ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

Show
    หุ้นของ Delivery Hero บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอย่าง Foodpanda ได้ลดลงต่ำกว่าราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2560 หลังจากการมีการเทขายอย่างไม่หยุดในปีนี้ จนมูลค่าบริษัทหายไปเกือบ 3 ใน 4

    หุ้น Delivery Heroร่วงมากถึง -2.7% สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 24.96 ยูโรซึ่งถือว่าร่วงลงต่ำกว่าราคา IPO ที่ 25.50 ยูโร ครั้งแรกในรอบ 5 ปี และยังเป็น หุ้นที่แย่สุดในดัชนี Stoxx 600 ในปีนี้ โดยปัจจุบันมาร์เก็ตแคปของ Delivery Hero หายไปถึง 1.81 หมื่นล้านยูโรหรือราว 6.6 แสนล้านบาท หายไปถึง 75% เหลืออยู่เพียง 6.58 พันล้านยูโรหรือราว 2.4 แสนล้านบาท

    สำหรับปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนแห่ขายหุ้นเป็นเพราะข้อสงสัยในความสามารถของบริษัท ว่าจะสามารถทำกำไรท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นได้อย่างไร และไม่ใช่แค่ Delivery Hero แต่บริษัทคู่แข่งในยุโรปก็ประสบปัญหาเช่นกัน อาทิ Just Eat Takeaway.com NV ลดลง 62% และ Deliveroo Plc ลดลง 59%

    ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมส่งอาหารมีอัตราการเติบโตพุ่งสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่เมื่อหลายประเทศคลายล็อกดาวน์ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติอีกครั้ง ประกอบการแข่งขันที่รุนแรง รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อกำลังกดดันงบประมาณที่ตึงตัวอยู่แล้วยิ่งทำให้บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้

    ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังกระทบกระเป๋าสตางค์ของผู้บริโภคอีกด้วย ส่งผลให้ยอดขายที่ลดลง ยิ่งเหมือนเติมเชื้อไฟให้การแข่งขันในตลาดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะในยุโรปที่มีสตาร์ทอัพหน้าใหม่อย่าง Getir และ Gorillas

    “ภาวะเงินเฟ้อได้ก่อตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และนั่นทำให้ตลาดยิ่งแย่เข้าไปอีก โดยจากข้อมูลของ Barclays Plc พบว่าในสหราชอาณาจักรช่วงเดือนเมษายน การใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้บริโภคสำหรับการซื้อสินค้าชะลอตัวลง” Sarah Simon นักวิเคราะห์ของ Berenberg กล่าว

    ไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอก แต่เพราะ Delivery Hero ไม่สามารถทำให้นักลงทุนมั่นใจในตัวธุรกิจได้ ถึงแม้ว่าบริษัทจะย้ำความเชื่อมั่นว่าธุรกิจกำลังจะถึงจุดคุ้มทุน และจะสามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในปีหน้าแต่กลับกัน บริษัทได้ออกมาบอกว่าจะไม่เปิดเผยตัวเลขคำสั่งซื้อ เนื่องจากจะเน้นที่ความสามารถในการทำกำไรมากกว่าปริมาณแทน

    ย้อนไปช่วงปลายปี 2564 Delivery Hero ได้ลดขนาดการดำเนินงานของ Foodpanda ในเยอรมนี และขายกิจการในญี่ปุ่น เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและการขาดแคลนแรงงาน พร้อมโยกเงินทุนไปใช้สำหรับทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ นวัตกรรมหุ่นยนต์, การทดลองการทำครัวแบบใหม่ ๆ รวมถึงการทำแพ็กเกจจิ้งแบบยั่งยืน

    ปัจจุบัน Delivery Hero ได้ให้บริการในกว่า 50 ประเทศ สำหรับประเทศไทย Foodpanda ทำตลาดตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบัน มีร้านอาหารที่แอคทีฟบนแพลตฟอร์มมากกว่า 140,000 กว่าแห่งทั่ว 77 จังหวัด เเละมีจำนวนไรเดอร์มากกว่าเเสนราย

    Source

    ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

    ถึงแม้มูลค่าตลาดขนส่งอาหารแบบ Delivery จะมีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาท โดยเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 7-8% แต่ยังไม่ได้เป็นที่พูดถึงในวงกว้างนัก เนื่องจากแบรนด์ที่เข้ามาเป็นเจ้าตลาด คือบริษัทใหญ่ ทำให้มีคู่แข่งน้อย

    โดยระบบการทำงานที่จะส่งถึงมือลูกค้า แต่ละแบรนด์ก็จะมีความโดดเด่นต่างกัน แต่แบรนด์ไหนมีจำนวนร้านค้าในระบบเยอะ ก็จะได้เปรียบมาก เพราะต้องใช้งบที่สูงในการประสานตรงนี้

    แต่ความต้องการสั่งอาหาร Delivery ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด มูลค่าตลาดก็สูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วตอนนี้แบรนด์ไหนคือเจ้าตลาดอยู่กันแน่ ที่จะได้รับเงินมหาศาลตรงนี้ไปครอบครอง

    LINE MAN

    ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

    จากยอดผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านรายต่อเดือน และมียอดการสั่งซื้อเติบโตกว่า 489% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทำให้ LINE MAN เป็นแอพพลิเคชั่น สั่งอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงนี้

    จะบอกว่าเป็นเจ้าตลาดเลยก็ว่าได้ ซึ่งยอดผู้สั่งที่เพิ่มขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งถูกปรับเปลี่ยนมาจากยอดผู้ใช้งานจากฟีเจอร์อื่นๆ เช่น บริการเมสเซนเจอร์, บริการเรียกแท็กซี่

    ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทุกความเร่งรีบและกิจกรรมเร่งด่วน ด้วยสถานการณ์รถติดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพได้กลายเป็นข้อดี ที่มีบริการรับส่งมาตอบโจทย์ และไม่น่าแปลกใจหากใครอยากจะสั่งอาหารกับร้านโปรด กดเลือกที่จะกดใช้บริการ LINE MAN

    แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อติติง เนื่องจากช่วงที่ LINE MAN เข้ามาตลาดส่งอาหาร Dalivery ไม่ได้มีเจ้าตลาดที่แข็งแรง ทำให้มีอำนาจในการต่อรองราคาสูง จนสามารถชาร์จค่าส่งแพงๆ ได้

    กลายเป็นที่มาที่ทำให้แพลตฟอร์มข้อต่อไปเข้ามาตีตลาดได้แบบเงียบๆ

    Grab Food

    ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

    Grab Food คือบริการส่งอาหารแบบ Delivery ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน ยังไม่ได้แพร่หลายมากนัก เพราะคนส่วนใหญ่เรียก Grab สำหรับการเดินทาง

    ทำให้ช่วงแรก Grab ใช้วิธีคิดค่าส่งฟรี ซึ่งร้านค้าที่ค้นหาเจอจะอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่คุณอยู่ ซึ่งต่างจาก LINE Man ที่สั่งได้ทุกร้านที่อยากจะกิน

    ถึงแม้จะเสียเปรียบไปบ้าง แต่คำว่า “ส่งฟรี” ก็ทำให้ได้ลูกค้ารายใหม่ไปไม่ใช่น้อย ซึ่งปัจจุบันมียอดเติบโตถึง 440% และเมื่อมีลูกค้าติดใช้บริการแล้วจึงเพิ่มค่าส่งเป็นเสีย 10 บาทต่อครั้ง

    แต่ก็มีโปรส่งฟรีและลดราคามาอีกเรื่อยๆ ถึงแม้จะไม่ได้หวือหวาเหมือนแอพสั่งอาหารอื่นๆ แต่ก็มีผู้เข้ามาใช้และบอกต่อเป็นจำนวนมาก เหมือนคลื่นใต้น้ำที่จะเข้ามาชิงอันดับกับ LINE Man

    Skootar

    ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

    หลายคนคงรู้จักกันดีกับแอพที่ให้บริการขนส่งเอกสารต่างๆ และเมื่อมีผู้ใช้ติดเป็นจำนวนมากจึงแตกไลน์ไปเป็นการขนส่งอื่นๆ เพิ่ม

    ซึ่งหนึ่งในนั้นคือส่งอาหาร แต่ถึงแม้จะเป็นตัวใหม่ที่เข้ามาเล่น แต่ยังไม่ได้รับกระแสเท่าที่ควร เนื่องจากพาร์ทเนอร์ร้านค้าที่อยู่ในมือยังไม่พอสำหรับมาแย่งส่วนแบ่งได้อย่าง Grab Food

    Foodpanda

    ส่วนแบ่ง การตลาด foodpanda

    แพลตฟอร์มที่อยู่คู่มากับการขนส่งอาหาร Delivey มาอย่างยาวนาน เรียกว่าฐานแน่น ลูกค้าใช้บริการอย่างสม่ำเสมอทำให้มีคำสั่ง ซื้อราว 2 ล้านคำสั่งต่อเดือน

    แต่ถึงจะอยู่มานาน แต่การเพิ่มฐานลูกค้ายังไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากโปรล่อใจลูกค้าใหม่ยังไม่เตะตาเท่าไหร่ ผู้บริการที่ใช้อยู่จึงเป็นผู้ใช้บริการประจำนั่นเอง

    พอจะมองภาพออกแล้วใช่มั้ยคะ ว่าใครคือเจ้าตลาดและใครคือคู่แข่งแบบคลื่นใต้น้ำที่ไม่หวือหวาแต่กวาดเรียบ

    และไม่ว่าจะแข่งขันกันสูงแค่ไหนข้อดีก็ตกมาที่ผู้ใช้งานอยู่ดี เพราะแบรนด์ทั้งหลายก็แข่งกันมีโปรเด็ดมาดึงดูดลูกค้า

    และยิ่งแข่งขันสูง การยิ่งเกิดสินค้าใหม่ๆ หรือฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้การบริการเข้าถึงผู้ใช้มากขึ้น ยังไงแล้วก็อย่าลืมไปลองสั่งกันนะคะ รับรองว่าจะเพิ่มความฟินให้กับอาหารแต่ละมือของทุกคนได้อย่างแน่นอน