ตัวอย่าง หนังสือ ข้อ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เนื่องจากในปัจจุบันส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่าง ๆ ส่งเรื่องไปประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นจำนวนมาก และหลากหลายประเภทส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวาง การนำลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ออกสู่สาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ของเรื่องนั้น ๆ เป็นประการสำคัญด้วยเหตุนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแจ้งเวียน กระทรวงทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อถือปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นลำดับ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่ถือปฏิบัติอยู่ในเวลานี้ ได้แก่ หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๒๐๔/ว ๑๔ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕ "ดูภาพหนังสือเวียน" และ "ดูภาพตัวอย่างแนบท้ายหนังสือเวียน" โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

การจัดทำหนังสือนำส่งเรื่อง การจัดทำ จัดส่งเรื่องและเอกสาร ประกอบที่ประสงค์จะขอให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ ระยะเวลาในการจัดส่ง

หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะต้องมีหนังสือนำส่งเรื่องพร้อมเรื่องและ เอกสารประกอบที่จะขอให้นำลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดย

ให้จัดทำเป็นหนังสือราชการภายนอก (กรุณาหลีกเลี่ยงการ ใช้หนังสือประทับตรา) ลงนามโดยผู้ดำรงตำแหน่งแล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้

- ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ผู้ว่าราชการจังหวัด
- ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงานบริหารราชการ
ส่วนท้องถิ่น
- ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

๒. การจัดทำเรื่องที่จะขอให้นำลงประกาศหรือลงพิมพ์ ในราชกิจจานุเบกษา

ให้จัดทำเรื่องที่จะขอให้ลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจา นุเบกษา เป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และรูปแบบที่กฎหมาย กำหนดไว้ หรือตามรูปแบบหนังสือสั่งการหรือหนังสือประชาสัมพันธ์ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยอนุโลม ลงนามโดยผู้มีอำนาจหน้าที่สำหรับการนั้น โดยจะต้องจัดส่งต้นฉบับหรือสำเนาคู่ฉบับของเรื่องซึ่งปรากฏลายมือชื่อ ของผู้มีอำนาจลงนามในเรื่องนั้น จำนวน ๑ ชุด พร้อมสำเนาหรือสำเนา ภาพถ่ายจากต้นฉบับที่มีข้อความชัดเจนและรับรองสำเนาถูกต้อง โดย เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ระบุชื่อและตำแหน่งของ เจ้าหน้าที่ผู้รับรองความถูกต้องให้ชัดเจน จำนวน ๔ ชุด และไฟล์งานข้อมูล ของต้นฉบับเรื่องที่ส่งไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมเอกสารแบบพิมพ์แนบท้าย (ถ้ามี)

๓. การจัดทำ/จัดส่งเอกสารประกอบเรื่องส่วนที่จะขอให้นำลง ประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับเรื่อง

เอกสารประกอบเรื่องเช่น แผนที่ แผนผัง แบบแปลน แบบพิมพ์ คำอธิบาย หรือรายละเอียดเพิ่มเติม ภาคผนวก คำแปล เป็นต้น รวมเรียกว่า "เอกสารแนบท้าย" หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะต้อง

๓.๑ จัดพิมพ์บนกระดาษพิมพ์ (กระดาษปอนด์หรือกระดาษอาร์ต) ชนิดฟอกขาว ๖๐ แกรม และพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แท่น โดยขอให้ จัดเรียงตามลำดับหน้าของเอกสารแยกเป็นชุดโดยไม่ต้องเย็บชุด

๓.๒ กรณีเอกสารแนบท้ายเป็นแผนที่ ขอให้จัดทำโดย

(๑) ใช้มาตราส่วนขนาดใดขนาดหนึ่ง ดังนี้
- มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ (ตามมาตรฐานของกรมที่ดิน)
- มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือ
- มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ (ตามมาตรฐานของกรมแผนที่ทหาร)

(๒) จัดให้มีรายละเอียด พิกัด และเครื่องหมายที่เป็นสากล ตลอดจน รายละเอียดอื่นๆ ไว้ในแผนที่ และให้มีรายชื่อของหมุดหลักฐาน ตามแนวเขตเป็นค่าพิกัดและระดับตามความจำเป็นของงานนั้นๆ แนบไว้ด้วย

(๓) ใช้พิกัดและระดับระบบ ระบบค่าภูมิศาสตร์ (ละติจูด ลองติจูด) หรือระบบ ยู ที เอ็ม

(๔) ใช้แผนที่ของกรมแผนที่ทหารเป็นหลักในการจัดทำ

๓.๓ ขนาด การวางแบบ และการพับเอกสารแนบท้าย

(๑) เอกสารแนบท้ายของเรื่องที่ตามปกติจะนำลงในราชกิจจา นุเบกษา ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา ขอให้ใช้กระดาษขนาด ๒๒.๘ ซ.ม. x ๓๑.๒ ซ.ม. จัดวางข้อความที่พิมพ์เว้นจากขอบ กระดาษด้านบน ล่าง และขวา ด้านละไม่น้อยกว่า ๑.๗ ซ.ม. และเว้นจากขอบด้านซ้ายไม่น้อยกว่า ๒ ซ.ม. โดยไม่ต้องพับ เอกสาร หากเอกสารแนบท้ายมีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่กำหนด ดังกล่าว ขอให้พับเอกสารนั้นลงให้มีขนาด ๒๐ ซ.ม. x ๒๘.๕ ซ.ม. ตามตัวอย่าง ๒ ท้ายหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๓/ว(ท) ๖๗๙ ลงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ "ดูภาพวิธีพับ"

๓.๔ จัดส่งเอกสารแนบท้ายทั้งหมดไปพร้อมกับหนังสือนำส่งเรื่อง ตามจำนวน ดังนี้

(๑) จำนวน ๒,๐๐๐ ชุด สำหรับเรื่องที่ตามปกติ จะนำลงใน ราชกิจจานุเบกษา ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา ตามหนังสือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๓/ว (ท) ๑๓๔๒ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ "ดูภาพหนังสือเวียน"

(๒) สำหรับเรื่องที่ตามปกติ จะนำลงในราชกิจจานุเบกษา ประเภทอื่น ๆ ข้อมูลบันทึกในแผ่นดิสก์เก็ตหรือแผ่นซีดี ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุ

*กรณีที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องได้จ้างโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีพิมพ์เอกสารแนบท้าย หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะต้องส่ง สำเนาใบสั่งจ้างพิมพ์ไปพร้อมกับหนังสือนำส่งเรื่อง รวมทั้งยังคงต้องจัด ส่งเอกสารแนบท้าย จำนวน ๕ ชุด (แนบต้นฉบับหรือสำเนาจากต้นฉบับ ของเรื่อง จำนวน ๑ ชุด และแนบสำเนาหรือสำเนาภาพถ่ายจากต้นฉบับ ของเรื่อง จำนวน ๔ ชุด) ไปพร้อมกันด้วย

*กรณีที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องประสงค์จะจ้างโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีพิมพ์เอกสารแนบท้าย โดยวิธีให้เรียกเก็บเงินค่าจ้างพิมพ์ ภายหลังการจัดพิมพ์แล้วเสร็จ นั้น ขอให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องทำความ ตกลงกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และขอให้แจ้งความประสงค์ ดังกล่าวแก่ฝ่ายคลังหรือฝ่ายพัสดุภายในหน่วยงานของตนทราบ เพื่อขออนุมัติหรือเตรียมการให้สามารถเบิกจ่ายเงินค่าจ้างพิมพ์ได้ เมื่อโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอเรียกเก็บเงินให้เรียบร้อย ก่อนด้วย

*จำนวนเอกสารแนบท้ายที่ต้องจัดส่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในทุกปี ปฏิทินตามจำนวนสมาชิกบอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวให้ทราบเป็นคราวไป

อนึ่ง หากหน่วยงานใดไม่มีโรงพิมพ์ในสังกัด หรือมีแต่ไม่ สะดวกที่จะดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารแนบท้าย สามารถติดต่อสั่งจ้าง โดยตรงที่สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา หมายเลข โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๓ ๐๖๑๑ และ ๐ ๒๒๔๑ ๓๓๑๓ เพื่อดำเนินการแทนได้