ตัวอย่าง ใบ กำกับภาษี บุคคลธรรมดา

เคยบ้างไหม? อีกมุมนึงเวลาเราขายสินค้า หรือให้บริการกับลูกค้าของเรา แล้วลูกค้าขอใบกำกับภาษี ซึ่งทำให้เราปวดหัวว่าแล้วมันคืออะไร ต้องออกเอกสารนี้เมื่อไหร่ มีรายละเอียดอะไรบ้างที่ต้องใส่ลงไปในเอกสาร…

 

หากคุณเคยเกิดคำถามเหล่านี้ ไม่ต้องตกใจไปครับ เพราะเอกสารใบกำกับภาษีเรียกได้ว่าเป็นเอกสารที่เป็นหัวใจของคนทำธุรกิจทุกคน (โดยเฉพาะคนที่อยู่ในระบบ VAT) ที่ควรทำความคุ้นเคยและเอาใจใส่

 

เรามาลองทำความรู้จักกับมันมากขึ้น ว่าใบกำกับภาษีนั้นคืออะไร และมาประเมินกันต่อว่าเราออกเอกสารนี้ได้ไหม ออกได้เมื่อไหร่ ก่อนไปดูในรายละเอียดว่าเอกสารใบกำกับภาษีนั้นต้องมีรายละเอียดอะไรบ้างครับ 🙂


 

 

 

หลังจากได้ทำความรู้จักแล้วจะรู้ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่ออกใบกำกับภาษีได้”

 

 


นอกจากนี้คุณอาจจะเปลี่ยนใจจากที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยออกใบกำกับภาษี หรือคุณอาจจะเปลี่ยนใจจากที่ก่อนหน้านี้เคยปฏิเสธการรับเอกสารเหล่านั้นจากคนที่ขายสินค้าหรือให้บริการให้เราก็เป็นได้ 😉


เลือกอ่านได้เลย!

  • ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร
    • ใครเป็นคนที่มีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษี
    • ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไหร่
    • ใบกำกับภาษีมีกี่ประเภท
    • ใบกำกับภาษีเต็มรูปต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง
    • ขายให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
    • ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปด้วยระบบ FlowAccount

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร

คือ เอกสารสำคัญ ที่ถ้าคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม VAT (อาจเรียกอีกอย่างว่าผู้ที่อยู่ในระบบ VAT) จะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า และภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้านั้นครับ

 

โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่คิดจากราคาขาย ในกรณีเราเป็นคนขายหรือให้บริการนั้นเรียกว่า “ภาษีขาย หรือ Output VAT” แต่หากคุณไปซื้อสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายคิดภาษีมูลค่าเพิ่มและเราได้รับเอกสารใบกำกับภาษีมา ส่วนของภาษีที่จ่ายไปจากราคาสินค้าหรือบริการนั้นเรียกว่า “ภาษีซื้อ หรือ Input VAT” นั่นเองครับ


ใครเป็นคนที่มีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษี

ถ้าคุณได้อ่านมาถึงตรงนี้และพบว่าคุณมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจากการการประกอบกิจการ เท่ากับว่าคุณมีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทนั้นแล้วครับ

 

ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม แต่ว่าสำหรับกรณีที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทหรืออยู่ในธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็อาจจะเลือกได้ว่าจะจดหรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีข้อดีและข้อควรพิจารณาแตกต่างกันไปครับ


ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไหร่

 

  • กรณีการขายสินค้า ผู้ขายมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทันทีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ (แม้ว่าผู้ซื้อจะยังไม่ได้จ่ายค่าสินค้าก็ตามนะครับ)
  • กรณีการให้บริการ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับชำระค่าบริการ จะเห็นได้ว่าจุดนี้มีความแตกต่างจากการขายสินค้าเลยทีเดียวครับ เนื่องจากการให้บริการนั้นไม่สามารถจับต้องได้เหมือนสินค้าจึงใช้จุดของการจ่ายเงินเป็นเกณฑ์

 

ใบกำกับภาษีมีกี่ประเภท

 

มีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ

  • ใบกำกับภาษีอย่างย่อ 
  • ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

ลองเข้าไปสมัครใช้งานฟรีและเริ่มต้นทำเอกสารตามกันได้ที่เมนูขายเลยครับ

เปิดบิลฟรี


ตัวอย่าง ใบ กำกับภาษี บุคคลธรรมดา

  

 

 

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

 

 

 

 

ใบกำกับภาษีเต็มรูปต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง

 

  1. เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี” ชัดเจน
  2. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย
  3. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
  4. เลขที่ใบกำกับภาษี
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงิน
  6. แยกแสดงจำนวน VAT แยกให้เห็นชัดเจน
  7. วัน เดือน ปี ที่ออก
  8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด บังคับใช้กับผู้ประกอบการ
    8.1 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…..” ของผู้ขาย
    8.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ (โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    8.3 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…” ของผู้ซื้อ

 

ขายให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

 

สำหรับลูกค้าที่อาจจะไม่อยากให้ข้อมูลเลขที่บัตรประชาชน กรณีนี้ไม่เป็นไรครับ เรายังมีหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปเหมือนเดิม แต่สำหรับข้อมูลผู้ซื้อนั้นเพียงแค่ระบุชื่อและที่อยู่ก็เพียงพอแล้ว
 

ซึ่งในทุกๆ ครั้งต้องมีข้อมูลชื่อและที่อยู่ หากมีไม่ครบถ้วนถือว่ามีโทษปรับด้วยนะครับ ดังนั้นอาจจะกำหนดให้มีแบบฟอร์มเล็กๆ ให้ลูกค้ากรอกข้อมูลให้เรา เพื่อที่จะได้ออกเอกสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วนครับ


มาถึงตรงนี้หากพบว่า โห… เอกสารรายละเอียดเยอะขนาดนี้ มีวิธีที่ง่ายและสะดวกสบายในการทำหรือเปล่า


 

ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปด้วยระบบ FlowAccount

การออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบสามารถทำได้ง่ายๆ ลองสมัครใช้งานฟรีได้ที่นี่ แล้วทำตามขั้นตอนกันเลยครับ

 

ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน


ตัวอย่าง ใบ กำกับภาษี บุคคลธรรมดา
สร้างใบกำกับภาษีผ่านโปรแกรม FlowAccount
  1. กรอกชื่อบริษัท ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของลูกค้า รวมถึงชื่อผู้ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล (หากยังไม่มีในฐานข้อมูลผู้ติดต่อ ระบบจะดึงข้อมูลไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้เลยครับ หรือถ้ามีข้อมูลแล้วสามารถดึงมาแสดงได้ทันทีเลย)
  2. เลขที่เอกสาร (ระบบจะรันให้เองอัตโนมัติ)
  3. วันที่เอกสาร สามารถคลิกเพื่อปรับเปลี่ยนตามเอกสารอ้างอิงได้
  4. ราคาสินค้า สามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้แบบรวมภาษี หรือแบบไม่รวมภาษี
  5. ระบุรายการสินค้า จำนวน และราคาต่อหน่วย (หากมีข้อมูลสินค้าในระบบอยู่แล้วสามารถเลือกมาแสดงได้ทันที)
  6. มูลค่าสินค้า และมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบทำการคำนวณให้อัตโนมัติ

ตัวอย่าง ใบ กำกับภาษี บุคคลธรรมดา


เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสร้างใบกำกับภาษีได้ง่าย และมีรายละเอียดครบถ้วนตามที่สรรพากรกำหนดแล้วครับ นอกจากนี้เมื่อทำการกดบันทึกใบกำกับภาษีที่สร้างจากระบบแล้ว ยังสามารถเลือกได้ว่าจะส่งพิมพ์เอกสาร หรือดาวน์โหลดเป็น PDF หรือส่งสำเนาให้ลูกค้าทางอีเมล์ หรือแชร์เป็นลิงค์ให้ลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ก็จะได้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ โดยมีหน้าตาตามรูปเลยครับ


ตัวอย่าง ใบ กำกับภาษี บุคคลธรรมดา
สร้างเอกสารใหม่แบบครบวงจรเอกสารขาย ใช้ข้อมูลตาม ใบเสนอราคา โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ

ถ้าหากในการทำธุรกิจของคุณเริ่มต้นจากการเสนอราคาให้ลูกค้า คุณสามารถเปลี่ยนใบเสนอราคาให้เป็นใบกำกับภาษีได้ เพียงแค่คลิกเปลี่ยนสถานะเอกสาร (ตามรูป) เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการคีย์ข้อมูลซ้ำ และประหยัดเวลาในการทำเอกสารได้มากทีเดียวครับ