ตัวอย่าง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์ ระเบียบ กฎเกณฑ์ อำนาจหน้าที่ของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ศึกษาและเก็บข้อมูลจากเอกสาร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาปรากฏว่าตามภารกิจในการไกล่เกลี่ยของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่ยุติข้อขัดแย้งในชุมชนได้ด้วยวิธีสมานฉันท์และสันติวิธีอันสามารถทำให้กลไกการพึ่งพากันทางสังคมดำเนินต่อไปได้และความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้งยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ถึงขั้นแตกหักจนเกิดปัญหาในวงกว้างต่อชุมชน แต่อย่างไรก็ดีกลไกยุติธรรมชุนชนที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการไกล่เกลี่ยและการอำนวยความยุติธรรมยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน ปัจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายรองรับ   ในการดำเนินการของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนจึงอาศัยอำนาจหน้าที่ ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการปกครองท้องที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านและเครือข่ายยุติธรรมชุมชนจึงสามารถขับเคลื่อนดูแลให้เกิดความสมานฉันท์และสันติวิธีในชุมชนโดยส่วนใหญ่ ทั้งนี้การไกล่เกลี่ยโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และอาศัยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530

Community mediation

The research of community mediation was conducted by studying ideas, theories about mediation and reconciliation, regulations, authorities and functions of the community justice network, as well as related documents. The results of the study indicate that the task of mediation of the community justice network was an alternative judicial process that can resolve conflicts in the community through reconciliation and peaceful means. This can help the mechanism of social interdependence to carry on and maintain the relationship with opponents to be the same or not to get worse until causing a wider problem in the community. However, the community justice mechanism, which is a core factor of driving the mediation and justice process, has still not been supported by laws distinctly. At present, there is no law to support the operations of the community justice network. As a result, they have to rely on the power of the village headmen in the administration of localities. Therefore, the community justice network will be able to mobilize conformity and peace in the community principally. According to the mediation by the village committees, the village committees were set up under the Local Administrative Act B.E. 2457 and applied the regulations of the Ministry of Interior regarding to the Conciliation Act of Village Committees B.E. 2530.

กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน เป็นกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนด้วยความสมัครใจของคู่ขัดแย้ง และใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก อันจะนำไปสู่การลดคดีเข้าสู่ชั้นศาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอันเกิดจากการเข้าถึงจนออกจากกระบวนการยุติธรรมหลัก ในบทความนี้พยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตัวอย่าง ๘๑ แห่งในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ๒๗ จังหวัดทั้งที่มีอัตราการไกล่เกลี่ยสำเร็จสูงสุด และต่ำสุดจากสถิติย้อนหลัง ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๐) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยอาศัยข้อมูลภาคสนามจากการถอดบทเรียนภายใต้โครงการวิจัยการถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
A community conflict conciliation process one form of social activity that supports, empowers, and encourages community to conciliate among conflict parties by their own accord through a restorative justice. This process not only helps decreasing number of cases filed into the court but also help reducing the cost that conflict parties have to bear from accessing the judiciary process. By sampling through 81 community justice centres in 27 provinces in Thailand, from the area with the highest conciliation rate to the lowest in the last three years (2015-2017), this article is an effort to exhibit models and guidelines to develop a conflict conciliation process for community. Using qualitative primary data from a research project “Community conflict conciliation to empower community strengths: a lesson extraction”

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน

ตัวอย่าง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน

        หากท่านเกิดข้อพิพาทเบาะแว้งระหว่างกันในชุมชน ในฐานะที่เป็นคู่พิพาทกัน ต่างคนย่อมต่างต้องการให้ตนเองได้รับความยุติธรรมมากที่สุด การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เปิดโอกาสให้คู่พิพาทได้มาพูดคุยกันเพื่อช่วยกันหาทางออกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและหาแนวทางระงับข้อพิพาทที่ทุกฝ่ายพึงพอใจทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของท่านไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทางไปศาล ค่าจ้างทนาย ที่จะต้องเสียไปในการต่อสู้ดำเนินคดี ทั้งนี้ หากประสงค์ขอรับบริการสามารถติดต่อได้ที่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร 02 141 2768 โทรสาร 02 141 9674 หรือ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มที่ https://goo.gl/LMe9zC