การรู้แจ้ง ของ พระพุทธเจ้า เป็น ขั้น ๆ

สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความอยากได้ในรูป รส กลิ่น เสียง(กามตัณหา) ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่(ภวตัณหา) ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ (วิภวตัณหา)

  • นิโรธ คือ ความดับทุกข์

  • มรรค คือ วิถีปฏิบัติเพื่อไปสู่การดับทุกข์มี 8 ขั้น เรียกว่า “มรรค 8”

  • การรู้อริยสัจ 4 นี้ มีเงื่อนไขต้องประกอบด้วย ญาณ 3 จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการตรัสรู้ กล่าวคือ ต้องเป็นการรู้อริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง 3 รอบ (ปริวัฎ 3) รวมทั้งหมดเป็น 12 รายการ ได้แก่

    1. สัจญาณ การหยั่งรู้สัจจะหรือความจริงของอริยสัจแต่ละข้อตามที่มันเป็นจริง คือ รู้ว่าทุกข์คือเช่นนี้ สมุทัยคือเช่นนี้ นิโรธคือเช่นนี้ และมรรคคือเช่นนี้

    2. กิจญาณ การหยั่งรู้กิจหรือหน้าที่ที่ต้องทำในอริยสัจแต่ละข้อ คือ รู้ว่าทุกข์นี้ควรกำหนดรู้ สมุทัยนี้ควรละเสีย นิโรธนี้ควรทำให้แจ้ง และมรรคควรปฏิบัติ

    3. กตญาณ การหยั่งรู้สิ่งอันทำแล้วในอริยสัจแต่ละข้อ คือ รู้ว่าทุกข์นี้ได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยนี้ได้ละเสียแล้ว นิโรธนี้ได้ทำให้แจ้งแล้ว และมรรคนี้ได้ปฏิบัติอย่างถึงพร้อมแล้ว

    เมื่อได้รู้แจ้งจนครบทั้ง 12 รายการดังนี้แล้ว จึงทรงปฏิญาณพระองค์เองว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว (วินย.4/14-17)

    ส่วนใหญ่เราจะใช้คำว่า “ตรัสรู้” เฉพาะสำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ในกรณีของพระสงฆ์สาวกโดยทั่วไปเราจะใช้คำว่า “บรรลุธรรม” เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามโดยสภาวะหรือตัวกระบวนการนั้น อาจจะยังพอเทียบหรือใช้แทนกันได้ แต่ “การบรรลุธรรม” อาจหมายเพียงแค่ “การบรรลุโสดาบัน” หรือระดับสูงสุดคือ “การบรรลุอรหันต์” ก็ได้ ซึ่งทั้งสองประการนี้ย่อมแตกต่างจากความหมายของ “การตรัสรู้” ที่ใช้สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในแง่ตัวขอบเขตของความรู้ หรือ “ความจริง” ที่บรรลุ รวมทั้งผลที่ตามมาจากการบรรลุนั้น ๆ ด้วย เช่น การได้ฌาน อภิญญา ปฏิสัมภิทา (ดูอธิบายศัพท์)

    ความเชื่อเรื่อง “การรู้แจ้ง” หรือการเข้าถึงความจริงสูงสุด หาใช่มีแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น หากแต่ศาสนาหรือระบบปรัชญาอื่นๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นในอินเดีย ยกเว้นสำนักจารวาก (ดูอธิบายศัพท์) ซึ่งเป็นปรัชญาสสารนิยม (materialism) ของอินเดียก็ล้วนแต่มีความเชื่อในทำนองนี้ด้วยกันทั้งสิ้น แต่อาจแตกต่างกันไปในรายละเอียดของวิธีปฏิบัติเพื่อการรู้แจ้ง ผลอันเกิดจากการรู้แจ้ง และศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกเท่านั้น ตัวอย่างเช่น “โมกษะ” (Moksa) ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู “ไกวัลย์” (kaivalya) ของศาสนาเชนหรือแม้แต่ในพระพุทธศาสนาต่างนิกาย เช่น พระพุทธศาสนานิกายเซ็นในญี่ปุ่นก็มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “ซาโตริ” (satori) เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ว่าศาสนาทุกศาสนา หรือระบบปรัชญาทุกระบบที่มีต้นกำเนิดอยู่ในอินเดีย (ยกเว้นจารวาก) ล้วนแล้วแต่เป็นปรัชญาที่เกิดมาจากรากฐานความเข้าใจที่ว่า “ชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนั้นเป็นทุกข์” และความทุกข์ที่ว่านี้ก็มีสาเหตุมาจากความไม่รู้ในความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ (อวิชชาหรืออวิทยา) สิ่งที่ปิดกั้นทำให้มนุษย์ไม่รู้ความจริงที่ว่านี้ก็คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตของมนุษย์นั่นเอง ปรัชญาอินเดียเป็นระบบปรัชญาที่เกิดมาจากความไม่พอใจต่อชีวิตที่เป็นทุกข์ของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้นักปรัชญาหรือศาสดาทั้งหลายของอินเดีย จึงได้พยายามคิดค้นแสวงหาวิธีหรือกระบวนการในการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์อันเป็นสภาพชีวิตที่ไม่พึงปรารถนานี้ และนำไปสู่สภาพชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งนั่นก็คือสภาวะแห่งความสุขนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง การศึกษาเพื่อค้นหาความจริงของปรัชญาอินเดียจึงไม่ใช่เป็นแต่เพียงเพื่อต้องการสนองความอยากรู้เท่านั้น หากแต่เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นเรื่องการปฏิบัติในชีวิตควบคู่ไปด้วย

    ถึงแม้วิธีปฏิบัติและความจริงสูงสุดที่แต่ละสำนักอ้างว่าเข้าถึงนั้นจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป เช่น นิพพานในพระพุทธศาสนาและพรหมันในศาสนา แต่ปรัชญาอินเดียทุกสำนักต่างก็เชื่อในหลักวิถีปฏิบัติที่มุ่งเน้นการมองเข้าไปในตนเอง เพื่อให้เกิด “การรู้แจ้ง” หรือก็คือการเข้าถึงสัจธรรมอันเกี่ยวเนื่องอยู่กับชีวิตของผู้รู้เอง แล้วโยงไปถึงชีวิตของผู้อื่นและสัตว์อื่นด้วย การรู้แจ้งจึงเป็นสิ่งเดียวกันกับการทำลายความทุกข์ให้สิ้นไปไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป อุปมาได้กับการจุดคบไฟขึ้นในที่มืด การเกิดขึ้นของไฟนั้นได้ทำหน้าที่สองประการไปพร้อมกัน ประการแรกคือให้แสงสว่างแก่เรา ประการที่สองคือขจัดความมืดให้สิ้นไป การตรัสรู้หรือโพธิญาณในพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ความสว่างในใจกล่าวคือวิชชา หรือความรู้แจ้งในความเป็นจริงก็ย่อมเกิดมีขึ้น พร้อมกันนั้นความมืด กล่าวคือ กิเลศ ตัณหาและอวิชชาอันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ในชีวิตก็จะถูกทำลายไปด้วย ดังนั้น การตรัสรู้ โพธิญาณหรือความรู้แจ้งกับความสิ้นไปของทุกข์จึงเป็นกระบวนการเดียวกัน (ม.มู.12/352) สภาวะเช่นนี้พระพุทธศาสนามีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “นิพพาน” ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน และอยู่พ้นจากภาษาที่มนุษย์จะบรรยายได้ การเข้าถึงจึงต้องใช้จิตเข้าไปสัมผัสโดยตรงด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตามกระบวนการบางอย่าง

    ความหมายและลักษณะของคำว่า “ตรัสรู้” หรือ “โพธิญาณ” ดังกล่าวนี้ หากจะมองในกรอบของญาณวิทยา (epistemology) ตะวันตก พระพุทธศาสนาอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสำนักปรัชญาที่เรียกว่า “อัชฌัตติกญาณนิยม” (intuitionism) กล่าวคือ เป็นพวกที่เชื่อว่าการหยั่งรู้โดยตรงเป็นบ่อเกิดที่สำคัญที่สุดของความรู้ ความรู้แบบอัชฌัตติกญาณ (intuition) นี้เป็นความรู้จากภายใน กล่าวคือ เป็นความรู้แจ่มแจ้งชัดเจนด้วยการที่จิตเข้าไปสัมผัสหรือแทงทะลุกับสิ่งที่รู้นั้นโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามประเด็นปัญหาว่าจริงๆ แล้วญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเป็นแบบใดนั้น ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ของเหล่านักวิชาการตามการตีความี่การัาในพุทธปรัชญาเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่ที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าเป็นแบบประสบการณ์นิยม (empiricism) เช่น ทัศนะของชยาติลเลเก (K.N. Jayatilleke) และลักษณ์วัต ปาละรัตน์ บ้างก็ว่าเป็นแบบปฏิบัตินิยม (pragmatism) เช่นทัศนะของ เดวิด คลุปหานะ (David Kalupahana) และ แสง จันทร์งาม หรือบ้างก็ว่าเป็นแบบเหตุผลนิยม (rationalism) เช่นทัศนะของ ราธกฤษณัน (S. Ramakrishnan) เป็นต้น

    ชยาติลเลเก และลักษณ์วัต ปาละรัตน์ เชื่อว่าพื้นฐานที่สำคัญของญาณวิทยาแบบพุทธอยู่ที่การรับรู้หรือการประจักษ์ความจริด้วยประสบการณ์ของตนเองโดยตรงที่เรียกว่าอัตตประจักษ์ ดังนั้น ญาณวิทยาของพุทธปรัชญาจึงมีแนวโน้มเป็นแบบประสบการณ์นิยม (ทัศนะของ ชยาติลเลเก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือ Early Buddhism Theory of Knowledge ส่วนทัศนะของ ลักษณ์วัต ปาละรัตน์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่) “การหยั่งรู้” (intuition) ของฝ่ายพุทธนั้นต่างจากการหยั่งรู้ตามความหมายที่ใช้กันทั่วไปในทางตะวันตก เพราะไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองในลักษณะที่ไม่สามารถอธิบายได้ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในแง่ที่ว่าการรับรู้นั้นเป็นผลของการสะสมประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์จนถึงระดับหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง และเกิดความรู้แบบเห็นแจ้งแทงตลอด เป็นการเข้าถึงและสัมผัสความจริงโดยตรง แต่ในแง่ที่การรับรู้ทางจิตนี้มีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเป็นที่มา และเป็นเงื่อนไขสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้จัดการหยั่งรู้แบบพุทธนั้นเป็นประสบการณ์ด้วย (ลักษณ์วัต ปาละรัตน์, 2535: 322-323 )

    เดวิด คลุปหานะ และแสง จันทร์งาม จัดให้ญาณวิทยาของพุทธอยู่ในพวกปฏิบัตินิยม (ทัศนะของเดวิด คลุปหานะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน A History of Buddhist Philosophy : Continuities and Discontinuities ส่วนทัศนะของ แสง จันทร์งาม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน พุทธศาสนวิทยา) หลักย่อๆ ของปฏิบัตินิยมมีอยู่ว่า ความคิดใดๆ จะมีความหมายหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับผลในทางปฏิบัติของความคิดนั้นๆ ถ้ามีผลในทางปฏิบัติ ความคิดนั้นก็มีความหมาย...ความคิดและความเชื่อถือที่ดีนั้นควรจะนำมาปฏิบัติได้ ควรจะอำนวยผลประโยชน์ให้แก่มนุษย์... ความเชื่อมายาศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จัดเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องตามหลักปฏิบัตินิยม พุทธศาสนาก็ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้เช่นเดียวกันซึ่งต่างจากชาวอินเดียส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลที่ต่างก็เชื่อมั่นในอำนาจของดวงดาว ฤกษ์ยาม สถานที่ พิธีกรรม แม่น้ำบางแห่ง (แสง จันทร์งาม, 2535: 21-22)

    ส่วนราธกฤษณันตีความต่างออกไปว่าญาณวิทยาของพุทธเป็นแบบเหตุผลนิยม (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Indian Philosophy, Vol. I) พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักเหตุผลนิยมในแง่ที่ว่า พระองค์ศึกษาความเป็นจริงหรือประสบการณ์โดยไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นวิวรณ์เหนือธรรมชาติและยังมองในแง่ที่ว่าพุทธปรัชญานั้นเป็นเหตุผลนิยมตามความหมายทางปรัชญาที่ตรงข้ามกับประสบการณ์นิยม จากการที่พระพุทธองค์ตรัสว่าต้องการที่จะประดิษฐานศาสนาที่มีเหตุผล (ลักษณ์วัต ปาละรัตน์, 2535: 269)


    2. พุทธะ 3 จำพวก

    บุคคลผู้ตรัสรู้จะเรียกว่า “พุทธะ” แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทยังจำแนกลงไปได้อีกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

    1. พระสัมมาสัมพุทธะ

    2. พระปัจเจกพุทธะ

    3. พระอนุพุทธะหรือพระสาวกพุทธะ

    ถึงแม้ผู้ตรัสรู้ (พุทธะ) ทั้ง 3 ประเภทจะรู้แจ้งในอริยสัจ 4 เหมือนกัน ส่งผลนำไปสู่การดับทุกข์และเข้าสู่นิพพานเช่นเดียวกัน แต่ด้วยการบำเพ็ญสั่งสมบารมีธรรมมาในอดีตที่แตกต่างกัน ในรายละเอียดของคุณสมบัติปลีกย่อยอื่นๆ จึงมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันตามไปด้วย กล่าวคือ พระสัมมาสัมพุทธะ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “พระพุทธเจ้า” นั้นจะทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ด้วย ถือเป็นภาวะแห่งการตรัสรู้ที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา ในโพธิราชกุมารสูตร (ม.ม.13/505) มีบันทึกเล่าถึงเรื่องราวการตรัสรู้ของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (ดูอธิบายศัพท์) ไว้ว่าเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 35 พรรษา ภายหลังการบำเพ็ญเพียรมาด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเวลาถึง 6 ปี ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระองค์ประทับนั่งใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณให้จงได้ แล้วจึงทำสมาธิจนบรรลุรูปฌานทั้ง 4 ขั้น (ดูอธิบายศัพท์) เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น พระองค์จึงน้อมจิตไปสู่การใช้สติปัญญาพิจารณา (วิปัสสนาญาณ) จนเกิดความรู้แจ้งไปเป็นลำดับขั้น กล่าวคือ ในช่วงเวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้ เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้ และเวลาปัจฉิมยาม ทรงได้อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส นำไปสู่การตรัสรู้ “อริยสัจ 4” 

    ดังที่กล่าวแล้วว่าในบรรดาพุทธะทั้ง 3 จำพวกนี้ ถึงแม้จะเป็นการตรัสรู้เช่นเดียวกันก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธะถือว่าเป็นภาวะแห่งการตรัสรู้ที่สูงที่สุด มีปัญญามากที่สุด มีขอบเขตของความรู้หรือ “ความจริง” ที่บรรลุกว้างขวางที่สุด จนนำไปสู่ความสำเร็จในการประกาศพระศาสนาให้บุคคลอื่นรู้ตามได้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพราะอาศัยความรู้อันเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ไม่มีในพุทธะอื่นๆ ความรู้อันเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ว่านี้มีด้วยกัน 6 ประการ ได้แก่

    1. อินทริยโรปริยัตตญาณ คือ ญาณหยั่งรู้อินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์ หมายถึง การหยั่งรู้ภาวะทางจิตใจของสัตว์ทั้งหลายว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องแนวความคิด ความรู้ ความสามารถ ความมีกิเลสมาก กิเลสน้อย ความเป็นคนสอนง่าย สอนยาก ฯลฯ

    2. อาสยานุสยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ภาวะที่แฝงอยู่ในกมลสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีทั้งภาวะที่ดีงาม (อาสยะ) และภาวะที่ชั่ว (อนุสัย) มีกามราคะ เป็นต้น

    3. ยมกปาฏิหาริยญาณ คือ ญาณอันทำให้สามารถแสดงปาฏิหาริย์ได้ คือปาฏิหาริย์เนื่องด้วยธาตุน้ำและธาตุไฟ แสดงออกพร้อมกัน

    4. มหากรุณาสมาบัตติญาณ คือ ญาณในการเข้าสมาบัติ มีมหากรุณาเป็นอารมณ์ ไปสำรวจภาวะทางจิตของผู้ที่พร้อมจะตรัสรู้ตาม ทำให้หมู่สัตว์ได้รับประโยชน์จากการตรัสรู้ของพระองค์

    5. สัพพัญญุตญาณ คือ ญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีตปัจจุบันและอนาคต

    6. อนาวรญาณ คือ ญาณอันไม่มีความข้องขัดไม่มีเครื่องกั้น (ขุ.ปฏิ.31/269-290)

    ในกรณีของพระปัจเจกพุทธะก็จะบรรลุการตรัสรู้ได้ด้วยตัวท่านเองเช่นเดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธะ แต่จะต่างออกไปก็ตรงที่เป็นการรู้เฉพาะตน ไม่สามารถสั่งสอนแนะนำให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ถือเป็นภาวะแห่งการตรัสรู้ที่มีลำดับรองลงมาจากสัมมาสัมพุทธะ แต่ก็ยังสูงกว่าพระอนุพุทธะ ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทมีพุทธพจน์ตรัสยืนยันการมีอยู่จริงของพระปักเจกพุทธะด้วยกันหลายแห่ง เช่น ในปักเจกพุทธปาทาน (ขุ.อป.32/2) ได้มีบันทึกเล่าไว้ว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่พระเชตวันวิหาร พระอานนท์เถระเกิดความสงสัยอย่างแรงกล้าในเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงได้เข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงท่านทั้งหลายจะเป็นเช่นไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะใดจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสตอบพระอานนท์พอสรุปความได้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็นผู้สร้างบุญญาธิการไว้ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ยังไม่ได้ตรัสรู้ในศาสนาอันเป็นสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น แต่ท่านก็เป็นผู้มีปัญญาแก่กล้าพร้อมที่จะตรัสรู้ได้เองโดยไม่ต้องรับฟังคำสั่งสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนอกจากนั้น ท่านจะยังไม่บังเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมกับการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย แต่เมื่อตรัสรู้แล้วนั้น ด้วยความจำกัดของการบำเพ็ญบารมีบางประการ ท่านจะดำรงชีวิตอยู่ในลักษณะของบุคคลผู้เดียวเที่ยวไป (เอโก จเร) ไม่สามารถสั่งสอนให้ผู้หนึ่งผู้ใดตรัสรู้ตามได้

    ความสามารถในการละสังโยชน์จะเรียงจากต่ำไปหาสูง ดังนั้น ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทการตรัสรู้ การรู้แจ้ง หรือการบรรลุธรรมจึงมีลำดับขั้นที่เป็นระบบกฎเกณฑ์แน่นอนชัดเจน ดังนี้

    1. พระโสดาบัน เป็นผู้ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้

    2. พระสกิทาคามี เป็นผู้ละสังโยชน์ 3 อย่างได้เช่นเดียวกับที่พระโสดาบันละได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถทำราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบางลงไปได้อีก

    3. พระอานาคามี เป็นผู้ละสังโยชน์เพิ่มขึ้นได้อีก 2 อย่าง (จากที่พระโสดาบันและพระสกิทาคามีละได้) ได้แก่ กามราคะและปฏิฆะ รวมเป็น 5 อย่าง

    4. พระอรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์ทั้ง 10 อย่างได้โดยสมบูรณ์ (อภิ.วิ.35/837)

    ขอให้สังเกตว่าพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันและพระสกิทาคามีนี้ยังคงละกามราคะไม่ได้ ดังนั้น พระอริยบุคคลทั้งสองประเภทนี้จึงยังคงมีครอบครัวและเกี่ยวข้องกับกามอยู่ แต่เป็นการเกี่ยวข้องภายใต้กรอบของศีลธรรม จะไม่มีการประพฤติผิดศีลเป็นอันขาด ตัวอย่างเช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ มีลูกชาย หญิง ถึง 20 คน เป็นต้น ส่วนพระอานาคามีและพระอรหันต์ ด้วยเหตุที่สามารถละกามราคะได้แล้ว จึงไม่มีการยุ่งเกี่ยวกับกามอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม พระอนาคามีก็ยังคงสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในเพศฆราวาสหรือมีครอบครัวได้อยู่ (ในกรณีที่ท่านแต่งงานก่อนที่จะบรรลุพระอานาคามี) เป็นแต่เพียงจะไม่มีการยุ่งเกี่ยวทางเพศกับคู่สมรสต่อไปอีกแล้วเท่านั้น

    การแบ่ง “พุทธะ” ออกเป็น 3 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นการแบ่งโดยใช้ระดับของผู้บรรลุตามระดับความจริง หรือความรู้ที่บรรลุถึงเป็นเกณฑ์ นอกจากการแบ่งแบบนี้แล้ว ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาก็ยังมีวิธีการแบ่งแบบอื่น ๆ ไว้อีก เช่น การแบ่งโดยใช้รายละเอียดของวิธีปฏิบัติที่เน้นแตกต่างกัน เป็น “ปัญญาวิมุติ” และ “เจโตวิมุติ” (อัง.ทุก.20/276) ประเภทแรกคือผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาหรือด้วยการเจริญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน ส่วนประเภทหลังคือผู้หลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ

    กล่าวโดยสรุป ในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาท การตรัสรู้มีหลายลักษณะ ในแง่ของปัญญา ความรู้ที่เพียงพอหรือจำเป็นต่อการดับทุกข์การตรัสรู้ทุกลักษณะมีเท่ากัน ส่วนปัญญา ความรู้ที่อยู่นอกเหนือความจำเป็นในการดับทุกข์ในลักษณะต่างๆ อาจมีไม่เท่ากัน เช่น ความรู้ที่นำไปสู่ความสามารถในการสั่งสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตาม เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญบารมีสั่งสมมาในอดีตที่แตกต่างกัน

    3. โพธิปักขิยธรรม: ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ 37 ประการ

    1. สติปัฏฐาน 4 คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้เห็นตามความเป็นจริงที่สิ่งนั้นๆ เป็น มี 4 ประการ ได้แก่ 1) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า มันเป็นแต่เพียงกาย หาใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใดไม่ 2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดเวทนา (ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ) ให้เห็นตรงตามความเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา และรู้ชัดว่าเวทนาที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร กล่าวคือ เป็นสุข เป็นทุกข์หรือเฉยๆ 3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการตั้งสติพิจารณาจิตให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา และรู้ชัดว่าจิตของตนเป็นไปอย่างไรในขณะนั้นๆ กล่าวคือ มีหรือไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ เศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น 4) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมให้เห็นตรงตามที่มันป็นจริงว่า มันเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา และรู้ชัดตรงตามเป็นจริงว่าธรรมเหล่านั้นคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดขึ้น เจริญขึ้นหรือดับอย่างไรในตน เป็นต้น (ที.ม.10/273-300 , ม.มู.12/131-152)

    2. สัมมัปปธาน 4 คือธรรมหมายถึงความเพียร ประกอบด้วย 1) สังวรปทาน เป็นการเพียรระวังยับยั้งบาปหรืออกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น 2) ปหานปธาน เป็นการเพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้ลดลงหรือหมดไป 3) ภาวนาปธาน เป็นการเพียรกระทำบุญอันเป็นกุศลที่ยังไม่มีให้เกิดมีขึ้น 4) อนุรักขสัมปทาน เป็นการเพียรรักษาบุญอันเป็นกุศลที่มีอยู่แล้วให้ตั้งมั่นและเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป (อัง.จตุกก.21/13 , 14 และ 69)

    3. อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ (ในที่นี้หมายถึงการตรัสรู้) ได้แก่ 1) ฉันทะ คือ ความพอใจ ต้องการที่จะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ 2) วิริยะ คือ ความพยามยาม ขยัน หมั่นเพียรที่จะทำสิ่งนั้น 3) จิตตะ คือ การเอาใจใส่ อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำนั้น 4) วิมังสา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ทำนั้น (ที.ปา.11/231 , อภิ.วิ.35/505)

    4. อินทรีย์ 5 คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน หมายความว่าเป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างของตน

    5. พละ 5 คือ ธรรมอันเป็นกำลัง หมายความว่าเป็นกำลังหรือพลังทำให้เกิดความมั่นคง

    อินทรีย์ 5 และ พละ 5 จริงๆ แล้วเมื่อจำแนกลงไปก็คือธรรมอย่างเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อแต่งกันออกไปเท่านั้น ได้แก่ 1) ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น 2) วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม 3) สติ คือ ความระลึกได้ 4) สมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่น 5) ปัญญา คือ ความรู้ทั่วชัด (ที.ปา.11/300 , อัง.ปัญจก.22/13 , อภิ.วิ.35/844)

    6. โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ ได้แก่ 1) สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ 2) ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม 3) วิริยะสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียรพยายาม 4) ปิติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ 5) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกาย สงบใจ 6) สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น 7) อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามจริง (ที.ปา.11/327,434 , อภิ.วิ.35/542)

    7. มรรค 8 เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “อริยอัฏฐังคิกมรรค” คือ ธรรมอันเป็นทางมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)นำไปสู่การตรัสรู้ ไม่ติดข้องใน กามสุขัลลิกานุโยค และอัตติกิลมถานุโยค ประกอบด้วย 1) สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ 2) สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบ 3) สัมมาวาจา คือการเจรจาชอบ 4) สัมมากัมมันตะ คือการกระทำชอบ 5) สัมมาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพชอบ 6) สัมมาวายามะ คือความพยายามชอบ 7) สัมมาสติ คือการระลึกชอบ 8) สัมมาสมาธิ คือการตั้งมั่นชอบ (ที.ม.10/299 , ม.มู.12/149 , ม.อุ.14/704 , อภิ.วิ.35/569)


    4. การบรรลุธรรม (ตรัสรู้) ในพระพุทธศาสนามหายาน นิกายเซ็น

    จากหัวข้อที่ 2 และ 3 ที่ผ่ามมา เราจะเห็นได้ว่าในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท การตรัสรู้หรือการบรรลุธรรมหรือการรู้แจ้งนั้น เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบชัดเจน สามารถจำแนกเป็นขั้นตอนจากต่ำไปหาสูงตามความมากน้อยของกิเลสที่แต่ละขั้นตอนละได้ การบรรลุธรรมจึงเป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้นมาลอยๆ ด้วยความบังเอิญ หากแต่ต้องเกิดมาจากการฝึกฝนตนเองอย่างหนักด้วยกระบวนการบางอย่าง ความเข้าใจเช่นนี้สำคัญมากในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจะพบว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายหลังนี้กลับมิได้ให้ความสำคัญหรือพูดถึงการบรรลุธรรมอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนี้ไว้มากนัก ถึงแม้ในบางพระสูตรเช่น วัชรเฉทิกาสูตร สุขาวดีวยูหสูตรและอมิตายุรธยานสูตร เป็นต้น จะมีการกล่าวถึงพระอริยบุคคลสี่จำพวกอยู่บ้างก็ตาม แต่การกล่าวถึงนั้นก็มิได้มุ่งเพื่อชักชวนให้เกิดการปฏิบัติตาม (สมภาร พรมทา, 2540: 211) ในเบื้องต้นนี้มโนทัศน์เรื่องการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจึงดูเหมือนจะมีแบบฉบับเป็นของตนเองแตกต่างออกไปจากฝ่ายเถรวาทจนอาจเกิดปัญหาได้ว่า หากมองด้วยมุมมองของเถรวาทแล้ว แท้จริงนั้นการตรัสรู้ธรรมของฝ่ายมหายานจะยังคงเป็นคำสอนที่อยู่ในกรอบของพระพุทธศาสนาหรือไม่อย่างไร

    การตรัสรู้ธรรมตามแบบฉบับของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายเซ็นมีศัพท์เฉพาะภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ซาโตริ” (satori) ดี. ที. ซูสุกิ (D. T. Suzuki) นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนานิกายเซ็นคนสำคัญของญี่ปุ่นได้กล่าวถึงลักษณะของซาโตริพอสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

               1. วิถีชีวิตของคนเราตามปกตินั้นจะเวียนว่ายไปตามจิตสำนึกแบบหนึ่ง ซูสุกิ เรียกจิตสำนึกแบบที่ว่านี้ว่าจิตสำนึกแบบแบ่งแยกโลกออกเป็นสองส่วน (dualistic view) คนที่มองโลกด้วยทัศนะแบบนี้ย่อมเห็นว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ คู่ที่ตรงกันข้ามกัน เช่น มีความดี ความเลว มีความน่ารัก น่าเกลียด เป็นต้น

               2. สรรพสิ่งที่เรามองผ่านจิตสำนึกแบบแบ่งแยกออกเป็นสองนั้นจะมีอยู่สองส่วนด้วยกันคือ ส่วนหนึ่งเราพอใจ อยากได้ อยากให้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นของเรา และเมื่อได้ครอบครองแล้วก็ไม่อยากให้สิ่งเหล่านั้นจากไป และอีกส่วนหนึ่งเราเกลียดขยะแขยง กลัว ไม่ต้องการเข้าใกล้ ไม่ต้องการให้เกิดกับตน และหากว่าเกิดแล้วก็อยากให้สิ่งเหล่านี้หนีไปให้พ้นตัวเรา สิ่งแรกนั้นเราอาจเรียกตามศัพท์พุทธศาสนาว่าโลกธรรม ส่วนที่เป็นอิฎฐารมณ์ สิ่งหลังคือโลกธรรมส่วนที่เป็นอนิฏฐารมณ์

               3. ชีวิตถูกฉุดดึงไปตามอำนาจของโลกธรรม สองส่วนนี้ย่อมเป็นชีวิตที่เร่าร้อน ปราศจากความสงบ แม้ว่าบางครั้งเราอาจปลื้มใจ ปีติ เป็นสุข เพราะได้ครอบครองโลกธรรมฝ่ายที่น่าปรารถนา เช่น ลาภ ยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เป็นต้น แต่เนื่องจากว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอนิจจัง เมื่อมาได้ก็สูญสลายไปได้ วันหนึ่งเมื่อสิ่งเหล่านี้สูญสลายไป เราจะเศร้าโศกเสียใจและเป็นทุกข์ ชีวิตที่ยังสลัดความยึดติดในโลกธรรมไม่ได้จึงจะยังเวียนว่ายและขึ้น ๆ ลง ๆ ไปตามคลื่นสองคลื่น คลื่นแรกคือ คลื่นความเอิบอิ่ม ปีติ สุขใจ ฟูใจ คลื่นที่สองคือคลื่นความเศร้าโศก หดหู่ จิตใจฟุบแฟบ สองคลื่นนี้จะซัดพาชีวิตของเราสลับสับเปลี่ยนกันไป วนแล้ววันเล่า ตราบเท่าที่เรายังไม่สามารถสลัดความยึดมั่นในโลกธรรมได้

               4. หากว่าเราเห็นว่าวิถีชีวิต แบบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่เร่าร้อน น่าเบื่อหน่าย ควรหลีกเร้น เซ็นก็สอนให้เราแก้ที่ต้นตอของมัน ต้นตอที่ว่านี้ก็คือทัศนะที่มองสรรพสิ่งอย่างแยกเป็นสอง โลกธรรมนั้นเป็นสิ่งที่คนเราไม่สามารถหลีกเว้นได้ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาต้องประสบทั้งสิ่งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถบังคับให้ชีวิตประสบแต่สิ่งที่น่าพอใจได้ ชีวิตเราทุกคนต้องพบทั้งสิ่งที่นำความยินดีมาให้และนำความเดือดร้อนใจมาให้คละเคล้ากันไป แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เซ็นสอนว่า เพียงแต่เราเลิกมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยทัศนะเดิมเสียเท่านั้น โลกธรรมก็ไม่อาจก่อทุกข์ให้เกิดแก่เราได้ คนที่ไม่มองโลกด้วยทัศนะแบบแบ่งแยกสรรพสิ่งเป็นสองจะไม่เป็นทุกข์เพราะโลกธรรม

               5. ซูสุกิกล่าวว่า เมื่อเกิดซาโตริ สิ่งที่จะเป็นผลตามมาก็คือการเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ซาโตริคือจุดเปลี่ยนจากการมองสิ่งต่าง ๆ แบบแบ่งเป็นคู่ตรงกันข้ามมาเป็นการมองแบบไม่แบ่งแยกเช่นนั้น ดังนั้นหากมองตามทัศนะของท่านผู้นี้ เมื่อนายเขียวยังไม่บรรลุซาโตริ นายเขียวก็เหมือนคนทั่วไปที่มีชีวิตล่องลอยไปตามกระแสโลกธรรม บางครั้งเขาจะปลื้มปีติ บางครั้งเขาจะเศร้าเสียใจ เป็นเช่นนี้คละเคล้ากันไปไม่รู้จบสิ้น ต่อเมื่อบรรลุซาโตริแล้ว จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในชีวิตของเขา นายเขียวยังมีชีวิตเกี่ยวข้องกับลาภยศชื่อเสียงความเสื่อมลาภ เสื่อมเกียรติ และความล้มเหลวอันอาจจะเกิดในชีวิตเหมือนคนทั้งหลาย แต่เขาจะไม่ปลื้มใจ ฟูใจจนหลงเมื่อได้ลาภ ยศ และเกียรติอย่างคนอื่น และเมื่อประสบความล้มเหลว เสื่อมเกียรติ ยศ และทรัพย์สิน เขาก็ไม่กังวลกลัดกลุ้มอย่างคนทั่วไป นี่คือความเปลี่ยนแปลงในชีวิตอันเป็นผลมาจากซาโตริ (อ้างถึงใน สมภาร พรมทา, 2540: 221-222)

    สมภาร พรมทา ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า สิ่งที่เรียกว่าซาโตริตามทัศนะของซูสุกิในข้างต้นนี้ แท้จริงแล้วดูจะไม่ต่างจากการบรรลุธรรมในพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมเท่าไหร่นัก จริงอยู่ที่ในการบรรลุซาโตริ ท่านไม่พูดเอาไว้ชัดเจนว่ากิเลสภายในใจของคนผู้นั้นได้ถูกทำลายลงไป แต่พฤติกรรมของบุคคลผู้เข้าถึงซาโตริกับพระอริยบุคคลในพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมดูจะไม่ต่างกันเลย ชีวิตของท่านเหล่านี้เป็นชีวิตที่สงบเยือกเย็น แม้จะอยู่ท่ามกลางโลกที่เร่าร้อนก็ตาม (สมภาร พรมทา, 2540: 223)

    ต่อประเด็นปัญหานี้ท่านพุทธทาสภิกขุเองก็ได้ให้ความคิดเห็นไว้ค้อนข้างสอดคล้องกับ สมภาร พรมทาเช่นเดียวกัน โดยท่านได้กล่าวว่า การตรัสรู้มีเพียงอย่างเดียว ผู้บรรลุความหลุดพ้นตามแบบเซ็นนี้เมื่อเทียบกับของเถรวาทแล้วต้องจัดให้เป็นพวก “ปัญญาวิมุติ” ไม่ใช่ “เจโตวิมุติ” อย่างแน่นอน เหตุเพราะว่าวิธีการปฏิบัติของเซ็นนั้นเป็นแบบวิปัสสนากัมมฐานล้วนๆ ส่วน สมถกัมมฐานซึ่งเป็นบุพพภาคของวิปัสสนากัมมฐาน (ซึ่งนิกายนี้เรียกว่าการทำ “ซาเซ็น”) นั้นมีเพียงเพื่อเป็นเครื่องช่วยเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ต้องการถึงสมาบัติ (พุทธทาสภิกขุ, ม.ป.ป.: 43-60)


    5. ตัวอย่างการบรรลุธรรม (ตรัสรู้) ที่น่าสนใจ

    5.1 ตัวอย่างการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  

    ในพระไตรปิฎกมีบันทึกเหตุการณ์การบรรลุธรรมหรือ การตรัสรู้ หรือการรู้แจ้งของบุคคลต่างๆ ไว้ด้วยกันมากมาย ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นขั้นเป็นตอนให้มองเห็นได้ชัดเจนว่าการบรรลุธรรมในกรณีนั้นๆ เป็นผลจากการฝึกฝนตนเองด้วยความตั้งอกตั้งใจอย่างยากลำบากของผู้ปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามในบรรดาเหตุการณ์เหล่านั้นมีอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งดูคล้ายกับว่าจะเป็นการบรรลุธรรมที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญและง่ายดาย การบรรลุธรรมในกรณีเช่นนี้จึงมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจ และมักจะมีการอ้างอิงถึงอยู่เสมอ ดังนั้นจึงจะขอนำมากล่าวไว้ในที่นี้เพื่อให้เป็นตัวอย่างและเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นต่อไป

    กรณีที่ 5 การบรรลุธรรมของพระวักกลิ มีบันทึกไว้ว่าท่านพระวักกลิเมื่อครั้งยังถือเพศคฤหัสถ์อยู่นั้นได้มีโอกาสพบเห็นพระพุทธเจ้า ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสในพระรูปโฉมของพระองค์ อยากจะดูอยากจะเห็นอยู่ทุกเมื่อ ไม่รู้จักอิ่มหรือเบื่อหน่าย จึงตัดสินใจบวชเป็นภิกษุอยู่ในพระพุทธศาสนา เพื่อที่จะได้มีโอกาสเห็นพระพุทธองค์ทุกๆ วัน เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้แต่ตั้งหน้าตั้งตาตามดูพระรูปโฉมของพระพุทธเจ้า ไม่เป็นอันที่จะได้ปฏิบัติธรรมแต่อย่างใด ในช่วงแรกพระพุทธองค์เองก็ยังทรงนิ่งอยู่ไม่ว่าอะไร ครั้นต่อมานานวันเข้าพระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนแก่พระวักกลิว่า เธอต้องการดูกายที่เปื่อยเน่านี้เพื่อประโยชน์อะไร ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้พระพุทธองค์จะทรงตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระวักกลิก็ยังไม่ลดละการการะทำเช่นนี้แล้วหันไปสนใจศึกษาปฏิบัติธรรมแต่อย่างใด จนในที่สุดพระพุทธองค์จึงทรงประกาศท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ให้ขับไล่พระวักกลิออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ ท่านพระวักกลิเกิดความเศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แล้วคิดว่าเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์อะไร สู้กระโดดภูเขาตายไปเสียเลยจะดีกว่า เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว จึงขึ้นไปสู่ยอดเขาคิชกูฏ ขณะที่กำลังจะกระโจนลงมา พระพุทธองค์ซึ่งล่วงรู้วาระจิตของพระวักกลิว่าพร้อมแล้วที่จะรับการสั่งสอนจากพระองค์ จึงทรงปรากฏให้พระวักกลิได้เห็นในที่เฉพาะหน้า และตรัสสอนด้วยธรรมกถามีประการต่างๆ ส่งผลให้พระวักกลิเกิดความปีติปราโมทย์อย่างมาก พร้อมกับการตั้งจิตพิจารณาไปตามพระโอวาทที่พระพุทธองค์ตรัสสอน จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต่อหน้าพระพักตร์ของพระบรมศาสดาในขณะเดี๋ยวนั้นเอง ภายหลังพระพุทธองค์จึงได้ทรงตั้งท่านพระวักกลิไว้ในตำแหน่งเอตทัตคะ คือ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในด้านสัทธาวิมุตติหรือการตรัสรู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา (ขุ.อป.33/122)

    กรณีของท่านเคียวเงนนั้นอาจเทียบได้กับการบรรลุธรรมของพระอานนท์ ทั้งสองท่านเริ่มต้นปฏิบัติธรรมด้วยความเคร่งเครียดจริงจัง แต่แล้วก็ไม่เกิดผลใดๆ ขึ้น ต่อเมื่อปล่อยวางจากการหักโหมปฏิบัติธรรม ทั้งสองท่านจึงได้บรรลุธรรม

    กรณีของท่านอิคคิวก็เช่นเดียวกัน การบรรลุธรรมของท่านอาจเทียบได้กับกรณีท่านพาหิยะ หากผู้ฟังมีปัญญา การได้ยินเสียงการ้องของท่านอิคคิวก็อาจไม่ต่างกับการได้ยินเสียงพุทธวจนะเพียงไม่กี่คำของท่านพาหิยะ สิ่งที่แฝงอยู่ในเสียงการ้องกับที่อยู่ในพุทธวจนะก็อาจมีพลังผลักดันให้คนบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน

    กรณีสุดท้าย คือ กรณีของท่านไป่ฉางที่ถูกอาจารย์บิดจมูกแล้วบรรลุธรรม ก็อาจไม่ต่างจากการที่ท่านโคธิกะเชือดคอตนเองแล้วบรรลุธรรม ทั้งสองท่านต่างอาศัยความรู้สึกเจ็บปวดในช่วงเวลาสั้นๆ นั้นเป็นอุปกรณ์ในการพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้งขึ้นในทันที

    ดังนั้น ตามทัศนะของ สมภาร พรมทา การบรรลุธรรมของพุทธศาสนามหายานที่ตอนแรกอาจดูแตกต่างจากของเถรวาท แท้จริงแล้วอาจจะไม่แตกต่างกันก็ได้ ท่านผู้เขียนวรรณกรรมเซ็นอาจบรรยายถึงการบรรลุธรรมของพระเซ็นไว้อย่างรวบรัด ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นอย่างง่ายดายและบังเอิญ แต่หากจะย้อนกลับไปสืบสาวดูที่มาของการบรรลุธรรมในนิกายเซ็น เราจะเห็นได้ว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าการบังเอิญและไม่มีเหตุผล การรู้แจ้งของพระเซ็นอาจดูเหมือนง่ายดาย แต่กว่าที่ท่านเหล่านั้นจะผ่านมาสู่จุดนี้ได้ ทุกท่านต้องฝึกฝนตนเองมาอย่างหนักและเป็นระบบ (สมภาร พรมทา, 2540: 219)

    ไพรินทร์ กะทิพรมราช (ผู้เรียบเรียง)

    อธิบายศัพท์

    1. “อภิญญา” คือ ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี 6 ประการ ได้แก่ 1. อิทธิวิธิ แสดงอิทธิ์ต่างๆ ได้ 2. ทิพยโสต หูทิพย์ 3. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ 4. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ 5. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ 6. อาสาวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป (พระธรรมปิฎก, 2543 :380)

    “ปฏิสัมภิทา” คือ ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน มี 4 ประการคือ 1. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ 2. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม 3. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ (พระธรรมปิฎก, 2543 :146)

    2. “จารวาก” เป็นปรัชญาสสารนิยม (materialism) สำนักเดียวของอินเดีย ที่เชื่อว่าสิ่งจริงแท้ของโลกหรือจักรวาลมีสิ่งเดียวเท่านั้นและสิ่งนั้นก็คือสสาร มนุษย์ก็คือกลุ่มก้อนของสสาร ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านี้ มนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว จิตวิญญาณ การเวียนว่ายตายเกิด ชาติภพหน้า นรก สวรรค์ เทพเจ้า บาปบุญ สิ่งนามธรรมเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริง

    3. “ญาณวิทยา” (Epistemology) คือปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องของบ่อเกิด ลักษณะหน้าที่ ประเภท ระเบียบวิธีการของ “ความรู้” – ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำว่า ญาณวิทยา(Epistemology)

    การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้ามีขั้นตอนอย่างไร

    การตรัสรู้ของพระสัมมสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัม- พุทธเจ้าทุกองค์ต้องมีการตรัสรู้ธรรม 3 ขั้นญาณคือ (1) ปฐมยาม ก็ทรงได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (2) มัชฌิมยาม ก็ทรงชำระทิพยจักขุญาณ ได้แก่จุตุปปาตญาณ (3) ปัจฉิมยาม ก็ทรงหยั่งพระญาณลงใน ปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาวัฏฏะและวิวัฏฏะ พออรุณอุทัยก็ทรง ...

    พระพุทธเจ้าทรงมีลำดับขั้นการตรัสรู้อย่างไรบ้าง

    ครานี้เรามาสรุปลำดับแห่งการตรัสรู้อีกครั้ง ตามที่ขีดเส้นใต้เอาไว้ ดังนี้ ปฐมยาม ---> ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มัชฌิมยาม ---> จุตูปปาตญาณ ---> พิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม

    พระพุทธเจ้ามีญาณอะไรบ้าง

    ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3 บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ การระลึกชาติของตนได้ จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป

    พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรียกว่าอะไร

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คำว่า “อนุตตระ” แปลว่า อย่างยิ่ง ไม่มียิ่งกว่า “สัมมา” แปลว่า โดยชอบ “สัม” แปลว่า เอง “โพธิ” ก็ตรัสรู้ “ญาณ” ก็หยั่งรู้ รวมกันว่า “อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ” ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบไม่มียิ่งกว่า