อแทนสัญญาณดิจิทัลได้อย่างตรงๆ
ดังนั้น จะพบว่าโมเด็มจึงมีลักษณะผสมผสานเพราะว่ามันไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณดิจิทัลโดยคงคุณสมบัติทั้งหมดไว้ได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้งจึงได้มีการพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ เช่น ISDN, ADSL เป็นต้น

           

จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย


  • ประเภทของโมเด็ม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
  • โมเด็มภายนอก (External Modem) จะเป็นกล่องที่แยกออกมาต่างหากจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่นัก มักจะใช้สายเชื่อมต่อโมเด็มเข้ากับพอร์ตสื่อสาร ด้านหลังคอมพิวเตอร์ เช่น COM1,COM2,USB เป็นต้น ส่วนอีกสายหนึ่งจากโมเด็มจะเสียบเข้ากับแจ๊คโทรศัพท์ทั่วไป
  • ข้อดีของโมเด็มภายนอก ด้านความทนทาน, ความเสถียรภาพม สามารถโยกย้ายไปใช้กับคอมพิเตอร์เครื่องอื่นๆได้สะดวก สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของโมเด็มได้โดยตรง ข้อจำกัด ราคาแพงกว่าโมเด็มภายใน สิ้นเปลืองพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะ มักต้องการปลั๊กเสียบ AC
  • โมเด็มภายใน (Internal Modem) มีลักษณะเป็นการ์ดวงจรเสียบเข้ากับสล๊อตบนแผงหลัก(Motherboard) ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักถูกติดตั้งโมเด็มมาด้วย หรืออาจรวมอยู่ในแผงวงจรหลัก
  • ข้อดี

              ไม่สิ้นเปลืองพื้นที่บนโต๊ะ ราคาประหยัด ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟฟ้า power เพื่อเสียบเข้ากับปลั๊ก AC เพิ่มเติม


  • ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็ม
  • โมเด็มที่มีความเร็วสูงย่อมส่งผ่านข้อมูลเสร็จได้เร็วกว่าและเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตที่คิดค่าใช้จ่ายตามเวลาที่ใช้ไป ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงเสมอความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มถูกใช้ด้วยอัตราความเร็วซึ่งมีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที เรียกว่า bps (bit per second) หรือ Kps เช่น 56Kps อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็ม อาจแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ช้า, เร็วปานกลาง และเร็วสูง1. ช้า (Slow) มีอัตราความเร็วที่ประมาณ 1200, 2400 และ 4800 bps เอกสารแบบจดหมายจำนวน 10 หน้าสำหรับโมเด็มแบบ 2400bps สามารถส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เวลาประมาณ 2.30 นาที จัดว่าช้าไม่ว่าจะใช้งานอะไรก็ตาม2. เร็วปานกลาง (moderately fast) มีอัตราความเร็วที่ประมาณ 9600 และ 14,400 bps เอกสารขนาดเดียวกันเมื่อส่งผ่านโมเด็มแบบ 9600 bps จะใช้เวลาประมาณ 38 วินาที โดยทั่วไป เครื่องแฟกซ์จะรับ-ส่งข้อมูลที่ความเร็วนี้3. เร็วสูง (high speed) มีอัตราความเร็วที่ 28,800 33,600 และ 56,000 bps เอกสารขนาดเดียวกันกับข้อ 1 เมื่อส่งผ่านด้วยโมเด็มแบบ 28.8 Kps จะใช้เวลาประมาณ 10 วินาที และใช้เวลา 5 วินาที สำหรับการใช้โมเด็ม 56 Kps
  • ISDN Modem (Integrated Service Digital Network Modem) เป็นการสื่อสารส่งข้อมูลแบบสัญญาณดิจิทัลผ่านสายโทรศัพท์ธรรดา
  • ISDN แบ่งเป็นสองช่องทางเพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์สนทนา เล่นอินเทอร์เน็ต หรือโอนถ่ายข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ด้วยอัตราความเร็ว 128 Kps เร็วกว่าโมเด็ม 28.8 Kps 4 เท่า และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง การใช้บริการจำเป็นต้องจัดเตรียมทั้งฮาร์ดแวร์ที่เป็นกล่องสำหรับเชื่อมต่อ ISDN หรืออะแดปเตอร์การ์ด เพื่อจะต่อเข้ากับไมโครคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น จะอยู่ภายในพื้นที่ให้บริการ ISDN ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น องค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสาร เป็นต้น
  • ADSL Modem (Asymmetric Digital Subscriber Line Modem) เป็นโมเด็มที่ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วที่อัตราพันบิตต่อวินาที สายเช่าแบบดิจิทัล DSL จะใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาในการส่งผ่านข้อมูลในอัตราเร็วที่ล้านบิตต่อวินาที ที่ประมาณ 1.5-8 Mbps ในการใช้ ADSL จำเป็นต้องมีอะแดปเตอร์, โมเด็มชนิดพิเศษ, และหมายเลขโทรศัพท์โมเด็มแบบ ADSL และจะแบ่งสายโทรศัพท์ออกเป็น 3 ช่องทางสำหรับเสียง, ข้อมูลส่งออก และข้อมูลรับเข้า

  • แหล่งที่มา: http://reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/304.html ________________________________ 13. ช่องทางการติดต่อสื่อสารการติดต่อสื่อสารในองค์การ สามารถจำแนกช่องทางออกเป็น 2 ช่องทางคือ 1. ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ (formal communication channels)เป็นการติดต่อสื่อสารที่มีระเบียบแบบแผน มีขั้นตอน โดยผ่านระเบียบข้อบังคับโครงสร้างการบริหารขององค์การ โดยอาจจะเป็นการสื่อสารจากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบน หรือในระดับเดียวกันก็ได้ การติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการนี้จะมีเงื่อนไขที่สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของผู้ส่ง และผู้รับข่าวสาร ดังนี้
                     - การติดต่อสื่อสารนั้นต้องสร้างความเข้าใจที่ดี และถูกต้องแก่ผู้รับข่าวสาร 
                     - ข่าวสารที่ส่งออกไปต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ 
                     - การติดต่อสื่อสารนั้นควรสอดคล้องกับความสนใจของผู้รับข่าวสาร 
                     - ผู้รับข่าวสารต้องสามารถที่จะปฏิบัติ หรือยอมรับข่าวสารนั้นได้ทั้งทางจิตใจ และร่างกาย 
              การติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการจะประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพได้ ต่อเมื่อผู้บริหารมีความรอบรู้ และชำนาญในการติดต่อสื่อสาร และระบบการบริหารองค์การที่แตกต่างกันก็ย่อมมีผลต่อการติดต่อสื่อสารด้วย ตัวอย่างการติดต่อสื่อสารลักษณะนี้ เช่น การติดต่อราชการ หรือการกระทำที่ต้องมีลายลักษณ์อักษรตามระเบียบบริหารองค์การ ฯลฯ 

              2. ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (informal communication channels)
              เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์การตามกลุ่มสังคม หรือความชอบพอโดยตรง อาศัยความสนิทสนม คุ้นเคย การแนะนำจากเพื่อนฝูง การรู้จักเป็นการส่วนตัว โดยไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของการบริหารองค์การ เป็นลักษณะของการพบปะพูดคุยสนทนากัน การระบายความทุกข์ หรือการขอคำปรึกษากันในงานเลี้ยง ซึ่งจะเป็นลักษณะแบบปากต่อปาก ประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารจะมีมาก หรือน้อยขึ้นกับการยอมรับความเข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่มที่ไม่เป็นทางการด้วยกัน
              การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ มีลักษณะการกระจายข่าวแบบพวงองุ่น ซึ่งอาจเป็นบ่อเกิดของข่าวลืออันเป็นการทำลายขวัญ ชื่อเสียง และท้าทายอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ในองค์การได้ อย่างไรก็ตามถ้านำการติดต่อสื่อสารลักษณะนี้มาใช้เสริมการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่เป็นทางการได้นั้น ก็อาจจะช่วยส่งผลให้งานสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การได้
              กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจของระบบการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการของผู้บริหาร คือ
                     - ให้ความสำคัญกับกลุ่ม 
                     - เอาใจใส่กับผู้นำกลุ่ม 
                     - ให้ความสนใจกลุ่ม                              
    ทิศทางของช่องทางการติดต่อสื่อสาร (direction of communication channels)
    การติดต่อสื่อสารในองค์การจะมีช่องทางอยู่ 3 แบบ ดังนี้คือ
              1. การสื่อสารจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง (downward communication)
              เป็นการติดต่อสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (หรือ ผู้ที่อำนาจสูงในองค์การไปสู่ระดับที่ต่ำกว่า) ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการจัดการ และการควบคุมการทำงานภายในองค์การ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ถึงนโยบาย แผนงานขั้นตอนเป้าหมาย คำสั่งให้ปฏิบัติตาม กฎระเบียบ ข้อบังคับ คำเตือน คำขอร้อง คำอนุมัติสั่งให้ดำเนินการ เป็นต้น สื่อที่ใช้กันมากในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ ได้แก่ การประชุม ประกาศ บันทึก ฯลฯ การติดต่อสื่อสารลักษณะนี้ ข่างสารมีโอกาสบิดเบือนได้มาก โดยเฉพาะเวลาที่ต้องส่งข่าวสารหลายทอด และเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ผู้รับข่าวสารอาจจะไม่สนใจอ่าน และทำความเข้าใจข่าวสาร หรืออาจจะให้ความสนใจเพียงเล็กน้อย รวมทั้งไม่สนใจปฏิบัติตาม ถ้าข่าวสารที่ให้ ไม่มีการจูงใจที่ดีพอ 
              2. การติดต่อสื่อสารจากระดับล่างขึ้นไปสู่ระดับบน (upward communication)
              เป็นลักษณะการติดต่อสื่อสารที่ส่งข่าวสารจากผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (หรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า ไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า) โดยส่วนใหญ่เป็นการสนองการสื่อสารจากบนลงล่าง เช่น ลักษณะการย้อนกลับของรายงานความก้าวหน้าของผลการปฏิบัติงาน การเสนอแนะ การร้องทุกข์ ข้อคิดเห็น หรือการขออนุมัติ เป็นต้น ปกติการติดต่อสื่อสารแบบนี้ ไม่ค่อยปรากฏชัดเจนมากนัก เพราะผู้ใต้บังคับบัญชามักจะไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น และส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าผู้บังคับบัญชาไม่ค่อยให้ความสนใจต่อปัญหา หรือรายงานของเขา ผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรในที่ทำงานของตนมีโอกาสสื่อสารแบบนี้ให้มาก โดยอาจจะส่งเสริมโดยการใช้การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมาช่วย เช่น การพบปะแบบไม่มีทางการ การรื่นเริงประจำปี การสำรวจทัศนคติ และปัญหาของลูกจ้าง หรือการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย หรือการปฏิบัติงานในบางด้าน เพราะจะทำให้การบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น 
              3. การติดต่อสื่อสารระดับเดียวกัน หรือตามแนวราบ (lateral or horizontal communication)
              เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในระดับเดียวกันในแนวราบ หรือระหว่างคนต่างระดับกันที่ไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่จะสื่อสารระหว่างแผนก หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในลักษณะของการปรึกษาหารือ การทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การติดต่อกับเพื่อนในตำแหน่งเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ความร่วมมือกับแผนกอื่น การแก้ไขปัญหาภายในแผนก คำแนะนำต่อแผนกอื่น เป็นต้น ซึ่งจุดมุ่งหมายของการสื่อสารแบบนี้จะเป็นการประสานงาน และการร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้การดำเนินการ หรือการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์การ  

    แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/chaipatcompanylimited/txn-thi-5             _____________________________________________________________     

                    14. โปรโตคอล (Protocol)

                ความหมายของโปรโตคอลโปรโตคอล (Protocol) หมาย ถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายชนิดคล้ายกับภาษามนุษย์ที่มีทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามือ เป็นต้น โดยมนุษย์จะสื่อสารกันให้เกิดความเช้าใจได้ จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ต้องการสื่อสารกันแต่ใช้คนละภาษา จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอล ที่เรียกว่า Gateway ถ้า เทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งอาจะเป็นเครื่องเซิฟเวอร์สำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรืออาจะเป็นโปรแกรมเมอร์หรือไดร์ฟเวอร์สำหรับติดตั้งเพิ่มเติมในเครื่อง คอมพิวเตอร์       โป รโตคอลของระบบเครือข่ายมีลักษณะคล้ายคลึงกับโปรโตคอลในการสื่อสารของมนุษย์ แต่อาจตั่งกันที่ลักษณะในการแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างกัน โดยการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องมีการนำโปรโตคอลมาใช้ในการควบคุม การส่งข้อมูลด้วย       ตัวอย่างขั้นตอนการทำงาน เช่น เมื่อพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ (เช่น www.google.com) ลงในเว็บบราวเซอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มส่งข้อความเพื่อร้องขอการเชื่อมต่อ (Connection Request) ไปยัง Web Server และรอการตอบกลับ (Connection Reply) ว่า Server พร้อมให้บริการหรือไม่ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะส่งชื่อของเว็บเพจที่ต้องการไปยัง Web Server ด้วยข้อความ “Get Message” และขั้นตอนสุดท้าย Web Server จะส่งเนื้อหากลับมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โปรโตคอลสำหรับระบบเครือข่ายต่อไปนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง

              TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) 
    - เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่าintranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรมTCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ

              TCP/IP เป็นโปรแกรม เลเยอร์ TCP (Transmission Control Protocol) 
    - เป็นเลเยอร์ที่สูงกว่า ทำหน้าที่จัดการแยกข้อความหรือไฟล์แลปรกอบให้เหมือนเดิม IP (Internet Protocol) เป็นเลเยอร์ที่ต่ำกว่า ทำหน้าที่จัดการส่วนของที่อยู่ของแต่ละชุดข้อมูล เพื่อทำให้มีปลายทางที่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Gatewayบนเครือข่ายจะตรวจที่อยู่นี้เพื่อหาจุดหมายในการส่งข้อความ ชุดข้อมูลอาจจะใช้เส้นทางไปยังปลายทางต่างกัน แต่ทั้งหมดจะได้รับการประกอบใหม่ที่ปลายทาง

              TCP/IP ใช้ในแบบ client/server ในการสื่อสาร (ระหว่างคอมพิวเตอร์) 
    - ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (client) เป็นผู้ขอและการบริการได้รับจากคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายในระบบเครือข่าย 
              การสื่อสารของ TCP/IP เป็นแบบจุดต่อจุด (point -to- point) 
    - หมายความว่าการสื่อสารแต่ละครั้งเกิดจากจุดหนึ่ง (เครื่อง host เครื่องหนึ่ง) ไปยังจุดอื่นหรือเครื่อง host เครื่องอื่นในเครือข่าย TCP/IP และโปรแกรมประยุกต์ระดับสูงอื่น ที่ใช้ TCP/IP สามารถเรียกว่า "Stateless" เพราะการขอแต่ละ client ได้รับการพิจารณาเป็นการขอใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับการขอเดิม (แต่แตกต่างจากการสนทนาทางโทรศัพท์) การที่เป็นพาร์ทของเครือข่ายอิสระแบบ "Stateless" ดังนั้นทุกคนสามารถใช้พาร์ทได้อย่างต่อเนื่อง (หมายเหตุ เลเยอร์ของ TCP จะไม่ "Stateless" ถ้ายังทำการส่งข้อความใดข้อความหนึ่ง จะทำการส่งจนกระทั่งชุดข้อมูลนั้นได้รับครบชุด)ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวนมากคุ้นเคยกับการประยุกต์เลเยอร์ระดับสูง โดยใช้ TCP/IP เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ท ทั้งนี้รวมถึง World Wide Web's Hypertext Transfer Protocol (HTTP), File Transfer Protocol (FTP)ซึ่งในการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกล และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Protocol เหล่านี้ จะเป็นชุดเดียวกับ TCP/IP ในลักษณะ "Suite" เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มักจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ผ่านSerial Line Internet Protocol (SLIP) หรือ Point-To-Point Protocol (PPP) โปรโตคอล แบบนี้จะควบคุมชุดข้อมูลของ IP ดังนั้น จึงสามารถใช้ส่งผ่านการติดต่อด้วยสายโทรศัพท์ ผ่านโมเด็ม Protocol ที่สัมพันธ์กับTCP/IP ได้แก่ User Datagram Protocol (UDP) สำหรับใช้แทน TCP/IP ในกรณีพิเศษ ส่วนโปรโตคอลอื่นที่ใช้โดยเครื่อง host ของเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับ router ได้แก่ Internet Control Message Protocol (ICMP) Interior Gateway Protocol (IGP) Exterior Gateway Protocol (EGP) และ Border Gateway Protocol (BGP)

    UDP




            User Datagram Protocol (UDP) เป็นวิธีการสื่อสารหรือโปรโตคอลที่จำกัดจำนวนการบริการ เมื่อข่าวสารมีการแลกเปลี่ยน ระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) โดย UDP เป็นตัวเลือกหนึ่งของ Transmission Control Protocol (TCP) และใช้ร่วมกับ IP บางครั้งเรียกว่า UDP/IP ซึ่ง UDPเหมือนกับ TCP ในการใช้ IP ในการดึงหน่วยข้อมูล (เรียกว่า datagram) จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ต่างจาก TCP โดย UDP ไม่ให้การบริการสำหรับการแบ่งข่าวสารเป็นแพ็คเกต (datagram)และประกอบขึ้นใหม่เมื่อถึงปลายหนึ่ง UDP ไม่ให้ชุดของแพ็คเกตที่ข้อมูลมาถึง หมายความว่า โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ UDP ต้องมีความสามารถในการสร้างมั่นใจว่าข่าวสารที่มาถึงอยู่ในลำดับที่ถูกต้อง การประยุกต์เครือข่ายที่ต้องการประหยัดเวลาในการประมวลผล เพราะมีหน่วยข้อมูลในการแลกเปลี่ยน (ดังนั้น จึงมีข่าวสารน้อยมากในการประกอบขึ้นใหม่) จะชอบ UDP มากกว่า TCP ซึ่ง Trivial File Transfer Protocol (TFTP) ใช้ UDP แทนที่ TCP

    UDP ให้ บริการที่ไม่มีโดยเลเยอร์ของ IP คือ Port number เพื่อช่วยแยกแยะการขอของผู้ใช้ และความสามารถ checksum เพื่อตรวจสอบการมาถึงข้อมูล ในแบบจำลองการสื่อสาร Open System Interconnection (OSI) UDP เหมือนกัน TCP คือ อยู่ที่เลเยอร์ 4 Transport Layer

    IPX / SPX โปรโตคอล IPX/SPX ซึงเป็นโปรโตคอลที่โด่งดังมาจากระบบปฏิบัติการ Netware ของบริษัท Novellโดยใช้กันมากในสมัยก่อนที่ Windows NT Server จะเกิด แต่ถึงแม้จะมี Windows ทุกรุ่นโดยตั้งชื่อใหม่เป็นMicrosoft IPX/SPX Compatible Protocol ซึ่งนับเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถที่จะใช้ Windows ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Netware ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Netware Client ของ Novell อย่างไรก็ตาม โปรโตคอล IPX/SPX ที่มีอยู่ในตัว Windows นั้นอาจไม่สามารถทำงานบางอย่างได้เหมือนกับ IPX/SPX ขนานแท้ของ Netware ได้ ซึ่งในกรณีนี้อาจต้องเปลี่ยนไปติดตั้งโปรแกรม Netware Client แทน ปัจจุบันโปรโตคอล IPX/SPX ก็ลดบทบาทลงไปมากพอสมควร แม้แต่ตัว Netware รุ่นใหม่ๆ (Netware5) ก็ยังเปลี่ยนไปใช้โปรโตคอลTCP/IPเป็นหลักในปัจจุบันโปรแกรมที่ยังคงใช้ปัจจุบันที่ยังคงใช้ประโยชน์ มากโปรโตคอล IPX/SPX  คือโปรแกรมเกมที่เล่นผ่านระบบ LAN ชาญฉลาดมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถที่จะใช้ Windows ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Netware ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Netware Client ของ Novell อย่างไรก็ตาม โปรโตคอล IPX/SPX ที่มีอยู่ในตัว Windows นั้นอาจไม่สามารถทำงานบางอย่างได้เหมือนกับ IPX/SPX ขนานแท้ของ Netware ได้ ซึ่งในกรณีนี้อาจต้องเปลี่ยนไปติดตั้งโปรแกรม Netware Client แทน ปัจจุบันโปรโตคอล IPX/SPX ก็ลดบทบาทลงไปมากพอสมควร แม้แต่ตัว Netware รุ่นใหม่ๆ (Netware5) ก็ยังเปลี่ยนไปใช้โปรโตคอลTCP/IPเป็นหลักในปัจจุบันโปรแกรมที่ยังคงใช้ปัจจุบันที่ยังคงใช้ประโยชน์ มากโปรโตคอล IPX/SPX  คือโปรแกรมเกมที่เล่นผ่านระบบ LAN 
    NetBIOS
                  ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น protocol ที่เป็นตัวเชื่อม (interface) ระหว่างระบบปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์ เพื่อให้application สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้โดยเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ทั้งนี้ application จะสามารถเข้าถึงเลเยอร์สูงสุดของ OSI model ได้เท่านั้น ซึ่งทำให้ application ที่สร้างขึ้นมาสามารถทำงานได้ในเครือข่ายที่มีnetwork environment ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ NetBIOS จะทำหน้าที่ขนส่งข้อมูลไปยัง application ที่อยู่บนเครื่องอื่นในเครือข่ายให้
                   ในช่วงเริ่มต้นนั้น NetBIOS ถูกออกแบบให้ทำงานได้กับ IBM's PC LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันNetBIOS ได้กลายเป็นพื้นฐานของ network application ไปแล้ว โดย NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย มันสามารถทำงานได้บน Ethernet, Token ring, IBM PC Network
                   NetBIOS ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวเชื่อม เป็นส่วนขยายของ BIOS ที่ช่วยให้สามารถติดต่อใช้งานบริการบนเครือข่ายได้ จึงกล่าวได้ว่า NetBIOS ถูกออกแบบให้เป็น Application Program Interface (API)ในขณะเดียวกัน NetBIOS ก็ถือว่าเป็นโปรโตคอลได้เช่นเดียวกันกับ TCP/IP เพราะมีชุดของโปรโตคอลชั้นล่างลงไปที่สามารถทำงานร่วมกันได้
                   ใน ช่วงเริ่มต้นนั้น NetBIOS ถูกออกแบบให้ทำงานได้กับ IBM's PC LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันNetBIOS ได้กลายเป็นพื้นฐานของ network application ไปแล้ว โดย NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย มันสามารถทำงานได้บน Ethernet, Token ring, IBM PC Network                NetBIOS ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวเชื่อม เป็นส่วนขยายของ BIOS ที่ช่วยให้สามารถติดต่อใช้งานบริการบนเครือข่ายได้ จึงกล่าวได้ว่า NetBIOS ถูกออกแบบให้เป็น Application Program Interface (API)ในขณะเดียวกัน NetBIOS ก็ถือว่าเป็นโปรโตคอลได้เช่นเดียวกันกับ TCP/IP เพราะมีชุดของโปรโตคอลชั้นล่างลงไปที่สามารถทำงานร่วมกันได้

    NetBEUI

    โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพ หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่นRouter มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย เนื่องมาจากอุปกรณ์บางอย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายคับคั่งไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcastจนเครือข่ายต่างๆไม่สามารถที่จะสื่อสารกันต่อไปได้ โปรโตคอล NetBEUI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น NetBEUI เป็นหนึ่งในสองทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนโปรโตคอลTCP/IP และ NetBUEIDHCP DHCP(Dynamic Host Configuration Protocol)   คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IPสำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม bootก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway   ขั้นตอนการเชื่อมต่อของเครื่องลูกกับ DHCP server    1. เครื่องลูกค้นหาเครื่อง DHCP server ในเครือข่าย โดยส่ง DHCP discover เพื่อร้องขอ IP address    2. DHCP server จะค้นหา IP ที่ว่างอยู่ในฐานข้อมูล แล้วส่ง DHCP offer กลังไปให้เครื่องลูก    3. เมื่อเครื่องลูกได้รับ IP ก็จะส่งสัญญาณตอบกลับ DHCP Request ให้เครื่องแม่ทราบ    4. DHCP server ส่งสัญญาณ DHCP Ack กลับไปให้เครื่องลูก เพื่อแจ้งว่าเริ่มใช้งานได้

               RARP (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่ายLAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป

    RARP มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet, Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring

    BOOTP    BOOTP (Bootstrap Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ให้ผู้ใช้เครือข่าย สามารถทำการคอนฟิกโดยอัตโนมัติ (รับ IP address) และมีการบู๊ตระบบปฏิบัติการหรือเริ่มต้นจะไม่มีการเกี่ยวข้องของผู้ใช้ เครื่องแม่ข่ายBOOTP ได้รับการบริหารโดยผู้บริการเครือข่าย ซึ่งจะกำหนด IP address อย่างอัตโนมัติจากกองกลางของIP address สำหรับช่วงเวลาที่แน่นอนBOOTP เป็นพื้นฐานสำหรับโปรโตคอลแบบ network manager ระดับสูงอื่น ๆ เช่น Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
    สิ่งที่โปรโตคอลต้องกำหนดคืออะไร

    เราเลือกใช้โปรโตคอล HTTP ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมือถือส่วนใหญ่สามารถรองรับการทำงานโปรโตคอลนี้ สำหรับรับ-ส่งข้อมูลระหว่างโมบายเซริฟเวอร์ กับมือถือ โมดูลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกันต้องสามารถเลือกที่จะรับ-ส่งโดยการเข้ารหัส หรือไม่เข้ารหัสก็ได้ โดยการสื่อสารในการทำรายการแต่ละครั้ง มือถือจะเลือกช่องทางการรับ-ส่งข้อมูลไปยังโมบายเซริฟเวอร์จาก URLที่แตกต่างกัน เช่น url1 การสื่อสารที่ต้องการเข้ารหัสข้อมูลในการรับ-ส่งข้อมูล และ url2 เป็นการสื่อสารแบบไม่เข้ารหัสข้อมูล เป็นต้น1.1 การส่งข้อมูลผ่านทาง  HTTP  การสื่อสารผ่านโปรโตคอลนี้ เป็นการสื่อสารแบบ half duplex คือมีลักษณะผลัดกันรับ ผลัดกันส่งในการทำงานระดับล่าง สำหรับการสื่อสารที่เราจะนำมาใช้กับ mobile application สามารถจำแนกได้ดังนี้     1.1.1 Mobile Request เป็นการร้องขอข้อมูลจากเครื่องมือถือ ไปยังโมบายเซริฟเวอร์ แล้วตอบกลับข้อมูล ตามบริการที่มือถือร้องขอ ซึ่งมือถือจะส่งพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อกำหนดรูปแบบของบริการ และข้อมูลที่ต้องการตอบกลับ      1.1.2 Server Broadcast เป็นการสื่อสารแบบทิศทางเดียวจากโมบายเซริฟเวอร์ มายังมือถือทุกเครื่อง หรือเฉพาะกลุ่มมือถือที่เราต้องการสื่อสารด้วย แต่เนื่องจากข้อจำกัดของโปรโตคอล HTTP จึงไม่สามารถทำการสื่อสารในลักษณะ PUSH MESSAGE ได้ ดังนั้น มือถือต้องมีโมดูล HTTP REQUEST ที่ทำการเช็คสถานะข้อมูลเป็นช่วง ๆ (interval check) เพื่อติดตามสถานะดึงข้อมูลข่าวสารจากเครื่องโมบายเซริฟเวอร์มายังมือถือ (PULL MESSAGE) สำหรับแอปพลิเคชั่นต้องทำการตั้งค่า Permission ให้รองรับการส่งค่า http connection ตลอดเวลา มิเช่นนั้น JVM จะร้องขอให้ผู้ใช้งาน accept ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่นแอปพลิเคชั่นบนมือถือ J2ME ที่ไม่ได้ทำการ signed เป็นต้น1.2 การรับข้อมูล หลังจากที่ฝั่งรับได้รับข้อมูลและได้ทำการถอดรหัสข้อมูลที่อยู่ในรูปของ plain text แล้ว เราจะได้เนื้อหาของข้อมูล (Message Content) ซึ่งเราจะนำข้อมูลนั้นไปประมวลผล ถ้าเป็นฝั่งมือถืออาจนำไปเก็บ หรือแสดงผลที่หน้าจอ หากเป็นฝั่งโมบายเซริฟเวอร์ก็นำข้อมูลไปดำเนินการตามที่มือถือร้องขอ สำหรับเนื้อหาข้อมูลในการรับ-ส่งเรา สามารถจำแนกได้ดังนี้     1.2.1 Character Separate Value เป็นการใช้อักขระพิเศษเช่น ‘~’, ‘;’ และ ‘:’ ในการแยกข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ส่งข้อมูลเข้ามา  โดยการแยกข้อมูลเป็นไป 2 ลักษณะดังนี้       1.2.1.1 ใช้ลำดับของอักขระพิเศษเป็นตัวแบ่งข้อมูล       1.2.1.2 ใช้ชนิดของอักขระพิเศษ ‘~’, ‘;’ และ ‘:’ เป็นตัวแบ่งข้อมูลตัวอย่าง Message Content[SESSION][MSISDN]~ [FUNCTION m] ~ [Account 1: บัญชี 1]; [Account 2: บัญชี 2]; [Account n: บัญชี n];  จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้ ผู้ส่ง และผู้รับต้องทำการตกลงเรื่องของลำดับ และชนิดของอักระพิเศษที่ใช้ในการส่งให้ชัดเจน เพื่อที่ผู้รับจะสามารถนำข้อมูลไปประมวลได้อย่างถูกต้อง วิธีการนี้ถึงจะยุ่งยากในการพัฒนาโปรแกรม แต่ผลลัพธ์ในปริมาณข้อมูลในการรับส่ง เมื่อเข้ารหัสแล้วจะน้อยกว่า อีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป     1.2.2 Mark Up เป็นการใช้ <tag> เป็นตัวกำหนดจำแนก และชนิดของกลุ่มข้อมูล เช่นการใช้ HTML, XHTML,WML, XML เป็นต้น โดยการแยกข้อมูลออกมาจาก message content ทำได้โดยการ parsing ข้อมูลออกจาก<tag>ตัวอย่าง Message Content<TRANSACION>

    <SESSION> [SESSION VALUE] </SESSION><FUNCTION> [FUNCTION NUMBER] </FUNCTION><MSISDN> [MSISDN VALUE] </MSISDN><ACCOUNT>      <ACCOUNT NAME>              <ACCOUNT NAME_EN> [Account 1] </ACCOUNT NAME_EN>              <ACCOUNT NAME_TH> [บัญชี 1] </ACCOUNT NAME_TH>  <ACCOUNT NAME_EN> [Account 2] </ACCOUNT NAME_EN>              <ACCOUNT NAME_TH> [บัญชี 2] </ACCOUNT NAME_TH>  <ACCOUNT NAME_EN> [Account n] </ACCOUNT NAME_EN>              <ACCOUNT NAME_TH> [บัญชี n] </ACCOUNT NAME_TH>        </ACCOUNT NAME></ACCOUNT>

    </TRANSACION>จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้จะใช้ปริมาณมูลที่มากกว่าวิธีการแรก แต่ทว่าในการพัฒนาโปรแกรมจะสะดวกกว่าวิธีการแบบแรก และเราสามารถกำหนดนิยามของ <tag> ทางฝั่งผู้ส่ง เพื่อให้ผู้รับตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้อีกด้วย

                     1.3 http header information
              เป็นข้อมูลที่ทางฝั่งผู้ส่งแจ้งกลับผู้รับเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ ที่จะทำการส่ง ซึ่งฝั่งผู้รับสามารถทราบค่าต่าง ๆ สำหรับ http headerที่สำคัญโปรแกรมบนมือถือได้แก่Content-Length จำนวนความยาวของข้อมูลในการส่งContent-Encoding ชนิดของการ Encoding ข้อมูล เพื่อรองรับภาษาไทยบนมือถือ ใช้ UTF-8Content-Type ประเภทของข้อมูลใช้ plain-textUser-Agent บอกข้อมูลเกี่ยวกับ Browser, Model ของผู้ใช้งาน แต่มือถือบางรุ่นก็ไม่ได้ส่งค่านี้มาด้วยส่วน http header อื่นสามารถดูรายละเอียดจากลิงค์นี้ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_HTTP_headers

                     1.4 การจับมือ หรือ Hand Shaking
     ในระบบเครือข่ายคืออะไร

     Handshake
                 การแลกเปลี่ยนสัญญาณควบคุมระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย เครื่อง เพื่อจัดการและ

    ประสานงานรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ตัว เพื่อให้ข้อมูลส่งไปได้เมื่อผู้รับพร้อมจะรับข้อมูลแล้ว 
    ทำให้การส่งข้อมูลเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการส่งสัญญาณระหว่างโมเด็ม 2 เครื่องก่อนเริ่มคุย
    กันด้วยการ handshake จะทำได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และจะเกิดระหว่างอุปกรณ์ได้หลาย
    ประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ด้วยกัน และคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์พวกโมเด็มหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

             __________________________________

                    15. โมเดลการเชื่อมต่อ (OSI = Open System Interconnection Model)

    OSI 7 Layer มีอะไรบ้าง และมันคืออะไร?? 

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

    แบบจำลองโอเอสไอ (อังกฤษ: Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)

    แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น

    • Application Layer ข้อมูลมีหน่วยเป็น message เป็นชั้นที่พูดเกี่ยวกับเรื่องจะทำในเรื่องอะไร กำหนดกติกา Algorithm เป็นอย่างไร ให้ทำเรื่องอะไร จะอยู่ในชั้นนี้  เช่น ในการดูเว็บก็ยังต้องมีการตกลงใน Application Layer กติดานั้นคือ HTTP ไม่ใช่ HTML HTML นี่คือ ภาษาในการ Present จิงจะอยู่ในชั้น Presentation Layer ถ้าเครื่อง Server กับ Client 2 เครื่อง 2 OS รู้จักกติกาในชั้นนี้ (HTTP) ทั้ง 2 ฝั่งก็ทำงานร่วมกันได้
    • Presentation Layer ข้อมูลมีหน่วยเป็น message มีหน้าที่แปล, Encrypt, บีบอัด Data, ตกลง Data type, Data Structure ให้ตรงกัน เพื่อให้แสดงผลให้เข้าใจกันว่าหน้าตาของข้อมูลเป็นอย่างไร เช่น อุปกรณ์ต่างยี่ห้อกัน ตงลงในชั้น Presentation Layer ได้ก็สามารถแสดงผลได้เหมือนกัน
    • Session Layer ถ้าเปรียบกับการเปิดประตู จะให้ประตูเปิด วิธีการเปิดประตูคือ Application Layer (วิธีคือ 1.ไปมองหาคำว่า Pull ที่ประตู 2. เอามือจับ 3.ดึงประตู เหล่านี้ Algorithm ซึ่ง Application Layer จะทำ) ส่วน Presentation เปรียบเหมือนคำว่า Pull ที่เขียนไว้อยู่ คำนี้เป็นภาษาอังกฤษ เราอ่านอออก อ่านเข้าใจอันนี้คือเรามี Data type ที่ตรงกันจึงเข้าใจได้  แต่ถ้าเขียนเป็นภาษาอื่น อิตาลี สเปน อันนี้เราทำงานให้ไม่ได้ เราไม่เข้าใจ ถ้าไทยหรือ Eng อันนี้ได้เลย เมื่อเห็นเราเข้าใจทำตามได้ มาถึงหน้าที่ของ Session  Session จะเป็นขั้นตอนก่อนที่จะถึงประตู ประมาณว่า มายืนถึงหน้าประตูแล้ว กำลังจะเริ่มเปิดประตู  กระบวนการในขั้น Session นั้นจะกินยาวไปตั้วแต่ เริ่มทำ ระหว่างที่ทำ และก็สิ้นสุดการทำงานมองในอีกแบบหนึ่งเปรียบเทียบกับโปรแกรม Remote เมื่อเราจะเริ่ม Remote เครื่อง เริ่มการเชื่อต่อ ต่อมาเมื่อเข้าได้แล้วก็ทำงานต่างๆ เสร็จแล้วทำการ Disconnect อันนี้น่าจะเห็นชัดเจนกว่า หน่วยข้อมูลในชั้นนี้เป็น Segment
    • Transport Layer   เป็นการกำกับต้นทางและปลายทางปลายทางผ่าน port เป็นเสมือนบริษัทขนส่งเมื่อมีการส่ง message ไม่ครบ ก็จะส่งให้ใหม่ให้ครบ รอยต่อระหว่าง network layer กับ Application layer จะต้องผ่านเบอร์ port เวลาเราใช้ HTTP มันก็จะมีการถามว่าผ่าน port ไหน ตัวนึงที่เห็นบ่อยๆคือ TCP (Transport Control Protocol) ก็จะมาดูแลให้
    • Network Layer  การขับรถข้ามจังหวัดต้องตกลงเรื่องอะไร? ชื่อถนน, หาเส้นทางที่ไวที่สุด
      ในปัจจุบันมีโปรโตคอลเดียวที่ใช้กันคือ Internet Protocol (IP) ซึ่งชื่อถนนในที่นี้ที่สมมุติไว้ก็คือ IP Address ส่วนเส้นทางที่จะไปไวที่สุดก็เช่น OSPF, RIP แต่จริงๆแล้วฐานมันเป็น Algorithm อย่างหนึ่งในชั้นนี้ข้อมูลเป็น Packet
    • Datalink Layer เป็นการนำ Data แต่ละบิตมารวมเป็น Frame เป็นกล่องเป็น Informaion สมมุติน้ำเป็น Data เราจะส่งน้ำเปล่าๆไปให้เพื่อนไม่ได้ ต้องนำมาบรรจุกล่อง คือในชั้นนี้ และเมื่อบรรจุกล่องจะต้องมีอะไรเพื่อรับรองหละ ต้องมีการแปะว่า มาจากใคร(Mac address) และก็บอกว่าปลายทางเป็นใคร ในชั้นนี้ไม่ใช่ส่ง Data อย่างเดียว  Network Adapter ก็อยู่ในชั้นนี้เพราะมันมี Mac address และใช้ส่งข้อมูล (Ethernet, Wi-Fi 802.11 ต่างๆ)
    • Physical Layer  ในการติดต่อสื่อสารการตกลงในชั้นนี้ เป็นการคุยกันทีละบิต 1,0 ที่ตกลงกันระหว่าง host ต้นทางกับปลายทาง โดยผ่านช่องทางที่กำหนด(วิ่งผ่านสายไฟ)

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย


    1. โทโปโลยีแบบบัส

              เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า”บัส” (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

    ข้อดี
              1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
              2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย

    ข้อเสีย

              1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
              2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

    2. โทโปโลยีแบบดาว    

              โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือ ข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

    ข้อดี

              – การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

    ข้อเสีย

              – เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

    3. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)  

              เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

    ข้อดี

              1.ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้นเป็นตนเองหรือไม่

              2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของ สัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป

              3.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

    ข้อเสีย

              1.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้

              2.ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

    4. โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)

              มีลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

    5. โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)

              เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโทโพโลยีแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อมเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

              เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) เป็นตัวอย่างที่ใช้ลักษณะโทโพโลยีแบบผสมที่พบเห็นมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หลากหลายที่เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะถูกเชื่อมต่อจากคนละจังหวัด หรือคนละประเทศก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่าง ๆ สาขาที่หนึ่งอาจจะใช้โทโพโลยีแบบดาว อีกสาขาหนึ่งอาจใช้โทโพโลยีแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น

    แหล่งที่มา:http://ispying.blogspot.com/2013/11/osi-7-layer.html

    จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่นิยมมา 5 ตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย