อธิบาย ความ หมาย ของ Two-way communication ในส่วนประสม การส่งเสริมการตลาด

Marketing & Communication(MARCOM)

                 การสื่อสารการตลาด (Marketing Communication) หมายถึงการสื่อความหมายของกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างการยอมรับระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค โดยมุ่งหวังให้เกิดผลสำคัญคือช่วยกระตุ้นการขาย และสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า กิจกรรมการสื่อสารการตลาดจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง

บทบาทและหน้าที่ของงาน Marketing & Communication

ภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาดจะเกิดขึ้นและคงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องยืนยาว ตลอดจนมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีตลอดเวลา และสามารถส่งเสริมการดำเนินธุรกิจขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัย 

กระบวนวิธีของการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way Communication) และ การสื่อสารเพื่อชักจูงใจ (Persuasive Communication) โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ ตามขั้นตอนดังนี้ 

  • สำรวจวิเคราะห์ภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาดของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
  • วิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาดและเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจ
  • กำหนดเป้าหมายภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาดที่พึงประสงค์ 
  • กำหนดเครื่องมือ (Tools) การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรืออัตลักษณ์ขององค์การ (Corporate Identity) ซึ่งต้องมีทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกายภาพ (Physical) อันประกอบด้วยรูปทรง เส้น สี ที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสได้โดยตรง ตั้งแต่อาคารสำนักงาน การตกแต่งสถานที่ ป้ายสัญลักษณ์ เครื่องแบบพนักงาน ชั้นวางสินค้า ฯลฯ และในด้านกิจกรรมดำเนินงาน (Performance) เช่น การจัดกิจกรรมทางการตลาด การจัดโครงการรณรงค์เพื่อสังคม ฯลฯ
  • การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดและการวางแผนการสื่อสาร ซึ่งครอบคลุมทั้งแผนกิจกรรมและแผนการใช้สื่อในทุก ๆ เครื่องมือ โดยมีหัวข้อสำคัญหรือแนวคิดหลัก (Theme) เป็นตัวควบคุมข่าวสารในทุกเครื่องมือให้มีความเป็นเอกภาพตลอดทั้งโครงการ 
  •  ปฏิบัติการสื่อสารตามแผนโดยอาศัยกลยุทธ์การใช้สื่อและการนำเสนอสารที่เป็นเอกภาพ

  • หน้าแรก

  • การตลาดออนไลน์

  • 6 เครื่องมือการทำการตลาด!!

     

อธิบาย ความ หมาย ของ Two-way communication ในส่วนประสม การส่งเสริมการตลาด

       การสื่อสารการตลาด คือการนำการสื่อสาร และการตลาดมาร่วมกัน ทำให้มีรูปแบบเป็นกระบวนการที่ผสมผสานกันระหว่างกระบวนการสื่อสาร และกระบวนการทางการตลาดไว้ด้วยกันอย่างลงตัว โดยการสื่อสารการตลาด สามารถทำได้ด้วยการใช้ 6 เครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพ ดังนี้

1. การโฆษณา คือ กิจกรรมทางการตลาดที่จัดทำขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการขาย เพิ่มกำไร แนะนำผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในตลาด และการโฆษณามักจะถูกนำมาใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อต้องการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ในเวลาอันรวดเร็ว และขยายเป็นวงกว้าง
  • เพื่อยึดตำแหน่งครองใจผู้บริโภค ซึ่งก็คือการทำให้สินค้าที่มีรูปแบบการใช้งานที่เหมือนกัน มีความแตกต่างกันในด้านความรู้สึก โดยการใช้สโลแกน หรือการใช้คำเฉพาะ
  • เพื่อสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ หากคุณเริ่มต้นธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ต้องการให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้น การทำโฆษณาก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจของคุณดูยิ่งใหญ่ และส่งผลกระทบให้ภาพลักษณ์ และถูกพูดถึงมากขึ้น
  • ย้ำตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ หากสินค้า และบริการของคุณเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว การทำโฆษณาสามารถทำเพื่อย้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของคุณที่อยู่ในใจของลูกค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

 

อธิบาย ความ หมาย ของ Two-way communication ในส่วนประสม การส่งเสริมการตลาด

2. การประชาสัมพันธ์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งอย่าง ที่นับวันจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสริมเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ หรือสินค้าทั้งทางตรง และทางอ้อม จึงมักถูกนำมาใช้ในกรณีต่อไปนี้

  • ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ จะใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน ให้อยู่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
  • เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักตัวตนของสินค้าที่เป็นชนิดเดียวกันแต่ต่างกันที่แบรนด์ และยี่ห้อ โดยทำการแนะนำข้อแตกต่าง หรือข้อดี ของผลิตภัณฑ์ว่ามีความแตกต่างกับแบรนด์อื่นยังไง
  •  เพื่อส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ เป็นการให้ข้อมูลที่มากกว่าการโฆษณา และสามารถส่งเสริมการขายเป็นอย่างดี

3. การสื่อสารการตลาดทางตรง เป็นการทำการตลาดโดยการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ระหว่างธุรกิจ กับผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายโดยตรง โดยการสื่อสารการตลาดทางตรงมักถูกใช้ในกรณีต่อไปนี้

  • ก่อนการทำการตลาดทางตรงหากมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่ดี จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดลดลง และทำการตลาดได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น
  • เพื่อทำให้เป็นการทำการตลาดแบบส่วนตัว โดยการส่งจดหมายให้ลูกค้าโดยตรง ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกพิเศษที่ตนเองก็ได้รับเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมาย และทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกเป็นส่วนตัวด้วย
  • เพื่อให้เกิดการติดตามผล เช่นการโฆษณาคอนโดมิเนี่ยมโดยการส่งบัตรเชิญชมห้องตัวอย่าง และติดตามผลของผู้ที่เข้ามาชม ว่ามีการตอบรับมากน้อยแค่ไหน
  • เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ คือการทำการตลาดโดยสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงด้วยการพูดคุย หรือผ่านข้อความ ซึ่งการพูดคุยถือเป็นพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์

  

อธิบาย ความ หมาย ของ Two-way communication ในส่วนประสม การส่งเสริมการตลาด

4. การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด เป็นการทำการตลาดเพื่อจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขายที่เร็วขึ้น และถูกใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • การหาลูกค้าใหม่ เป็นการทำให้ลูกค้าที่ไม่เคยใช้สินค้า และบริการมาก่อน เกิดความสนใจ และต้องการซื้อสินค้า อาจเป็นการ ลด แลก แจก แถม
  • เพื่อรักษาลูกค้าเก่า ในกรณีที่คู่แข่งขันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การส่งเสริมการขายก็มีส่วนเข้ามาช่วยในการรักษาลูกค้าเก่าไว้ อาจทำได้ด้วยการจัดโปรโมชั่นเพื่อให้ลูกค้าหันกลับมาสนใจผลิตภัณฑ์ของคุณอีกครั้ง
  • เพื่อส่งเสริมยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น ให้ผลิตภัณฑ์ของคุณถูกซื้อออกไปมากขึ้น หรือการถูกซื้อออกไปอย่างต่อเนื่อง หรือกลับมาซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง
  • เพิ่มอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น อาจทำขึ้นมาในรูปแบบการสะสมแต้ม เพื่อรับของแถม หรือเพื่อแลกของแถมตามกติกาที่ได้กำหนดไว้

5. สื่อสารแบบส่วนตัว หรือการสื่อสารโดยพนักงาน เป็นการสื่อสารทางการตลาดแบบใช้พนักงานขาย มักจะถูกใช้กับสินค้าที่มีรายละเอียดการใช้งาน หรือวิธีการใช้งานที่ซับซ้อน และในกรณีต่อไปนี้

  • เมื่อสินค้าเหมาะกับการใช้งานโดยการสื่อสารแบบส่วนตัว อย่างประกันชีวิต ประกันรถยนต์ หรือแม้กระทั่งการซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ลูกค้าล้วนต้องการข้อมูลของสินค้าอย่างละเอียด
  • เมื่อสินค้ามีความซับซ้อน เพื่อให้พนักงานอธิบายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน ที่ไม่สามารถขายทางอินเทอร์เน็ต หรือการวางขายตามหน้าร้านปกติ

6. การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดสามารถเป็นตัวกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายได้ มักจะถูกใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อต้องการขายโดยใช้พนักงาน เพราะการใช้พนักงานขายสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า และสามารถประหยัดเงินทุนในการทำโฆษณาทางการตลาดได้ดี
  • เมื่อต้องการใช้การสนับสนุนการตลาดสำหรับผู้ค้าปลีก จะถูกใช้ในกรณีผู้ค้าปลีกรู้ตลาดดีกว่าผู้ผลิต และผู้ค้าปลีกมีชื่อเสียงดีกว่าผู้ผลิต
  • เมื่อต้องการใช้การโฆษณาร่วมกันของผู้ผลิต กับผู้ค้าปลีก เพื่อให้ผู้ค้าปลีกกล่าวถึงสินค้า หรือให้ผู้ผลิตกล่าวถึงสินค้า และออกค่าใช้จ่ายในการโฆษณาร่วมกัน

   

อธิบาย ความ หมาย ของ Two-way communication ในส่วนประสม การส่งเสริมการตลาด

    การสื่อสารทางการตลาด ถูกทำขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการทำการตลาดในเรื่องของการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ให้กับผู้บริโภคนี้จึงเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรพลาดหากต้องการทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินต่อไปได้อย่างยาวนาน

ขอบคุณแหล่งที่มา : am2bmarketing

การส่งเสริมการตลาดตัวใดเป็นการสื่อสารสองทาง

(Personal Selling) การขายโดยการใช้บุคคล 1. เป็นวิธีการส่งเสริมการตลาดโดยการใช้ พนักงานขาย ซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication)

ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) คือเรื่องใด

ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotion mix) 1. การโฆษณา (Advertising) 2. การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) 3. การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) 4. การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public Relation) 5. การตลาดทางตรง (Direct Marketing)

ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดมีกี่ประการ อะไรบ้าง

ส่วนประสมการตลาด ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) การจัดจำหน่าย (Place) การกำหนดราคา (Price) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เราสามารถเรียกส่วนประสมทางการตลาดได้อีกอย่างหนึ่งว่า 4'Ps ส่วนประกอบทั้ง 4 ตัวนี้ ทุกตัวมีความเกี่ยวพันกัน P แต่ละตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารการตลาดแต่ละคนจะวางกลยุทธ์ โดยเน้น ...

Consumer Promotion คืออะไร

2.3.1 การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (consumer promotion) เป็นการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค คนสุดท้าย (ultimate consumer) เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อจำนวนมากขึ้น ตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วขึ้น เกิดการทดลองใช้ถือว่าเป็นการใช้กลยุทธ์ดึง (pull strategy)