องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

การจัดองค์ประกอบศิลป์เป็นหลักการที่สามารถใช้ได้กับงานออกแบบทุกรูปแบบ เพื่อให้สื่อสารจุดประสงค์ของงานออกไปให้ชัดเจนที่สุด

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

หัวข้อในเรื่องนี้

การจัดองค์ประกอบศิลป์ หรือ Composition คือ การนำ จุด เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง รูปทรง  น้ำหนักเข้ม – อ่อน พื้นที่ว่าง และพื้นผิว มาจัดวางรวมกันอย่างสมดุลตามหลักการจัดองค์ประกอบ เพื่อนำเสนอให้งานออกแบบสามารถสื่อสารให้กับผู้ชมได้ดีที่สุด รวมทั้งเป็นการนำเสนอคุณค่าของงานให้มากขึ้น โดยหลักการการจัดองค์ประกอบเหล่านี้สามารถใช้ได้กับงานออกแบบทุกประเภท ทั้งงานออกแบบทั่วไป ภาพประกอบ การ์ตูน แอนิเมชั่น โมชั่นกราฟิก งานภาพถ่าย และอื่น ๆ

1. เอกภาพ (Unity)

เอกภาพ คือ ความเป็นหนึ่งเดียวของการจัดองค์ประกอบ เป็นการจัดวางเพื่อสื่อสารให้เนื้อหาประสานกันและเป็นไปในทางเดียวกัน โดยสามารถนำเสนอเอกภาพออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

1.1. เอกภาพของการแสดงออก

เอกภาพของการแสดงออก คือ การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อนำเสนอและสื่อสารออกมาในสิ่งที่ต้องการ โดยมุ่งไปในเป้าหมายเดียวอย่างแน่วแน่ โดยการใช้องค์ประกอบให้มีความหมายที่ล้อไปทางเดียวกัน

1.2. เอกภาพของรูปทรง

เอกภาพของรูปทรง คือ การจัดองค์ประกอบโดยนำเสนอแนวคิดออกมา ผ่านการจัดวางอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น จุด เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักเข้ม – อ่อน  พื้นที่ว่าง หรือพื้นผิวก็ตาม โดยสามารถจัดวางได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1.2.1. การจัดวางแบบขัดแย้ง

เป็นการจัดองค์ประกอบให้ขัดแย้งกันด้วยรูปร่าง ขนาด ทิศทางและที่ว่าง

1.2.2. การจัดวางแบบประสาน

เป็นการจัดองค์ประกอบให้กลมกลืนแม้ว่าจะมีรูปร่าง ขนาดและทิศทางที่แตกต่างกัน นิยมใช้มากโดยการใช้สีในการประสานองค์ประกอบ หรือการทำซ้ำ

2. ความสมดุล (Balance)

ความสมดุล คือ น้ำหนักที่เท่ากันของงาน โดยจะไม่เอนเอียงไปทางซ้ายหรือขวา การจัดองค์ประกอบของตัวงานจะมีความเท่ากันทั้ง 2 ด้าน โดยความสมดุลสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

2.1. ความสมดุลแบบสมมาตร

ความสมดุลแบบสมมาตร คือ ความสมดุลที่เกิดจากน้ำหนักที่เท่ากันทั้ง 2 ด้านซ้าย – ขวาของงาน โดยทั้ง 2 ด้านจะเหมือนกัน โดยแกนของน้ำหนักจะอยู่กึ่งกลางของภาพ สามารถพบได้ง่ายตามงานสถาปัตยกรรม เช่น วัด พระราชวัง เป็นต้น ซึ่งความสมดุลแบบสมมาตรจะให้ความรู้สึกมั่นคง แต่ก็แน่นิ่งและบางครั้งก็ดูน่าเกรงขาม

2.2. ความสมดุลแบบอสมมาตร

ความสมดุลแบบอสมมาตร คือ ความสมดุลที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นความสมดุลที่ทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน แต่จะรู้สึกเท่ากันได้ด้วยความรู้สึก แกนของงานจะเปลี่ยนไปตามภาพนั้น ๆ โดยสามารถใช้สี ระยะห่าง และตำแหน่งมาสร้างงานแบบนี้ได้

3. จังหวะ (Rhythm)

จังหวะ คือ ช่วงความห่างและความสัมพันธ์ของการจัดองค์ประกอบ ที่นำมาวางให้ต่อเนื่องกัน มีความสม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอ ขนาดเล็กไปใหญ่ จากสีอ่อนไปสีแก่ จากพื้นผิวเรียบไปพื้นผิวหยาบ มีรูปทรงที่เหมือนกันและไม่เหมือนกันแต่ถูกจัดวางให้ต่อเนื่องกัน เป็นการทำซ้ำที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและความสวยงามสามารถใช้องค์ประกอบได้หลาย ไม่ว่าจะเป็น สี เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิวรวมถึงระยะห่างด้วยครับ

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

4. สัดส่วน (Proportion)

สัดส่วน คือ ความสัมพันธ์ของการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสม การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กันไม่ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นจะมีรูปร่าง รูปทรง สีและอื่น ๆ เป็นอย่างไรก็ตาม สัดส่วนสามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

4.1. สัดส่วนตามมาตราฐาน

สัดส่วนตามมาตราฐานคือสัดส่วนที่เมื่อแสดงออกมาแล้วเหมาะสม หรือสวยที่สุดในรูปแบบของสิ่งนั้นครับ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ พืช อาคาร หรืออะไรก็ตาม ในงานออกแบบที่เห็นได้ทั่วไป สัดส่วนมาตรฐานนั้นได้มาจาก Golden Ratio สัดส่วนทองคำที่ทำให้ทุกสิ่งสัมพันธ์กันได้และออกมาสวยที่สุด เป็นต้น

4.2. สัดส่วนตามความรู้สึก

สัดส่วนตามความรู้สึกไม่มีอะไรตายตัว แต่มักเป็นการออกแบบตามวิถี หรือเอกลักษณ์ของคนบางกลุ่มในบางจังหวะของยุคสมัย โดยจะเน้นการสื่อถึงข้อความ สารที่ต้องการส่งออกไป อารมณ์ ความรู้สึกที่โดดเด่นออกมา สามารถพบได้ตามศิลปะประจำถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะของแอฟริกัน หรือศิลปะของกรีก – โรมัน

5. การเน้น (Emphasis)

การเน้น คือ การทำให้องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งโดดเด่นออกมาท่ามกลางการจัดองค์ประกอบอื่น ๆ มากมาย เพื่อเป็นจุดรวมสายตา (Focal Point) ที่ใช้สื่อสาร สารสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยสามารถทำให้จุดนี้เด่นขึ้นได้ด้วยขนาด สี หรือ พื้นผิว เพื่อให้เกิดเรื่องราวการนำเสนอนั้น ๆ

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

6. เส้น (Line)

เส้น คือ จุดที่ถูกนำมาต่อ ๆ กันเป็นจำนวนมากจนเกิดความยาวกลายเป็นเส้น ทำหน้าที่เป็นกรอบของรูปร่างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยม วงกลม หลายเหลี่ยมและอื่น ๆ ทั้งยังสามารถใช้เส้นในการสื่อความหมายในการใช้งานแบบต่าง ๆ ได้ด้วย ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยเส้นจะมี 2 แบบหลัก ๆ ดังนี้

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

6.1. เส้นตรง

เส้นตรง ให้ความรู้สึกที่มั่นคง สามารถนำมาทำเป็นเส้นแนวตั้ง เส้นแนวดิ่ง เส้นซิกแซก เส้นปะ โดยที่เส้นแต่ละแบบจะมีความหมายและจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกันแล้วแต่การจัดองค์ประกอบของงานนั้น ๆ

6.2. เส้นโค้ง

เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่าเส้นตรง สามารถทำได้ทั้งเส้นโค้งเดียว หรือทำเป็นรูปร่างอย่างเส้นโค้งก้นหอย รวมถึงสามารถทำเป็นเส้นโค้งจากการเขียนด้วยมือ ก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับเส้นตรง

7. สี (Color)

สี คือ สิ่งที่ใช้สื่อสารที่เห็นได้ง่ายที่สุด สีสามารถสื่ออารมณ์ได้หลายแบบและหลายมิติ สีสามารถแบ่งได้เป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะร้อน และวรรณะเย็น สามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่การใช้สีที่แตกต่างวรรณะกันทำให้สื่อสารออกมาได้ง่ายและเห็นชัดที่สุด นอกจากนั้นสียังเป็นสิ่งที่ช่วยจัดระเบียบการจัดองค์ประกอบให้ประสานหรือแปลกแยกได้เช่นกัน

ทางเราได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สีในการออกไว้แบบแล้วสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ( การใช้สีในการออกแบบ )

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

8. วัสดุ (Material)

วัสดุ คือ พื้นผิวของตัวงานเป็นการจัดองค์ประกอบร่วมที่ใช้สื่อสารอารมณ์ของสิ่งที่จะนำเสนอ สามารถสื่อสารถึงยุคสมัย สถานที่ หรือสถานการณ์ที่ตัวงานชิ้นนั้น ๆ ต้องการนำเสนอออกมา เป็นการสื่อสารทางอ้อมและทางตรง การใช้พื้นผิวเข้ามาช่วยทำให้งานโดดเด่นหรือกลมกลืนได้ด้วย มักพบได้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานประติมากรรมเป็นส่วนมาก

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

9. ทิศทาง (Direction)

ทิศทาง คือ ส่วนที่ใช้กำหนดเป้าหมายของการจัดองค์ประกอบ เป็นส่วนเสริมที่ทำให้จุดเด่นของงานดูน่าสนใจมากขึ้นไปอีก เสริมให้ผู้เสพงานมองที่จุดรวมสายตาให้มากขึ้นและสนใจสิ่งรอบข้างให้น้อยลง ให้สื่อสารสารที่ต้องการนำเสนอได้ดีขึ้น

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

10. พื้นที่ว่าง (Space)

พื้นที่ว่าง คือ พื้นที่การเว้นว่างระหว่างองค์ประกอบกับองค์ประกอบด้วยกันเอง เป็นการใช้พื้นที่ว่างในการสื่อสารสารบางอย่าง การใช้พื้นที่ว่างมักใช้กับงานบางแบบ เช่น Minimalism ที่จะสื่อสารด้วยพื้นที่ว่าง มากกว่าการวางองค์ประกอบให้เต็มพื้นที่ของงาน รวมถึงพื้นที่ว่างยังทำให้การจัดองค์ประกอบมีระยะห่างทำให้งานเกิดความสัมพันธ์ด้วยตัวงานเอง

ทั้งหมดนี้การจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดวางในงานออกแบบ หรืองานประเภทอื่น ๆ เพื่อนำเสนอผลงานออกมาและสื่อสารไปได้อย่างตรงจุด เป็นการเพิ่มคุณค่าของงานด้วยเชิงศิลป์ อารมณ์ และความสวยงามให้มากขึ้น โดยอาศัยหลักการดังกล่าวเข้ามาช่วย แต่การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและประสบการณ์ ยิ่งฝึกใช้บ่อยก็จะเชี่ยวชาญ แต่ในบางลักษณะงานใช้เพียงข้อเดียวก็สามารถสื่อสารได้แล้ว ขึ้นอยู่กับความต้องการและความถนัดของแต่ละคนครับ

หมวดหมู่

  • Design
    • Typography
    • Color
  • Production
  • Entertainment
  • Online Tips
  • Review
  • Programs
    • Adobe Illustrator
    • Adobe Photoshop
    • Adobe Premier Pro
    • Application on iPad
  • Workshop

  • Design
    • Typography
    • Color
  • Production
  • Entertainment
  • Online Tips
  • Review
  • Programs
    • Adobe Illustrator
    • Adobe Photoshop
    • Adobe Premier Pro
    • Application on iPad
  • Workshop

หัวข้อในเรื่องนี้

Prevเนื้อหาที่แล้วการเว้นระยะห่างในงานออกแบบ

เนื้อหาต่อไปขนาดรูป/วิดีโอ บน Facebook, IG, Tiktok, Twitter ล่าสุดNext

อยากอ่านต่อ

คอนเทนต์ใหม่ล่าสุด

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

สอน Online Workshops จากทีม JaLearn

ในช่วง โควิด-19 ทาง JaLearn ได้จัดการสอน Workshop แบบออนไลน์ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ในหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างมีคุณภาพ มีอะไรบ้างมาดูกัน

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

[ อัปเดต 2022 ] แอป Canva กับ 10 ฟังก์ชั่นใหม่ที่น่ารู้

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

วิธีทำ 3D ง่าย ๆ ด้วย Ai

ใครว่า 3D ทำยาก!! วันนี้ทาง Jalearn ได้หาขั้นตอนการทำ 3D ง่าย ๆ ใน Ai เพียงไม่กี่ขั้นตอนมาฝากทุกคน เผื่อใครที่กำลังรู้สึกอยากเพิ่มลูกเล่นให้งานให้ดูมีอะไรมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

รวม 6 ฟังก์ชั่นที่ทำให้การใช้งาน Canva ของคุณง่ายขึ้น

6 ฟังก์ชั่นที่น่าสนใจใน Canva ที่จะช่วยให้งานออกแบบของคุณดูโปรและง่ายมากยิ่งขึ้น มีอะไรบ้างไปดูกันได้เลยครับ