หลักสูตร วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในสิบหน่วยงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมซึ่งประกอบไปด้วย 4 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม และแขนงวิชาโทรคมนาคม ปัจจุบันภาควิชาฯจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 3 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ (MEEE) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (EnET) และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ECT-EIT-ETT)

แขนงวิชาการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ - มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและผลิตสื่อในงานกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ สามารถความคุมการดำเนินงานในสถานี สามารถติดตั้งและตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่องานกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์

แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ - มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ สามารถออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล อัลกอริธึม และเทคนิคทางด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ สามารถออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เว็บแอฟพลิเคชันและระบบฐานข้อมูล สามารถออกแบบระบบเครือข่าย

แขนงวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม - มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ตรวจจับในอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดคุม สามารถออกแบบและวิเคราะห์ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานควบคุมในอุตสาหกรรม

แขนงวิชาโทรคมนาคม - มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและออกแบบระบบการสื่อสารอนาล็อค-ดิจิทัล และระบบเครือคอมพิวเตอร์ทั้งแบบมีสายและไร้สาย สามารถออกแบบวงจรไมโครเวฟและอุปกรณ์แพร่กระจายคลื่น สามารถใช้โปรแกรมจำลองในการทำงานระบบสื่อสารและออกแบบอุปกรณ์สื่อสาร

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 4 ปี

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาช่วงเวลาเรียนค่าเทอม
แขนงโทรคมนาคม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต

จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)

19,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงโทรคมนาคม (ภาษาไทย) ภาคสมทบพิเศษ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 25,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงคอมพิวเตอร์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงเครื่องมือวัดและควบคุม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (เหมาจ่าย)
แขนงการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 147 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 19,000 บาท (เหมาจ่าย)

หลักสูตรปริญาตรี อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) 2-3 ปี

สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาช่วงเวลาเรียนค่าเทอม
แขนงโทรคมนาคม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 85 หน่วยกิต

จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 2 ปี
จ-ศ (17.00 – 21.00 น.) 3 ปี
ส (09.00 – 16.00 น.) 3 ปี

19,000 บาท (เหมาจ่าย)
 แขนงคอมพิวเตอร์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 85 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 2 ปี
จ-ศ (17.00 – 21.00 น.) 3 ปี
ส (09.00 – 16.00 น.) 3 ปี
19,000 บาท (เหมาจ่าย)
 แขนงเครื่องมือวัดและควบคุม (ภาษาไทย) ภาคปกติ 85 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) 2 ปี
จ-ศ (17.00 – 21.00 น.) 3 ปี
ส (09.00 – 16.00 น.) 3 ปี
19,000 บาท (เหมาจ่าย)

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 2 ปี

สาขาเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาช่วงเวลาเรียนค่าเทอม
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์)

จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)

19,000 บาท (ประมาณ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ (ภาษาไทย) ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)
ส. (09.00 - 16.00 น.)
19,000 บาท (เหมาจ่าย)

  าขาไฟฟ้า หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย สงขลา

                                   เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000  โทรศัพท์ : 0-7431-7180 ต่อ 1942   โทรสาร : 0-7431-7181 


หลักสูตรระดับปริญญาตรี

วศ.บ.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ต่อเนื่อง เรียน 2 ปี หลักสูตรใหม่ 2563)
วศ.บ.วิศวกรรมโทรคมนาคม (
รับรองหลักสูตรวิชาชีพ – กว. 4 ปี ปกติ, 3 ปีต่อเนื่อง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
– หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ปกติ (รับผู้ที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ-ปวช. หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6)
หลักสูตรปริญญาตรี 3 ปีต่อเนื่องปกติ และต่อเนื่องสมทบ (รับผู้ที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปวส. หรือ เทียบโอน) 

      สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทั้งสองหลักสูตรนี้จะมีระบบฝึกงานที่เรียกว่า สหกิจศึกษา ซึ่งให้นักศึกษาสามารถฝึกงานเสมือนตำแหน่งจริงในด้านที่เราศึกษามาใช้เวลาในการฝึกงาน 1 ภาคการศึกษาซึ่งจะทำให้นักศึกษาเรียนรู้งานจากสถานที่ทำงานจริงในระยะเวลา 4 เดือน ทำให้เกิดความชำนาญในการทำงานจากสถานที่จริงมากขึ้น ซึ่งเป็นปณิธานของเราที่จะผลิตนักศึกษาที่รู้จริงทำจริงออกสู่ตลาดแรงงานทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมโทรคมนาคมต่อไป

หลักสูตรระดับปริญญาโท(วิศวกรรมไฟฟ้า)

ชื่อภาษาไทย  :  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อภาษาอังกฤษ  :  Master of Engineering Programin Electrical Engineering

– หลักสูตรมหาบัณฑิต 2 ปี ปกติสมทบ (รับผู้ที่จบ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมระบบควบคุมวิศวกรรมการวัดคุม วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง)

หลักสูตรระดับปริญญาเอก (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) 

ชื่อภาษาไทย  :  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ชื่อภาษาอังกฤษ  :  Doctor of Engineering Program in Electrical and Computer Engineering
– หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต 3 ปี ปกติสมทบ (รับผู้ที่จบ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาที่เกี่ยวข้อง)
– แบบ 1.1 ทำวิจัย อย่างเดียว 48 หน่วย
– แบบ 2.1 ทำวิจัย 36 หน่วย เรียนรายวิชา 12 หน่วย
– หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต 4 ปี ปกติสมทบ (รับผู้ที่จบ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรนิยม หรือมีผลงานตีพิมพ์ ระดับดีมาก สาขาที่เกี่ยวข้อง)
– แบบ 1.2 ทำวิจัย อย่างเดียว 72 หน่วย
– แบบ 2.2 ทำวิจัย 48 หน่วย เรียนรายวิชา 25 หน่วย