วิวัฒนาการของภาษากับการสื่อสาร

ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคม ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี ๒ ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา

วิวัฒนาการของภาษากับการสื่อสาร

วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษา หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา และความเหมาะสมกับลักษณะ การสื่อสาร ลักษณะงาน เป้าหมาย สื่อและผู้รับสาร วัจนภาษาแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย

๒. ภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ แต่ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสารทั้งในส่วนตัว สังคมและหน้าที่การงาน ภาษาเขียนสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์

วิวัฒนาการของภาษากับการสื่อสาร

อวัจนภาษา หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้ สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้

การแสดงออกด้วยอวัจนภาษา
อวัจนภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน ได้แก่

สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา มีดังนี้
๑. เกิดขึ้นตามธรรมดาวิสัย เช่น การยิ้ม การโบกมือ การส่ายหน้า การปัดเมื่อแมลง ไต่ตอม เป็นต้น
๒. เกิดจากอารมณ์แรงเป็นเครื่องเร้า เช่น เวลาที่มีอารมณ์โกรธเลือดจะสูบฉีด จนหน้าแดง มือเกร็ง กำหมัด เป็นต้น

สัญลักษณ์แสดงออกที่ร่างกาย เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกายแล้วบ่งบอกความหมาย ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ทรงผม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น

สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความหมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ เช่น ลักษณะและขนาดของบ้านเรือน สามารถบอกรสนิยม ฐานะ หรือเชื้อชาติของเจ้าของบ้านได้ สัญลักษณ์บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน เช่น ลูกศรบอกทาง สี แสง เสียง เป็นต้น

สัญลักษณ์แสดงออกด้วยพฤติกรรมแวดล้อม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรา ทำให้เราต้องแสดงพฤติกรรม ตอบสนอง เช่น การปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ การชื่นชมศิลปกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่สื่ออารมณ์และวัฒนธรรมได้

วิวัฒนาการของภาษากับการสื่อสาร

การใช้อวัจนภาษาและวัจนภาษาในการสื่อสารจึงมีความสัมพันธ์กันหลายประการ สรุปได้ดังนี้

๑. ใช้ซ้ำกัน การใช้อวัจนภาษาที่มีความหมายเช่นเดียวกันกับวัจนภาษาช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เพื่อนชวนเราไปดูภาพยนตร์ เราตอบปฏิเสธว่าไม่ไปพร้อมกับส่ายหน้าไปด้วย อาการส่ายหน้าเป็นอวัจนภาษาที่ซ้ำกับคำพูดที่ปฏิเสธออกไปนั่นเอง หากเราพูดเบาเพื่อนไม่ได้ยินเสียงแต่เห็นการส่ายหน้าก็สามารถเข้าใจได้

๒. ใช้แทนกัน การใช้อวัจนภาษาทำหน้าที่แทนคำพูดเช่น เพื่อนถามว่า เธอไปเป็นเพื่อนฉันได้หรือไม่ ผู้ตอบพยักหน้าโดยไม่พูดอะไร ก็สื่อความหมายได้ว่าเป็นการตอบตกลง

๓. ใช้เสริมกัน การใช้อวัจนภาษาเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักให้แก่คำพูดเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก หรือแสดงภาพจากตัวอักษรให้จริงจังมากขึ้น เช่น เมื่อเราไปขอความเห็นใจจากใคร สักคน ถ้าลำพังถ้อยคำที่ พูดอย่างเดียวอาจจะแสดงอารมณ์ไม่เต็มที่ แต่ถ้าเราใช้น้ำเสียงและการแสดงออกบน ใบหน้าและดวงตาประกอบ ก็จะทำให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองในทางอารมณ์เข้าใจและเห็นใจเรามากขึ้น

๔. ใช้เน้นกัน การใช้อวัจนภาษาเน้นบางจุดที่ผู้พูดต้องการจะเน้นประกอบกับวัจนภาษา ซึ่งการเน้นนั้นมีน้ำหนักแตกต่างกัน มีเน้นมาก เน้นพอสมควรหรือเน้นเล็กน้อย เครื่องมือที่ช่วยในการเน้นที่สำคัญ ๆ เช่น การบังคับเสียงให้ดังขึ้นกว่าปกติ การเคลื่อนไหวมือและแขน การเคลื่อนไหวของศีรษะ เป็นต้น

5. ใช้ขัดแย้งกัน การใช้อวัจนภาษาที่สื่อความหมายตรงกันข้ามกับสารในคำพูด เช่น เราได้รับรางวัลมารยาทดีเด่น เพื่อนมากล่าวคำยินดีด้วยแต่สีหน้าไม่ได้ยิ้มแย้มไม่ได้แสดงออกถึงความยินดีนั้นเลย   เช่นนี้แสดงว่าการใช้วัจนภาษาขัดแย้งกับอวัจนภาษา

ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคน ในสังคม ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา

วัจนภาษา (verbal language)
วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษา หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา และความเหมาะสมกับลักษณะ การสื่อสาร ลักษณะงาน เป้าหมาย สื่อและผู้รับสาร

วัจนภาษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย

2. ภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ แต่ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสารทั้งในส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาเขียนสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์