สิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

สิทธิ หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง

                เมื่อนายจ้างและลูกจ้างมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานต่อกันแล้ว จะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง 

มีรายละเอียดดังนี้

1.  นายจ้างมีสิทธิและหน้าที่

1.1  สิทธินายจ้าง

            1)  มีสิทธิออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานที่ตกลงหรือมีสัญญาต่อกัน เช่น นายมีตกลงให้นายจนมาดายหญ้าและปลูกต้นไม้หน้าบ้านของนายมี นายมีย่อมมีสิทธิออกคำสั่งบอกกล่าวชี้แนะ หรือ แนะนำให้นายจนทำงานบริเวณที่จะต้องถากถางดายหญ้าและปลูกต้นไม้ได้

             2)  มีสิทธิโอนสิทธิการเป็นนายจ้างของตนให้แก่บุคคลอื่นได้เมื่อลูกจ้างยินยอรม และขายกิจกา เช่น นายมีจ้างให้นายจนมาเป็นลูกจ้างประจำร้านของตน ต่อมานายมีเลิกกิจการร้านค้าของตน และขายกิจการให้นายรวย พร้อมโอนสิทธิการเป็นนายจ้างของนายจนไปให้นายรวยด้วย กรณีเช่นนี้ จะต้องสอบถามนายจนก่อนว่ายินยอมไปเป็นลูกจ้างให้แก่นายรวยหรือไม่ ถ้านายจนตกลงยินยอมก็สามารถโอนสิทธิไปได้

             3)  มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้

 ก.  ถ้าลูกจ้างให้บุคคลภายนอกมาทำงานแทนตน  โยนายจ้างไม่ยินยอม เช่น นายมีจ้างนายจนขับรถยนต์ประจำบ้าน  ต่อมานายจนได้งานอื่นให้นายมาน้องชายมาขับรถยนต์แทนโดยไม่ได้แจ้งให้นายมีทราบและยินยอมก่อน หากนายมีไม่ชอบนายมานายมีมีสิทธิบอกเลิกสัญญาว่าจ้างขับรถยนต์นั้นได้ เพราะนายจ้างต้องเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของงลูกจ้างเป็นสำคัญประกอบด้วย

 ข.  ถ้าลูกจ้างขาดงานไปโดยปราศจากเหตุอันควร เช่น ลูกจ้างขาดงานติดต่อกันหลายวันทำให้งานเสียหาย นายจ้างบอกเลิกสัญญาได้ แต่ถ้าลูกจ้างขาดงานไปเพราะได้ข่าวบิดาตายจึงรีบไปงานศพโดยกะทันหัน มิได้บอกกล่าวให้นายจ้างเป็นเวลา 3 วัน อาจถือได้ว่าเป็นการขาดงานไปโดยมีเหตุผลอันสมควร และเวลาไม่นานนัก นายจ้างจะหาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหรือเลิกจ้างไม่ได้

เว้นแต่การขาดงานนั้นจะทำให้นายจ้างนั้นได้รับความเสียหายอย่าใหญ่หลวง

 ค.  ถ้าลูกจ้างแสดงตนไว้ว่าเป็นผู้มีฝีมือแต่ปรากฏว่าไร้ฝีมือ เช่น นายมีจ้างนายดำมาปูกระเบื้องพื้นห้องน้ำ ก่อนว่าจ้างนายดำคุยอวดว่าตนมีฝีมือ สามารถปูกระเบื้องได้อย่างเรียบร้อยสวยงาม เพราะมีผลงานก่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่งมาแล้ว แต่ผลงานปูกระเบื้องปรากฏว่าแนวกระเบื้องคดเคี้ยวไม่เรียบร้อย เหมือนหัดปูใหม่ นายมีย่อมใช้สิทธิตามกฎหมายบอกเลิกการจ้างได้

               4)  ว่าจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่ต้องอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า เมื่อถึงเดือนก่อนกำหนดจ่ายค่าสินค้าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวต่อไปข้างหน้าก็ได้ เช่น จ้างลูกจ้างเป็นรายเดือน จ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน เมื่อถึงวันที่ 25 พฤษภาคม นายจ้างได้บอกให้ลูกจ้างทราบว่าจะเลิกจ้าง และให้มีผลวันเลิกจ้าง คือ สิ้นเดือนมิถุนายน เช่นนี้ยอมทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเรื่องค่าชดเชยจากการเลิกจ้างจะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป

                5)  มีสิทธิไล่ลูกจ้างออกจากงานโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้ ถ้าลูกจ้างจงใจหรือปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

    ก.  จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง

    ข.  ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นประจำ

    ค.  กระทำความผิดอันร้ายแรง เช่น กระทำให้เกิดการแตกความสามัคคีในองค์กรหรือกระทำความผิดทางอาญา

    ง.  ละทิ้งหน้าที่การงานที่มอบให้เป็นประจำ หรือทำให้งานเกิดความเสียหายหรือขาดงานเป็นประจำ

    จ.  ไม่สุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดอันร้ายแรง เช่น ยักยอกเงินของนายจ้างหรือยักยอกเงินบริษัทที่เป็นนายจ้าง

        ตัวอย่าง

นายดำลูกจ้างของบริษัท ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนผู้อื่น เป็นพฤติกรรมส่อไปในทางไม่สุจริต เป็นการฝ่าฝืนข้อระเบียบบังคับ และกระทำผิดร้ายแรง บริษัทเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างแก่นายดำแต่อย่างใด

           1.2  หน้าที่นายจ้าง

 1)  มีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามระยะเวลาที่ตกลงกัน หรือตาจารีตประเพณีที่พึ่งจะจ่ายต่อกัน และถ้าไม่มีการตกลงทั้งสองประกาศดังกล่าวแล้ว ให้จ่ายสินจ้างเมื่อทำงานแล้วเสร็จ

 2)  มีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างมาทำงานเท่าไร่ งานที่ทำเป็นอย่างไรเพื่อให้ลูกจ้างยึดถือไว้เมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักฐานแก่ลูกจ้างการที่จะนำใบสำคัญนี้ไปสมัครงานอื่น แสดงให้เห็นว่าทำงานที่ใด มีความชำนาญอย่างใดบ้างได้

 3)  มีหน้าที่ต้องออกค่าเดินทางให้ลูกจ้าง ถ้ากรณีที่นายจ้างได้นำลูกจ้างนั้นมาจากต่างถิ่นหรือต่างจังหวัด เมื่อการจ้างสิ้นสุดลง เพื่อให้ลูกจ้างเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ทั้งนี้ให้อยู่ในเงื่อนไขดั้งนี้

     ก.  การจ้างงานมิได้เลิกงานเพราะลูกจ้างกระทำความผิด 

     ข.  ลูกจ้างกลับไปยังถิ่นภูมิลำเนาที่จ้างมาภายในเวลาอันสมควร

 4)  มีหน้าที่รับผิดกับลูกจ้าง กรณีได้กระทำละเมิดและเกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง เช่น นายมีสั่งให้นายจนลูกจ้างขับรถนำของไปส่งในเมืองระหว่างทางนายจนขับรถโดยประมาท ซึ่งถือว่าเป็นความผิดของนายจน เป็นเหตุให้เกิดการเฉี่ยวชนกับรถของนายแดง และนายแดงได้รับความเสียหาย นายมีซึ่งเป็นนายจ้างของนายจนต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้นายแดง อันเป็นผลแห่งการละเมิดที่นายจนลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง

         2.  ลูกจ้างมีสิทธิและหน้าที่

 2.1  สิทธิลูกจ้าง

1)  มีสิทธิได้รับสินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้นายจ้าง

2)  มีสิทธิได้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนได้ เมื่อนายจ้างยินยอม

3)  มีสิทธิที่จะได้รับใบสำคัญจากนายจ้าง หลังจากการจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพื่อแสดงว่า ลูกจ้างทำงานมานานเท่าไหร่ และงานที่ทำเป็นอย่างไร เพื่อสะดวกในการที่ลูกจ้างไปสมัครงานใหม่

4)  หากลูกจ้างเป็นบุคคลที่นายจ้างได้จ้างมาจากต่างถิ่น และออกค่าเดินทางให้ เมื่อมีการเลิกจ้างอันมิใช่เพราะความผิดของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าเดินทางขากลับไปยังถิ่นที่ได้จ้างมา

5)  มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ถ้าสัญญาจ้างแรงงานไม่ได้กำหนดเวลาไว้ แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

         2.2  หน้าที่ลูกจ้าง

        1)  ต้องทำงานที่รับจ้างด้วยตนเอง เพราะการจ้างนั้นนายจ้างจะต้องพิจารณาคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นสำคัญว่าเหมาะสมกับงาน หากจะให้บุคคลอื่นทำหน้าที่แทน ต้องให้นายจ้างรับรู้และยินยอมด้วย

        2)  ต้องมีความสามารถตามที่รับรองว่ามีคุณสมบัติและฝีมือ จนนายจ้างตกลงใจจ้างหากปฏิบัติงานแล้วไม่เป็นตามที่รับรองหรือไร้ฝีมือ อาจถูกนายจ้างบอกเลิกสัญญาได้

        3)  ต้องทำตามคำสั่งและปฏิบัติหน้าที่ให้นายจ้างด้วยความสุจริต

ข้อมูลเพิ่มเติม