เพื่อนที่ควรตัดออกจากชีวิต

เพื่อนที่ควรตัดออกจากชีวิต

ในแง่ ของความสัมพันธ์ ไม่มีใครอย ากจะทำล าย มิตรภาพดีๆ ที่ใช้วันเวลาก่อร่างร่วมสร้างขึ้นมาด้วยกัน

แต่หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนไปจากเดิม หรือเป็นเราเองที่เพิ่งค้นพบนิสัยบางอย่างซึ่งไม่ค่อยน่าประทับใจของเขา

เตือนทั้งแบบตรงๆ ก็แล้ว อ้อมๆ ก็แล้วเขาก็ยังไม่ยอมเปลี่ยน ถึงตรงนี้ ควรถามตัวเองได้แล้วว่าคุ้มหรือเปล่า

ที่จะเก็บความสัมพันธ์ของ เพื่อน ประเภทนี้ไว้

1. คนที่พูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง

เกินร้อยละ 90 ของบทสนทนา มักจะเป็น เรื่องชีวิตของเพื่อนประเภทนี้ ช่วงนี้ผู้ชายของเธอเป็นอย่างไร

เรื่องที่บ้าน เรื่องกิน ชีวิตดีๆ รวมไปถึงชีวิตแ ย่ๆ เพื่อนประเภทนี้จะบรรจงเล่าให้เราฟังอย่างหมดเปลือก

ขึ้นชื่อว่า ‘เพื่อน’ ก็ควรเข้าใจ ความสัมพันธ์ประเภท give and take บางครั้งเราเองก็มีเรื่องหนักอก

อย ากระบายบ้าง หากเป็นคนประเภท ที่ไม่เปิดโอกาสให้เราได้พูดเลย หรือรู้สึกแ ย่ทุกครั้งเวลาพูดคุยกัน

แบบนั้นเลือกถอยห่างออกมาน่าจะดีกว่า

2. คนที่มีแต่คำพูดแ ย่ๆ ให้กัน

คำพูดของคนบอกอะไรได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ การใช้ชีวิตหรือประสบการณ์

หากคบเป็นเพื่อนกันมา สักพักจนพิสูจน์ได้แล้วว่าเพื่อนคนนี้เลือกแต่ใช้คำพูดแ ย่ๆ กับเราจริง

ไม่ว่าจะแบบจงใจหรือไม่ได้ตั้งใจ เราก็ไม่ควรทนอยู่กับการถูก บั่ น ท อ น ความรู้สึกแบบนี้อีกต่อไป

3. คนที่เจอกี่ครั้งก็พูดถึงแต่เรื่องเงิน

ขอยืมหน่อย ติดไว้ก่อน คืนแน่นอนเป็นคำพูดติดปาก ของเพื่อนแบบนี้ คืนบ้างไม่คืนบ้างเป็นนิสัย

เทไปทางไม่คืนซะมากกว่า เพราะเหตุผล ต่างๆ นานาที่อีกฝ่ายยกมาอ้าง ถึงตรงนี้คุณควรทบทวนแล้วว่า

เขาคบคุณเพราะอย ากเป็นเพื่อนหรืออย ากได้ผลประโยชน์กันแน่ ทางที่ดีควร unfriend แต่เนิ่นๆ

เพื่อความมั่นคงทางการเงินของเราจะดีกว่า !

4. คนที่ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง

เคยเจอมั้ย คนประเภท ที่ต่อหน้าพูดจาดี รู้จักเอาอกเอาใจ เข้าข้างเราส ารพัด

ทว่าลับหลังกลับเอาเรื่องที่เราพูดไปตีไข่ใส่สีเล่าให้คนอื่นฟังเสียอย่างนั้น หลงคบเป็นเพื่อนมานาน

กว่าจะรู้ตัวความเข้าใจผิดต่างๆ ก็ลุก ล าม บานปลายจนย ากจะแก้ไขแล้ว คนแบบนี้เราควรอยู่ให้ห่าง

ไม่แ ช ร์เรื่องส่วนตัวด้วยอีก เป็นไปได้ก็เลิกคบไปเลย จะได้ไม่เป็นมลพิษต่อจิตใจของเราอีกต่อไป

5. คนที่ฉุดให้ชีวิตเราตกต่ำ

เมื่อเป็น เพื่อนกันแล้ว ย่อมต้องถึงไหนถึงกัน มีอะไรก็พร้อมจะให้คำปรึกษา และเดินไปด้วยกันได้เสมอ

แต่ถ้าเพื่อนคนนั้นชอบชั ก พาเราไปยังทิศทางที่เสื่อมถอย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิต การงาน

สุขภ าพหรือจิตใจมีแต่ดิ่งลงๆ ตั้งแต่คบคนคนนี้ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรให้เราคบเขาต่อไป

เมื่อรู้ตัวแล้วก็ก้าวออกมาจากวงจรไม่พึงประสงค์ดีกว่า

6. คนที่เอาแต่อิจฉาเราตลอด

เพื่อนประเภทที่ชอบเปรียบเทียบ คอยมองคอย ส อ ด ส่ อ ง ชีวิตเราตลอดเวลา ไม่ใช่เพราะเป็นห่วง

แต่เพราะอิจฉา อย ากได้อย ากดีกว่า ทั้งที่เราก็อยู่ของเราดีๆ ยังชอบมาพูดกระทบ

หรือทำให้เสียความรู้สึกอยู่เรื่อยๆ ก็สมควรเทค่ะ คนประเภทนี้จะไม่มีวันจริงใจกับเราได้

ถ้าตัวเองไม่ได้เหนือกว่า อยู่ด้วยกันแล้วเสีย สุ ขภ าพ จิตเปล่าๆ

7. คนที่อยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข

มีคนบางประเภท ที่แม้จะไม่ได้มีนิสัยแ ย่ๆ ที่ชัดเจน แต่รวมๆแล้วคืออยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข

ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราลองปรับตัวเองเข้าหาแล้ว

เพื่อนคนนี้ยังไม่วายทำให้เรารู้สึกแ ย่อีกก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องทนคบกันอีกต่อไป

เก็บพื้นที่ทางอารมณ์ไว้ ให้เพื่อนที่มีแต่พลั ง บวกมอบให้กันจะดีกว่า ส่วนคนแ ย่ๆ

ก็ควรจะเริ่ม unfriend ทิ้ง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ขอขอบคุณ g o o d l i f e u p d a t e

ในสมัยที่เรายังเป็นเด็ก สิ่งที่น่ากลัวเป็นพอๆ กับผีหรือไม้เรียว ก็น่าจะเป็นการเสียเพื่อนสนิทสักคนหนึ่งไป แต่เมื่อโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนๆ เราก็พบว่าการเสียเพื่อนสนิทไป ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับเราอยู่ดี

มิตรภาพมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของมนุษย์ เราจึงเรียนรู้ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับใครสักคนที่รู้สึกถูกชะตาด้วย จนถึงขั้นที่สามารถเรียกเขาได้อย่างเต็มปากว่าเป็น ‘เพื่อน’ หรือ ‘เพื่อนสนิท’

แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เรากลับพบว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะปล่อยความสัมพันธ์นั้นไป ไม่ว่าสาเหตุของจุดจบจะเกิดจากอะไรก็ตาม เพราะที่ผ่านมาเราเรียนรู้เพียงแค่วิธีที่จะเข้าหา แต่ไม่เคยเรียนรู้วิธีที่จะจากลา หรือวิธีรับมือกับความรู้สึกหลังสูญเสียมิตรภาพเลยสักครั้ง

ทำไมการเสียเพื่อนถึงปวดร้าวราวกับอกหัก?

ช่วงเวลาหนึ่งในชีวิต หลายคนคงมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า เพื่อนสนิทที่คบกันมาหลายสิบปี ทำไมวันนี้ถึงไม่ค่อยได้เจอหน้า ไม่ค่อยได้พูดคุยกันเหมือนเมื่อก่อนแล้ว และเมื่อครุ่นคิดไปสักพัก จู่ๆ ความรู้สึกเศร้าเสียใจก็ตามมาอย่างหาสาเหตุไม่ได้

…เป็นแฟนกันก็ไม่ใช่ แต่ทำไมถึงได้รู้สึกเจ็บแปล๊บๆ ที่หน้าอกนะ? ความจริงที่ว่าการเลิกเป็นเพื่อนกับใครสักคน สร้างความเจ็บปวดได้พอๆ กับการเลิกรากับคนรัก มันเป็นไปได้ยังไงกัน?

อาจจะเป็นเพราะเพื่อนสำคัญกับชีวิตเรามากกว่าที่คิด อย่างที่ จิม รอห์น (Jim Rohn) นักธุรกิจชื่อดังชาวอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า เราคือค่าเฉลี่ยของคน 5 คนที่เราใช้เวลาด้วยมากที่สุด ทำให้พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ หรือวิธีคิดของเราถูกหล่อหลอมขึ้นจากการพูดคุยและการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่เราสนิทสนม และเมื่อเรากับเขาเกิดความคล้ายคลึงกัน ชอบอะไรเหมือนๆ กัน พูดภาษาคล้ายๆ กัน เพื่อนคนนั้นหรือคนกลุ่มนั้นก็ย่อมกลายเป็นความสบายใจของเราไปด้วย 

เวลามีเพื่อนสนิท

เราจึงรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงในการใช้ชีวิต 

เพราะรู้ว่ายังไงก็มีพวกเขาคอยอยู่เคียงข้าง

เพื่อนที่ควรตัดออกจากชีวิต

แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ด้วยบริบทบางอย่าง ไม่ว่าจะทางจิตใจหรือทางกายภาพ แต่ละคนต่างก็มีเหตุผลให้แยกย้ายไปใช้ชีวิตในเส้นทางที่ไม่เหมือนกัน เช่น เลือกเรียนคนละคณะ ย้ายบ้านไปอยู่ต่างจังหวัด แยกตัวออกไปสร้างครอบครัว ชอบวงดนตรีวงอื่น หรือหันไปทำกิจกรรมใหม่ๆ นานวันเข้าจึงเริ่มเกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ ที่ทำให้เราและพวกเขาปะติดปะต่อกันได้ไม่เหมือนเดิม

“เห็นอยู่แต่กับเพื่อนใหม่ เขาคงลืมเราไปแล้วสินะ”

แต่แทนที่เราจะคิดว่ามิตรภาพมาถึงทางแยกหรือจุดเปลี่ยน มีสาเหตุมาจากการเติบโตที่แตกต่างกันไป เกิดจากระยะทางที่ห่างกันมากขึ้น หรือเกิดจากการที่ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนไม่เหมือนเดิม เรากลับคิดว่ามันเกิดจากการ ‘ทรยศ’ หรือ ‘หักหลัง’ กันมากกว่า เพราะคิดว่าเขาลดทอนความสำคัญของเราลง และไปเพิ่มให้กับคนอื่นหรืออย่างอื่นแทน ซึ่งความคิดนี้ก็ค่อยๆ พัฒนาจากความน้อยใจไปสู่ความโกรธเคือง (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เพื่อนต้องไม่ทิ้งกัน? ทำไมเราถึงรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อเพื่อนไปสนิทกับคนอื่น)

ในขณะเดียวกัน การจะเปิดอกพูดคุยกันเกี่ยวกับ ‘ความไม่เหมือนเดิม’ ในความสัมพันธ์แบบเพื่อน ไม่เหมือนกับการเปิดอกพูดคุยกันในความสัมพันธ์เชิงโรแมนติก เพราะเรารู้ดีว่าเราจะพูดกับคนรักว่ายังไง เมื่อเขาหรือเธอมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนเดิม เช่น เธอเปลี่ยนไปนะ เธอไม่มีเวลาให้เราเลย เธอยังเหมือนเดิมหรือเปล่า?

แต่กับเพื่อน เราไม่รู้ว่าจะนิยามความรู้สึกที่ว่านี้ยังไงให้ไม่จั๊กจี้ เพราะที่ผ่านเรากับเขาไม่เคยพูดคุยกันเรื่องความคาดหวังที่แต่ละฝ่ายมี เราต่างสนิทกันด้วยเคมีบางอย่างที่ตรงกันโดยบังเอิญ สุดท้ายเรื่องก็ไปจบที่เราคิดว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเลือกที่จะอยู่เงียบๆ ปล่อยให้ต่างฝ่ายต่างเฟดหายจากกันไปตามธรรมชาติ

เช่นเดียวกับทุกๆ ความสัมพันธ์

การไม่สื่อสารกัน ย่อมทิ้งความเคลือบแคลงใจให้กับทุกฝ่าย

ว่าพวกเขาทำอะไรผิดไปหรือเปล่า

การสูญเสียเพื่อนจึงมีผลต่อความรู้สึกมากพอๆ กับสูญเสียคนรัก เพราะพวกเขาเปรียบเสมือนส่วนประกอบสำคัญที่สร้างตัวตนของเราขึ้นมา และเมื่อสูญเสียคนที่เคยเป็นความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต ความรู้สึกเชิงลบต่างๆ เลยแทรกซึมเข้ามาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความโกรธ ความหว่าเว้ ความโดดเดี่ยว

แต่การยึดติดกับความรู้สึกดังกล่าว หรือความคิดที่ว่าเพื่อนกันจะต้องอินในเรื่องเดียวกันสิ ต้องเดินไปในเส้นทางเดียวกันเรื่อยๆ ไปจนแก่สิ อาจเป็น ‘กลลวง’ ที่ทำให้เราไม่กล้าแยกย้ายไปมีชีวิตในแบบที่เราอยากมี ต่อให้อยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบใด~ก็ตาม

เพื่อนที่ควรตัดออกจากชีวิต

เรียนรู้ที่จะรับมือกับความสัมพันธ์ที่ย่อมมีวันจบลง

ใครๆ ก็คิดว่าเพื่อนจะต้องเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนที่สุด ต่อให้เลิกคบกับแฟนไปกี่คน อย่างน้อยๆ คนที่จะคอยอยู่เคียงข้างเราเสมอ ไม่ไปไหน ก็จะต้องมีพวกเขาแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อถึงคราวที่มันต้องจบลงจริงๆ เราเลยมักจะทำใจได้ยากลำบาก แต่สิ่งที่เรามักจะหลงลืมไปนั่นก็คือ ทุกความสัมพันธ์ย่อมมี ‘วันหมดอายุ’ ไม่ช้าก็เร็ว โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง 

ความสัมพันธ์แบบเพื่อนก็เช่นเดียวกัน เมื่อเดินทางมาถึงอายุขัยที่กำหนด มันอาจจะไม่ได้สูญสลายหายไปในพริบตาซะทีเดียว แต่มันอาจจะหมายถึง เรายังคงมีกันและกันอยู่ แต่ไม่ใช่บ่อยๆ หรือตลอดเวลาแบบเมื่อก่อนอีกแล้ว

ในช่วงแรก เราอาจรู้สึกโกรธเคืองหรือกังวลใจอย่างมิอาจห้ามได้ ซึ่งนั่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่บ่งบอกว่าเราแคร์เพื่อนคนนั้นมากแค่ไหน แต่เมื่อปล่อยให้อารมณ์เหล่านั้นทำหน้าที่ของพวกมันเสร็จ ก็ลองให้ความเป็นเหตุและผลได้ทำงานบ้าง ด้วยการลองทำความเข้าใจในบริบทที่กำลังเผชิญว่า มันเป็นไปได้ยากแค่ไหนที่ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนของเรากับพวกเขาจะเป็นเหมือนเมื่อก่อน 

เอาง่ายๆ เพียงแค่อยากจะไปหาพวกเขาทันที ณ ตอนนี้ ก็แทบจะใช้เวลามากกว่าเมื่อหลายสิบปีเป็นสิบๆ เท่า คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่พวกเราจะได้นั่งคุยเล่น กินขนมกันแบบเมื่อก่อน 100% มันจึงไม่ใช่ความผิดของใครสักคนที่ทำให้ความสัมพันธ์มันเปลี่ยน ไม่ใช่ทั้งเขา และไม่ใช่ทั้งเรา เพราะทุกคนต่างก็เป็นคนใหม่ในวันรุ่งขึ้น 

เพื่อนที่ควรตัดออกจากชีวิต

มีความคิดแบบใหม่ มีหน้าที่ใหม่ และมีความฝันใหม่ ทุกเส้นทางที่เราแยกย้ายกันไป  ไม่ว่าจะเป็นต่างคณะ ต่างมหาลัย ต่างจังหวัด ต่างกิจกรรม หรือต่างสังคม ทุกอย่างล้วนแล้วแต่หล่อหลอมให้เรากลายเป็นคนใหม่ไปเรื่อยๆ และนั่นก็คือขั้นตอนของการเติบโต ซึ่งเราไม่สามารถห้ามให้ใครเติบโตได้ และการหวงกันและกันอาจทำร้ายเพื่อนคนนั้นมากไปกว่าเดิม

อย่างในภาพยนตร์เรื่อง Wreck It Ralph 2 ที่ตัวละครชื่อ Shank กล่าวไว้ว่า “มิตรภาพระหว่างเพื่อนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แต่ข้อดีก็คือ มันจะทำให้พวกเขาทั้งคู่เข้มแข็งขึ้น” โดยเธอมองว่าเพื่อนกันไม่จำเป็นจะต้องมีความฝันแบบเดียวกันเสมอไป และการแยกย้ายกันไปเติบโต ก็ไม่ได้หมายความว่ามิตรภาพจะจบลง เพียงแค่ทั้งคู่จะต้องทำความเข้าใจกันและกัน

แต่หากพยายามทำความเข้าใจแล้ว ทำความเข้าใจอีก สุดท้ายการประกอบความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่นั้นก็เกินความสามารถของเราจริงๆ ก็คงทำได้เพียงแค่ยอมรับและเข้าใจ เพราะโลกใบนี้มีเพียงไม่กี่อย่างที่เราจะสามารถควบคุมได้ หนึ่งในนั้นก็คือความคิดและความรู้สึกของผู้คน แม้จะเสียดายที่มันจบลง แต่ที่ผ่านมาเราก็เคยมีช่วงเวลาที่สนุกและมีความสุขมากๆ นี่เนอะ

ดังนั้น เมื่อยอมรับได้แล้วก็แค่ก้าวเดินต่อ เพราะชีวิตเรายังคงเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ เพื่อพบเจอกับมิตรภาพใหม่ๆ ที่ซ่อนอยู่รอบตัว อาจจะเป็นในที่ทำงาน ในคอนเสิร์ต ในงานเลี้ยง หรือบนโซเชียลมีเดียก็ได้นะ

เพื่อนสนิทอาจไม่ใช่คนที่ก้าวเดินในจังหวะเท้าที่พร้อมเพรียงกับเรา แต่เป็นคนที่ไม่ว่าจะเดินช้ากว่า เร็วกว่า หรือเดินคนละเส้นทาง ยังไงก็หันหน้ามาเจอกันได้อยู่ดี และถึงแม้ความสัมพันธ์นั้นจะค่อยๆ จางลงไป ราวกับไม่เคยมีอยู่มาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นหายนะครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ถ้าเราเข้าใจได้ว่าทุกคนมีทางเลือกเป็นของตัวเอง ซึ่งทางเลือกนั้นอาจจะไม่ได้ตรงกับเราเสมอไป

อ้างอิงข้อมูลจาก

time.com

thoughtcatalog.com

Illustration by Kodchakorn Thammachart

You might also like

Share this article