การจัดรูปแบบตามผลิตภัณฑ์

ประเภทของแผนผังกระบวนการผลิต

ชนิดของกระบวนการผลิตที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดการสั่งซื้อวิธีการสั่งงานและชนิดของ อุปกรณ์ ฯลฯ

ซึ่งได้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการตัดสินใจในการจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนเฉพาะของอุปกรณ์ พนักงาน และ ศูนย์กลางการทํางาน แผนกหรือศูนย์กลางการทํางานภายในองค์กรจะเป็นผู้กําหนดรูปแบบของงานและการไหล ของวัตถุดิบ โดยแผนผังกระบวนการผลิตพื้นฐาน ได้แก่ แผนผังการผลิตแบบตามกระบวนการ (Process Layout)แผนผังการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์ (Product Layout) และการวางแผนผังแบบตําแหน่งคงที่ (Fixed Position Layout) การวางแผนผังแบบผสม ที่ได้รวมกลุ่มเทคโนโลยี (Group Technology) หรือแผนผังเซลลูลาร์ (Cellular Layout) เข้าไว้ด้วยกันเพิ่มไว้ในประเภทของแผนผังกระบวนการ ผลิตด้วย ซึ่งแผนผังกระบวนการผลิตมีลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละประเภท โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้

1. แผนผังการผลิตแบบตามกระบวนการ (Process Layout) หรือผังตามหน้าที่ (Functional Layout)

เป็นการจัดกลุ่มกิจกรรมที่คล้ายกันเอาไว้ในแผนกเดียวกัน หรือศูนย์กลางการทํางาน (Work Center) เดียวกันตามกระบวนการหรือหน้าที่ เช่นในโรงงาน เครื่องเจาะจะถูกนํามาตั้งที่ศูนย์กลางการทํางาน (Work Center) หนึ่ง เครื่องกลึงจะอยู่ที่อีกศูนย์กลางการทํางานหนึ่ง และเครื่องบดจะอยู่ที่อีกศูนย์กลางการทํางาน หนึ่งเช่นกัน ส่วนห้างสรรพสินค้าจะแบ่งเป็นแผนกเสื้อผ้าหญิงแผนกเสื้อผ้าชายแผนกเสื้อผ้าเด็ก แผนกเครื่อง สําอาง และรองเท้า แผนผังตามกระบวนการผลิต (Process Layout) มีลักษณะการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องแบบ Service Shop miànuUulaliolidos (Job Shop) LatinneanLuuni (Batch Process) ซึ่งให้บริการ ลูกค้าที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน ปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละคนจะมีปริมาณที่ต่ำ

อุปกรณ์ในการผลิตตามแผนผังการผลิตแบบตามกระบวนจะต้องใช้ได้อเนกประสงค์ และพนักงาน ต้องมีทักษะในการทํางานกับเครื่องจักรตามแผนกของพวกเขา ข้อได้เปรียบของแผนผังนี้คือ มีความยืดหยุ่น ในการผลิต ส่วนข้อเสียเปรียบคือ ระบบการผลิตมักไม่มีประสิทธิภาพ คําสั่งซื้อจากลูกค้าหรือลูกค้าที่มารับบริการจะไม่ไหลตามระบบ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งสามารถทําได้โดยใช้เวลา แต่ละฯ มาก และต้องมีการพัฒนาตัวแบบแถวคอย โดยจะมีพนักงานประจําเครื่องจักร จํานวนงานจะมีความผันผวนคิวงานที่รอผลิตหรือลูกค้าที่มารับบริการจะต้องรอเพื่อเข้าสู่กระบวนการที่ว่าง

แผนผังการผลิตแบบตามกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมต้องการอุปกรณ์เคลื่อนย้ายวัตถุ ได้ถูกอ ที่มีความยืดหยุ่น เช่น รถยก (ForkLift) รถเข็น (Cart) ซึ่งมีอยู่ในหลายเส้นทางและเคลื่อนย้ายไปตามเส้นทาง ที่กําหนดไว้ โดยจะดําเนินการขนสินค้าขนาดใหญ่จากสายการผลิตรถยกจะใช้พาเล็ต (Paulet) ใส่สินค้าจาก การผลิต ศูนย์กลางงานหนึ่งไปยังอีกศูนย์กลางงานหนึ่ง ซึ่งต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับวัตถุดิบที่มีน้ําหนัก หรือกา หรือสินค้าขนาดใหญ่ได้ในการขนย้ายและจัดเก็บสินค้า ตารางการทํางานของรถยกจะถูกควบคุมด้วยการส่ง หรือบริ วิทยุ โดยตารางการทํางานจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง

2. แผนผังการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์ (Product Layout)

แผนผังการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์รู้จักกันดีในสายการประกอบ (Assembly Lines) ผลิตภัณฑ์ แต่ละชนิดจะอยู่ใน “แถว” การผลิต ซึ่งได้ถูกออกแบบตามข้อกําหนดผลิตภัณฑ์ การไหลของงานระหว่างทํา จะมีประสิทธิภาพ โดยการเคลื่อนย้ายงานจากสถานีงาน (Work Station) หนึ่งไปยังอีกสถานีงานหนึ่ง เพื่อ ประกอบในสายการประกอบจนกระทั่งออกมาเป็นสินค้าสําเร็จรูปและส่งไปยังท้ายสายการผลิตสายการผลิต ได้ถูกออกแบบการใช้งานโดยใช้หนึ่งแถวสําหรับผลิตหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือหนึ่งบริการเท่านั้นเครื่องจักรที่ใช้จะมี ลักษณะเฉพาะพิเศษซึ่งได้ทําการจัดซื้อเข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าให้ตรงกับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่กําหนดไว้ การผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์(Product Layout) เหมาะกับการผลิตแบบคราวละมากๆ (Mass Production) หรือการผลิตซ้ำ ซึ่งความต้องการสินค้าของลูกค้ามีความแน่นอนและมีปริมาณความต้องการสูงโดยผลิตภัณฑ์ หรือบริการตรงตามมาตรฐานที่ตลาดนั้นต้องการ การผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์มีลักษณะการผลิตแบบอัตโนมัติ มากกว่าการผลิตแบบตามกระบวนการ บทบาทของพนักงานมีความซับซ้อนและงานที่ทําต้องใช้ฝีมือ พนักงาน ในสายการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์จึงมีค่าแรงที่สูงกว่าพนักงานในการผลิตแบบตามกระบวนการข้อได้เปรียบ ของการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์คือ มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการใช้งาน ข้อเสียเปรียบคือ ไม่มีความยืดหยุ่น ในการผลิต สิ่งสําคัญของการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์ก็คือ การปรับสมดุลสายการผลิต(Balancing the Assembly Line) ซึ่งจะไม่มีจุดคอขวด (Bottleneck) ในสถานีงานใด และการไหลของงานในสายการผลิต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

แผนผังการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบให้วัตถุดิบเคลื่อนที่ตามทิศทางของสายการประกอบ และเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน สายพานลําเลียง (Conveyor) เป็นอุปกรณ์สําคัญที่ใช้เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ ในสายการผลิต โดยสายพานลําเลียงจะดําเนินงานโดยอัตโนมัติและควบคุมความเร็วโดยคนงาน งานระหว่างทําที่ต้องประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันสามารถทําได้บนสายการผลิต เช่น สายพานลําเลียง หรืออาจจะทําใน ตารางสถานีงานก็ได้

3. การวางแผนผังแบบตำแหน่งคงที่ (Fixed Position Layout)

การวางแผนผังแบบตําแหน่งคงที่ใช้สําหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่เปราะบางผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่เคลือนย้ายลําบาก เช่น เรือ บ้าน และเครื่องบิน ฯลฯ แผนผังนี่ผลิตภัณฑ์จะอยู่ที่สถานีงานอุปกรณ์ คนงานวัตถุดิบ จะเคลือนเข้าไปหาตัวผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์จะมีอรรถประโยชน์ตําและมีต้นทุนตําเนื่องจากต้องขนกลับเมืองานเสร็จสิ้น โดยปกติอุปกรณ์เหล่านี่มักจะเช่าหรือทําสัญญาว่าจะใช้ในช่วงระยะเวลาอันจํากัดคนงานที่มาทํางานจะมีทักษะความชํานาญสูงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า ค่าแรงของ คนงานเหล่านี้ค่อนข้างสูง หากพิจารณารายละเอียดค่าใช้จ่ายจะพบว่าต้นทุนคงที่ต่ํา (อุปกรณ์ที่ใช้หน้างานอาจ- ) จะเช่ามา)ในขณะเดียวกันต้นทุนผันแปรกลับสูง (เนื่องจากอัตราค่าแรงของคนงานที่สูง ต้นทุนค่าเช่าอุปกรณ์ และต้นทุนการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์)

4. การวางแผนผังแบบผสม (Hybrid Layout)

การวางแผนผังแบบผสมเป็นการรวมข้อได้เปรียบของการผลิตแบบตามกระบวนการและการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์เข้าไว้ด้วยกันโดยจัดกลุ่มตามความแตกต่างด้วยเครื่องจักรที่อยู่ในศูนย์กลางงาน(Work Center) หรือเซลล์งาน (Cell) ในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีรูปร่างคล้ายคลึงกันและใช้กระบวนการผลิตที่ใกล้เคียง กลุ่มเทคโนโลยี (Group Technology) เป็นวิธีการในการแยกส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น รูปร่าง การใช้งาน กระบวนการผลิต แล้วนํามาจัดกลุ่มไว้ด้วยกันด้วยการบูรณาการการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการผลิตเข้าไว้ด้วยกัน ความคล้ายคลึงกันอาจจะมาจากขนาด รูปร่าง ความต้องการ การผลิต หรือการกําหนดเส้นทางขนส่งเดียวกัน ดังนั้น ความคล้ายคลึงกันจึงเป็นการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์มีกระบวนการการ ผลิตที่คล้ายคลึงกัน จุดมุ่งหมายก็เพื่อลดการเปลี่ยนและติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้น้อยลง เช่น การ ผลิตแฮมเบอร์เกอร์ของร้าน Subway กลุ่มเทคโนโลยี (Group Technology) ได้แยกวัตถุดิบที่ใกล้เคียงกันไว้ ด้วยกัน และใช้ขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกันในการผลิตแฮมเบอร์เกอร์ต่าง ๆ ของร้าน

ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventory และ ieInventory ซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

  • ieSmart WI

    โปรแกรมสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่ช่วยให้การสร้างงานฐานในโรงงานง่ายขึ้น เวลาได้มาตรฐานที่ชัดเจน สะดวก และเป็นองค์ความรู้สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี

การจัดรูปแบบตามผลิตภัณฑ์

  • ieLineBalancing

    โปรแกรมจัดสมดุลสายการผลิต เหมาะสำหรับวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตใช้ในการจัดวางแผนสายการผลิต ภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน และกำลังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

การจัดรูปแบบตามผลิตภัณฑ์

  • ieInventory

    โปรแกรมจัดการคลังสินค้า ที่ช่วยให้การบริหารคลังในระดับอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์

การจัดรูปแบบตามผลิตภัณฑ์

  • ieScheduling

โปรแกรมจัดตารางการผลิต เครื่องมือช่วยในการจัดการผลิตในระดับปฎิบัติการ ควบคุม และติดตามงานแบบทันเวลา (Realtime) และประเมินกำลังการผลิตได้รวดเร็ว

Post Views: 1,903