เท้า แบน รักษา ที่ไหน ดี

เท้าแบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า วิธีสังเกตคือหากลองลงน้ำหนักแล้วพบว่าฝ่าเท้าทั้งหมดแนบติดพื้น หรือในบางคนอาจจะมีอุ้งเท้าเตี้ยมากกว่าปกติจนแทบมองไม่เห็นส่วนที่โค้งเว้า นั่นหมายความว่าคุณอาจมีภาวะเท้าแบน ซึ่งอาจเป็นภาวะปกติหรือผิดปกติ และอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการใด ๆ ลักษณะของภาวะเท้าแบน พบในผู้ที่มีอุ้งเท้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

เท้า แบน รักษา ที่ไหน ดี

เท้าแบนสาเหตุหลักเกิดจากอะไร
เนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกันเช่นโรคหนังยึดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)
เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างของข้อเท้าและตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอ่อนแรง (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)
เกิดจากการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บซึ่งในกรณีนี้ได้มีผลวิจัยชี้แจงออกมาด้วยนั่นก็คือพบว่าผู้ที่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ มีความสัมพันธ์กับอาการเบื้องต้นของโรคเท้าแบนนั่นก็คือเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) เจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้าและมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome)

อาการภาวะเท้าแบน
ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักเป็นมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป
อย่างไรก็ตามผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาเพิ่มเติม หากมีอาการต่อไปนี้

  • เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่รองรับเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
  • ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
  • ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
  • ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
  • รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น

เท้า แบน รักษา ที่ไหน ดี


ชนิดของภาวะเท้าแบน
ภาวะเท้าแบนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด   ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด ภาวะนี้จะปรากฏลักษณะเท้าแบน 2 แบบ ได้แก่ เท้าแบนแบบนิ่ม และเท้าแบนแบบแข็ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
    • เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด พบตอนเป็นเด็ก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าแบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
    • เท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot) เท้าแบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า
  2. ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก ทั้งนี้ สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนภายหลังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
    • เอ็นร้อยหวายสั้น (Short Archilles Tendon) ผู้ที่ส้นเท้ายกขึ้นจากพื้นก่อนส่วนอื่นของฝ่าเท้าเมื่อเดินหรือวิ่ง เกิดจากเอ็นร้อยหวายที่ยึดกระดูกส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องสั้นเกินไป ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จะรู้สึกเจ็บเมื่อเดินหรือวิ่ง
    • เอ็นเท้าอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้เกิดจากเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อน่องกับด้านในข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ บวม หรือฉีกขาด หากอุ้งเท้าได้รับการกระแทก จะทำให้รู้สึกเจ็บด้านในฝ่าเท้าและข้อเท้า

วิธีป้องกันและดูแลตนเอง สำหรับคนเท้าแบน
  • เลือกรองเท้าที่เหมาะสม ผู้มีภาวะเท้าแบนควรเลือกรองเท้าที่ มีส่วนเสริมช่วยพยุงอุ้งเท้า รวมถึงรองเท้าควรมีวัสดุแข็งหุ้มทั้งด้านข้างและหลังเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ส้นเท้าบิดหรือทำให้เท้าล้มเข้าด้านใน
  • เสริมพื้นรองภายในเท้า โดยการใช้แผ่นรองเท้าที่เหมาะสมกับสภาพของเท้า เพื่อช่วยพยุงและลดแรงการแทกไม่ให้เท้าบิดขณะวิ่งหรือเดิน ปัจจุบันมีทั้งแบบเป็นซิลิโคน แผ่นรองเท้า และวัสดุอื่นๆ มากมาย ทั้งนี้นักวิ่งควรลองสวมพร้อมรองเท้าที่ใช้ประจำเพื่อความกระชับและเหมาะสมกับเท้าของแต่ละคน รวมถึงผู้มีปัญหาเท้าแบนมากๆ ความพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเลือกอุปกรณ์เสริมที่ปลอดภัย
  • เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อหน้าแข้งด้านใน กล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า และกล้ามเนื้อในฝ่าเท้า จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บของนักวิ่งที่มีภาวะเท้าแบนได้
  • การกินยา ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ หรือการทำกายภาพด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น อัลตราซาวน์ เลเซอร์ สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะนี้เพิ่มเติมได้

โรคเท้าแบนแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงอันตราย แต่หากปล่อยไว้ก็จะทำลายความสุขและคุณภาพในการใช้ชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตรูปเท้าของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยหากสังเกตพบว่ารูปเท้าผิดรูป แบนผิดปกติ ก็ควรรีบมาพบแพทย์

เท้าแบน ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่ชอบออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือต้องเดินเยอะๆ เพราะเมื่อมีการใช้งานฝ่าเท้ามากเข้า ความรู้สึกเจ็บก็มักจะถามหาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งคำถามที่คนมักจะสงสัยกันมากก็คือ หากพบว่าตัวเองมีภาวะเท้าแบนแล้ว ควรจะหยุดเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนักเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บที่เท้าของเราหรือไม่

ทำความรู้จักกับเท้าแบน 

โดยปกติเท้าของคนเราจะมีส่วนโค้งที่ยกสูงขึ้นมาบริเวณกลางฝ่าเท้าด้านใน ซึ่งเราเรียกส่วนนั้นว่าอุ้งเท้า แต่ในคนที่มีภาวะเท้าแบนจะสังเกตได้ว่าอุ้งเท้าด้านในเตี้ยลง ร่วมกับมีปลายเท้าเอียงออกไปทางด้านข้าง วิธีสังเกตคือหากลองลงน้ำหนักแล้วพบว่าฝ่าเท้าทั้งหมดแนบติดพื้น หรือในบางคนอาจจะมีอุ้งเท้าเตี้ยมากกว่าปกติจนแทบมองไม่เห็นส่วนที่โค้งเว้า นั่นหมายความว่าคุณอาจมีภาวะเท้าแบน

อีกรูปแบบหนึ่งนอกจากการมีอุ้งเท้าที่เตี้ยแล้ว ในบางคนอาจจะสังเกตได้จากการที่นิ้วเท้าหรือปลายเท้าปัดออกไปทางด้านนอก ซึ่งกรณีนี้จะเป็นปัญหาในเรื่องของแนวกระดูก

ภาวะเท้าแบนเกิดจากอะไร มีอาการรบกวนชีวิตประจำวันมากแค่ไหน

ส่วนใหญ่แล้วเท้าแบนเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด โดยจะเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของรูปเท้าได้ตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 ขวบ แต่เพราะในวัยนี้ยังมีน้ำหนักตัวน้อย เด็กๆ จึงสามารถเดินหรือวิ่งได้ตามปกติโดยไม่มีอาการเจ็บปวด เนื่องจากเส้นเอ็นและกระดูกยังแข็งแรงอยู่

แต่เมื่อผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน บวกกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น อุ้งเท้าที่แบนอยู่แล้วก็เริ่มแสดงอาการชัดเจนขึ้น โดยจะรู้สึกเจ็บเมื่อใช้งานเยอะๆ หรือทำกิจกรรมที่ลงน้ำหนักเท้ามากๆ ส่วนมากจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น โดยระยะแรกอาการจะสัมพันธ์กับการใช้งาน ถ้าใช้งานมาก เช่น วิ่งระยะทางไกล เล่นฟุตบอล เล่นบาสเกตบอลมากๆ จะมีอาการเจ็บ แต่ต่อมาเมื่อมีอาการมากขึ้น เพียงแค่เดินปกติในระยะทางไกลขึ้นก็อาจมีอาการเจ็บได้

อาการทั่วไปของภาวะเท้าแบน

รู้ไว้ไม่เสียหาย… ภาวะเท้าแบนมี 2 แบบ

เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด สาเหตุมาจากการผิดปกติของเส้นเอ็นอุ้งเท้าด้านใน เกิดมีเส้นเอ็นเสื่อมสภาพจนไม่สามารถยกอุ้งเท้าไว้ได้ ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนและมีอาการเจ็บ 

แนวทางการรักษา: แพทย์จะแนะนำให้ใช้แผ่นรองรองเท้าเพื่อหนุนอุ้งเท้าที่แบนให้กลับมาอยู่ในทรงที่ใกล้เคียงกับปกติ รวมไปถึงการหมั่นบริหารเส้นเอ็นบริเวณอุ้งเท้าให้แข็งแรง และกินยาลดอักเสบ แต่หากรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

ภาวะเท้าแบน

เป็นรูปแบบพบได้น้อยกว่าแบบยืดหยุ่น สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระดูกเท้า เช่น มีกระดูกบางตำแหน่งเชื่อมกันอยู่อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเท้าแบนผิดรูป และมีอาการเจ็บปวดเวลาเดิน 

แนวทางการรักษา: เนื่องจากภาวะเท้าแบนแบบติดแข็งเกิดจากปัญหาของกระดูก การรักษาจึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว โดยจะเป็นการผ่าตัดแก้ไขแนวกระดูกใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีทรงเท้าที่ปกติ ซึ่งจะส่งผลให้อาการเจ็บหายไปด้วย

จริงๆ แล้วภาวะเท้าแบนไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ซึ่งสำหรับคนเป็นเท้าแบนที่มีไลฟ์สไตล์ชอบเล่นกีฬา รักการออกกำลังกาย ใช้ชีวิตแบบเอ็กซ์ตรีม หากคุณไม่ได้มีอาการเจ็บปวดขณะใช้งานก็ยังสามารถทำกิจกรรมที่ชอบได้อย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือจะต้องใส่รองเท้ากีฬาที่ช่วยหนุนอุ้งเท้า และหมั่นบริหารเส้นเอ็นบริเวณอุ้งเท้าอยู่เสมอ เพื่อเป็นการประคองและป้องกันไม่ให้อุ้งเท้าแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป เพียงเท่านี้คุณก็สามารถลุยได้ทุกกิจกรรมอย่างไม่มีลิมิต และยืดอายุการใช้งานเท้าไปได้อีกนาน

Q&A

Q: ภาวะเท้าแบนมีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไรบ้าง

ภาวะเท้าแบนมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่
1. เท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flatfoot)
เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด สาเหตุมาจากการผิดปกติของเส้นเอ็นอุ้งเท้าด้านใน เกิดมีเส้นเอ็นเสื่อมสภาพจนไม่สามารถยกอุ้งเท้าไว้ได้ ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนและมีอาการเจ็บ
2. เท้าแบนแบบติดแข็ง (Rigid Flatfoot)
เป็นรูปแบบพบได้น้อยกว่าแบบยืดหยุ่น สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระดูกเท้า เช่น มีกระดูกบางตำแหน่งเชื่อมกันอยู่อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเท้าแบนผิดรูป และมีอาการเจ็บปวดเวลาเดิน

Q: แนวทางการรักษาภาวะเท้าแบนแต่ละแบบสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

1. ภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่นแนะนำให้ใช้แผ่นรองรองเท้าเพื่อหนุนอุ้งเท้าที่แบนให้กลับมาอยู่ในทรงที่ใกล้เคียงกับปกติ รวมไปถึงการหมั่นบริหารเส้นเอ็นบริเวณอุ้งเท้าให้แข็งแรง และกินยาลดอักเสบ 

2. ภาวะเท้าแบนแบบติดแข็งเกิดจากปัญหาของกระดูก การรักษาจึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว โดยจะเป็นการผ่าตัดแก้ไขแนวกระดูกใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีทรงเท้าที่ปกติ ซึ่งจะส่งผลให้อาการเจ็บหายไปด้วย

เท้าแบนรักษาหายไหม

การรักษาภาวะเท้าแบนส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด เช่น ใช้แผ่นรองเท้า กายอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์พยุงข้อเท้าต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงและสาเหตุของโรค ร่วมกับการทำกายภาพที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย และการลดการอักเสบของเส้นเอ็นด้วยเครื่องเลเซอร์หรืออัลตราซาวนด์ ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ ...

เท้าแบน มีผลเสียอย่างไร

เมื่อมีภาวะ ปัญหา เท้าแบน จะทำให้เกิดแนวแรงกระแทก เวลาเดิน หรือลงน้ำหนัก เปลี่ยนไป ไม่ตั้งฉากกับพื้นโลก ทำให้ เส้นเอ็น และ ข้อต่อ ต่างๆ เกิดแรงกระแทกที่ไม่สมดุล และส่งผลให้เกิดการอักเสบ มีอาการปวด ตามแนวเส้นเอ็น และข้อต่อ โดยเฉพาะ เส้นเอ็นร้อยหวาย ส้นเท้า และข้อเท้า ดูรูปประกอบเลยครับ

จะรู้ได้ไงว่าเท้าแบน

เท้าแบนเป็นยังไง (แบบยืดหยุ่น) ภาวะนี้สังเกตได้ไม่ยากครับตอนที่ยืนลงน้ำหนักเต็มเท้า เท้าจะไม่มีอุ้งเท้า แต่ถ้านั่ง (ไม่ลงน้ำหนักที่เท้า) หรือยืนเขย่งเท้า ส่วนใหญ่จะมี อุ้งเท้าขึ้นมา อาการเท้าแบนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไรครับ อาจมีล้าน่องง่าย เจ็บฝ่าเท้า เจ็บส้นเท้า หรือเจ็บบริเวณต่างๆที่เท้าแล้วแต่บุคคลครับ

รองเท้ายี่ห้อไหนเหมาะกับคนเท้าแบน

แชร์ 5 รองเท้ากีฬา สำหรับคนเท้าแบน สุดปัง ที่ควรมีในปี 2023.
👟 NEW BALANCE Fresh Foam X 860v12. รองเท้ากีฬา สำหรับคนเท้าแบน ... .
👟 ASICS Gel-Kayano 28 Wide. รองเท้ากีฬา สำหรับคนเท้าแบน ... .
👟 BROOKS Glycerin 20 Wide (2E) รองเท้ากีฬา สำหรับคนเท้าแบน ... .
👟 HOKA Arahi 6. รองเท้ากีฬา สำหรับคนเท้าแบน ... .
👟 NIKE React Miler 3..