ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคม

CSR คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทหรือองค์กร (Corporate Social Responsibility) โดยกิจกรรม CSR อาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในกระบวนการดำเนินงานขององค์กร หรือจากการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมด้วยกิจกรรมภายนอกองค์กรก็ได้

กิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibility) เป็นกิจกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรจากความประทับใจของบุคคลภายนอก ด้วยการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม ตัวอย่างเช่น การบริจาคหรือการจัดตั้งองค์กรการกุศล อย่างที่เห็นได้บ่อยๆ

แต่อย่างไรก็ตาม CSR ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การบริจาคอย่างที่หลายคนอาจเข้าใจผิด แต่ CSR คือ การทำสิ่งที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามชื่อ Corporate Social Responsibility ด้วยวิธีอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นก่อนการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน ไปจนถึงหลังการดำเนินงาน

โดยสามารถแบ่งประเภทของ CSR (Corporate Social Responsibility) ได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

  • CSR In Process คือ การทำ CSR ตั้งแต่ในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ
  • CSR As Process คือ การดำเนินกิจการหรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)
  • CSR After Process คือ ดำเนินงานก่อน (ดำเนินงานไปตามปกติ) แล้วทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ทีหลัง

นอกจากนี้ ในบางครั้งการทำ CSR ที่ดีพอของบริษัทยังอาจทำให้คนทั่วไปรับรู้แบรนด์หรือจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น อย่างเช่น การที่หลายคนที่อายุมากกว่า 25 อาจจะยังพอมีภาพเครื่องดื่มแบรนด์หนึ่งแจกผ้าห่มติดตาอยู่บ้าง

ระดับของ CSR

Corporate Social Responsibility หรือ CSR คือ แนวคิดที่จริงๆ แล้วถูกพูดถึงมาตั้งแต่ช่วงยุค 1950s แต่สิ่งที่ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรม CSR ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอย่างเช่นในปัจจุบันเกิดจาก Archie Carroll ที่ได้นิยามความหมายของ CSR ให้ชัดเจนขึ้นด้วย “Pyramid of Corporate Social Responsibility” ในปี ค.ศ. 1991

Archie Carroll ได้แบ่งระดับของ Corporate Social Responsibility หรือ CSR ออกเป็น 4 ระดับในรูปของพีระมิด 4 ขั้น คือ Economic Responsibility, Legal Responsibility, Ethical Responsibility, และ Philanthropic Responsibility ตามภาพประกอบด้านล่าง

ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคม

Economic Responsibility คือ ชั้นล่างสุดของพีระมิด CSR ของ Archie Carroll เป็นความรับผิดชอบพื้นฐานที่สุดของบริษัท ซึ่งก็คือการสร้างกำไรเพื่อที่ธุรกิจจะสามารถอยู่รอดและจ่ายค่าใช้จ่าย อย่างเช่น ค่าแรงพนักงาน เพราะการสร้างกำไรคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดต่อไปได้ในระยะยาวซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานต่อไปได้ ในทางกลับกันถ้าหากว่าบริษัทไม่สามารถทำกำไรได้ก็เลิกพูดถึง CSR ไปได้เลย

Legal Responsibility คือ หน้าที่ที่ธุรกิจจะต้องดำเนินงานโดยการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายแรงงาน, ภาษี, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, วิธีที่ใช้แข่งขันกับคู่แข่ง, ไปจนถึงเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการดำเนินงาน

Ethical Responsibility คือ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นธรรมในการแข่งขันกับคู่แข่ง, ด้านราคา, ไปจนถึงความเป็นธรรมกับผู้บริโภค เพราะการที่บริษัทปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจยังทำให้คนทั่วไปมองบริษัทในภาพลักษณ์ที่ดี และสบายใจที่จะใช้สินค้าหรือบริการโดยไม่ต้องกังวลว่าบริษัทจะแอบเอาเปรียบพวกเขาอยู่หรือไม่

Philanthropic Responsibility คือ การดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการทำ CSR หรือ Corporate Social Responsibility ที่เป็นการรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความสมัครใจของธุรกิจเอง โดยมีเป้าหมายคือการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมหรือที่บางคนอาจเคยได้ยินคำว่า “คืนประโยชน์ให้สังคม”

จากพีระมิด CSR ของ Archie Carroll จะเห็นว่าธุรกิจจำเป็นที่จะต้องสามารถรับผิดชอบทั้ง 3 ขั้นแรกของพีระมิดเพื่อที่จะรักษาธุรกิจให้อยู่รอดก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะขึ้นมาที่ขั้น Philanthropy Responsibility ที่เป็นการทำ CSR ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เราจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

กิจกรรม CSR ทำอย่างไร

จากระดับของ CSR ในหัวข้อที่ผ่านมาจะเห็นว่าแท้จริงแล้ว Corporate Social Responsibility หรือ CSR คือ สิ่งที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานของธุรกิจ (3 ขั้นแรกของพีระมิดอยู่แล้ว) ส่วนการทำ CSR ในขั้น Philanthropic Responsibility จะเป็นการทำ CSR ที่หลายธุรกิจพยายามทำในปัจจุบัน

โดยการทำ CSR สามารถทำได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม กีฬา ศิลปะ ด้านการส่งเสริมอาชีพ และอะไรก็ตามที่เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

ซึ่งสามารถแบ่งกิจกรรม CSR ออกเป็น 3 หมวดหมู่ ตามที่ได้อธิบายเอาไว้ในตอนต้น ได้แก่

  • CSR In Process คือ การทำกิจกรรม CSR ตั้งแต่ภายในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง
  • CSR As Process คือ การดำเนินกิจการหรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ด้วยการจัดตั้งองค์กรต่างๆ โดยไม่หวังผลกกำไร
  • CSR After Process คือ การกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ในภายหลังจากการดำเนินงาน สำหรับผู้ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจโดยตรง

ตัวอย่าง CSR

การบริจาคสิ่งของหรือเงิน ตัวอย่างเช่น การให้ทุน การสนับสนุน และการบริจาคเพื่อส่งเสริมด้านกีฬาและการศึกษาต่างๆ

การรับซื้อสินค้าจากเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร ในขณะที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ได้ด้วยว่าสะอาดปลอดเคมี

กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การฟื้นฟูป่า การอนุรักษ์น้ำ ลดโลกร้อน และการดำเนินงานของธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การตั้งมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อช่วยเหลือและตอบแทนสังคม ตัวอย่างเช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหรือการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การจัดงานวิ่งเพื่อการกุศลที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน

Business StrategyCorporate Social ResponsibilityCSRCSR After ProcessCSR as ProcessCSR In Processตัวอย่าง CSR

CSR คืออะไรและตัวอย่าง

คือ การสนับสนุนให้พนักงานภายในองค์กรออกมาเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม CSR ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด ยกตัวอย่างเช่น อาสาสมัครเพื่อทำความสะอาดชุมชน ปลูกป่า หรือร่วมกันนำของไปบริจาคให้แก่ผู้ยากไร้

ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมีอะไรบ้าง

4. ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การที่นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของ ชุมชนและสังคม บำเพ็ญประโยชน์และสร้างสรรค์ความเจริญให้ชุมชนอย่างเต็มที่ ช่วยสอดส่อง พฤติกรรมของบุคคลที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและสังคม และยังนำความ สามารถ ความรู้ที่ตนมี มาช่วยคิดและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม

ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรบ้าง

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงสิทธิ มนุษยชน ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมใส่ใจต่อ ผู้บริโภค และการแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน

มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร

การกำกับดูเเลกิจการที่ดี ... .
การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ... .
การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม ... .
ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ... .
การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ... .
การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม ... .
การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม ... .
การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม.