เรียงความ อาชีพใน ฝัน ขายของ ออนไลน์

ถ้าพูดถึงอาชีพที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ รับประกันได้เลยว่าต้องมีอาชีพฟรีแลนซ์ ติดอยู่ใน Top 5 อย่างแน่นอน บางคนเริ่มต้นจากการทำฟรีแลนซ์เป็นอาชีพเสริม เป็นรายได้เพิ่มจากงานประจำ จนรายได้จากการทำฟรีแลนซ์แซงหน้างานประจำ จึงผันตัวออกมาทำเป็นอาชีพหลักกันเลย

อ๊ะ! แต่เดี๋ยวก่อน ทุกอย่างล้วนมีสองด้านเสมอ ก่อนจะลาออกจากงานประจำ เรามาดูข้อดีและข้อเสียของอาชีพนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจกันก่อนดีกว่า

ข้อดีของอาชีพฟรีแลนซ์ ที่คนทำงานประจำพากันอิจฉา

1.มีความอิสระ

หมดข้อกังวลเรื่องวันลาเหลือน้อย ข้อแรกนี้ต้องโดนใจใครหลายคนอย่างแน่นอน เพราะอาชีพฟรีแลนซ์สามารถทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือระหว่างทริปไปเที่ยวต่างประเทศ ขอแค่มีอุปกรณ์การทำงานกับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา อิสระสุด ๆ เลยใช่ไหมล่ะ

2.ไม่ต้องไปเสียเวลารถติดอยู่บนถนน

นอกจากจะไม่เป็นอิสระแล้ว สิ่งที่พนักงานประจำต้องเผชิญนั่นก็คือปัญหารถติด แต่สำหรับฟรีแลนซ์แล้วตัดปัญหาข้อนี้ออกไปได้เลย เพราะจะตื่นทำงานตอนไหนก็ได้ จะดีแค่ไหน ถ้าได้เอาเวลาที่ติดแหง็กอยู่ในรถ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน มาผันเป็นเวลาทำงานรับทรัพย์

3.รายได้

เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญของชีวิต แต่ทุกเรื่องในชีวิตต้องใช้เงิน แม้จะไม่ถูกบรรจุในปัจจัยสี่ แต่ถ้าจะบอกว่าเงินเป็นปัจจัยที่ห้าในชีวิตก็คงจะไม่ผิดอะไร และรายได้ที่เย้ายวนใจของอาชีพฟรีแลนซ์นี่เอง ที่เรียกได้ว่าเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้พนักงานประจำยอมเสี่ยงกระโดดจากห้องออฟฟิศ มานั่งจิบกาแฟทำงานอยู่ที่บ้านกันชิว ๆ เราสามารถสร้างเม็ดเงินได้มากตราบเท่าที่ร่างกายเราจะรับไหว เรียกได้ว่าเป็นรายได้ที่ไม่มีระดับเพดาน ทำมากก็ได้มาก รับรายได้ตามความสามารถของตัวเองกันไปเลย

4.สะสมคอนเน็คชั่นได้

เคยได้ยินไหมคะว่า งานที่มีมาไม่ขาดสายเกิดจากคอนเน็คชั่นที่เรามีอยู่ หากผลงานของเราถูกใจลูกค้า ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ลูกค้าจะรีวิวการทำงานของเราในทางที่ดี การบอกเล่าจากปากต่อปากสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเราได้มาก ๆ ซึ่งข้อนี้สำหรับมือใหม่แล้วอาจต้องใช้ระยะเวลาเยอะหน่อย แต่เมื่อรากฐานมั่นคงแล้ว จะทำการสิ่งใดก็ย่อมสะดวกมากขึ้นจริงไหม

5.เป็นนายตนเอง

งานไม่ได้ยาก แต่คนต่างหากที่ทำให้มันยุ่งยาก เชื่อว่าหลายคนคงเบื่อสังคมออฟฟิศ ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งเห็นถึงสัจธรรมของชีวิต แต่ฟรีแลนซ์ไม่ต้องมากังวลใจกับเรื่องเหล่านี้ เพราะเราไม่ต้องข้องเกี่ยวกับใครสักเท่าไร เอาใจใส่ลูกค้าให้เต็มที่เป็นพอ

ข้อเสียของอาชีพฟรีแลนซ์ที่ควรรู้ก่อนก้าวเข้ามา

1.ไม่มั่นคง

ด้วยรายได้ที่ไม่แน่นอนในแต่ละเดือน ทำให้พนักงานประจำหลายคนหวั่นใจ ไม่กล้าลาออกจากงานประจำ เพราะถ้าหากไม่มีงานขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ขาดรายได้ที่เคยมีเป็นประจำทุกเดือนจริงไหม?

2.ไม่มีสวัสดิการ

อีกสิ่งที่ชาวฟรีแลนซ์ต้องแลกมานั่นก็คือ สวัสดิการสำหรับพนักงาน หมดสิทธิ์เรื่องสิทธิประกันสังคม ยิ่งบางบริษัทมีสวัสดิการค่าอาหารกลางวันให้ด้วย แต่ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วยการซื้อกรมธรรม์หรือสมัครมาตรา 39 ก็สามารถรับสิทธิ์ประกันสังคมได้เช่นกัน

3.เสียสุขภาพ

ด้วยการทำงานได้ 24 ชั่วโมงนี่แหละ ที่ทำให้เราต้องตื่นตัวให้พร้อมทำงานอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเป็นช่วงขาขึ้นแล้วด้วย ก็ต้องรีบโกยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่อย่ารับงานเยอะจนกระทั่งส่งงานช้าเกินกำหนด เพราะอาจทำให้เสียชื่อเสียงและส่งผลเสียต่อเราในอนาคต และสุขภาพเราก็เป็นเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เพราะถ้ามีปัญหาสุขภาพเมื่อไหร่งานของเราก็ต้องหยุดชะงักแน่ ๆ

4.ไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาส่วนตัว

งานประจำยังมีวันหยุดพักผ่อนที่ให้คุณลาแต่ยังได้เงินอยู่ได้ แต่งานฟรีแลนซ์ไม่มีแบบนั้น แถมยังไม่มีเวลาส่วนตัว ถ้าลูกค้าอยากให้แก้งานก็รีบตื่นขึ้นมาทำ งานจะแทรกซึมอยู่ในทุกช่วงเวลาของชีวิตคุณ ไม่ว่าจะตอนตื่น ตอนนอน หรือกระทั่งเวลาทานข้าว แทบไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว

เห็นไหมว่าทุกอย่างย่อมมีข้อดีข้อเสีย ข้อดีของฟรีแลนซ์ก็ดีเสียจนน่าหลงใหล แต่ข้อเสียก็กระทบต่อชีวิตของเราอยู่พอสมควรเช่นกัน ดังนั้นหากใครจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำจริง ๆ แล้วละก็ อย่าลืมพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เลือกทางเดินที่เหมาะสมกับเราที่สุดนะคะ

หมึกยักษ์คือตัวอะไรกันแน่!? เอาจริง หมึกยักษ์เหมือนเอเลี่ยนเลย มองยังไงก็แปลก การเคลื่อนไหวก็แปลก หน้าตาก็ประหลาด จนเดาไม่ถูกเลยว่าร่างกายมันทำงานยังไง ซึ่งถ้าคุณกำลังคิดว่าร่างกายมันต้องทำงานแตกต่างจากมนุษย์แบบสุดขั้วแน่ ๆ คุณคิดถูกแล้ว เพราะเกือบทุกแง่มุมของร่างกายมันน่าพิศวงหมด ...เดี๋ยวพูดให้ฟัง ฝากติดตามทุกช่องทางของพูด: https://linktr.ee/pud_production

พวกเราทุกคนนั้นล้วนมีความชอบเป็นของตนเอง เนื่องด้วยยุคสมัยปัจจุบันของมนุษย์ที่มีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น ยอมรับความเป็นปัจเจกมากขึ้น เราสามารถกำหนดชีวิตของเราได้ เด็กๆที่ค่อยๆเติบโตขึ้นมาในปัจจุบันนั้นจึงมักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “ความฝัน” เป็นของตนเองและคิดว่าเมื่อตนเองเติบโตขึ้นไปนั้นจะสามารถทำให้ “ความฝัน” ของเราให้เป็นจริงได้ ซึ่งในที่นี้คืออาชีพที่จะอยู่กับตัวเขาจนถึงวัยชรา แต่ด้วยระบบการศึกษา, ค่านิยมของสังคมและอาจด้วยอายุที่มากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ “ความฝัน” ของพวกเขาเหล่านั้นเปลี่ยนไปตามสิ่งที่เข้ามาในชีวิต ตัวผมนั้นซึ่งก็เป็นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป จึงมี “ความฝัน” เป็นของตนเองเช่นกันและตัวผมก็ได้เปลี่ยนเส้นทางในระหว่างการเดินไปสู่ “ความฝัน” ของตัวเองเหมือนกับคนอื่นๆเช่นกัน

เริ่มแรกนั้นผมคิดจะเดินไปสายงานเกี่ยวกับ “คอมพิวเตอร์” ผมคิดแค่นี้จริงในสมัยผมยังวัยเยาว์ เพราะผมนั้นใช้ชีวิตกับอุปกรณ์นี้มากซะเหลือเกิน จนกระทั้งอายุมากขี้นอีกนิด จากหมอกที่พร่ามัวที่ว่าไม่รู้จะเป็นอะไรดีก็เริ่มชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเราจะเป็น “โปรแกรมเมอร์” เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของเราได้ และอาชีพนี้ก็คงเป็นที่ต้องการมากในศตวรรษที่ 21 ยุคที่ “คอมพิวเตอร์” เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เส้นทางนี้ของผมก็เดินไปได้ด้วยดี จนถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่ทำให้เส้นทางเดินของผมเปลี่ยนไป

ในช่วงมัธยมผมเริ่มคลุกคลีกับงานด้านสังคมศาสตร์มากขึ้น เช่น รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่งานด้านศาสนา และวัฒนธรรมสมัยใหม่ ผมคลุกคลีกับงานจำพวกนี้ตั้งแต่อยู่ประถม แต่เมื่ออยู่มัธยมผมได้อ่านงานนี้มากขึ้น ด้วยตัวผมที่เริ่มคิดว่าตัวเองนั้นเริ่มถึงทางตันทางด้านการเขียนโปรแกรม มิได้หมายถึงผมศึกษาการเขียนโปรแกรมจนสามารถเขียนทุกภาษาแล้ว แต่ผมไม่มีเป้าหมายในการเขียนโปรแกรมอีกต่อไป ผมจึงหันมาสนใจสาขาวิชา รัฐศาสตร์ ด้วยปัญหาทางการเมืองที่รุมเร้าไทยมาหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน ผมไม่คิดว่าจะเป็นเพียงแค่ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ผมมองว่ามีสิ่งที่ลึกเข้าไปมากกว่านั้นถึงระดับความคิด วัฒนธรรมของเราเอง ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะศึกษาในสาขา รัฐศาสตร์ เมื่ออยู่อุดมศึกษา เพื่อศึกษาค้นคว้าต่อไป สำหรับอาชีพในอนาคตนั้นผมยังไม่เลือกแน่ชัดนัก อาจจะเป็น “นัก(วิชาการ)รัฐศาสตร์, อาจจะทำงานบริษัทซักพักเพื่อหาทุนเรียนต่อก่อน หรืออีกทางเลือกคือพยายามเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไปเลย

ในช่วงอายุประมาณ 15 นี้ผมมองว่าเป็นช่วงที่ยังไม่สายเกินไปที่จะมี “ความฝัน” และพยายามสร้างเส้นทางเดินของตน แต่ถ้าคุณไม่สร้างตอนนี้คุณอาจจะเสียเวลาไปกับสิ่งที่คุณมิได้ต้องการในชีวิตจริงๆ ผมอาจจะโชคดีที่ค้นพบทางที่ผมต้องการเดินไปต่ออย่างแท้จริง ทั้งในระดับอุดมศึกษาแล้วและแนวทางการประกอบอาชีพอย่างคร่าวๆแล้ว ผมจึงอยากกล่าวไว้ว่าคุณควรเริ่มมี “ความฝัน” ในอาชีพของคุณในอนาคตได้แล้ว แต่ถ้าคุณมี “ความฝัน” คุณจะสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ออกนอกลู่นอกทาง และประสบความสำเร็จในชีวิต