หนังสือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

You're Reading a Free Preview
Pages 15 to 34 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 42 to 53 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 61 to 89 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Page 97 is not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 105 to 113 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 125 to 126 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 135 to 162 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 167 to 177 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Page 182 is not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 198 to 199 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 208 to 216 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 225 to 234 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 243 to 257 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 266 to 302 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 313 to 325 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 329 to 332 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 336 to 340 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 344 to 353 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 357 to 360 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 371 to 373 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 377 to 386 are not shown in this preview.

บทนำในการพิมพ์ปรับปรุง พ.ศ. 2564

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ได้ใช้งานมาแล้วระยะหนึ่งนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ การติดตั้ง และมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตสายไฟฟ้าที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.11-2553 และ มอก.11 เล่ม 101-2559 ประกอบกับมีข้อบกพร่องบางประการที่ตรวจพบ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ขึ้น มาตรฐานฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ บทที่ 7 บริเวณอันตราย ซึ่งมีเนื้อหามากจึงจำเป็นต้องแยกออกเป็นอีกเล่มต่างหาก โดยในฉบับนี้จะยังคงไว้เฉพาะฉบับย่อเท่านั้น และบทที่ 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า ย้ายไปไว้ในบทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนั้นบทที่ 11 จึงว่างไว้

เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุง เมื่อ พ.ศ.2551 และ 2556 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2564 จึงอาจทำให้หลายหน่วยงานที่อ้างอิงมาตรฐานฯ นี้เกิดความสับสนว่าการอ้างอิงที่ระบุไว้แต่เดิมนั้นยังคงสามารถใช้กับมาตรฐานฯฉบับใหม่นี้ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ ปรับปรุงมาตรฐานฯ จึงมีความเห็นว่า ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานฯ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น

คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงานเช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย  และสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทยคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ผลิต และผู้เชี่ยวชาญอิสระ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

มาตรฐานฉบับนี้บังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ไฟเท่านั้น มิได้บังคับครอบคลุมการออกแบบหรือติดตั้งของการไฟฟ้าฯ  มาตรฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นอย่างดีเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วสท.ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือความเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่ได้รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้

สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงขอขอบคุณคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และผู้สนับสนุนทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลามาช่วยงานจนสำเร็จลุล่วงไปได้ และหากพบข้อผิดพลาดประการใด โปรดแจ้งให้ วสท. ทราบด้วยเพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุง ต่อไป

คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

ประจำปี พ.ศ. 2563 – 2565

สารบัญ

หน้า

บทที่ 1   นิยามและข้อกำหนดทั่วไป                                             1-1

ตอน ก. นิยามที่ใช้งานทั่วไป                                                                1 – 1

ตอน ข. นิยามที่ใช้สำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงดันที่ระบุเกิน 1,000 โวลต์ ขึ้นไป                                                                                     1 – 14

ตอน ค. ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการติดตั้งทางไฟฟ้า                               1 – 15

1.101    การต่อทางไฟฟ้า (Electrical Connection)                               1 – 15

1.102    ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้า                                 1 – 16

1.103    เครื่องห่อหุ้มและการกั้นส่วนที่มีไฟฟ้า                                       1 – 20

1.104    สถานที่ซึ่งบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพได้   1 – 21

1.105    เครื่องหมายเตือนภัย                                                            1 – 21

1.106    ส่วนที่มีประกายไฟ                                                               1 – 22

1.107    การทำเครื่องหมายระบุเครื่องปลดวงจร                                    1 – 22

ตอน ง. ระยะห่างทางไฟฟ้า (Electrical Clearance) ในการติดตั้งสายไฟฟ้า    1 – 22

1.108    การวัดระยะห่างทางไฟฟ้า                                                     1 – 22

1.109    ระยะห่างทางไฟฟ้า                                                              1 – 22

บทที่ 2   มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า                                2 – 1

2.1       มาตรฐานสายไฟฟ้า                                                               2 – 1

2.2       มาตรฐานตัวนำไฟฟ้า                                                             2 – 2

2.3       มาตรฐานเครื่องป้องกันกระแสเกิน และสวิตช์ตัดตอน                   2 – 2

2.4       มาตรฐานหลักดิน และสิ่งที่ใช้แทนหลักดิน                                  2 – 4

2.5       มาตรฐานช่องเดินสาย รางเคเบิล กล่องสำหรับงานไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบ
(Raceway, Cable tray, Box and Fitting Standards)                 2 – 6

2.6       มาตรฐานหม้อแปลง                                                               2 – 7

2.7       มาตรฐานบริภัณฑ์และเครื่องประกอบอื่นๆ                                  2 – 7

2.8       มาตรฐานระดับการป้องกันสิ่งห่อหุ้มเครื่องอุปกรณ์                       2 – 7

2.9       มาตรฐานเต้าเสียบ และ เต้ารับ                                                2 – 8

2.10      มาตรฐานแผงสวิตช์สำหรับระบบแรงต่ำ                                     2 – 8

2.11      โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน                                                       2 – 8

2.12      โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน                                                  2 – 8

2.13     มาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับอาร์กฟอลต์               2 – 8

                                                                                            หน้า

บทที่ 3   ตัวนำประธาน สายป้อน วงจรย่อย                                          3 – 1

3.1       วงจรย่อย                                                                             3 – 1

3.2       สายป้อน                                                                              3 – 3

3.3       การป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อยและสายป้อน                    3 – 6

3.4       ตัวนำประธาน (Service Conductor)                                         3 – 7

ตอน ก. สำหรับระบบแรงต่ำ                                                     3 – 8

ตอน ข. สำหรับระบบแรงสูง                                                     3 – 9

3.5       บริภัณฑ์ประธานหรือเมนสวิตช์ (Service Equipment)                  3 – 9

ตอน ก. สำหรับระบบแรงต่ำ                                                     3 – 9

ตอน ข. สำหรับระบบแรงสูง                                                   3 – 12

บทที่ 4   การต่อลงดิน                                                                         4 – 1

4.1       วงจรและระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ต้องต่อลงดิน                           4 – 1

4.2       วงจรและระบบไฟฟ้าที่ห้ามต่อลงดิน                                          4 – 1

4.3       การต่อลงดินของระบบประธาน                                                4 – 1

4.4       การต่อลงดินของอาคารที่รับไฟจากสายป้อนหรือวงจรย่อย             4 – 2

4.5       ตัวนำที่ต้องมีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ                   4 – 3

4.6       การต่อลงดินสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก 4 – 3

4.7       การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มและ/หรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะของตัวนำประธาน
และของบริภัณฑ์ประธาน                                                        4 – 3

4.8       การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มและ/หรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะของสายตัวนำ                                                                                  4 – 4

4.9       การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร                                                                                   4 – 4

4.10      การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน      4 – 4

4.11      การต่อลงดินของบริภัณฑ์ซึ่งไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรง               4 – 5

4.12      การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ                  4 – 5

4.13      ระบบป้องกันฟ้าผ่า                                                                4 – 6

4.14      วิธีต่อลงดิน                                                                           4 – 6

4.15      การต่อฝาก                                                                           4 – 8

4.16      ชนิดของสายต่อหลักดิน                                                        4 – 10

4.17      ชนิดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า                                          4 – 10

4.18      วิธีการติดตั้งสายดิน                                                              4 – 10

4.19      ขนาดสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ                        4 – 11

หน้า

4.20      ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า                                              4 – 11

4.21      จุดต่อของสายต่อหลักดิน (เข้ากับหลักดิน)                                4 – 11

4.22      การต่อสายดินเข้ากับสายหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้า                             4 – 12

4.23      การต่อสายดินเข้ากับกล่อง                                                    4 – 13

4.24      วิธีการต่อสายต่อหลักดิน (เข้ากับหลักดิน)                                 4 – 14

4.25      การป้องกันการยึดติด (สายต่อหลักดินและสายดิน)                    4 – 14

4.26      ความสะอาดของผิวของสิ่งที่จะต่อลงดิน                                   4 – 14

4.27      ความต้านทานระหว่างหลักดินกับดิน (Resistance to Ground)    4 – 14

4.28      การต่อลงดินของเครื่องมือวัด มิเตอร์ และรีเลย์                           4 – 14

4.29     การต่อลงดิน                                                                       4 – 15

บทที่ 5   ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ                                              5 – 1

5.1       ข้อกำหนดการเดินสายสำหรับระบบแรงต่ำ                                  5 – 1

5.2       ข้อกำหนดการเดินสายสำหรับระบบแรงสูง                                  5 – 8

5.3       การเดินสายเปิดหรือเดินลอย (Open Wiring) บนวัสดุฉนวน           5 – 8

5.4       การเดินสายในท่อโลหะหนา (Rigid Steel Conduit) ท่อโลหะหนาปานกลาง
(Intermediate Metal Conduit) และท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing)                                                                             5 – 10

5.5       การเดินสายในท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit)               5 – 11

5.6       การเดินสายในท่อโลหะอ่อนกันของเหลว (Liquidtight Flexible Metal Conduit)                                                                            5 – 12

5.7       การเดินสายในท่ออโลหะอ่อน (Electrical Nonmetallic Tubing)   5 – 13

5.8       การเดินสายในท่ออโลหะแข็งประเภทพีวีซี (PVC) อาร์ทีอาร์ซี (RTRC) และเอชดีพีอี
(Rigid Nonmetallic Conduit; PVC, RTRC, HDPE)                   5 – 14

5.9       การเดินสายในท่ออโลหะอ่อนกันของเหลว  (Liquidtight Flexible Nonmetallic Conduit)                                                         5 – 16

5.10      การเดินสายในช่องเดินสายโลหะบนพื้นผิว (Surface Metal Raceway)  5 – 16

5.11      การเดินสายในช่องเดินสายอโลหะบนพื้นผิว (Surface Nonmetallic Raceway)                                                                          5 – 18

5.12      การเดินสายในรางเดินสาย (Wireways)                                   5 – 18

5.13      การติดตั้งบัสเวย์ (Busways) หรือบัสดัก (Bus Duct)                  5 – 19

5.14      การเดินสายบนผิวหรือเดินสายเกาะผนัง (Surface Wiring)          5 – 20

5.15      การเดินสายในรางเคเบิล (Cable Trays)                                  5 – 21

5.16      กล่องสำหรับงานไฟฟ้า (Box)                                                 5 – 23

5.17      ข้อกำหนดสำหรับแผงสวิตช์ (Switchboard) และแผงย่อย (Panelboard)                                                                                        5 – 25

5.18     ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับแผงสวิตช์แรงสูง                                5 – 27

หน้า

ข้อ 5.19-5.24 ว่าง

5.25      สายไฟฟ้า                                                                           5 – 29

5.26      สายเคเบิลชนิดเอ็มไอ (Mineral Insulated Cable)                     5 – 32

บทที่ 6   บริภัณฑ์ไฟฟ้า                                                                        6 – 1

6.1       โคมไฟฟ้าและเครื่องประกอบการติดตั้ง                                      6 – 1

6.2       สวิตช์  เต้ารับ (Receptacle) และเต้าเสียบ (Plug)                        6 – 2

6.3       มอเตอร์ วงจรมอเตอร์ และเครื่องควบคุม                                    6 – 3

ตอน ก. ทั่วไป                                                                        6 – 3

ตอน ข. สายสำหรับวงจรมอเตอร์                                              6 – 3

ตอน ค. การป้องกันการใช้งานเกินกำลังของมอเตอร์และวงจรย่อย   6 – 5

ตอน ง. การป้องกันกระแสลัดวงจรระหว่างสายและป้องกันการรั่วลงดินของวงจรย่อยมอเตอร์                                                             6 – 9

ตอน จ. การป้องกันกระแสลัดวงจรและป้องกันการรั่วลงดินของสายป้อนในวงจรมอเตอร์                                                                   6 – 11

ตอน ฉ. วงจรควบคุมมอเตอร์                                                 6 – 12

ตอน ช. เครื่องควบคุมมอเตอร์                                                6 – 12

ตอน ซ. เครื่องปลดวงจร                                                        6 – 13

ตอน ฌ. มอเตอร์สำหรับระบบแรงสูง                                       6 – 15

ตอน ญ. การป้องกันส่วนที่มีไฟฟ้า                                           6 – 16

ตอน ฎ. การต่อลงดิน                                                            6 – 17

6.4       หม้อแปลง ห้องหม้อแปลง และลานหม้อแปลง                           6 – 17

ตอน ก. ทั่วไป                                                                      6 – 18

ตอน ข. ข้อกำหนดจำเพาะสำหรับหม้อแปลงชนิดต่างๆ                6 – 19

ตอน ค. ห้องหม้อแปลง                                                         6 – 21

ตอน ง. ลานหม้อแปลงอยู่ภายนอกอาคาร (Outdoor Yard)          6 – 24

6.5       คาปาซิเตอร์                                                                        6 – 25

ตอน ก. คาปาซิเตอร์แรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์                          6 – 25

ตอน ข. คาปาซิเตอร์แรงดันเกิน 1,000 โวลต์                              6 – 26

บทที่ 7   บริเวณอันตราย (ฉบับย่อ)                                                      7 – 1

7.1       ทั่วไป                                                                                   7 – 1

7.2       บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และ ประเภทที่ 3             7 – 2

7.3       ข้อกำหนดการเดินสาย บริเวณอันตรายประเภทที่ 1                      7 – 5

7.4       ข้อกำหนดการเดินสาย บริเวณอันตรายประเภทที่ 2                      7 – 6

หน้า

7.5       ข้อกำหนดการเดินสาย บริเวณอันตรายประเภทที่ 3                      7 – 7

7.6       ระบบที่ปลอดภัยในตัว (Intrinsically Safe Systems)                    7 – 9

7.7       บริเวณอันตราย โซน 0, โซน 1 และ โซน 2 (Zone 0, 1, and 2 Locations)                                                                         7 – 10

7.8       โซน 20 โซน 21 และโซน 22 บริเวณอันตรายสำหรับฝุ่นไหม้ได้ หรือเส้นใย/ละอองจุดติดได้                                                               7 – 15

7.9       – เว้น –                                                                               7 – 19

7.10      บริเวณอันตราย – บริเวณเฉพาะ                                              7 – 19

7.11      อู่ยานยนต์พาณิชย์เพื่อการซ่อมและจัดเก็บ                               7 – 19

7.12      – เว้น –                                                                               7 – 20

7.13      โรงจอดอากาศยาน                                                              7 – 20

7.14      สถานีจ่ายเชื้อเพลิง                                                               7 – 21

7.15      คลังเก็บสารติดไฟ                                                                7 – 22

7.16      กิจกรรมงานพ่นสี งานชุบ งานเคลือบ กระบวนการในงานพิมพ์ โดยใช้สารติดไฟหรือสารไหม้ไฟได้                                                    7 – 23

7.17      สถานพยาบาล                                                                    7 – 25

บทที่ 8   สถานที่เฉพาะ                                                                        8 – 1

8.1       โรงมหรสพ                                                                           8 – 1

8.2       ป้ายโฆษณา                                                                         8 – 4

8.3       สถานบริการ                                                                         8 – 6

8.4       โรงแรม                                                                                8 – 9

บทที่ 9   อาคารชุด อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ                       9 – 1

9.1       อาคารชุด                                                                             9 – 1

9.2       อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ                                       9 – 11

บทที่ 10 บริภัณฑ์เฉพาะงาน                                                              10 – 1

10.1      เครื่องเชื่อมไฟฟ้า                                                                 10 – 1

10.2      สระน้ำ อ่างน้ำพุ และการติดตั้งอื่นที่คล้ายกัน                             10 – 4

ตอน ก.ทั่วไป                                                                       10 – 4

ตอน ข.สระชนิดติดตั้งถาวร                                                    10 – 8

ตอน ค.อ่างน้ำพุ                                                                 10 – 14

10.3      ลิฟต์ ตู้ส่งของ บันไดเลื่อนและทางเดินเลื่อน                            10 – 17

ตอน ก. ทั่วไป                                                                    10 – 17

ตอน ข. ตัวนำ                                                                    10 – 17

ตอน ค. การเดินสาย                                                           10 – 19

หน้า

ตอน ง. การติดตั้งตัวนำ                                                       10 – 21

ตอน จ. เคเบิลเคลื่อนที่                                                        10 – 22

ตอน ฉ. เครื่องปลดวงจรและการควบคุม                                 10 – 23

ตอน ช. การป้องกันกระแสเกิน                                              10 – 24

ตอน ซ. ห้องเครื่อง                                                              10 – 25

ตอน ฌ. การต่อลงดิน                                                         10 – 25

ตอน ญ. การป้องกันความเร็วเกิน                                          10 – 26

บทที่ 11 (ว่าง)                                                                                   11 – 1

บทที่ 12 วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต                                                              12 – 1

12.1      ทั่วไป                                                                                 12 – 1

12.2      ขอบเขต                                                                             12 – 1

12.3      การจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินสำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต                         12 – 2

12.4      เมนสวิตช์และสวิตช์ต่างๆ                                                      12 – 2

12.5      ระบบการเดินสายไฟฟ้า                                                        12 – 4

12.6      การแยกระบบการเดินสาย                                                     12 – 4

12.7      ข้อกำหนดเฉพาะมอเตอร์สูบน้ำดับเพลิง                                   12 – 4

12.8      ข้อกำหนดการทนไฟของระบบวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตต่างๆ               12 – 5

บทที่ 13 อาคารใต้ผิวดิน (Sub-Surface Building)                                  13 – 1

13.1      ทั่วไป                                                                                 13 – 1

13.2      ขอบเขต                                                                             13 – 1

13.3      ระบบการเดินสายไฟฟ้า                                                        13 – 2

13.4      การแยกระบบการเดินสาย                                                     13 – 3

13.5      เมนสวิตช์และสวิตช์ต่างๆ                                                      13 – 3

13.6      การจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินสำหรับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก 13 – 3

13.7      อุปกรณ์ป้องกัน                                                                   13 – 4

13.8      การต่อลงดิน                                                                       13 – 4

13.9      ท่อระบายอากาศ                                                                 13 – 4

บทที่ 14 การติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว                                                        14 – 1

14.1      ขอบเขต                                                                             14 – 1

14.2      ข้อกำหนดการเดินสายชั่วคราว                                               14 – 1

14.3      เงื่อนเวลาการกำหนดระบบไฟฟ้าชั่วคราว                                 14 – 1

หน้า

14.4      ทั่วไป                                                                                 14 – 1

14.5      การต่อลงดิน                                                                       14 – 2

14.6      การป้องกันกระแสรั่วลงดินสำหรับบุคคล                                   14 – 2

14.7      การกั้น                                                                               14 – 3

ภาคผนวก ก.   คำศัพท์อังกฤษ-ไทย                                              ก – 1

ภาคผนวก ข.   คำศัพท์ไทย-อังกฤษ                                             ข – 1

ภาคผนวก ค.   ระยะในการติดตั้งระบบไฟฟ้ากับระบบอื่น ๆ               ค – 1

ภาคผนวก ง.   เซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC 60898 หรือ IEC 898  ง – 1

ภาคผนวก จ.   เซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC 60947-2 หรือ IEC 947-2                                                                     จ – 1

ภาคผนวก ฉ.   มาตรฐานผลิตภัณฑ์แนะนำ                                    ฉ – 1

ภาคผนวก ช.   ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการป้องกันไฟดูด (IEC 60536)                                                             ช – 1

ภาคผนวก ซ.   ตารางเปรียบเทียบระหว่าง NEMA Enclosure และ IP Class Protection (IEC Standard)                                      ซ – 1

ภาคผนวก ฌ.   ดีมานด์แฟกเตอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบส่วนกลาง (Central) และโหลดของเครื่องปรับอากาศแต่ละชนิด    ฌ – 1

ภาคผนวก ญ.   วิธีการหาขนาดสายดินของวงจรย่อย                        ญ – 1

ภาคผนวก ฎ.   จำนวนสูงสุดของสายไฟฟ้าขนาดเดียวกันในท่อร้อยสาย ฎ – 1

ภาคผนวก ฏ.   Utilization Categories for Contactors and Motor-starters ฏ – 1

ภาคผนวก ฐ.    แรงดันตก                                                          ฐ – 1

ภาคผนวก ฑ.   อุปกรณ์ตรวจจับอาร์กฟอลต์                                  ฑ – 1

ภาคผนวก ฒ.   ตัวอย่าง ข้อกำหนดการใช้เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ในสถานที่เฉพาะ                                                             ฒ – 1

ภาคผนวก ด.   รหัสสีและสีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการติดตั้งงานระบบ          ด – 1

ภาคผนวก ต.   การคำนวณขนาดกล่องสำหรับงานไฟฟ้า                    ต – 1

สารบัญรูป

                                                                                หน้า

บทที่ 7 บริเวณอันตราย (ฉบับย่อ)                                                 7 – 1

ภาพ 7.7.9.3.2      การทำเครื่องหมายบริภัณฑ์โซน (กรณี NEC)                      7-14

ภาพ 7.7.9.3.2 – 1 การทำเครื่องหมายบริภัณฑ์โซน (กรณี  IEC)                      7-14

ภาพ 7.7.9.3.2 – 2 การทำเครื่องหมายบริภัณฑ์โซน (กรณี  ATEX)                   7-15