กลุ่ม อาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หมาย ถึง

อาหารในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย

 

โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

 

กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน ( ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7 คน ) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย

 

กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือ สูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือจดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

 

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
  3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
  4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
  6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
  7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุสถานที่ผลิต,บรรจุ,เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
  8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

 

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร

  1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7 – 19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3,000 บาท
  2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5,000 บาท
  3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 – 91 แรงม้า 6,000 บาท
  4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10 – 24 แรงม้า 7,000 บาท
  5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25 – 49 แรงม้า 8,000 บาท
  6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10,000 บาท

สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

 

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)

  1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด ( แบบ สบ.5 ) จำนวน 2 ฉบับ
  2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
  3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

 

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.

  1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ( GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE )
  2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
  3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
  4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุม เฉพาะอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

 

สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ( One stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัด

ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทน แต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่า สำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็ว

        คราวนี้ก็ไม่ต้องหลงเชื่อคำโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริงของผลิตภัณฑ์ที่อ้างเครื่องหมาย อย. ที่ไม่ถูกต้องกันแล้ว เพราะเราสามารถดูและพิจารณาได้เองว่าเครื่องหมาย อย. แบบไหนควรอยู่ในผลิตภัณฑ์ใด และเลขในเครื่องหมายนั้นมีความหมายบ่งบอกถึงอะไรบ้าง แบบนี้สิถึงเรียกได้เต็มปากว่าเป็นผู้บริโภคสมัยใหม่…และการเป็นคนสุขภาพดีมีคุณภาพนั้นจะต้องรู้จักคิดและเลือกให้เป็นด้วยนะคะ

หลายคนคงจะเคยได้ยินและคงจะคุ้นชินกันเป็นอย่างดีกับคำว่า อย. ซึ่งเราก็มักจะเคยพบเจอกันอยู่บ่อยครั้งบนฉลากอาหารหรือตามยาต่าง ๆ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า เครื่องหมาย อย. คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

ซึ่งในบทความนี้เองเราก็จะตามมาเจาะลึกถึงหน้าที่ และประโยชน์ของเจ้าเครื่องหมาย อย. นี้กันว่ามันทำหน้าที่อะไรและมีความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้างและถ้าทุกท่านพร้อมแล้วเราก็ตามมาดูไปพร้อมกันเลย

เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่ไว้ใช้เพื่อแสดงหรือบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้รับการการันตีว่ามีคุณภาพ และผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วนั่นเอง ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าที่เราซื้อมานั้นจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

ซึ่งเครื่องหมาย อย. นอกจากจะใช้กับอาหารและยา ก็ยังสามารถใช้ได้กับ อาหารควบคุม เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ของ เครื่องหมาย อย. ก็มีดังนี้

ประโยชน์ของเครื่องหมาย อย. มีอะไรบ้าง

  • เครื่องหมาย อย. ช่วยให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสถานที่และชื่อบริษัทที่ทำการผลิตหรือจดแจ้งได้
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยให้สามารถรับสิทธิคุ้มครองจากคณะกรรมการอาหารและยาได้ หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันภัยที่มาจากสินค้าเหล่านี้ รวมไปถึงการที่มีผู้บริโภคสามารถทราบส่วนผสมที่ทางผู้ผลิตได้จดแจ้งไว้กับ อย. เพื่อความปลอดภัยของตนเองได้อีกด้วย
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ด้วยการสังเกต สัญลักษณ์ อย. ซึ่งทำให้เป็นการสร้างมาตรฐานในการสังเกตเหล่าสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจและสังเกตได้ง่ายขึ้นได้อีกด้วย
  • เครื่องหมาย อย. ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย เพราะหน่วยงานของ อย. เองจะมีการตรวจผลิตภัณฑ์ ก่อนการจดแจ้งหรือสุ่มตรวจสินค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าที่มีสัญลักษณ์จะมีคุณภาพและปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เครื่องหมาย อย. มีส่วนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเอง หากสินค้าของท่านมีเครื่องหมาย อย. ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ของท่านได้รับความน่าเชื่อถื อและความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างฐานลูกค้า และผลกำไรตามมาได้อย่างมากมาย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวสาระความรู้เกี่ยวกับ เครื่องหมาย อย. ที่เราได้นำมาฝากทุกท่านกันในบทความนี้ แน่นอนว่าในยุคที่การค้าขายก้าวไกลผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ก็มีบทบาทในท้องตลาดมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมการตัดสินให้เราได้ก็คงต้องมาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของใช้จำเป็นให้ทุกท่านจำไว้เลยว่า สิ่งหนึ่งที่เราควรสังเกตเลยก็คือเครื่องหมาย อย. เพื่อความมั่นใจ และความปลอดภัยให้ตัวคุณหรือคุณที่คุณรักได้ด้วยนั่นเอง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

อยเป็นเครื่องหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทใด

เครื่องหมาย อย. คือ สัญลักษณ์ที่ย่อมาจาก “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” หรือ Food and Drug Administration เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ถูกต้อง ตรงตามมาตรฐานเกณฑ์การผลิต หรือการนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อาหารประเภทใดบ้างที่ต้องมีอย.

1.ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 2.แป้งข้าวกล้อง3.น้ำเกลือปรุงอาหาร4.ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท5.ขนมปัง 6.หมากฝรั่งและลูกอม7.วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี 8. กำหนดกรรมวิธี การผลิตอาหารซึ่งมี การใช้กรรมวิธีการ ฉายรังสี9.

ทำไมอาหารต้องมี อย

ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา สถานที่และหน่วยงานที่ทำการผลิตหรือเลขจดแจ้งได้ ผู้บริโภคสามารถรับสิทธิ์คุ้มครองจากคณะกรรมการอาหารและยา หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.

ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม

ตัวอย่าง เครื่องหมาย อย. : เลขสารบบอาหาร โดยกำหนดให้ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. : เลขสารบบอาหาร บนฉลากอาหาร 3 กลุ่ม (ตามการแบ่งกลุ่มประเภทอาหาร) ดังต่อไปนี้ 1. อาหารควบคุมเฉพาะ เช่น เครื่องดื่ม อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท และนมพร้อมดื่ม (ที่ผลิตจากนมโค) ไอศกรีมดัดแปลงสำหรับทารกเป็นต้น