นิ่ว อุด ตัน ท่อ น้ำ ดี

คุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ๆ บ้างหรือเปล่า หรือปวดท้องบ้างไหม ถ้าใช่ อย่ารอช้า รีบเข้ารับการตรวจ วินิจฉัยโดยด่วน เพราะอาจป่วยเป็น “โรคท่อน้ำดีอุดตันจากก้อนนิ่ว” ก็ได้นะ

เมื่อพูดถึงอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือที่เรียกว่า ดีซ่าน หลายคนมักนึกถึงแต่โรคที่เกี่ยวกับตับ แต่จริง ๆ ยังอาจเป็นโรคอื่น ๆ ได้อีก โดยเฉพาะเรื่องที่เราจะคุยกันในครั้งนี้ คือ ท่อน้ำดีอุดตันจากก้อนนิ่ว ซึ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดีและตับอ่อน จะเริ่มมีอาการแสดงโดยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีอาการปวดท้อง บางรายพบอาการผิดปกติในการทำงานของตับและตับอ่อน

เพราะระบบท่อน้ำดีนั้นสำคัญ

ระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้วนมีความสำคัญ น้ำดีก็เช่นเดียวกันถูกสร้างจากตับหลั่งมาตามท่อน้ำดีเก็บพักไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น เมื่ออาหารผ่านมาถึงลำไส้เล็กส่วนต้นจะมีการหลั่งสาร (ฮอร์โมน) กระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัวเพื่อขับน้ำดีให้ไหลลงสู่ท่อน้ำดี โดยจะมีท่อน้ำย่อยที่ผลิตจากตับอ่อนไหลมารวมกันก่อนแล้วไหลลงสู่รูเปิดบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น น้ำดีที่ถูกสร้างจากตับและตับอ่อนมีส่วนสำคัญในการย่อยอาหารและดูดซับไขมัน อ๊ะๆ อย่าเพิ่งบอกว่าอะไรกันนี่ มึนตึ๊บ ค่อย ๆ ลองเปิดใจอ่านถึงการทำงานทีละลำดับอีกครั้ง จะทำให้คุณมองเห็นภาพความสำคัญของระบบท่อน้ำดีชัดขึ้น

ทำไมท่อน้ำดีจึงอุดตัน ?

สำหรับการอุดตันของท่อน้ำดีนั้น สามารถอุดตันในระบบน้ำดีตำแหน่งใดก็ได้ ซึ่งการอุดตันมักพบว่าเกิดจากก้อนนิ่วและก้อนเนื้องอก ซึ่งถ้าเมื่อใดที่ท่อน้ำดีอุดตัน น้ำดีจะย้อนไปที่ตับแล้วเข้าสู่กระแสเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองนั่นเอง

ERCP ตรวจรักษาได้แบบ 2-IN-1

เมื่อพบอาการผิดปกติอย่ารอ รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินเหตุ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษา ERCP : Endoscopic Retrograde Cholangio Pancreatography คือหัตถการสำคัญที่ช่วยตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบท่อน้ำดีและตับอ่อน ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำดีอุดตันจากก้อนนิ่ว เนื้องอก พังผืด และอื่น ๆ ท่อตับอ่อนมีการอุดตัน จากนิ่ว เนื้องอก โดยเฉพาะกรณีที่ตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในท่อน้ำดีอุดตันที่บริเวณรูเปิดร่วมของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน สามารถตรวจรักษาได้เป็นอย่างดี

ตรวจรักษาด้วย ERCP น่ากลัวไหม

การส่องกล้องทำ ERCP วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาเข้าหลอดเลือดให้ผู้ป่วยหลับ จึงหมดกังวลกับความรู้สึกต่าง ๆ ที่อาจมีระหว่างทำหัตถการ จากนั้นแพทย์จะสอดกล้องผ่านทางปาก ไปยังกระเพาะอาหาร ลงไปสู่ลำไส้เล็ก เพื่อหารูเปิดท่อน้ำดี และทำการฉีดสารทึบรังสี เข้าไปในท่อน้ำดี และทำการเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของท่อน้ำดี และท่อตับอ่อน

หากตรวจพบว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี แพทย์อาจจะทำการตัดรูเปิดท่อน้ำดีให้กว้างโดยใช้สอดผ่านกระแสไฟฟ้าเพื่อดึงนิ่วที่ค้างอยู่ให้หลุดออกมาสู่ลำไส้เล็ก   โดยแผลที่เกิดจากการตัดจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ หากพบมีการตีบตันก็จะใส่ท่อเพื่อระบายน้ำดีให้ไหลลงสู่ลำไส้ หลังทำหัตถการแพทย์จะให้นอนดูอาการประมาณ 30-60 นาที เมื่อผู้ป่วยฟื้นอาจรู้สึกแน่นท้องได้ เนื่องจากขณะทำการตรวจรักษาได้มีการใส่ลมเข้าสู่ลำไส้

ข้อควรระวังก่อนและหลังทำ ERCP

ก่อนการรักษา: งดทานยาละลายลิ่มเลือดประมาณ 5-7 วัน ก่อนการทำ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชม. แจ้งประวัติการแพ้ยาและอาหารทะเลกับแพทย์อย่างละเอียด

หลังการตรวจรักษา: หากมีอาการปวดท้องมาก อาเจียน หรืออุจจาระมีสีดำเหลว ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที  

#เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ต้องรีบพบแพทย์ อย่าปล่อยให้ความเครียด ความกังวลทำร้ายคุณ

#หลายครั้งโรคที่อาจดูน่ากลัวสำหรับคนทั่วไป แต่กลับตรวจรักษาได้ภายในเวลาไม่กี่ชม. ดังนั้นเมื่อใดที่ป่วย ขอให้คุณมั่นใจที่จะให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ดูแลคุณ   

หลายคนรู้จักภาวะตัวเหลืองตาเหลืองจากดีซ่าน แต่ท่อน้ำดีอุดตันคืออะไร และเกี่ยวข้องกับภาวะตัวเหลืองตาเหลืองอย่างไร?

ภาวะตัวเหลืองตาเหลืองที่พบได้บ่อยและหลายคนคุ้นเคยกันนั้น แท้จริงแล้วอาจเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ นอกจากโรคตับอักเสบและปัญหาของตับแล้ว ยังอาจเกิดได้จากโรคท่อน้ำดีอุดตันอีกด้วย โรคท่อน้ำดีอุดตันคืออะไร มีอาการและรักษาได้อย่างไร Better Health ฉบับนี้จะพาคุณไปหาคำตอบจาก ผศ.นพ. ยุทธนา ศตวรรษธำรง อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ระบบท่อน้ำดี

“ระบบท่อน้ำดีหากจะเปรียบไปก็คล้ายกับกิ่งก้านของต้นไม้” ผศ.นพ.ยุทธนาเริ่มอธิบาย “ระบบการทำงานของน้ำดีเป็นส่วนหนึ่งของระบบการย่อยอาหาร นั่นคือ ตับจะทำหน้าที่สร้างน้ำดีส่งมาตามท่อน้ำดี เพื่อมาเก็บที่ถุงน้ำดี โดยถุงน้ำดีนี้ นอกจากจะเป็นที่พักของน้ำดีแล้วยังทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นขึ้น เมื่อเรารับประทานอาหาร อาหารจะผ่านลงมาที่กระเพาะและต่อไปยังลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กจะมีการสร้างฮอร์โมนไปกระตุ้นถุงน้ำดีให้บีบตัว น้ำดีจะไหลออกมาตามท่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นเพื่อย่อยไขมันให้แตกกระจายเป็นโมเลกุลเล็กๆ จากนั้นร่างกายจะดูดซึมเข้ากระแสเลือดต่อไป”

สาเหตุและอาการของท่อน้ำดีอุดตัน

การอุดตันของท่อน้ำดีอาจเกิดขึ้นในระบบน้ำดีส่วนใดก็ได้ โดยสาเหตุของการอุดตันมีอยู่สองประการ ได้แก่ นิ่วและเนื้องอก “การอุดตันของท่อน้ำดีเนื่องจากนิ่วสามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งในระบบน้ำดี โดยนิ่วเกิดขึ้นจากองค์ประกอบในการสร้างน้ำดีที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดการตกตะกอนขึ้นในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี” ผศ.นพ.ยุทธนากล่าว

ทั้งนี้ การตกตะกอนของน้ำดีมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้หญิงซึ่งมีฮอร์โมนผิดปกติหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตับแข็ง และผู้ที่มี อายุเกิน 40 ปีขี้นไป

“เมื่อท่อน้ำดีอุดตัน น้ำดีจะย้อนไปที่ตับ เข้าสู่กระแสเลือดและไหลแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายไปอยู่ที่เยื่อบุตา และ/หรือน้ำปัสสาวะ หรือที่เราเรียกกันว่าดีซ่าน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะ สีเข้มซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตได้ในที่สุด”

นอกจากภาวะตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว ผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีอุดตันจากก้อนนิ่วหรือเนื้องอกจะมีอาการแตกต่างกันอยู่บ้าง “อาการท่อน้ำดีอุดตันจากนิ่ว นอกจากภาวะตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว ยังพบอาการปวดท้องช่วงตรงกลางท้องระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่หลัง ติดเชื้อ มีไข้ หนาวสั่น” ผศ.นพ.ยุทธนา อธิบาย “ส่วนท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากเนื้องอกนั้น

พองขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง และ คันตามตัวเนื่องจากน้ำดีไปสะสมที่ผิวหนัง” ท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากเนื้องอกมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งถึงร้อยละ 90 ในประเทศไทยเนื้องอกในระบบท่อน้ำดี พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีการรับประทานปลาน้ำจืดที่ไม่สุก อาทิ ปลาส้มปลาก้อยดิบ ๆ ซึ่งมีพยาธิใบไม้ในตับ เมื่อพยาธิเข้ามาอยู่ที่ท่อน้ำดีจะขับถ่ายของเสียเอาไว้ กระตุ้นให้เซลล์ท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดี

“ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคได้แก่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีน้ำหนักมาก มีโรคเบาหวาน ตับแข็ง และผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขี้นไป”

ผศ.นพ. ยุทธนา ศตวรรษธำรง

การวินิจฉัยและรักษา

สำหรับการวินิจฉัยโรคท่อน้ำดีอุดตัน ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและเจาะเลือดเพื่อยืนยันภาวะตัวเหลืองตาเหลือง จากนั้นจึงจะทำการตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูสภาวะการอุดตันในระบบท่อน้ำดี “ในการตรวจ แพทย์จะพิจารณาระบบท่อน้ำดีทั้งหมด ตั้งแต่ท่อน้ำดีในตับ ท่อน้ำดีนอกตับ ตรวจดูบริเวณส่วนหัวของตับอ่อนว่ามีการอุดตันหรือไม่ บางกรณีการตรวจอัลตราซาวนด์ก็เพียงพอให้แพทย์วางแผนการรักษาได้แล้ว แต่ในหลาย ๆ กรณี หากผลจากอัลตราซาวนด์ยังไม่ชัดเจนต้องทำการตรวจซีทีสแกนหรือส่องกล้องตรวจเพิ่มเติม”

โรคท่อน้ำดีอุดตันนั้น หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งผศ.นพ.ยุทธนาเล่าถึงการรักษาว่า “ในสมัยก่อน การรักษาท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากนิ่ว ต้องมีการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเป็นแผลประมาณ 6 นิ้วเพื่อเอาก้อนนิ่วออก แต่ปัจจุบันเราใช้วิธีส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดีและตับอ่อน หรือ ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) ซึ่งแพทย์สามารถทำได้ทั้งในขั้นตอนการวินิจฉัยและรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด วิธีการนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่มีแผลที่หน้าท้อง พักในโรงพยาบาลสองวันก็กลับบ้านได้”

ในการส่องกล้องเพื่อวินิจฉัยหรือรักษา แพทย์จะสอดกล้องผ่านปากผ่านกระเพาะอาหารไปจนถึงลำไส้เล็กและหารูเปิดของท่อน้ำดีที่เชื่อมกับลำไส้เล็ก เมื่อเข้าในรูเปิดและเจอก้อนนิ่ว แพทย์จะใช้เครื่องมือคล้าย ตะกร้อซึ่งติดอยู่ที่ปลาย เกี่ยวก้อนนิ่วแล้วลากไปไว้ในลำไส้เล็กเพื่อให้ร่างกายขับถ่ายออกไปพร้อมอุจจาระ

ส่วนการรักษาท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากเนื้องอก ผศ.นพ.ยุทธนาอธิบายว่า “การจะวินิจฉัยให้ทราบแน่ชัดว่าเนื้องอกนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องเอาเซลล์ออกมาตรวจ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการเดียวกันคือการส่องกล้องแล้วเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมา ถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งการรักษาก็จะเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าผู้ป่วยมีภาวะตัวเหลืองตาเหลืองจากท่อน้ำดีอุดตันด้วย ดังนั้น ในเบื้องต้นแพทย์จะรักษาภาวะตัวเหลืองตาเหลืองก่อน โดยการวางท่อคร่อมส่วนที่อุดตัน หรือ stent เพื่อระบายน้ำดีให้ไหลลงสู่ลำไส้ได้ เมื่อภาวะนี้หายแล้ว จึงรักษาเนื้องอกต่อไป”

แม้การวินิจฉัยโรคท่อน้ำดีอุดตันจะทำได้ไม่ยาก แต่การตรวจให้พบนิ่วในถุงน้ำดีตั้งแต่ยังไม่มีอาการยังไม่อาจทำได้ การรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงยังคงเป็นวิธีครอบจักรวาลที่ลดความเสี่ยงต่อโรคลงไปได้มาก

ท่อน้ำดีอุดตันจะเกิดอะไรขึ้น

“เมื่อท่อน้ำดีอุดตัน น้ำดีจะย้อนไปที่ตับ เข้าสู่กระแสเลือดและไหลแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายไปอยู่ที่เยื่อบุตา และ/หรือน้ำปัสสาวะ หรือที่เราเรียกกันว่าดีซ่าน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะ สีเข้มซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตได้ในที่สุด”

ท่อน้ำดีอุดตันรักษาอย่างไร

กรณีที่พบนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้บอลลูนหรือตะกร้อลวดขนาดเล็กเกี่ยวเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี แต่หากพบก้อนกดเบียดท่อน้ำดี รักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณก้อนเพื่อส่งตรวจ และใส่ท่อระบายน้ำดีเพื่อลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง

นิ่วในท่อน้ําดี เกิดจากอะไร

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดีซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของเม็ดเลือดแดง) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อนในถุงน้ำดี โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะเป็นผงขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ภายในถุงน้ำดีสามารถมีได้ทั้งนิ่วขนาดใหญ่หนึ่งก้อน นิ่วเล็ก ๆ หลายร้อยก้อน ...

นิ่วในท่อน้ำดีอันตรายไหม

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงหายามารับประทานเอง จนกระทั่งอาการรุนแรงจึงมารับการรักษา เพราะฉะนั้นการรู้ทัน ...