ยก ตัวอย่าง การประสบอันตรายที่ นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน

อธิบายกฎหมายเงินทดแทน-ข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
-
  *ข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน มาตรา 22
 -
 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 22
           นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ของลูกจ้างเพราะเหตุ
 อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
           (1) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้
           (2) ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตน ประสบอันตราย
 -
           ข้อสังเกต
           หลัก นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง
 -
           ข้อยกเว้น
           1. ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้
           2. ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตราย หรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนประสบอันตราย
 -
           - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2523 ลูกจ้างเป็นใต้ก๋งเรือมีอํานาจสั่งให้นําเรือประมงไปจับ
 ปลา ในบริเวณไหนก็ได้ ลูกจ้างสั่งให้นําเรือประมงไปจับปลาในน่านน้ำของประเทศกัมพูชา ถูกเรือ
 ไม่ปรากฏสัญชาติไล่ยิง เรือประมงดังกล่าวได้รับความเสียหาย ตัวลูกจ้างซึ่งเป็น ใต้ก๋งเรือถึงแก่
 ความตาย ได้มีการเรียกร้องเงินทดแทนและมีการต่อสู้คดีนี้ว่าลูกจ้างจงใจ ทําให้ตนเองประสบ
 อันตรายเพื่อให้เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน ศาล ฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ข้อเท็จจริง
 ปรากฏว่าเรือประมงที่เข้าไปจับปลาในเขตน่านน้ำกัมพูชา จะถูกยิง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าถูกยิงเสมอไป
 บางลําก็ถูกยิงบางลําก็รอดกลับมาได้ การที่ ลูกจ้างถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่กรณีที่เล็งเห็นผลได้ว่า
 จะต้องถูกยิงหรือน่าจะถูกยิงได้รับ อันตรายถึงแก่ความตายโดยแน่แท้ จึงไม่ใช่การจงใจทําให้ตนเอง
 ประสบอันตราย
 -
           - เงินทดแทนไม่อยู่ในบังคับการบังคับคดี มาตรา 23
           ห้ามมิให้นายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใดๆ และเงินทดแทนไม่อยู่ ในความรับผิดแห่ง
 การบังคับคดี
 -
           ข้อสังเกต
           1. มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทน ให้ความคุ้มครองเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้องจ่ายให้
 แก่ลูกจ้างเนื่องจากเป็นเงินที่จะได้รับเพราะลูกจ้างต้องได้รับอันตราย หรือเจ็บป่วย ดังนั้น กฎหมาย
 จึงให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ
           2. กรณีลูกจ้างก่อหนี้สินใดๆ ไว้กับนายจ้างโดยการทําสัญญาหรือละเมิด นายจ้างไม่
 สามารถนํามาหักกับเงินทดแทนที่ต้องจ่ายให้กับลูกจ้างได้
           3. กรณีลูกหนี้ผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา เจ้าหนี้ ไม่อาจ
 บังคับชําระหนี้เอากับเงินทดแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้าง
 -
           - การจ่ายเงินทดแทน มาตรา 24
           การจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตาม
 มาตรา 20 แล้วแต่กรณี จะตกลงกันจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียว เต็มจํานวนหรือเป็นระยะเวลาอย่าง
 อื่นก็ได้ แต่นายจ้างจะหักส่วนลดเกินอัตรา ที่กําหนดในกฎกระทรวงไม่ได้
 -
           ข้อสังเกต
           1. การจ่ายเงินทดแทนโดยหลักแล้วนายจ้างจะจ่ายเป็นรายเดือน เว้นแต่ ลูกจ้างนายจ้าง
 ตกลงกันจ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว
           2. สิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน เมื่อลูกจ้างได้รับเงิน ทดแทนแล้ว ก็ยัง
 มีสิทธิที่จะได้รับเงินตามสิทธิที่มีตามกฎหมายอื่นอีกด้วย เช่น ลูกจ้าง ประสบอันตรายถึงแก่ความตาย
 ได้รับค่าสินไหมทดแทนจํานวน 1 ล้านบาท ที่บุตรธิดา ลูกจ้างได้รับจากบริษัทประกันภัยอันเนื่อง
 จากนายจ้างเดิมซึ่งเป็นเครือเดียวกันกับ นายจ้างใหม่ได้เอาประกันภัยไว้และได้ชําระเบี้ยประกันให้
 ไม่ใช่เงินทดแทน การที่ นายจ้างเอาประกันและชําระเบี้ยประกันให้ก็เป็นการให้สวัสดิการเพื่อ
 บํารุงขวัญและ กําลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างเท่านั้น (เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่
 5788/2530)
 -
           - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียว
 กันบริษัทจําเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ. ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ. กรมธรรม์
 ประกันภัยมิได้มีข้อความกําหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องจากการ ทํางานให้แก่นายจ้างแต่เพียง
 ประการเดียว แม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตราย โดยมิได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
 อันเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษา ประโยชน์ให้แก่นายจ้าง บริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่
 ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม สัญญา แม้บริษัท ส. จะเป็นผู้ชําระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้
 สวัสดิการเพื่อบํารุงขวัญ และเป็นกําลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้น ค่าสินไหมทด
 แทนที่โจทก์ ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ. ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตาม
 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจําเลย ที่ 2 ผู้เป็น
 นายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือ ถึงแก่ความตายเนื่องจาก
 การทํางานให้แก่นายจ้าง
           กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตาม
 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้าง จ่ายเงินสมทบ
 กองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกัน ไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงิน
 สมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสําหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กําหนดว่าเงินที่เอาประกัน
 ภัยเป็นเงินทดแทนไม่
 -
           - นายจ้างทดรองจ่ายเงินทดแทน มาตรา 25
           การจ่ายเงินทดแทนตามหมวดนี้ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้อง จ่ายเงินสมทบให้
 สํานักงานจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แทนนายจ้างนั้น แต่ถ้านายจ้างได้
 ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ นั้นไปก่อน และเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคํา
 วินิจฉัยว่าลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ ดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ให้นายจ้างขอรับเงินทดแทนที่ได้
 ทดรองจ่ายไป คืนจากสํานักงานได้ตามระเบียบที่เลขาธิการกําหนด
           ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ และได้ทดรอง จ่ายเงินทดแทนแก่
 ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ไปก่อน ถ้าลูกจ้างหรือผู้มี สิทธินั้นมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามคํา
 สั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 50 หรือคําสั่งใหม่ตามมาตรา 51 นายจ้างมีสิทธินําเงินทดแทนที่
 ได้จ่ายให้ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิดังกล่าวไปนั้นมาหักจากจํานวนเงินทดแทนตามคําสั่งของพนักงาน
 เจ้าหน้าที่ได้ไม่เกินจํานวนเงินทดแทนตามประเภทที่กําหนดไว้ในคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
 -
           ข้อสังเกต
           การจ่ายเงินทดแทน
           1. กรณีนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสํานักงานประกัน สังคม ได้จ่ายเงิน
 ทดรองจ่ายให้ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 นายจ้างขอรับเงิน ทดแทนที่ได้ทดรองจ่ายไปคืน
 จากสํานักงานประกันสังคมได้
           2. กรณีนายจ้างผู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทน แก่ลูกจ้าง หรือ
 ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ไปก่อน นายจ้างมีสิทธินําเงินไปหักจากจํานวน เงินทดแทนตามคําสั่งของ
 พนักงานเจ้าหน้าที่
 -
           - ฎีกาน่าสนใจ
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2548 พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 25 บัญญัติให้สิทธิแก่นายจ้าง
 ที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนแล้วขอรับเงินทดแทน คืนจากสํา
 นักงานประกันสังคมได้ หาใช่บทบัญญัติที่จะตัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง ผู้ประสบอันตรายตาม
 มาตรา 49 แต่ประการใด เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบ อันตรายได้ยื่นคําร้องขอรับเงินทดแทน
 จากจําเลยตามมาตรา 49 และนายจ้างได้แจ้ง การประสบอันตรายของโจทก์ต่อจําเลยตามมาตรา 48
 แล้ว เมื่อจําเลยแจ้งมติของ คณะอนุกรรมการการแพทย์ให้โจทก์และนายจ้างของโจทก์ทราบแล้ว แม้
 นายจ้าง ของโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 52 แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อ คณะ
 กรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 52 ดังกล่าว เมื่อ โจทก์ไม่พอใจคํา
 วินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธินําคดี ไปสู่ศาลแรงงานได้ตามมาตรา
 53
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547 โจทก์เป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายเนื่องจากการทํางาน
 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ และในฐานะที่โจทก์เป็น ผู้ประสบภัย
 จากรถ จึงเป็นผู้รับประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก
 รถฯ ส่วนบริษัท ศ. ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงิน ทดแทนต่อจําเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้
 ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อนแล้วขอรับเงินทดแทน ที่ได้ทดรองจ่ายไปนั้นคืนจากจําเลยตาม พ.ร.บ.
 เงินทดแทนฯ มาตรา 25 เท่านั้น และ แม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารและประสบ
 อุบัติเหตุ แต่บริษัทดังกล่าว ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก
 รถฯ เพราะมิใช่ ผู้ประสบภัยจากรถ การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วมาขอรับเงินที่จ่าย
 ไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะ ผู้เอา
 ประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่ทดรอง
 จ่ายแทนจําเลยในฐานะนายจ้าง ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิ์มา
 ขอรับเงินจํานวนดังกล่าวคืนจากจําเลย กับเมื่อบริษัท ผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินคืนให้แก่บริษัท ศ.
 ไปแล้ว ย่อมทําให้สิทธิที่จะเรียกร้องเงิน จํานวนดังกล่าวของบริษัท ศ. ระงับสิ้นลงแล้ว ไม่อาจสละ
 สิทธิในเงินจํานวนดังกล่าวนี้ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า การเรียกร้อง
 หรือการได้มาซึ่งสิทธิ หรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างจึงได้
 ตาม กฎหมายอื่น ดังนี้ แม้บริษัท ศ. จะทําหนังสือสละสิทธิไปยังจําเลยก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิ ที่
 โจทก์จะพึงได้รับในฐานะผู้ประสบอันตรายตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ แต่ประการใด
 -
           - การแก้ไขคําสั่งเงินทดแทน มาตรา 51
           ถ้าปรากฏภายหลังว่าผลของการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยของ ลูกจ้างเปลี่ยน
 แปลงไปอันเป็นเหตุให้คําสั่งที่เกี่ยวกับเงินทดแทนตามมาตรา 50 ไม่เป็นไปตามมาตรา 18 หรือมี
 กรณีตามมาตรา 19 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ออกคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนใหม่ได้ คําสั่ง
 ใหม่ให้มีผลเฉพาะการจ่ายเงิน ทดแทนในคราวต่อไป
           ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นในภายหลังอันเป็นเหตุให้คําสั่งที่เกี่ยวกับ เงินทดแทนตาม
 มาตรา 50 คลาดเคลื่อนไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออก คําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนใหม่ได้
           ในกรณีที่การเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ ลูกจ้างยื่นคําร้องขอ
 รับเงินทดแทนจากนายจ้างต่อสํานักงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้าง ทํางานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลําเนาได้
 ภายในสองปีนับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย
 -
           - ข้อสังเกต
           1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งเกี่ยวกับเงินทดแทนอาจเกิดขึ้นได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
                     1.1 ผลของการเปลี่ยนแปลงคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสํานักงาน
 ประกันสังคมเกี่ยวกับเงินทดรองตามมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.เงินทดแทนเนื่องจากผลของ การประสบ
 อันตรายหรือการเจ็บป่วยของลูกจ้างได้ปลี่ยนแปลงไปเช่นลูกจ้างที่ประสบ อันตรายได้ถึงแก่ความ
 ตายเพราะเหตุที่ประสบอันตรายนั้นซึ่งจากเดิมนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างทุพพลภาพ
 ซึ่งกําหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้าง เป็นรายเดือนทั้งนี้ตามมาตรา 18 แต่เมื่อลูกจ้าง
 คนดังกล่าวถึงแก่ความตายพนักงาน เจ้าหน้าที่มีอํานาจที่จะออกคําสั่งใหม่ให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน
 ให้แก่ผู้มีสิทธิในกรณี ลูกจ้างถึงแก่ความตายตามมาตรา 20 เป็นต้น
                     1.2 มีข้อเท็จจริงปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงในภายหลังแตกต่าง จากข้อ
 เท็จจริงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับไว้และใช้เป็นข้อมูลในการออกคําสั่งในตอนแรก ไม่ถูกต้อง
 เจ้าพนักงานจึงชอบที่จะออกคําสั่งใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากคําสั่งเดิมได้
 -
           - การอุทธรณ์คําสั่ง มาตรา 52
           ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ซึ่งได้รับคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการ
 ประเมินเงินสมทบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตาม พระราชบัญญัตินี้แล้วไม่พอใจคําสั่ง
 คําวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการได้
 ภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบ ทั้งนี้ เว้นแต่
 เป็น คําสั่งตามมาตรา 47
           เมื่อคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้แจ้งคําวินิจฉัยเป็น หนังสือให้
 ผู้อุทธรณ์ทราบ
 -
           ข้อสังเกต
           1. การอุทธรณ์คําสั่งตามมาตรา 52 นี้หมายถึงการอุทธรณ์คําสั่งของ เจ้าพนักงานตามมาตรา
 51 ซึ่งผู้รับคําสั่งอาจได้รับความกระทบกระเทือนจากการ เปลี่ยนแปลงคําสั่งของเจ้าพนักงานนั้น
           2. ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งได้แก่
                     2.1 นายจ้าง
                     2.2 ลูกจ้าง
                     2.3 บุคคลตามมาตรา 20
           3. เหตุแห่งการอุทธรณ์คําสั่ง ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการ ประเมินเงิน
 สบทบ
           4. ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อ คณะกรรมการภายใน
 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมิน เงินสบทบ แต่กฎหมายมิได้กําหนดว่า
 คณะกรรมการจะต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้เสร็จ ภายในกี่วัน
           5. นายจ้าง ลูกจ้างหรือบุคคลตามมาตรา 20 ที่ไม่พอใจคําสั่งของเจ้าพนักงาน มีสิทธิที่จะ
 อุทธรณ์คําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบนี้ต่อคณะกรรมการ อุทธรณ์เท่านั้นไม่มีสิทธินํา
 คดีมายื่นฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลง คําสั่งของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
 -
           - ฎีกาน่าสนใจ
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538 ตามที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 32
 (5) ระบุว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม มาตรา 52 นั้น
 หมายความว่ามีอํานาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคําวินิจฉัยของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ให้จ่าย
 เงินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าหรือไม่แต่จะมีคําสั่ง ระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่ว
 คราวหาได้ไม่เพราะการมีคําสั่งดังกล่าวย่อมมีผล เป็นการทุเลาปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของพนักงาน
 เจ้าหน้าที่อันเป็นการขัดต่อมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่บัญญัติเป็นใจ
 ความว่าการอุทธรณ์หรือ นําคดีไปสู่ศาลไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคําสั่งหรือคําวินิจฉัยของ
 พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือของคณะกรรมการแล้วแต่กรณี แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมี
 อํานาจในการรวบรวมพยานหลักฐานโดยจะเป็นผู้รวบรวมเองหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรม การช่วยรวบ
 รวมก็เป็นการกระทําเพื่อนํามาพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์นั่นเองและเมื่อยัง ไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็น
 ด้วยกับอุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนคําวินิจฉัยของพนักงานเงิน ทดแทนที่ให้จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์
 ทั้งสามสิบห้าซึ่งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ยังต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบ
 รวมพยานหลักฐานถ้าถือว่า คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอํานาจที่จะมีคําสั่งระงับการจ่ายเงิน
 ทดแทนเป็น การชั่วคราวแล้วก็จะมีผลเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของมาตรา 54
 ด้วยย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว
-