จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อลูกค้า

ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรง จรรยาบรรณและหลักปฏิบัติวิชาชีพจึงมีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบธุรกิจโดยรวม

จรรยาบรรณเป็นหลักการในการทำงานที่พนักงานพึงปฏิบัติด้วยจิตสำนึกที่มี คุณธรรมและมีความเสมอภาค ไม่ว่าหลักการปฏิบัติจะกำหนดไว้หรือไม่ เป็นการเปลี่ยนระบบจากการควบคุมเป็นการกำกับและดูแล โดยไว้วางใจในความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน จรรยาบรรณเป็นเรื่องของสามัญสำนึกในจิตใจหรือมโนธรรม เป็นสิ่งที่สูงกว่าข้อบังคับทางกฎหมาย เป็นอุดมคติในการประกอบวิชาชีพ

ดังนั้น เพื่อให้พนักงานทุกท่านในทุกระดับชั้นมีจรรยาบรรณที่ดี เพื่อสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีสู่องค์กร บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางในการประกอบธุรกิจขึ้นเพื่อให้พนักงานทุกท่านยึดถือเป็น แนวทางในการปฏิบัติงาน

หลักการจรรยาบรรณของบริษัทฯ (Principles)

บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทาง โดยใช้หลักเช่นเดียวกันกับแนวทางในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เรื่อง แนวทางในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ของสำนักงานคณะ กรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับลงวันที่ 26 ธันวาคม 2543 และนำมาปรับใช้กับธุรกิจด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้พนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด (Code of Best Practice)

1. ความซื่อสัตย์ ความเป็นธรรม และความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ
บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และสุจริต รวมทั้ง ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม และมีความโปร่งใส นอกจากนี้ ต้องไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นการละเว้นหรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิเสธความรับผิดชอบ ที่บริษัทฯพึงมีต่อลูกค้าที่สุจริต

2. การประกอบธุรกิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจด้วยความรู้ความเข้าใจ ความชำนาญ ความระมัดระวัง และความเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทำ รวมทั้ง ควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ และจัดให้มีระบบรองรับการดำเนินธุรกิจและระบบควบคุมภายในอย่างเหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ

3. การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนด
บริษัทฯ มีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ดีในการประกอบธุรกิจ และต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกโดยองค์กรกำกับดูแล รวมทั้ง คำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือกฎระเบียบดังกล่าวด้วย และ ไม่กระทำการช่วยเหลือ หรือยอมเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดการละเว้น หรือ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบดังกล่าว

4. การรู้จักลูกค้า
บริษัทฯ ควรมีข้อมูลของลูกค้าอย่างเพียงพอ เพื่อสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

5. การเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้า
บริษัทฯมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และเหมาะสม ให้แก่ลูกค้าทราบอย่าง เพียงพอเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการกับบริษัทฯ รวมถึงการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน

6. การรักษาความลับของลูกค้า
บริษัทฯ พึงรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้า และป้องกันการนำข้อมูลที่อาจนำไปหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลหรือบุคคลอื่น ๆ

7. การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัทฯ มีมาตรการที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระหว่างบริษัทฯและลูกค้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อการให้บริการแก่ลูกค้า

8. การเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
บริษัทฯต้องดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้ปลอดภัย และมีวิธีการที่เหมาะสมในการ ป้องกันมิให้ทรัพย์สินของลูกค้าเกิดความเสียหาย รวมถึงมีระบบการบันทึกข้อมูลทรัพย์สินของลูกค้าที่สามารถระบุเจ้าของ ทรัพย์สินได้ทันที

9. การดำรงฐานะการเงิน
บริษัทฯต้องประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อฐานะและการ ดำเนินงานของบริษัทฯ รวมทั้งมีการวางแผนการจัดสรรเงินทุนให้เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงดัง กล่าวและภาระผูกพันใดๆจากการดำเนินธุรกิจ

10. การให้ความร่วมมือกับองค์กรกำกับดูแล
บริษัทฯมีนโยบายให้ความร่วมมือกับองค์กรกำกับดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความเป็นองค์กรที่สามารถกำกับดูแลตนเอง

จริยธรรมและคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ

จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อลูกค้า

สาระการเรียนรู้
1.  ความหมายของจริยธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจ
2.  จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ
3.  คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  บอกความหมายของจริยธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจได้
2.  บอกจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจได้
3.  บอกคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจได้

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 2

ความหมายของคำว่าจริยธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจ

    จริยธรรม 
(Ethics)  หมายถึงหลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางของความประพฤติ
    จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)  หมายถึงการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ

        มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย

(IMET) ได้เสนอหลักจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจไว้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติได้แก่

    จริยธรรมของนักธุรกิจต่อลูกค้า
    
-  ขายสินค้าและบริการในราคาที่ยุติธรรม
    -  สินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ
    -  ดูแลให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน
    -  ละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
    -  ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีน้ำใจ

    จริยธรรมของนักธุรกิจต่อคู่แข่งขัน
    
-  ละเว้นจากการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือ
       ทางอ้อม
    -  ควรให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ในด้านต่าง ๆ

    จริยธรรมของนักธุรกิจต่อหน่วยงานราชการ
  
  -  การทำธุรกิจควรตรงไปตรงมา
    -  ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการทำธุรกิจ
    -  ละเว้นจากการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ
    -  ไม่สนับสนุนข้าราชการทำทุจริต
    -  ละเว้นการให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการ
    -  มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อถือต่อหน่วยงานราชการ
    -  ให้ความร่วมมือเป็นพลเมืองที่ดี

    จริยธรรมของนักธุรกิจต่อพนักงาน
    
-  ให้ค่าจ้างเหมาะสม
    -  เอาใจใส่ต่อสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน
    -  พัฒนาให้ความรู้เพิ่มความชำนาญ
    -  ให้ความเป็นธรรม และโอกาสที่เท่าเทียมกัน
    -  ศึกษานิสัยใจคอและความถนัดของพนักงาน
    -  เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
    -  ให้ความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจ
    -  ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา
    -  สนับสนุนให้พนักงานเป็นคนดี

    จริยธรรมของนักธุรกิจต่อสังคม
    
-  ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมลง
    -  ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    -  เคารพสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น
    -  ให้ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคม
    -  ให้ความสนใจเรื่องการสร้างงานแก่คนในสังคม

    จริยธรรมของนักธุรกิจต่อนักธุรกิจ
    
-  
มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน
    -  รักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของนายจ้างให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
    -  ระมัดระวังเรื่องการวางตัวในสังคม
    -  หลีกเลี่ยงการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง
    -  ละเว้นการทำงานให้ผู้อื่น

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ

    -  มีความรับผิดชอบในการทำงานไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน
    -  กล้าเสี่ยงพอสมควร
    -  มีความมั่นใจในตนเอง
    -  มั่นใจในการประเมินผลงานกิจการของตนเอง
    -  กระตือรือร้นในการทำงาน
    -  มองการณ์ไกล
    -  มีความสามารถในการคัดคนเข้าทำงาน
    -  คำนึงถึงความสำเร็จของงานมากกว่าคน
    -  มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
    -  มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพดี
    -  มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
    -  มีความชำนาญในงานที่ทำ
    -  มีความสามารถในการจัดการและการวางแผน
    -  มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนเอง

        จริยธรรมทางธุรกิจคือการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด เพื่อให้ธุรกิจมีความก้าวหน้าและเติบโตไปได้อย่างมั่นคง

จริยธรรมของนักธุรกิจที่มีต่อลูกค้ามีอะไรบ้าง

ติดต่อลูกค้าด้วยความสุภาพ มีประสิทธิภาพ และเป็นที่วางใจได้ของลูกค้าและจัดให้มีระบบและกระบวนการที่ให้ลูกค้าร้องเรียน รวมทั้งความรวดเร็วในการตอบสนอง หรือส่งมอบสินค้าและบริการ รักษาความลับของลูกค้าและไม่นำไปใช้เพื่อเกิดประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ

จริยธรรมของผู้ประกอบการมีอะไรบ้าง

จริยธรรมในการประกอบอาชีพ หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติในการประกอบอาชีพ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นธรรม ความเชื่อถือได้ ความไว้วางใจ ความมีวินัย เป็นต้น จรรยาบรรณ เป็นข้อความที่กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติของอาชีพโดยเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ควรปฏิบัติตาม หลักการปฏิบัติตนในงานอาชีพ

จริยธรรมที่มีต่อลูกค้าควรปฏิบัติอย่างไร

มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกค้า เพื่อนร่วมอาชีพ และบริษัท เสนอขายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง ให้บริการที่ดีสม่ำเสมอ ชี้แจงให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิ และสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า หมั่นเยี่ยมเยียนลูกค้าเสมอ ทั้งด้วยตนเอง โทรศัพท์ จดหมาย บัตรอวยพรต่าง ๆ

จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมจำเป็นอย่างไรกับการประกอบธุรกิจ

1. ธุรกิจไม่ควรหลีกเลี่ยงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ธุรกิจควรรักษาทรัพยากรทางการบริหารไว้ในสภาพสลับซับซ้อนของปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น 3. การมีสังคมที่ดีช่วยให้สภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจดีไปด้วย จะทำให้องค์การได้รับผลกำไรในระยะยาวจากการลงทุน