ระบบแฟ้มข้อมูล ข้อดี ข้อเสีย

ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะต้องนำเสนอข่าวสารแก่ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียเวลา และตรงตามเป้าหมาย เพื่อสามารถนำประโยชน์เอาไปใช้ได้โดยตรง  ซึ่งทุกวันนี้ยังมีการใช้สารสนเทศเป็นจำนวนมากแต่ยังคงไม่ทันเวลาต่อการใช้งาน อีกทั้งข่าวสารนั้นยังมีข้อผิดพลาดและอาจไม่ตรงประเด็น ก็เพราะว่า ข้อมูลในระบบงานมีการจัดการและดูแลอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ หันมาใส่ใจในการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ทำให้เกิดการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมา

Show
ระบบแฟ้มข้อมูล ข้อดี ข้อเสีย
ระบบสารสนเทศ

โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดรูปแบบข้อมูลแบบลำดับชั้นหรือที่เรียกอีกอย่างว่า "โครงสร้างแฟ้มข้อมูล" โดยจะเริ่มจากหน่วยเล็กที่สุดไปยังหน่วยใหญ่ที่สุด ได้แก่ บิต ไบต์ ฟิลด์ เรคอร์ด ไฟล์ และฐานข้อมูล

  1. บิต จะประกอบไปด้วยเลขฐานสอง  เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยบิตจะเพียง 1 ใน 2 ของสถานะนั้นก็คือ 0 หรือ 1 แทนสัญญาณไฟฟ้า ON หรือ OFF 
  2. ไบต์ คือบิตต่าง ๆ มารวมกันเป็นไบต์ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต ดังนั้น 1 ไบต์ สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลขึ้นมา เพื่อใช้แทนตัวอักขระให้แตกต่างถึง 256 ตัว หรือ 28 โดยไบต์มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คาแรกเตอร์ (Character) เมื่อนำกลุ่มไบต์มารวมเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็น ฟิลด์
  3. ฟิลด์ สามารถแทนความหมายหนึ่ง ๆ ได้ เช่น ฟิลด์ Name เป็นฟิลด์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเก็บชื่อ เป็นต้น โดยฟิลด์มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า แอตทริบิวด์ (Attriburte) เมื่อมีการรวมของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน ก็จะกลายเป็น เรคอร์ด
  4. เรคอร์ด ซึ่งภายในเรคอร์ดหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยฟิลด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมกันเป็นชุด เช่น ในเรคอร์ชุดหนึ่งจะมีฟิลด์ เช่น id, name, sex, address, telephone, birthdate เป็นต้น และภายในเรคอร์ดจะฟิลด์หนึ่งที่จะถูกกำหนดเป็นคีย์หลัก (Primary Key) คือ เป็นการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของฟิลด์หรือข้อมูลในเรคอร์ดนั้น ๆ ซึ่งในคีย์หลักจะไม่มีการซ้ำ สำหรับเรคอร์ดจะชื่อเรีกอีกอย่างหนึ่งว่า ทัปเพิล เมื่อเรคอร์ดมานำรวม ๆ กันก็จะกลายเป็นไฟล์
  5. ไฟล์หรือแฟ้มข้อมูล โดยไฟลืจะบรรจุเรคอร์ดต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกชื่อไฟล์ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ตาราง หรือเ ทเบิล (Table) เพราคล้ายกับตาราง 2 มิติ เมื่อนำไฟล์ต่าง ๆ มารวมกันก็จะกลายเป็นฐานข้อมูล (Databases)
ระบบแฟ้มข้อมูล ข้อดี ข้อเสีย
ลำดับชั้นของข้อมูล

ข้อจำกัดของแฟ้มข้อมูล

  • ข้อมูลเก็บแยกออกจากกัน แต่ละข้อมูลต่าง ๆ ต่างมีข้อมูลจัดเก็บเป็นตัวเอง ย่อมทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการนั้น ๆ 
  • ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน แต่ละข้อมูลต่าง ๆ ต่างมีข้อมูลจัดเก็บเป็นตัวเอง ซึ่งในข้อมูลที่ซ้ำซ้อน จะก่อให้เกิดข้อผิดพลาดของข้อมูล โดยมี 3 ประการ ได้แก่ ข้อผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล ข้อผิดพลาดจากการลบข้อมูล และข้อผิดพลาดจากการอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล
  • ข้อมูลที่มีความขึ้นต่อกัน ด้วยโครงสร้างทางการยภาพและการจัดเก็บของข้อมูลด้วยวิธีการจัดแฟ้มข้อมูลจะผูกติดกับภาษาโปรแกรมนั้น ๆ ดังนั้น ถ้าหากมีการแก้ไขหรืออัปเดตขึ้นมา ก็จะเป็นสิ่งที่ยุ่งยากอย่างมาก
  • ความไม่เข้ากันของรูปแบบแฟ้มข้อมูล เมื่อมีโครงสร้างข้อมูลที่ถูกตึงหรือติดกับภาษาโปรแกรม ทำให้การตัวโครงสร้างสร้างแฟ้มข้อมูลก็จะขึ้นอยู่กับภาษาโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา
  • รายงานต่าง ๆ มีความคงที่และตายตัว เนื่องจากระบบแฟ้มข้อมูลนั้น ๆ จะขึ้นตรงกับภาษาโปรแกรมที่ใช้เขียน ดังนั้น รายงานหรือการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ตัวระบบงานจะจัดเตรียมมาให้เท่าที่มีเท่านั้น ผู้ใช้งานจะไม่สามารถสร้างขึ้รเองได้ เนื่องจากต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมนั้น ๆ 

ดังนั้นแฟ้มข้อมูลเป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพการเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกประเภทข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ

อ้างอิง :

1.5 ข้อดี-ข้อเสียของระบบแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/database77772222/home/1-5-khxdi-khx-seiy-khxng-rabb-faem-khxmul-laea-than-khxmul

ระบบแฟ้ม (File system) ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.thaiall.com/os/os08.htm

ข้อมูล (Data) ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page44.htm

1.ระบบฐานข้อมูล (Database System)

หมายถึง ระบบที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบมีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่ชัดเจน ในระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มที่มีข้อมูล เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและดูแลรักษาป้องกันข้อมูลเหล่านี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีซอฟต์แวร์ที่เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (data base management system)มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล

2.ข้อดีเเละข้อเสียของระบบฐานข้อมูล

ข้อดี 1. ลดความจำเจของงานดูแลเอกสาร ซึ่งเป็นงานประจำที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเบื่อหน่าย และขาดแรงจูงใจ แต่เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานนี้แทนมนุษย์ได้ โดยผ่านโปรแกรมสำหรับการจัดการฐานข้อมูล2.ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ3.ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากการจัดทำฐานข้อมูลจะมีการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ เข้ามาจัดเก็บไว้ในระบบและเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้  เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลด้วย4.หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล จะทำให้ข้อมูลลดความซ้ำซ้อนลง คือ มีข้อมูลแต่ละประเภทเพียงหนึ่งชุดในระบบ ทำให้ข้อมูลที่เก็บได้ไม่ขัดแย้งกันเอง ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อสาเหตุบางประการ เช่น เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลที่ซ้ำกันให้มีความถูกต้องตรงกัน5. ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกันข้อเสีย 1. เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากราคาของโปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำระบบการจัดการฐานข้อมูล2 .เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าที่เก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ

3.ระบบเเฟ้มข้อมูล(File System)  

หมายถึง สิ่งที่ผู้ใช้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มักไม่รู้ตัวเนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกโดยระบบปฏิบัติการอย่างอัตโนมัติ ระบบแฟ้มเป็นฐานที่ทำให้เกิดการจัดการโปรแกรม และข้อมูลในทุกการดำเนินงานของระบบซอฟท์แวร์ที่เข้าควบคุมสื่อเก็บข้อมูล

ระบบแฟ้มประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1)รวมรวมแฟ้ม (Collection of Files) เก็บข้อมูลที่สัมพันธ์ให้ถูกอ้างอิงได้ในรูปแฟ้มข้อมูล 2)โครงสร้างแฟ้ม (Directory Structure) จัดการอำนวยการเข้าถึงแฟ้มและจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ 3)พาทิชัน (Partitions) ซึ่งแยกเป็นทางกายภาพ (Physically) หรือทางตรรก (Logically) ของระบบไดเรกทรอรี่ (Directory) โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงแฟ้ม และโครงสร้างไดเรกทรอรี่ รวมถึงการป้องกันแฟ้ม จากการเข้าถึงในระบบ Multiple users และระบบ File sharing

4.ข้อดีข้อเสียของระบบเเฟ้มข้อมูล

ข้อดี 1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้ ( Inconsistency ) 

2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย

3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล อาจทำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันถูกเก็บไว้หลาย ๆ แห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Reclundancy ) การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนได้

4. รักษาความถูกต้อง ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น เช่น การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เพราะในระบบฐานข้อมูลจะมีกลุ่มบุคคลที่คอยบริหารฐานข้อมูล กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน

5.โครงสร้างข้อมูลของระบบเเฟ้มข้อมูล เเละฐานข้อมูล

ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) 

ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีขนาดต่างกัน ดังนี้

1. บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ได้แก่ เลข และ เลข 1

2. ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,1…9,A, B,…Z   ซึ่ง ไบต์ จะเท่ากับ บิต หรือ ตัวอักขระ ตัว

3. ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อสกุล เป็นต้น

4. เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายฟิลด์และมีความสัมพันธ์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง

5. แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ ( Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็นเรื่องเดียวกันเช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ม.1/1 จำนวน 50 คน ทุกคนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของนักเรียนจำนวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล 

6. ฐานข้อมูล (Database)

คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องมารวมกัน

6.องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลมีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่-ข้อมูล (Data)-ฮาร์ดแวร์ (Hardware)-ซอฟต์แวร์ (Software)-ผู้ใช้ (Users)1. ข้อมูลข้อมูลจะต้องเป็นข้อมูลรวมและแบ่งปันกันได้ (Both Integrated and Shared) ข้อมูลรวม (Integrated) ในฐานข้อมูล หมายถึง อาจมีข้อมูลซ้ำซ้อนกันระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยที่สุ หรือเท่าที่จำเป็น เช่น แฟ้มข้อมูลชื่อ EMPLOYEE กับ ENROLLMENT2. ฮาร์ดแวร์ฮาร์ดแวร์ของระบบฐานข้อมูลประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ที่เก็บข้อมูลสำรอง(Secondary Storage Volumes) เพื่อเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์นำเข้า/ส่งออกข้อมูล(ดิสก์ไดร์ฟ), ตัวควบคุมอุปกรณ์, ช่องนำเข้า/ส่งออกข้อมูลตัวประมวลผลฮาร์ดแวร์หน่วยความจำหลัก ที่สนับสนุนการทำงานของระบบฐานข้อมูล3. ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ในที่นี้คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือระบบบริหารฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยซ่อนกับผู้ใช้ฐานข้อมูลจากรายละเอียดระดับฮาร์ดแวร์ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้รู้จักฐานข้อมูลในระดับที่อยู่เหนือระดับฮาร์ดแวร์และช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใช้4. ผู้ใช้ผู้ใช้ (Users) มี 3 กลุ่ม ได้แก่-โปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง

ข้อใดเป็นข้อดีของระบบแฟ้มข้อมูล

เราต้องการ สืบค้นแฟ้มข้อมูล) ข้อดี จัดเก็บง่าย ข้อเสีย ค้นหายาก เพราะในการค้นหาข้อมูลแต่ละครั้งจะต้องค้นหาจากต้น File เสมอ แล้วค้นหาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบ ดังนั้น Access Time (เวลาในการค้นหา ข้อมูลแต่ละตัว) จะไม่เท่ากัน โดย Access Time ของข้อมูลที่อยู่ต้น File จะน้อยกว่า Access Time ของข้อมูลที่อยู่ท้ายๆ ของ File.

ข้อจำกัดของระบบแฟ้มข้อมูลมีอะไรบ้าง

โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบดัชนี (Indexed File Organizations) ข้อเสียของการจัดการข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล 1. ข้อมูลมีการเก็บแยกจากกัน (Data Isolation) 2. เกิดความซ้าซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) 3. ข้อมูลมีความขึ้นต่อกัน (Data dependence) 4. ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล (Data Inconsistency) 5. รายงานต่างๆ ถูกกาหนดไว้อย่างจ ากัด

ข้อเสียของระบบประมวลผลไฟล์คืออะไร?

จึงมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ส่วนข้อเสีย คือ มีต้นทุนสูง มีความ ซับซ้อน การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ และการสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้