คณะ ศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะ ศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะ ศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี

3 สาขาวิชา

1.ไทย : วิศวกรรมซอฟต์แวร์

อังกฤษ : Software Engineering (International Program)

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2558 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

เป็นสาขาวิชาที่ผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์และระบบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่สามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์อัลกอริทึม การออกแบบระบบซอฟต์แวร์และเขียนโปรแกรม การบริหารจัดการ ตลอดจนการใช้ภาษาต่างประเทศ เพื่อสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงตามพลวัตโลก และเป็นระบบที่ได้มาตรฐานคุณภาพกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ นานาชาติได้แก่ CMMI, ISO 29110 การออกแบบหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์นี้ มุ่งให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ และฝึกฝนทักษะโดยผ่านสหกิจศึกษาซึ่งเป็นการจัดการศึกษาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการประยุกต์องค์ความรู้ ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในสถานประกอบการ มีความพร้อมในการเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สามารถแข่งขันเป็นนักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในระดับนานาชาติ มีทักษะการสื่อสารด้านภาษาต่างประเทศ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมร่วม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างด้านภาษาหรือวัฒนธรรมได้ รวมทั้งสามารถศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองตลอดชีวิตด้วยพื้นฐานองค์ความรู้ที่มีอยู่

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (นานาชาติ) สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานของภาครัฐ หรือ หน่วยงานเอกชนได้ โดยมีอาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา อาทิเช่น

  1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
  2. โปรแกรมเมอร์ หรือ นักพัฒนาระบบ (Programmer or Developer)
  3. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer)
  4. นักทดสอบโปรแกรม (Software Tester)
  5. ผู้ประกอบการบริษัทซอฟต์แวร์ (Software Entrepreneur)
  6. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
  7. วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Engineer)
  8. สถาปนิกซอฟต์แวร์ (Software Architect)
  9. นักบูรณาการระบบ (System Integrator)

2.ไทย : แอนนิเมชันและเกม

อังกฤษ : Animation and Games

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2558 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาแอนนิเมชันและเกมระดับปริญญาตรีมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถนำเอาองค์ความรู้ทางด้านแอนนิเมชัน เกม และการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ มาสร้างผลงาน ซึ่งมีวิธีดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายโดยมีการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย และเน้นการฝึกปฏิบัติกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาทักษะ การสร้างสื่อแอนนิเมชัน และเกมที่ครบวงจร ในบรรยากาศของการทำงานร่วมกันและมีจิตสำนึกของการสร้างสรรค์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมในการผลิตผลงาน

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแอนนิเมชันและเกม สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานของภาครัฐ หรือ หน่วยงานเอกชนได้ โดยมีอาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา อาทิเช่น

  1. ดิจิทัล อาร์ตติส (Digital Artist)
  2. โปรดิวเซอร์ (Producer)
  3. ผู้กำกับภาพยนตร์ดิจิตัล (Movies Director)
  4. แอนนิเมเตอร์ (Animator)
  5. นักออกแบบภาพเสมือนจริง (Designer)
  6. ผู้ควบคุมการผลิตเกม (Game Producer)
  7. นักพัฒนาเกม (Game Developer)
  8. นักออกแบบกราฟิกสำหรับเกม (Graphic Game Designer)
  9. นักทดสอบเกม (Game Tester)

3.ไทย : การจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ

อังกฤษ : Management and Information Technology

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2557 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ หรือบูรณาการกระบวนการธุรกิจ (Business Process) ขององค์กรเพื่อสนับสนุน ยกระดับการทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและองค์กร ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลก ด้วยการสอนทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) และการฝึกงาน (Workplace Internship) ที่มีความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ และสถานประกอบการ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานจริง สนับสนุนการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตในเขตภาคเหนือตอนบน และประเทศ ตามปณิธานของมหาวิทยาลัย

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานของภาครัฐ หรือ หน่วยงานเอกชนได้ โดยมีอาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา อาทิเช่น

  1. นักวิเคราะห์ออกแบบพัฒนา หรือให้คำปรึกษา ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Systems Analyst/Designer/Developer/Consultant)
  2. นักพัฒนาระบบสารสนเทศกิจการ (Enterprise Systems Developer)
  3. ผู้ปฏิบัติงานขั้นสูงเกี่ยวกับระบบสารสนเทศกิจการ (Enterprise Systems Super-User)
  4. รับราชการพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานเอกชน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. ประกอบอาชีพส่วนตัว

คณะ ศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะ ศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.camt.cmu.ac.th