ตัวอย่างการประเมินงานทัศนศิลป์

การประเมินและวิจารณ์
งานทัศนศิลป์

การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

การประเมินและวิจารณ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศคกษา
สาระทัศนศิลป์ เพราะจะช่วยสะท้อนทัศนะ ความรู้สึก ความคิดเห็น
ที่ผู้ชมมีต่อผลงานที่ตนได้พบเห็นแต่การประเมินและการวิจารณ์ที่
มีประโยชน์ จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้ าให้แก่วงการศิลปะ จะต้อง
มีการสร้างเป็นเกณฑ์ที่ตรงตามหลักการ มีความถูกต้อง และเป็นที่
ยอมรับ ทั้งนี ข้อมูลที่เป็นผลจากการวิจารณ์ ผู้สร้างสรรค์ต้องเปิด
ใจให้กว้าง และเก็ยเอาสาระที่เป็นประโยชน์นำไปปรับปรุง แก้ไข
พัฒนาผลงานของตนให้มีความก้าวหน้ า นอกจากนี้ ผลงานทัศน
ศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้น ควรรวบรวมมาทำเป็นแฟ้ มสะสมผลงาน
เพื่ อจะได้เห็นพัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ของตน
ได้ง่ายขึ้น

การประเมินและวิจารณ์
งานทัศนศิลป์

หลักการทั่วไปใน ความสำคัญในการ
การประเมินและ พัฒนาผลงานทัศน
วิจารณ์งานทัศนศิลป์
ศิลป์
การสร้างเกณฑ์การ
ประเมินและวิจารณ์ การจัดทำแฟ้ มสะสม
งานทัศนศิลป์
งานทัศนศิลป์

หลักการทั่วไปในการประเมิน
และวิจารณ์งานทัศนศิลป์

หลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

ปั จจุบันแนวคิดและค่านิยมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
มาก ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรับเอาวิทยาการของโลกตะวันตกมาใช้
ส่งผลให้การศึกษาศิลปวิทยาการมีระเบียบมากขึ้น รวมทั้งวิธีการศึกษากลุ่ม
สาระการเรียนรู้ศิลปะในหัวข้อเกี่ยวกับการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ได้รับ
การกำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้ นฐานในแต่ละระดับอย่างเป็ นรูป
ธรรมอีกด้วย

ในระดับชั้นที่ผ่านมา ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าการวิจารณ์ หมายถึง
การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความรู้ ความเข้าใจจาก
ประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่พบเห็น
แม้ว่าจะเป็นการชื่นชม หรือกล่าวที่แนะผลงานนั้น ทั้งนี้ การวิจารณ์จะต้อง
มีเหตุมีผล เพื่อมุ่งหวังปรับปรุงผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์นั้นๆ ให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยสุจริตใจและต้องมีความสุภาพ

ดังนั้น การที่จะพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการพูด การเขียน
คือการแสดงออกทางความคิดเกี่ยวกับการประเมินและการวิจารณ์งาน
ทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรจะต้องฝึกฝนสร้างความคุ้น
เคยกับการประเมินและการวิจารณ์ตั้งแต่ในชั้นเรียน ด้วยการลงมือปฏิบัติ
และสั่งสมประสบการณ์ตรงในการสร้างสรรค์ผลงาน ประเมินงาน บริการ
งานพร้อมๆ กันไป โดยมีหลักการที่พึงทำความเข้าใจ ดังนี้

1.วงจงการ 3.การประเมิน
ประเมินและ งานทัศนศิลป์

วิจารณ์

2.ภาษากับ 4.หลักใน
การวิจารณ์ การประเมิน
งานทัศนศิลป์

1. วงจรการประเมินและวิจารณ์

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินและ
วิจารณ์งานทัศนศิลป์จะต้องรับรู้ถึงองค์ประกอบ หรือ
วงจรที่เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน
อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

- ศิลปิ น เป็นผู้ทำหน้ าที่สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
ขึ้นมาด้วยความตั้งใจ ตามความคิด จินตนาการ และ
ทักษะของตน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของใคร
รวมทั้งศิลปิ นจะต้องมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า
"พรสวรรค์" ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
ออกมาเป็นภาษาทางทัศนศิลป์ ประการสำคัญ คือ
ศิลปินจะต้องเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์ที่กว้างขวาง มีความ
เข้าใจในชีวิตมนุษย์และปรัชญาการดำรงชีวิตของ
มนุษย์

- ผลงาน คือ รูปแบบผลงานทัศนศิลป์ที่ศิลปินใช้เป็นส่วนหนึ่งภาษา
หรือสื่อกลางที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
ออกมา ซึ่งภาษาทางทัศนศิลป์เป็นภาษาที่เกิดจากการมองเห็น หรือจากการ
สัมผัสด้วยตา

ทั้งนี้ ทัศนธาตุจะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เห็นได้จากงานทัศนศิลป์
ซึ่งลักษณะของทัศนธาตุมีหลายแบบ แต่ละแบบก็จะสะท้อนให้เห็นถึงความ
หมายที่ถูกถ่ายทอดออกมา เช่น

เส้นตั้ง เส้นตรงแนวตั้งให้ความหมายเกี่ยวกับความมั่ง
คง แข็งแรง สูงเด่น สง่างาม น่าเกรงขาม

เส้นนอน เส้นระดับ เส้นตรงแนวนอน หรือเส้นระดับให้ความหมาย
เกี่ยวกับความราบเรียบ สงบ กว้างขวาง หยุด
นิ่ง การผักผอน

เส้นตรงเฉียง เส้นตรงแนวเฉียง ให้ความหมายเกี่ยวกับ
ความรู้สึกไม่ปลอดภัย การล้ม ไม่หยุดนิ่ง
ไม่แน่นอน

เส้นโค้งวงกลม เส้นโค้งวงกลม ให้ความหมายเกี่ยวกับความนุ่ม
เส้นหยัก นวล ความอ่อนโยน
สีแดง
เส้นหยัก ให้ความหมายเกี่ยวกับปัญหา
อุปสรรค ความขัดแย้ง น่ากลัว ตื่นเต้น มี
ความแปลกตา

สีแดง ให้ความหมายเกี่ยวกับความร้อนแรง
อันตราย ตื่นเต้น รุนแรง กล้าหาญ มีอำนาจ

สีเขียวแก่ สีเขียวแก่ ให้ความหมายเกี่ยวกับความอุดม
สมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม

สีเขียวอ่อน สีเขียวอ่อน ให้ความหมายเกี่ยวกับความ
สดชื่น มีพลัง มีชีวิตชีวา ความศรัทธา สบาย

สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน ให้ความหมายเกี่ยวกับความหนัก
สีขาว แน่น ความเข้มแข็ง ความสงบ ความสุขุม
เยือกเย็น

สีขาว ให้ความหมายเกี่ยวกับความบริสุทธิ์
ความใหม่ สะอาด การรับรู้ถึงคุณค่าของผล
งาน

- ผู้ชม คือ ส่วนของผู้ชมที่ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ แต่เป็น
ผู้รับรู้ภาษาที่ศิลปินใช้ในการสื่อความหมาย ผู้ชมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะ
ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เกิดคุณค่า มีความหมาย มีความสมบูรณ์
ครบวงจร ผลงานทัศนศิลป์ใดถ้าขาดผู้ชมแล้ว ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบของ
การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ผู้ชมหมายรวมไปถึงนักวิจารณ์ศิลปะ
ด้วย เพราะจะต้องเป็นผู้ตัดสิน หรือวิพากษ์ วิจารณ์ แสดงถึงความชอบและไม่
ชอบของตนเอง โดยใช้วิธีการพูดวิจารณ์ การเขียนวิจารณ์ทางใดทางหนึ่ง
หรือ 2 มางพร้อมๆ กันไป

2. ภาษากับการวิจารณ์

การวิจารณ์งานทัศนศิลป์นั้น ผู้ชม คือนัก
วิชาการจะเป็ นผู้มีบทบาทสำคัญในการถอดรหัสและ
แปลความหมายเนื้อหาของผลงานซึ่งเป็น "ภาษา
ภาพ" ออกมาเป็น "ภาษาเขียน" หรือ "ภาษาพูด"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานทัศนศิลป์ ที่มีความซับซ้อน
และมีการผสมผสานเทคนิควิธีการต่างๆ จนไม่
สามารถมองเห็นภาพและเรื่ องราวอย่างเป็ นจริงได้
ในการนี้นักวิจารณ์จำเป็ นต้องศึกษาและทำความ
เข้าใจภาษาภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้ทัศนธาตุ ได้แก่
เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน - แก่ พื้นที่ว่าง พื้น
ผิว และสี รวมทั้งไวยากรณ์ทางทัศนศิลป์ หรือ หลัก
การทัศนศิลป์ ได้แก่ เอกภาพ ความสมดุล จังหวะ
จุดสนใจ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และสัดส่วน
เพื่อแปลความ

ภาษาภาพ หรือภาษาทัศนศิลป์ที่มีลักษณะเฉพาะและมีเนื้อหาที่เน้ นใน
เรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกของศิลปินที่แฝงอยู่ การบรรยาย การพรรณนา และ
การวิเคราะห์ นักวิจารณ์จะต้องจับความหมายและคุณค่าที่แฝงอยู่ภายในผลงาน
และถ่ายทอดเป็นภาษาที่ผู้ชมรับรู้ทำความเข้าใจได้ง่าย นักวิจารณ์ทัศนศิลป์จะ
ต้องถ่ายทอดทัศนะของตนเองสู่ผู้อื่นวิธีการและภาษา ตามความถนัดและความ
สามารถ แต่พลังงานของภาษาในการสื่อความคิดศิลปะ อาจจะมีข้อจำกัดหลาย
อย่าง เช่น การพูดวิจารณ์ ผู้วิจารณ์มักใช้ภาษาที่ยากเกินไป ใช้ภาษาแสลง
ภาษาสูง มีศัพท์ทางทัศนศิลป์มาก เธอใช้ภาษาที่ไม่สอดคล้องกับภาษาภาพ
เป็นการพูดแบบเลื่อนลอยขาดจินตนาการที่เข้าถึงภาษาภาพนั้นจริงๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาษาสำหรับการวิจารณ์ ควรได้รับการพัฒนาเพื่อสื่อความให้ได้
สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาษาไทยอาจมีข้อจำกัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออก
ของความคิดเห็นศิลปิน เช่น ผลงานรูปแบบนามธรรม (Abstract) ที่ไม่สามารถ
แสดงรูปลักษณ์ทางธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้ทัศนธาตุล้วนๆ เป็นองค์
ประกอบของผลงาน การจะวิจารณ์ผลงานรูปแบบดังกล่าวให้ได้ผล จะต้องอ่าน
ภาษาจากทัศนธาตุเหล่านั้นให้ออก แล้วเลือกใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนในการ
อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ เป็นต้น

นอกจากนี้ นักวิจารณ์ต้องพัฒนาทักษะและความสามารถของตน
ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มีความเป็นกลางและมีความเที่ยงธรรมต่อผล
งานศิลปะทุกรูปแบบและศิลปินทุกคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้
สร้างสรรค์ผลงาน รู้จักวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นฐานของงานที่แตก
ต่างกัน ไม่สนใจเฉพาะในงานทัศนศิลป์สาขาที่ตนถนัดเท่านั้น แต่ให้ความ
สนใจวิทยาการแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ด้วย เช่น
ประวัติศาสตร์ศิลป์ สุนทรียศาสตร์ องค์ประกอบศิลป์ เป็นต้น เพื่อให้
สามารถรับรู้ถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ กับทัศน
ศิลป์ นักวิจารณ์ควรมีคุณสมบัติเป็นนักคิด นักค้นคว้าและสนใจในสิ่งใหม่ๆ
และรู้จักสายศึกษาหาความรู้อยู่เสมอๆ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์
วิจารณ์ได้อย่างลุ่มลึกขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวิจารณ์โดยกล่าวอ้างถึงความ
รู้สึกส่วนตัวแต่เพียงอย่างเดียว จะมีความเลื่อนลอยและไร้เหตุผล ไม่ช่วย
ให้เกิดความน่าสนใจ หรือเกิดความหมายในแง่มุมที่ต่างออกไปจากเดิม

3. การประเมินงานทัศนศิลป์

การประเมินในความหมายทางทัศนศิลป์
หมายถึง การประเมินคุณค่า หรือการตัดสินคุณค่า
ด้วยผู้ประเมินจะต้องมีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ใน
หลักการสังเกตและการให้เหตุผล ทั้งนี้ ถ้าผู้ประเมิน
ไม่ตัดสินคุณค่าของผลงานที่ตนประเมิน ถือว่าผู้
ประเมินยังทำหน้ าที่ไม่สมบูรณ์

การประเมินเป็ นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
ศึกษาผลงานทัศนศิลป์ทางด้านเนื้อหา คุณค่าทาง
ด้านความคิดสร้างสรรค์ การสื่อความหมาย การ
แสดงออก วิธีการและเทคนิค การจัดองค์ประกอบ
และลายประณีตต่างๆ ด้วยการประเมินงานทัศนศิลป์
อาจทำเพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง เช่น ประเมินเพื่อ
ชื่นชม ประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน หรือ
ประเมินเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของผลงานนั้นๆ
เป็ นต้น

ด้วยเหตุที่ธรรมชาติในการประเมินจะมีความละเอียดอ่อนและสลับซับ
ซ้อน รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับศาสตร์หลายด้าน ผู้ประเมินผลงานจึงต้องมี
ความรอบคอบและใช้องค์ความรู้ทางด้านทัศนศิลป์ มาประกอบในการแสดง
ความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปทรง เนื้อหา และเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอด
ผ่านตัวผลงานเองก็ตาม ทั้งนี้ การให้ผู้ชม หรือนักวิจารณ์ได้ฝึกฝนวิธีการ
วิจารณ์ประเมินผลงานทัศนศิลป์อยู่เสมอๆ จะช่วยพัฒนาทักษะ
ประสบการณ์ได้ดีขึ้น รูปแบบการประเมินการพัฒนาเทคนิคการประเมินให้
ก้าวหน้ าขึ้นมาก โดยเฉพาะแนวทางการตัดสินคุณค่าของผลงานภายใต้
บริบทของสังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งการจะนำเทคโนโลยีและวิธีการประเมินคุณค่าแบบใดแบบ
หนึ่งมาใช้ ผู้ประเมินจะต้องเรียกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

- ประเมินเพื่อความชื่นชม เป็นการประเมินคุณค่าผลงาน
ทัศนศิลป์ โดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว โดยมุ่งเน้ นการแสดงความคิดเห็น
ในเชิงคุณค่าให้ผู้อื่นรับรู้ หรือแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกัน ไม่ได้หวัง
ให้เกิดผลต่อผลงานทัศนศิลป์ นั้นมากนัก

- การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน เป็นการ
ประเมินคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ โดยอาศัยเกณฑ์ หรือหลักการ
ประเมิน ควบคู่ไปกับการวิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นอย่างมี
เหตุผล เช่น การวิจารณ์ทัศนศิลป์ในชั้นเรียนระหว่างครูผู้สอนและผู้
เรียน เป็นต้น การประเมินคุณค่าตามหัวข้อนี้ ผู้ประเมินคาดหวังให้
ได้ประโยชน์จากการประเมินในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับปรุง
แก้ไข และพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ให้เจริญก้าวหน้ าและสมบูรณ์มาก
ขึ้น

4. หลักในการประเมินงานทัศศิลป์

หลักในการประเมินผลงานทัศนศิลป์ จะ

มีอยู่หลายรูปแบบและหลายทฤษฎีด้วยกัน

สำหรับในระดับชั้นนี้ มีเป้ าหมายเพื่อสร้าง

ความเข้าใจ และรู้วิธีการประเมินที่ไม่ยุ่งยาก

ซับซ้อนนัก จึงขอยกตัวอย่างวิธีการประเมิน

เพื่อพัฒนาผลงานทัศนศิลป์แบบง่ายๆ ซึ่งเป็น

ประเด็นในการประเมินออกเป็น 3 ด้านด้วย

กัน คือ

1) ด้านคุณสมบัติ

2) ด้านความคิดเชิงตีความ "เพลิงพยัคฆา" ผลงานของ ถวัลย์ ดัชนี
3) ด้านการประเมินผล เทคนิคสีน้ำมันเป็ นตัวอย่างของการใช้สีแดง

เป็นหลัก ซึ่งจะให้ความรู้สึกถึงความร้อน
แรง และความมีอำนาจที่ถูกถ่ายทอดออกมา

จากผลงานชิ้นนี้

1) ด้านคุณสมบัติ จะใช้ข้อความบรรยายที่ให้ความสำคัญกับคุณ
สมบัติย่อยๆ ดังนี้

- การรับรู้ ได้แก่ ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ โดยอ้างอิงถึง
จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว สี เอกภาพ
ความสมดุล จังหวะ จุดสนใจ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และสัดส่วน

- เนื้อเรื่อง ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ภายในผลงาน
ทัศนศิลป์ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือน ผู้คน รวมทั้ง
สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ทุ่งหญ้า ชายทะเล เป็นต้น

- ความรู้สึกเชิงกายภาพ เช่น ความนุ่มนวล ความแน่นขนัด
ความสนุกสนาน เป็นต้น

- อารมณ์ความรู้สึก ตัวอย่างการใช้คำบรรยาย เช่น สีที่ดูแล้ว
ช่วยทำให้เกิดอารมณ์ที่เคร่งขรึม ภาพก้อนเมฆที่ดูนุ่มราวกับปุ๋ยนุ่น ทะเล
ที่อ้างว้างโดดเดี่ยว เป็นต้น

- อ้างอิงรูปแบบ กล่าวถึงรูปแบบที่ศิลปินใช้ เช่น
แบบนามธรรม แบบเหมือนจริง แบบไร้วัตถุนิยม แบบเป็นต้น

2) ด้านความคิดเชิงตีความ สามารถจะพิจารณา
ประเมินตามคุณสมบัติย่อยๆ ดังนี้

- การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย โดยใช้การ
บรรยายที่ช่วยทำให้เกิดภาพพจน์ เช่น "เห็นกลุ่มเมฆปกคลุม
ทั่วไป ดูเลือนราง ให้ความรู้สึกว่ากำลังล่องลอยอยู่ในความฝัน
หรืออาจทำให้นึกถึงเรื่องราวที่กล่าวถึงดินแดนเทพนิยาย"

- วิเคราะห์ถึงความคิดและเจตนารมณ์ เป็นการ
วิเคราะห์ความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน เช่น สื่อ
ถึงชีวิตที่เงียบสงบในชนบท จะต้องสะท้อนปัญหาความ
แตกแยกของผู้คน เป็นต้น

3) ด้านการประเมินผล จะต้องสรุปการประเมิน โดยกำหนด
คุณสมบัติย่อย ดังนี้

- ระบุการตัดสินใจเลือก ใช่ข้อความที่แสดงความพึงพอใจ
หรือไม่พึงพอใจ เลยใช้ภาษาที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าชอบ หรือไม่ชอบ
ผลงานนั้น

- เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ให้ใช้ข้อความที่บ่งบอกได้ว่า ผู้
ประเมินมีทัศนะอย่างไรกับคุณสมบัติหรือคุณค่าที่พบเห็นในผลงานทัศน
ศิลป์นั้น ในเชิงที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย

- คุณค่าของผลงาน ให้กล่าวถึงคุณค่าของผลงานตามมุมมอง
ของตน เช่น ดีเยี่ยม กล้าคิด กล้าแสดงออก มีความแปลกใหม่ ให้เทคนิคที่
ล้ำสมัย เป็นต้น

ตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจวิธีการประเมินตามประเด็นข้างต้น จึงขอยกตัวอย่าง

การประเมินงานทัศนศิลป์มาให้เห็นเป็น ดังนี้

ชื่อภาพ The Starry Night (ค.ศ. 1889)

ชื่อศิลปิ น ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก๊อกฮ์
(Vincent Willem Van Gogh)

ด้านคุณสมบัติ

การรับรู้ : มีการใช้ทัศนธาตุที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นโค้ง เส้นคด
เส้นนอน เส้นเฉียง และใช้สีน้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีฟ้ า สีเหลือง และสีขาว
เป็ นงานจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคระบายสีอย่างฉับไว

เนื้อเรื่อง : มีการเขียนภาพหมู่บ้าน โบสถ์ ต้นไม้ ภูเขา ท้องฟ้ า กลุ่มเมฆ ดวงดาว
และดวงจันทร์

ความรู้สึกเชิงกายภาพ : ผลงานสะท้อนความหนักแน่น แข็งแรง
อารมณ์ความรู้สึก : เส้นและความแสดงออกมีความเคลื่อนไหว น่ากลัว อึดอัด ตื่นเต้น
อ้างอิงรูปแบบ : เป็นผลงานจิตรกรรมแนวเหมือนจริง

ด้านความหมายเชิงตีความ

การเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย : เป็นภาพกลางคืนที่ชวนให้ฝันถึงคชดินแดง
ในจินตนาการ

ความคิดและเจตคติ : ต้องการสื่อถึงความงามของทิวทัศน์ท้องฟ้ าในยามคำ่คืน

ด้านการประเมิน

การตัดสินใจเลือก : ชอบผลงานชิ้นนี้ที่ดูแล้วให้ความรู้สึกน่ากลัว ชวนคิดฝันให้
เกิดจินตนาการต่างๆ

เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย : เห็นด้วยกับคุณค่าที่นำเสนอผ่านทัศนธาตุและการ
แสดงออก

คุณค่าของผลงาน : สิลปินมีความกล้าตัดสินใจในความคิดสร้างสรรค์ของตน
เป็นผลงานมีความแปลกตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใช้วิธีการ

เขียนภาพด้ววยเส้น สี เพื่อสื่อเรื่องราว

ตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจวิธีการประเมินตามประเด็นข้างต้น จึงขอยกตัวอย่าง
การประเมินงานทัศนศิลป์มาให้เห็นเป็น ดังนี้

ชื่อภาพ The Starry Night (ค.ศ. 1889)

ชื่อศิลปิ น ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก๊อกฮ์
(Vincent Willem Van Gogh)

ด้านคุณสมบัติ

การรับรู้ : มีการใช้ทัศนธาตุที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นโค้ง

เส้นคด เส้นนอน เส้นเฉียง และใช้สีน้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีฟ้ า

สีเหลือง และสีขาวเป็นงานจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคระบายสี

อย่างฉับไว

เนื้ อเรื่ อง : มีการเขียนภาพหมู่บ้าน โบสถ์ ต้นไม้ ภูเขา ท้องฟ้ า

กลุ่มเมฆ ดวงดาว และดวงจันทร์

ความรู้สึกเชิงกายภาพ : ผลงานสะท้อนความหนักแน่น แข็งแรง

อารมณ์ความรู้สึก : เส้นและความแสดงออกมีความเคลื่อนไหว น่ากลัว อึดอัด

ตื่นเต้น

อ้างอิงรูปแบบ : เป็นผลงานจิตรกรรมแนวเหมือนจริง

ด้านความหมายเชิงตีความ

การเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย : เป็ นภาพกลางคืนที่ชวนให้ฝั นถึงคชดินแดง
ในจินตนาการ
ความคิดและเจตคติ : ต้องการสื่อถึงความงามของทิวทัศน์ท้องฟ้ า
ในยามคำ่คืน

กล่าวโดยสรุป ภาพ The Starry Night หรือราตรีประดับ
ดาว เป็นภาพที่แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของรอยแปรงทิศทาง
กลมกลืนกับขอบท้องฟ้ า ตัดกับต้นสนระยะใกล้ มีแสงสะท้อนของ
หลังคาบ้านและโบสตถ์ ส่วนบรรยากาศบริเวณระยะไกลสุดของภาพ
แสดงให้เห็นดวงดาวที่มีแสงระยิบระยับ สีของภาพค่อนข้างรุนแรง
แต่ก็สดใส สะท้อนอารมณ์ของศิลปินในขณะนั้น เป็นภาพที่แสดง
ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกของตนเองและความเป็ นจริงในโลกที่
ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก๊อกฮ์ต้องการ


การประเมินงานทัศนศิลป์มีอะไรบ้าง

การประเมินคุณค่างานทัศศิลป์.
การประเมินคุณค่างานทัศนศิลป์จะพิจารณาจาก 3 ด้าน ได้แก่.
ด้านความงาม ... .
ด้านเนื้อหาสาระ เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานสิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะ ... .
ด้านอารมณ์ความรู้สึก ... .
การประเมินคุณค่า ... .
ด้านอารมณ์ความรู้สึก เป็นการประเมินคุณค่ที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ดูโดยการใช้เทคนิควิธีการและสื่อความหมาย.

ผู้ประเมินงานทัศนศิลป์ควรประเมินอย่างไร

เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อใน เบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลัก ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอด ความงาม เพื่อการพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น

ข้อใด คือ ประโยชน์ของการประเมินและวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ในห้องเรียน

ประโยชน์ ของการวิจารณ์งานทัศนศิลป์ 1. มีโอกาสแสดงแนวความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง 2. รับทราบแนวความคิดของผู้อื่นเพื่อนาไปปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาให้ผลงานของตนเองดีขึ้น 3. เกิดพลังที่จะสร้างผลงานศิลปะต่อไป

ผู้ประเมินผลงานทางทัศนศิลป์ควรมีคุณธรรมข้อใด

1) เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางศิลปะประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่จะวิจารณ์โดยเฉพาะและรู้ละเอียดลึกซึ้ง 2) เป็นผู้มีจิตใจรักชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง 3) เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง รักษาความเป็นกลาง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักประนีประนอมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน