ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

คำชมนับเป็นยาชูใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำชื่นชมจากพ่อแม่ ถือเป็นแรงเสริมทางบวกที่จะช่วยให้ลูกๆประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพื่อเสริมสร้างการเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดย พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้เผยเทคนิคการเลี้ยงลูกเพื่อให้เกิดความภูมิใจในตัวเอง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของลูกๆ ในครอบครัวไทยยุค 4.0

คุณหมอถิรพรกล่าวว่า ในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงเวลาที่เด็กอยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่มากที่สุด ซึ่งเด็กจะมีวิวัฒนาการและการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้จากพฤติกรรม และดูว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ดังนั้น การที่พ่อแม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง และลองผิดลองถูกในการแก้ปัญหา จะยิ่งเพิ่มความสามารถและความภาคภูมิใจให้กับลูกได้ ซึ่งพ่อแม่เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนให้ลูกรู้ว่า สิ่งที่ลูกทำเป็นสิ่งที่ดี ผ่านการชมเชย แต่จุดอ่อนทีพบเจอได้บ่อยๆ จนทำให้ลูกไม่มีการพัฒนาความมั่นใจในตนเอง คือ การไม่ให้โอกาสแก่ลูกได้ช่วยเหลือตนเอง และไม่ค่อยได้ชื่นชมลูก จะคอยแต่ตำหนิติเตียน หรือเรียกว่าการจับผิดมากกว่าจับถูก ซึ่งสิ่งสำคัญเหล่านี้พ่อแม่ควรทราบและนำมาปฏิบัติให้ถูกวิธีก่อน

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นอธิบายต่อว่า การสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกๆ ควรอยู่ในอัตราส่วน คำชม 5 ครั้งต่อการดุ 1 ครั้ง คือพ่อแม่จะต้องคอยมองว่า ลูกสามารถทำสิ่งที่พ่อแม่ชอบได้ เมื่อทำถูกต้องก็ต้องกล่าวชมลูก เพื่อทำให้ลูกสุขใจและเรียนรู้ที่จะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 หลักใหญ่เข้าด้วยกันคือ ชมถึงพฤติกรรม พฤติกรรมนั้นเรียกว่าคุณสมบัติอะไร และความรู้สึกของพ่อแม่ อาทิ “ลูกเก่งมากที่ทำการบ้านเสร็จ หนูเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ แม่ภูมิใจในตัวหนูนะ” สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ต้องรู้สึกอย่างนั้นกับลูกจริงๆ อย่าแกล้งชม การเจาะจงชมเมื่อมีพฤติกรรมอันเหมาะสม หรือชื่นชมในความพยายาม จะทำให้เด็กๆ พร้อมเผชิญความท้าทายต่างๆ ในอนาคตได้ดีกว่าเด็กๆ ที่พ่อแม่ชมแบบกว้างๆ อย่างคำว่า “ดีจัง หรือเก่งจัง” การชมโดยเจาะจงที่พฤติกรรมทำให้เด็กๆรู้ว่า เขามีศักยภาพและความสามารถอย่างไร ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ว่า ความพยายามเป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิต แต่ในขณะเดียวกันการชมลูกด้วยประโยคว่า เช่น เก่งที่สุดในโลก หรือดีที่สุดในโลก หากพูดติดปากเป็นประจำก็อาจทำให้เด็กหลงคิดว่าตนเองนั้นเก่งและดีที่สุดในโลกจริงๆ จนยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรืออาจคิดเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นเสมอ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านทักษะการเข้าสังคมในอนาคตได้

ท้ายสุดการชมของพ่อแม่ที่ไม่ได้ฝึกพูดบ่อยๆ จะทำให้ดูขัดเขินซึ่งไม่เป็นผลดี ดังนั้น พ่อแม่ควรเริ่มต้นในการชมกันเองก่อน เพื่อให้พร้อมในการชมลูกได้ติดปาก โดยไม่ต้องกลัวว่า จะชมลูกมากเกินไปแล้วลูกจะเหลิง เพราะการชมนอกจากจะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองแล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างสัมพันธภาพของลูกกับพ่อแม่ ได้เรียนรู้ว่าพ่อแม่ยอมรับตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นเด็กที่เก่ง ดี และมีความสุขต่อไป.

วัยเด็กตอนต้น หรือวัยก่อนเรียน (ช่วง 2-6 ปี) วัยนี้จะเริ่มรู้จักบุคคล สิ่งแวดล้อม สิ่งของ สามารถใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลาย เริ่มเข้าใจลักษณะการสื่อสาร และสามารถใช้ภาษาได้มากขึ้น มีอยากรู้อยากเห็น ช่างถาม เป็นตัวของตัวเอง เริ่มรู้จักพึ่งพาตนเอง รู้จักเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหา นอกจากนี้เด็กจะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนจากการพูดคุย การแสดงออก ความเฉลียวฉลาด ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของเด็กแต่ละคนด้วย ดังนั้นจึงพบว่าเด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและมีพัฒนาการด้านจริยธรรมอย่างชัดเจน ดังนั้น พฤติกรรมเด็กในวัยนี้จะส่งผลต่อไปในอนาคต มาดูกันว่าพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กจะส่งผลต่อตอนโตเป็นผู้ใหญ่อย่างไรบ้าง

1. ไม่มีระเบียบวินัย

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

เด็กๆ ทุกคนต่างก็มีนิสัยเสียไม่มากก็น้อย เช่น การไม่ตรงต่อเวลา ไปโรงเรียนสาย ไม่มีระเบียบวินัย ใส่เสื้อผ้าไม่เรียบร้อย หรือเก็บของเล่นไม่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งความไม่เป็นระเบียบเหล่านี้ หากคุณพ่อคุณแม่ยังปล่อยปละละเลย จะทำให้ลูกเลิกนิสัยนั้นได้ยาก และจะส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นระเบียบวินัยต่อไปในอนาคต

2. ชอบพูดปด

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

สำหรับการตัดสินว่า เด็กพูดปดหรือไม่นั้น ผู้ใหญ่มักใช้ความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก ว่าเด็กต้องการผลประโยชน์ หรือหลบเลี่ยงสิ่งที่เด็กเองไม่ชอบ แต่หากพบในเด็กวัย 3 ถึง 5 ขวบ แล้ว อาจไม่เรียกว่า เป็นการพูดปดก็ได้เนื่องจากเด็กยังไม่มีพัฒนาการการเข้าใจ และใช้ภาษาอย่างสมบูรณ์พอ ความหมายของคำที่เด็กพูด อาจไม่ตรงกับที่ผู้ใหญ่เข้าใจหรือคิดว่าการพูดปดจะทำให้คนอื่นหันมาสนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรตัดสินสิ่งที่เขากระทำอย่างยุติธรรมสม่ำเสมอ และสอนให้ลูกพูดความจริงไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิดก็ตาม

3. ใช้มือถือ แทปเล็ต มากเกินไป

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

อุปกรณ์เหล่านี้หากสอนลูกใช้ทางที่ถูกก็จะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ แต่หากปล่อยให้ลูกใช้โดยลูกไปดูยูทูปที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก เล่นเกมที่ไม่เหมาะสมกับวัย สิ่งเหล่านี้ล้วนง่ายต่อการจดจำของเด็ก และชักจูงให้ลูกทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ดังนั้นหากเหล่าหลีกเลี่ยงเมื่อลูกขอเล่นไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมพฤติกรรมการใช้ เช่น การกำหนดเวลา และการนั่งเล่นหรือดูไปพร้อมกันเพื่ออธิบาย ก็จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการใช้อินเตอร์เน็ตค่ะ

4. กินขนมหรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

กินขนมหรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป หรือบ่อยเกินไป ซึ่งผู้ใหญ่ทุกคนรับรู้ได้ว่าอาหารชนิดไหนมีคุณค่าและมีประโยชน์สำหรับเด็ก การปล่อยให้ลูกกินขนมไม่มีประโยชน์ ของทอด ของมันๆ เช่น มันฝรั่งทอด ช็อกโกแลต ไอศกรีม ขนมที่มีรสหวาน ในปริมาณที่มากเกินไป หรือเอาใจโดยการให้ลูกกินทุกวัน จะเป็นการทำร้ายสุขภาพร่างกายของลูกโดยไม่รู้ตัว และเป็นการสร้างนิสัยการกินที่ไม่ดีจนติดเป็นนิสัยจนโตได้

5. ชอบลักขโมย

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

ในเด็กวัยอนุบาล เราอาจใช้คำว่า “หยิบของคนอื่นโดยไม่ได้ขอ” ซึ่งให้ความรู้สึกนุ่มนวลกว่า การว่าเด็กขโมย เนื่องจาก เด็กยังไม่เข้าใจเรื่องของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากโตมาในบ้านที่ทุกคนในบ้านต่างหยิบของของกันและกันใช้ได้เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กเอาของไปคืนเจ้าของ แต่หากเป็นการกระทำเพื่อหวังประโยชน์ก็ควรไต่ถาม แก้ไข ตามสาเหตุ เช่น สร้างสัมพันธภาพกับเด็กให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรให้เด็กมีส่วนรับผิดชอบชดใช้กับการขโมยของตนด้วยตามเหมาะสม

6. ข่มเหงรังแกผู้อื่น

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เราต่างมีโอกาสเกี่ยวพันกับสถานการณ์ที่มีการรังแกผู้อื่นได้ โดยเฉพาะในบ้านที่มีพี่น้อง เรียกว่าเป็นเรื่องปกติก็ว่าได้ พบได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 1-3 ขวบ เพราะส่วนใหญ่เมื่อคุณแม่กำลังวุ่นวายกับการดูแลน้องทำให้พี่คนโตรู้สึกตัวเองขาดความสำคัญ จนต้องรังแกน้องเพื่อเรียกร้องความสนใจ สิ่งสำคัญก็คือว่า พ่อแม่จะช่วยให้เขาเป็นพี่ที่น่ารักได้อย่างไรเพื่อให้ติดนิสัยชอบรังแกผู้อื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจ และป้องกันการใช้ความรุนแรงซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

7. ขี้อิจฉา

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

ถ้าพ่อแม่ปล่อยไว้ แน่นอนว่าจะพลอยทำให้บรรยากาศในบ้านตึงเครียด รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่เองด้วย เด็กเองจะมีความรู้สึกอยู่ตลอดว่า น้องได้รับความรักมากกว่า พ่อแม่ให้เวลามากกว่า ซึ่งส่งผลให้พี่รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่มีใครรัก อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้น้อยใจและชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นได้ในอนาคต

8. ได้รางวัลง่ายเกินไป

ตัวอย่าง บุคลิกภาพ ที่ ไม่ ดี

อันนี้ถือเป็นพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่ส่งผลต่อลูก เมื่อลูกๆ สามารถทำอะไรบางสิ่งที่สำเร็จ พ่อแม่ก็จะมอบรางวัลให้กับลูกง่ายเกินไป พวกเขาจะเริ่มเรียนรู้ที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อจะโกง และสร้างเรื่องหลอกลวง เพื่อหลบเลี่ยงความยากลำบาก หรือความเป็นจริง เพื่อให้ได้รับของรางวัลโดยที่ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย

วัยเด็กตอนต้นหรือวัยก่อนเรียน เป็นวัยที่มีพัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบุคลิกภาพซึ่งจะเด่นชัดที่สุด กล่าวคือเด็กวัยนี้จะมีความต้องการเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด ปฏิเสธความช่วยเหลือจากผู้อื่น ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ในการมีเหตุผล และมีความสามารถในการคิดทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้น การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมต่อไป

บุคลิกภาพที่ไม่ดีสำคัญต่อตนเองอย่างไร

บุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งการมีบุคลิกภาพที่ดีนั้นทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น ตรงกันข้ามกันกับบุคลิกภาพที่แย่อย่างสิ้นเชิง นอกจากมันจะส่งผลให้คนเราขาดความมั่นใจแล้ว ก็ยังอาจส่งผลต่อสภาวะจิตใจของเรา ซึงอาจกลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ อย่างที่เว็บไซต์ time.com ได้นำผลวิจัยล่าสุดที่ ...

บุคลิกภาพที่ดีมีอะไรบ้าง

ลักษณะของคนที่มีบุคลิกที่โดดเด่น.
1. ควบคุมอารมณ์ได้ดี ... .
2. รู้จักวาง Ego. ... .
3. การสังเกตและวิเคราะห์ ... .
4. การสื่อสารที่เหมาะสมและถูกที่ถูกเวลา ... .
5. แสดงความชัดเจนอย่างภาคภูมิใจ ... .
6. ไม่เสแสร้งแกล้งทำ ... .
7. มีอารมณ์ขันและความสนุกสนาน ... .
8. ความน่าเชื่อถือ.

บุคลิกภาพที่ดีจะส่งผลถึงอะไร

การมีบุคลิกภาพที่ดีนั้นจะเป็นผลให้บุคคลนั้นมีลักษณะส าคัญที่ เป็นประโยชน์ต่อการด าเนินชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้ >เข้าใจสภาพความจริงได้อย่างถูกต้อง >การแสดงอารมณ์ที่เหมาะสม >สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ >ความผูกพันต่อผู้อื่น >พัฒนาการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น