มาตรการประหยัดพลังงานในโรงเรียน

มาตรการด้านการบูรณาการจัดการเรียนรู้

  • จัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม น้ำ การอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียงและการจัดการขยะอย่างเหมาะสมในทุกรายวิชา รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

มาตรการด้านการจัดการบริเวณโรงเรียน

  • จัดบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการติดตามการใช้พลังงาน การใช้น้ำและการจัดการขยะ
  • จัดบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ พัฒนาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน
  • เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและใช้แหล่งเรียนรู้บริเวณโรงเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอน

มาตรการด้านการใช้ไฟฟ้าในโรงเรียน

  • ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออก จากห้อง
  • ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน
  • หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างพอเพียงแล้ว
  • แยกสวิตช์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิด-ปิดได้เฉพาะจุด ไม่ใช้ปุ่มเดียวเปิด-ปิดทั้งห้อง
  • หากพบหลอดไฟชำรุด ให้รีบแจ้งช่างและติดตามการซ่อม
  • การเปิดไฟระหว่างการปฏิบัติงานและวันหยุดให้เปิดเฉพาะที่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของปิดทางแสงอาทิตย์เพื่อให้มีแสงสว่าง พยายามใช้แสงจากธรรมชาติ

มาตรการด้านการใช้เครื่องปรับอากาศในโรงเรียน

  • หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆเพื่อลดการเปลืองไฟใน การทำงานของเครื่องปรับอากาศ
  • ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียสหรือตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศใช้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสงและปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ

มาตรการด้านระบบสำนักงาน

  • รับ/ส่งข้อมูล ข่าวสารต่างๆผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ
  • ใช้ระบบเอกสารอิเลคทรอนิกส์แทนการสำเนาเอกสาร
  • ถ่าย/พิมพ์งานเอกสารเฉพาะที่จำเป็น และใช้เป็นเอกสาร 2 หน้า
  • ให้ใช้การส่งเอกสารต่อๆ กัน แทนการสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เพื่อประหยัดกระดาษ ประหยัด พลังงาน
  • การโทรศัพท์ ควรโทรในเรื่องที่จำเป็นและเกี่ยวกับราชการเท่านั้น
  • ส่งเสริมการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (My Office) ระบบอุปกรณ์สำนักงานและอุปกรณ์อื่น

มาตรการด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

  • ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น โดยใช้โทรศัพท์ , โทรสาร , ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น E-mail , Line แทน
  • การไปติดต่อราชการส่งหนังสือเดินเรื่องไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ธนาคารพื้นที่ใกล้เคียงควรรวบรวมเรื่อง เพื่อการไปในครั้งเดียวกัน
  • กำหนดวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อรวบรวมกำหนดการออกปฏิบัติราชการที่เหมาะสมไม่ซ้ำซ้อน ตลอดจนการวางแผนเส้นทางที่ถูกต้อง
  • ขับขี่โดยใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟหน้ารถและเครื่องเสียง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์มีภาระการทำงานหนักขึ้น ซึ่งมีผลให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น
  • สนับสนุนให้รถยนต์ราชการใช้น้ำมัน E20 , E85 , ไบโอดีเซล
  • ควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนถึงที่หมายประมาณ 2-3 นาที
  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองตามการกำหนดของผู้ผลิต ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานภายในของเครื่องยนต์ให้ดีขึ้นและช่วยให้ประหยัดน้ำมัน

มาตรการด้านการใช้น้ำในโรงเรียน

  • สำรวจสุขภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ระบบการจัดส่งน้ำทั้งภายในและภายนอกอาคารให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้เป็นอย่างดี
  • ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  • ใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำและเปลี่ยนเมื่อมีการชำรุด
  • ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด โดยเปิดและปิดน้ำเมื่อใช้แล้วทุกครั้ง
  • เปิดก๊อกน้ำเบาๆ แล้วปิดให้สนิทเมื่อเลิกใช้
  • เปิดน้ำให้พอดีกับความต้องการที่จะใช้
  • เมื่อพบเห็นการเปิดน้ำทิ้งไว้หรือปิดน้ำไม่สนิทให้ช่วยกันปิดน้ำทันที
  • ใช้แก้วน้ำหรือภาชนะรองน้ำ ขณะล้างหน้า ล้างมือ ล้างจาน แปรงฟัน ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลา
  • ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยางและเปิด-ปิดให้เป็นเวลา

มาตรการด้านการใช้ตู้เย็นในโรงเรียน

  • ตั้งตู้เย็นห่างฝาผนังอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร เพื่อระบายความร้อน
  • ทำความสะอาดตู้เย็นอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
  • หมั่นตรวจเช็คของแช่ในตู้เย็นและควรนำสิ่งของอาหารที่ไม่จำเป็นออกจากตู้เย็น
  • ไม่ควรนำของร้อนแช่ตู้เย็นและไม่เปิดตู้เย็นไว้เป็นเวลานาน
  • ควรละลายน้ำแข็งที่เกาะภายในตู้เย็น เมื่อน้ำแข็งเกาะเกินมาตรฐาน
  • ควรหมั่นตรวจสอบขอบยางของตู้เย็นว่าขอบยางปิดสนิทหรือไม่

มาตรการด้านการใช้คอมพิวเตอร์

  • ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อใช้งานเสร็จหรือไม่มีการใช้งานเกิน 30 นาที
  • ปิดจอภาพในเวลาพักกลางวัน
  • ตั้งโปรแกรมอัตโนมัติ เมื่อไม่มีการใช้งานจอภาพเกิน 15 นาที
  • ตั้งระบบ Screen Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอ
  • ใช้การแชร์เครื่องพิมพ์ (Printer Server)
  • ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี
  • ตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่เสมอ
  • ควรตรวจทานข้อความบนจอภาพโดยใช้คำสั่ง Print Preview ก่อนทุกครั้ง
  • การพิมพ์เอกสารสำหรับใช้อย่างไม่เป็นทางการ ควรใช้กระดาษในการพิมพ์งานทั้งสองหน้า
  • หลังเลิกใช้งานควรปิดสวิตซ์จอภาพและสวิตซ์เครื่องสำรองไฟ พร้อมถอดปลั๊กไฟ

มาตรการด้านการใช้เครื่องถ่ายเอกสารในโรงเรียน

  • ถ่ายเอกสารเฉพาะที่จำเป็น โดยส่งข้อมูลทาง e-mail แทน เพื่อลดการถ่ายเอกสารและ กระดาษ
  • วางเครื่องถ่ายเอกสารในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • กรณีที่ไม่มีการใช้งานเครื่องให้กดปุ่มพักเครื่อง

มาตรการด้านการอนุรักษ์น้ำ

  • การสงวนน้ำไว้ใช้เป็นการวางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีปริมาณน้ำที่มีคุณภาพมาใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการทำบ่อหรือสระเก็บน้ำ กักเก็บน้ำฝนในโอ่งหรือแท็งก์น้ำ
  • การใช้น้ำอย่างประหยัด เป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์หลายอย่างอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุด และป้องกันการขาดแคลนน้ำในอนาคต
  • การป้องกันการเกิดมลพิษของน้ำ การบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงแหล่งน้ำ ห้ามนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลหรือสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ
  • การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับไปใช้ใหม่ น้ำที่ถูกนำไปใช้แล้วในบางครั้งยังมีสภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ เช่น น้ำจากการล้างภาชนะอาหารสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้

มาตรการด้านการจัดการขยะ/สารพิษ

  • รณรงค์ให้ครู นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนแยกขยะก่อนนำไปทิ้งทุกตรงประเภท ดังนี้
      • ขยะอินทรีย์ คือ ขยะย่อยสลายง่าย มีความชื้น มีกลิ่น และเน่าเสียได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงมักเป็นขยะที่พบได้ในห้องครัว เช่น เศษเหลืออาหาร เปลือกผลไม้
      • ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้หรือแปรรูปใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น แก้ว ขวดน้ำ กระดาษ กระป๋อง
      • ขยะอันตราย คือขยะที่มีสารเคมีหรือสารอันตรายปนเปื้อน ซึ่งสามารถก่ออันตรายให้กับคนและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ ถ่านไฟ
      • ขยะทั่วไป คือขยะอื่นๆ ที่ไม่เน่าเสีย ไม่อันตราย แต่ก็นำมารีไซเคิลใช้ใหม่ไม่ได้ เช่น ซองขนม กล่องโฟม
  • รณรงค์ให้ครู นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนช่วยกันลดปริมาณขยะภายในโรงเรียน เช่น ทานอาหารให้หมดจาน ดื่มน้ำให้หมดแก้ว
  • นำขยะอินทรีย์มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำหมักชีวภาพ (EM)

มาตรการด้านมลพิษทางอากาศ

  • ห้ามเผาขยะภายในบริเวณโรงเรียน
  • ห้ามสูบบุหรี่ในโรงเรียน
  • ป้องกันกลิ่นจากแหล่งกำเนิดกลิ่นทุกชนิด
  • ดูแลรักษาต้นไม้ และปลูกต้นไม้เพิ่ม
  • รณรงค์ให้ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองไม่สตาร์ทรถทิ้งไว้

มาตรการการจัดซื้อและการใช้วัสดุครุภัณฑ์ในโรงเรียน

  • จัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบและทบทวนความต้องการ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มีการจัดซื้อเท่าที่จำเป็น
  • จัดทำระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตัวผลิตภัณฑ์เองไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะที่จัดการลำบาก)
  • ตรวจสอบวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และนักเรียน
  • มีการกำกับ ดูแลการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปตามกติกาและเกิดประโยชน์คุ้มค่า เช่น การตรวจสอบพัสดุ ครุภัณฑ์ประจำปี

มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าโดยใช้ทั้งสองหน้า ให้นึกเสมอว่ากระดาษแต่ละแผ่นย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นที่ต้องเสียไป
  • ให้สำนักงานใช้การส่งเอกสาร/ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์แทนการส่งโดยเอกสารช่วยลดขั้นตอนของการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก
  • งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง เพิ่มปริมาณขยะ เปลืองพลังงานในการกำจัดขยะ
  • สนับสนุนสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการนำมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติกบางประเภท โดยจัดให้มีการแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง
  • ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ควบคุมและป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
  • พัฒนาบุคลากร โดยการให้ความรู้ การฝึกทักษะ สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
  • สนับสนุนการนำทรัพยากรที่ชำรุดมาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • สนับสนุน การใช้ทรัพยากรทางเลือกหรือทรัพยากรทดแทนหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรที่มีราคาแพงแต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
  • จัดการประชุมให้ความรู้ด้านการลดใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะมูลฝอย อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
  • จัดบอร์ดข่าวสารด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการบริโภค อุปโภค อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • เผยแพร่ผลงานหรือความก้าวหน้าของโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรและนักเรียนรับทราบอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน
  • ประกาศเกียรติคุณแก่บุคลากรหรือนักเรียนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานอย่างสม่ำเสมอ

มาตรการพัฒนาแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

  • จัดทำและพัฒนาแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
  • วิเคราะห์และประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรภายในและภายนอกโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการและนำไปปฏิบัติร่วมกันเพื่อสร้างค่านิยมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาและเสริมสร้างการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและมีเกิดประสิทธิผล

การประหยัดพลังงานในโรงเรียนมีอะไรบ้าง

ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกราการใช้งานหรือหมดความจำเป็นต้องใช้งาน การปิดสวิตซ์ไฟบ่อยๆไม่ทำให้เปลืองไฟฟ้าแต่อย่างใด.
เปิดม่านหรือหน้าต่างหรือติดตั้งกระเบื้องโปร่งแสงเพื่อรับแสงสว่างจาก ธรรมชาติ แทนการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟ.
กำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดไฟให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ใช้งาน.

นักเรียนจะช่วยส่งเสริมการประหยัดพลังงานในโรงเรียนได้อย่างไร

ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ เปิดไฟเมื่อมีการเรียนการสอน ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีการเรียนการสอน ห้องพักครู เปิด-ปิดไฟตามความเหมาะสม เปิดไฟทางเดินดวงที่จำเป็นต้องใช้และปิดดวงไฟที่ไม่ใช้ หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของปิดทางแสงอาทิตย์เพื่อให้มีแสงสว่าง พยายามใช้แสงจากธรรมชาติ

นักเรียนมีวิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างไร

วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด.
ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง.
เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน.
สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท.
ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ.

วิธีการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่โรงเรียนอย่างไรบ้าง

ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ แทนเท่าที่ทำได้ เช่น การอ่านหนังสือในสถานที่ ที่มีแสงธรรมชาติเพียงพอ หรือเปิดม่านหรือหน้าต่างให้กว้างขึ้น เพื่อให้แสงสว่างจากธรรมชาติผ่านเข้ามาในห้องเรียน หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟ ไม่ให้ฝุ่นจับ จะช่วยให้หลอดไฟส่องสว่างได้เต็มที่ โดยปิดสวิตช์หลอดไฟก่อน เพื่อ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด การทำความสะอาด ...