ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชีสินค้าคงเหลือ

การบัญชีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าและกรจัดเก็บของสินค้ามักจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น
ตัวอย่างเช่น บริษัท อาร์ดี จำกัด มีการนำเข้าของวัตถุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า สิ่งที่บริษัทควรจะทราบคือ มีฝ่ายไหนที่เกี่ยวข้องบ้างได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายการเงินซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าวัตถุดิบ ฝ่ายบุคคลก็ต้องเสนอจำนวนเงินที่จะจ่ายเงินให้กับพนักงานเป็นค่าแรงงานทางตรง และเมื่อมีการนำวัตถุดิบไปใช้ในการผลิตสินค้าแล้ว ฝ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ฝ่ายขายสินค้าและฝ่ายการเงินซึ่งเป็นผู้เก็บเงิน

การตรวจสอบสินค้าคงเหลือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะการที่ได้ทำการทดสอบยองคงเหลือของสินค้าปลายงวด
จึงทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชี จะต้องใช้เวลาในระยะที่นานพอสมควรเพราะมีทั้งการพิสูจน์ความมีอยู่จริงของสินค้า และ การตีมูลค่าของสินค้า ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเกิดผลทำให้การตรวจสอบมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น

  • สินค้าคงเหลือถือเป็นรายการที่ค่อนข้างสำคัญในงบแสดงฐานะทางการเงินและถือว่าเป็นรายการที่มีมูลค่ามากที่สุดในรายการของเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ

    การจัดเก็บสินค้าภายในกิจการอาจจะมีการจัดเก็บสินค้าในหลายที่ เลยทำให้มีการตรวจสอบและการควบคุมค่อนข้างที่จะยากเพราะการที่สถานที่จัดเก็บสินค้าหลายแห่งมีประโยชน์ ในเชิงการผลิต และการตลาดเพราะทำให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภค แต่การเก็บสินค้าหลายแห่งนี้ทำให้การตรวจสอบมีความยากลำบากยิ่งขึ้น

    หากกิจการที่มีสินค้าหลากหลายประเภทจึงทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชีพบว่าการตรวจสอบจะตรวจสอบได้ยากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเช่น หากต้องตรวจสอบเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอบบัญชีอาจเผชิญกับปัญหาการสังเกต การตรวจนับและการวัดมูลค่า

    สินค้าที่มีความหลากหลายประเภทจะมีการตรวจสอบและวัดมูลค่าของสินค้าได้ค่อนข้างที่จะยากเนื่องจากสินค้าอาจมีการล้าสมัย และการปันส่วนต้นทุนการผลิตให้กับสินค้านั้น มีความซับซ้อน

    การวัดมูลค่าของสินค้าวิธีหนึ่ง กับสินค้าในหลายๆ ประเภท และการใช้วิธีการอื่นๆ สำหรับประเภทอื่นๆ ของสินค้า สามารถกระทำได้แต่ตามหลักการบัญชี จะต้องเป็นวิธีการที่ใช้ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ

กระบวนการตรวจสอบของสินค้าคงเหลือจากบัญชี ซึ่งจะมีการตรวจสอบการตรวจสอบการซื้อ การผลิต และสินค้าคงเหลือ แบ่งงานออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. การสอบทานโดยการวิเคราะห์
1.1 วิธีการเปรียบเทียบรายการ เปรียบเทียบ การซื้อสินค้าคงเหลือ และอัตรากำไรขั้นต้นระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อน และทำการ เปรียบเทียบกับกิจการอื่นที่มีลักษณะการประกอบการคล้ายคลึงกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงและข้อแต่ต่างเป็นจำนวนมาก ให้สังเกตและหาสาเหตุ
1.2 การใช้อัตราส่วนทางการเงิน ให้ผู้ตรวจสอบคำนวณอัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสินค้า โดยเฉพาะอัตราหมุนเวียนของสินค้าแล้วเปรียบเทียบกับข้อมูลปีก่อน และกิจการอื่นที่มีลักษณะการประกอบการคล้ายคลึงกัน

2. วิธีการตรวจสอบ
2.1 การสังเกตการตรวจนับสินค้าคงเหลือ (Inventory Observation)
การสังเกตการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี เป็นวิธีการที่ได้ผลที่สุดในการพิสูจน์ การตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจในความถูกต้องของการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นต้องมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือเช่นเดียวกัน
ผู้ตรวจสอบยังจำเป็นต้องหาวิธีการตรวจสอบอื่น เช่น การสอบทานวิธีการและผลการตรวจนับสินค้าคงเหลือของลูกค้า การทดสอบวิธีการบัญชีเกี่ยวกับการรับ-จ่ายสินค้า และตรวจนับสินค้าคงเหลือบางรายการด้วยตนเองภายหลัง
ตัวอย่างเช่น
-สินค้าที่ตรวจนับต้องผ่านการตัดยอดการรับและจ่ายสินค้า โดยให้จดเลขที่ใบรับของและใบส่งของฉบับสุดท้ายจนถึงวันที่ตรวจนับรวมสินค้าทั้งสิ้นตามใบรับของที่ลงบัญชีแล้ว และไม่รวมสินค้าที่ได้ทำใบส่งของและลงบัญชีเป็นขายแล้ว
2.2 การตรวจสอบหลักเกณฑ์และวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ
ผู้ตรวจสอบต้องพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือว่าเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อน ให้พิจารณาว่าการตีราคาสินค้าได้ใช้วิธีใดระหว่าง วิธีราคาทุน วิธีราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า และวิธีราคาขาย หากกิจการซื้อสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และวัสดุจากบุคคลภายนอก ให้ตรวจสอบราคาทุนของสินค้าโดยตรวจสอบบิลซื้อ ถ้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ราคาสินค้าย่อมรวมราคาตามใบกำกับสินค้า ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย อากรขาเข้า หากต้องการหาราคาตลาดของสินค้า อาจสอบถามแผนกจัดซื้อหรือหาโดยตรงจากตลาด
2.3 การตรวจสอบการคำนวณราคา
การตรวจสอบการคำนวณราคามีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณราคาสินค้าแต่ละรายการ และการรวมยอดในรายละเอียดสินค้าคงเหลือแต่ละหน้า ทั้งนี้มักกระทำโดยการทดสอบสินค้าคงเหลือที่เป็นจำนวนเงินมาก
2.4 การตรวจสอบการตัดยอดซื้อ
ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบยอดซื้อเพื่อทราบว่ารายการซื้อที่ลงบัญชีไว้นั้นเป็นรายการซื้อที่ถูกต้องและครบถ้วนของปีปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบระหว่างรายการซื้อกับบิลซื้อ ใบรับของและบัญชีรายละเอียดสินค้าสำหรับระยะเวลาตอนสิ้นปีต่อต้นปีใหม่
2.5 การตรวจสอบการตัดยอดขาย
การตรวจสอบการขายช่วงเวลาสิ้นปี มีจุดประสงค์ทำให้ผู้ตรวจสอบทราบว่าสินค้าที่ขายในวันสิ้นปีไม่รวมอยู่เป็นสินค้าคงเหลือ ดังนั้นผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบว่ามีการลงรายการขายของปีอย่างถูกต้อง โดยเปรียบเทียบรายการขายกับบิลขาย ใบส่งของ และบัญชีรายละเอียดสินค้า สำหรับระยะเวลาตอนสิ้นปีต่อต้นปีใหม่
2.6 การตรวจสอบต้นทุนสินค้าที่ขาย
หากกิจการใช้วิธีการบัญชีสินค้าแบบ Periodic Method ความถูกต้องของต้นทุนสินค้าขึ้นอยู่กับความถูกต้องและครบถ้วนของยอดซื้อของปี และสินค้าที่ลงรายการซื้อแล้วแต่มิได้จำหน่ายไปรวมอยู่ในสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี
หากกิจการใช้วิธีการบัญชีสินค้าแบบ Perpetual Method ต้นทุนสินค้านั้นคำนวณมาจากรายการขาย ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในต้นทุนขายมาจากการโอนบัญชีในงวดเดียวกัน
2.7 การตรวจสอบความเหมาะสมของสินค้าคงเหลือ
การตรวจสอบความเหมาะสมโดยทั่วไป อาจใช้การเปรียบเทียบปริมาณและราคาสินค้าคงเหลือปีปัจจุบันและปีก่อน หรืออาจคำนวณอัตราหมุนเวียนของสินค้า (turnover) ในรอบปีหนึ่ง ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่คำนวณจากการหารต้นทุนขายด้วยสินค้าหมุนเวียนของสินค้าในปีก่อน ทั้งนี้การวิเคราะห์อัตราส่วนนี้ควรแยกวิเคราะห์ตามประเภทสินค้าหรือแผนกงาน เพื่อนำข้อมูลไปประกอบพิจารณาความเพียงพอของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

ตรวจสอบสินค้าคงเหลือจากบัญชีตรวจสอบสินค้าคงเหลือ.jpg (37.81 KiB) Viewed 538 times

หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลจากบทความที่มีเรื่องเกี่ยวกับตรวจสอบสินค้าคงเหลือจากบัญชีทำให้สามารถนำไปดูวิธีการจัดเก็บสินค้าภายในกิจการของเราว่ามีจัดเก็บที่ดีและสามารถทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชีมีความสะดวกในการตรวจสอบหรือไม่เพราะสินค้าคงเหลือเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่ในรายการแสดงของงบแสดงฐานะทางการเงิน

อ้างอิง : http://accountancy.in.th/blog/145-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html
https://www.xn--b3cf3alb5cxfdh8a1v.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87
https://www.onlinesoft.co.th/Article/Detail/141741