ปัจจัยของการจัดกิจกรรมนันทนาการ

สรุปบทที่ 7

การจัดและบริหารโปรแกรมนันทนาการ

             การจัดโครงการนันทนาการทุกประเภทจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายวางไว้ต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การวางแผน การเขียนโครงงาน การจัดทำโครงการนันทนาการ
ให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ สถานที่ วัสดุ และอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรม

กระบวนการวางแผน

       การวางแผนที่ดีจะช่วยให้การจัดโครงการนันทนาการดำเนินตามวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้ด้วยดี        การประสานงานระหว่างผู้นำกิจกรรมนันทนาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย รู้สึกอย่างไรต่อกิจกรรมนันทนาการ อายุ เพศ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการต้องใช้เกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อจะได้ใช้กิจกรรมนันทนาการที่สอดคล้องกับอายุและเพศของผู้เข้าร่วม ความช่วยเหลือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต้องติดต่อประสานงานล่วงหน้า

การเขียนโครงการนันทนาการ

ผู้เขียนโครงการนันทนาการจะต้องมีความรู้กับการเขียน ประกอบด้วยดังนี้

  1. ชื่อโครงการ

เป็นการระบุเพื่อให้มทราบว่าโครงการ ต้องการสื่ออะไร แนวทางปฏิบัติ อย่างไร

  1. ความสำคัญและที่มาของโครงการหรือหลักการและเหตุผล

บอกความเป็นมาของโครงการ สำคัญอย่างไร เกิดปัญหาอะไรขึ้น เทคนิค วิธีการในการแก้ปัญหา โดยมีที่มาของโครงการและเหตุผลรองรับ

  1. การกำหนดวัตถุประสงค์

 คือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเป็น
ไปตามเป้าหมายที่วางไว้

  1. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการ

การระบุเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แสดงให้เห็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้และต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อให้วัดความสำเร็จของโครงการได้

  1. การกำหนดกิจกรรม

ขั้นตอนหรือลายละเอียดของโครงการ ที่เป็นผลจากการปฏิบัติและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

  1. การกำหนดระยะสั้นและขั้นตอนของการดำเนินงาน

การกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นสิ้นสุด แผนดำเนินงาน ช่วงเวลากิจกรรมที่จะปฏิบัติ

  1. กำหนดทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ

ปัจจัยนำเข้า เช่น วัสดุ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เป็นผลให้นำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยคำนึงถึงหลัก 4 E ได้แก่ E1 Economy คือ ประหยัด E2 Efficiency คือ หลักประสิทธิภาพ E3 Effective หลักประสิทธิผล E4 Equity หลักยุติธรรม

  1. งบประมาณของโครงการ

ค่าใช่จ่ายที่เป็นส่วนสำคัญของโครงการเพื่อพิจารณาคุ้มค่ากับการลงทุนเพียงใด

  1. ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น

ผลที่เกี่ยวข้องกับโครงการอื่น เช่น ทักษะการเขียน ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

  1. ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่จะเกิดขึ้นในภาคหน้าเมื่อจบโครงการนี้ไปแล้ว ว่ามีผลตอบแทนเพียงใด

  1. การวัดและการประเมินผล

ประเมินตั้งแต่เริ่มโครงการ จนสิ้นสุดโครงการ โดยประเมินความก้าวหน้า และสรุปผล

ปัจจัยของการจัดกิจกรรมนันทนาการ

หลักการเบื้องต้นของการจัดโครงการนันทนาการ

ในการจัดโครงการนันทนาการต้องคำนึงถึงความต้องการ ความสนใจ ความเหมาะสมของเพศและอายุ ให้เหมาะสม  เป็นกิจกรรมที่ต้องมีคุณค่าให้ผู้เข้าร่วมได้รับเมื่อจบโครงการและก่อให้เกิดพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา ให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเท่าเทียมกัน
ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์ที่ดี เน้นสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดี การรู้จักรับผิดชอบ แบ่งปัน เคารพสิทธิผู้อื่น มีกิจกรรมสร้างความบันเทิง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จะต้องเป็นกิจกรรมที่ดีมีความปลอดภัย
ไม่ขัดต่อกฎหมายและประเพณี เช่น กิจกรรมค่ายอนุรักษ์ ค่ายฝึกความผู้นำ

การจัดผู้นำนันทนาการ

การจัดโครงการนันทนาการนั้นสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้นำกิจกรรม โดยผู้นำกิจกรรมต้องเป็น
ผู้มีประสบการณ์และได้รับการฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญ มีทักษะการดำเนินงาน วิธีการสร้างความประทับใจแรกเริ่ม คอยให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าร่วม ให้ได้รับความพึงพอใจ โดยผู้นำกิจกรรมควรมี 5 – 10 คน แล้วแต่กิจกรรม มีการกำหนดหน้าที่เป้าหมายอย่างชัดเจน และต้องมีการประชุมเพื่อสรุปผลอยู่เสมอ

การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก

การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นการจัดเรื่องสถานที่ อุปกรณ์ให้พร้อมแบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. สิ่งอำนวยความสะดวกกลางแจ้ง

เช่น สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ที่ตั้งค่าย อาคาร แหล่งการเรียนรู้ แหล่งธรรมชาติ

  1. อุปกรณ์

เช่น อุปกรณ์ส่วนตัวในการพักค่าย อุปกรณ์กลางที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม วัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้แล้วหมดไป

การประเมินผลโครงการนันทนาการ

โครงการทุกประเภทต้องมีการประเมินและต้องมีความต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ทันท่วงที และเมื่อสำเร็จควรแก้ไขข้อบ่งพร่องในโอกาสถัดไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบผลการดำเนินโครงการมีผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด เพื่อตรวจสอบผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการตอบสนองความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทันที เมื่อจบโครงการแล้วผู้เข้าร่วมได้รับผลประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่

ประเมินเชิงปริมาณ

            บอกตัวเลข ในเชิงรูปธรรม ระบุคนหรือจำนวนได้

ประเมินเชิงคุณภาพ

       บอกในเชิงนามธรรม ว่าผู้เข้าร่วมกิจรรมนี้มีความพึงพอใจ สีหน้า อารมณ์ผู้เข้าร่วม ภาพถ่าย วิดีโอที่แสดงการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมกับคน เป็นต้น

การวัดผล

ในการวัด จะต้องวัด 2 ด้าน คือ

  1. วัดผู้เข้าร่วม ความสนใจของผู้เข้าร่วม ความพึงพอใจ จำนวน ทักษะและทัศนะคติที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วม
  2. วัดโครงการทั้งหมด โครงการตอบสนองความต้องการหรือไม่ ผู้เข้าร่วม ผู้สนใจ มากน้อยเพียงใด ทักษะความสามารถของผู้นำกิจกรรม การนิเทศ การบริหาร อุปกรณ์ อำนวยความสะดวก ระยะเวลาในการดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ ผลประโยชน์ของโครงการที่มีต่อชุมชน

วิธีการวัดผล

  1. การสำรวจ เพื่อให้ทราบความสนใจ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ และในด้านต่าง ๆ
  2. สัมภาษณ์ ผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ตามที่สิ่งที่ต้องการทราบ
  3. แบบสอบถาม เพื่อวัดความต้องการที่จะทราบให้ตอบ

การจัดโครงการนันทนาการ จำเป็นต้องคำนึงถึง อายุ เพศ ความต้องการ ความสนใจของผู้เข้าร่วมเพื่อให้จัดโครงการได้อย่างเหมาะสม การเขียนโครงการที่สอดคล้องกันในทั้งลายละเอียดขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมที่เกิดแรงจูงใจ สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เ

ข้าร่วม ให้รู้จักปฏิสัมพันธ์กับคนและสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นไม่เบื่อหน่าย ท้าทาย ค้นหา แสดงความสามารถ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทำให้เกิดความสมบูรณ์และความต่อเนื่องของการดำเนินงาน และต้องมีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปพัฒนา ปรับใช้ ในโอกาสต่อไป

ปัจจัยของการจัดกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

การจัดโครงการนันทนาการทุกประเภทจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายวางไว้ต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การวางแผน การเขียนโครงงาน การจัดทำโครงการนันทนาการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ สถานที่ วัสดุ และอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรม กระบวนการวางแผน

องค์ประกอบของกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบที่สำคัญของนันทนาการ (ผศ.เอนก หงษ์ทองคำ,2542) ประกอบด้วย เป็นกิจกรรม (Activity) ทำในเวลาว่าง (Leisure Time) โดยความสมัครใจ (Voluntary)

กิจกรรมนันทนาการมีความสําคัญอย่างไร

กิจกรรมนันทนาการจะช่วยส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล และสังคม เพราะกิจกรรมนันทนาการ เป็นการช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและ สมรรถภาพทางกายและจิตใจ นอกจาก นี้ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่ม ประชากรทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ยากจน แออัด มั่งมี กลุ่มบุคคลพิเศษ