การศึกษาสมัยปัจจุบัน พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน

ก่อนกรุงสุโขทัย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ตอนกลาง การศึกษาสมัยปฎิรูปการศึกษา (๒๔๓๕-๒๔๗๕) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลักสูตรพุทธศักราช

๒๕๒๑-๒๕๒๔ หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น

พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุง

พ.ศ. ๒๕๓๓) มาจนถึงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ และได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลักสูตรดังกล่าว เป็นหลักสูตรกลางที่ใช้ในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชน ในระบบ

นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรอื่น ๆ ที่หน่วยราชการต่าง ๆ จัดทำขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมไปถึงการจัด

การศึกษา นอกระบบด้วย ซึ่งผู้เขียนจะพยายามค้นคว้าและเสนอหลักสูตตั้งแต่ยุคก่อนสุโขทัยจนถึงยุคปัจจุบันเพื่อแสดง

ให้เห็นการเปลี่ยนและวิวัฒนาการของหลักสูตรในแต่ละยุคแต่ละสมัยซึ่งจะเสนอถึงเหตุผลและหลักการจัดทำหลักสูตรใน

พัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทย ซึ่งจะนำเสนอเป็นยุคๆ ดังนี้

๕. กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

๗. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๘. การจัดหลักสูตรสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๙. หลักสูตรพ.ศ.๒๕๒๑ - ๒๕๒๔

๑๐. หลักสูตร พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓)

๑๑. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔

๑๒.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑

กิจกรรมทางการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในอาณาจักร ล้านนาไทย ก็คือ กิจกรรมอันเนื่อง

ด้วยพระพุทธศาสนา มีหลักฐาน มากมายที่แสดงให้เห็นว่าชาวล้านนาสนใจศึกษา และปฏิบัติตาม พระธรรมคำสั่งสอน

ของพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังนอกจาก ความรู้ ในด้านพุทธธรรมแล้ว ความรู้ ความสามารถในด้านสถาปัตยกรรมและ

ปฏิมากรรม ตลอดจนศิลปะการช่างต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างเงิน ช่างเหล็ก ก็เจริญก้าวหน้ามากในอาณาจักรลานนาไทย

กรุงสุโขทัย พ.ศ.๑๗๙๒ – ๑๘๙๒

การศึกษาของคนในสมัยกรุงสุโขทัยกับการครองชีวิต เป็นเรื่องเดียวกัน การศึกษามิใช่การ เตรียมตัวเพื่อชีวิต แต่

การศึกษาคือ ชีวิต (Education is Life) การศึกษาคือการแก้ปัญหาเป็นการศึกษา โดยการปฏิบัติจริง (Learning by

Doing) พุทธศาสนา มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของ คนไทย การศึกษาในสมัยกรุงสุโขทัย แบ่งออกเป็น ๒

สาย คือ สายฆราวาส และ สายบรรพชิต

สายฆราวาส การศึกษาเล่าเรียนสายฆราวาส มี ๒ ด้านใหญ่ ๆ คือ

    ๑. ด้านวิชาชีพ ศึกษาและเรียนรู้ในครอบครัวจากพ่อแม่และเครือญาติ

    ๒. ด้านความประพฤติ ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธองค์ มีพระสงฆ์เป็นผู้สั่งสอนอบรมและ มีวัด

เป็นศูนย์กลาง การศึกษาอบรม

สายบรรพชิต คือการศึกษาของพระสงฆ์ จากหลักฐานต่างๆ พอสรุป ได้ว่าพระสงฆ์ในสมัยกรุงสุโขทัยสนใจ

ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้งพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ถึงกับทรงพระราชทานราชสำนัก ให้เป็น ที่

เล่าเรียน ของพระสงฆ์ มีการอาราธนา พระสงฆ์ที่รอบรู้ พระธรรมวินัยจาก แหล่งต่างๆ มาเผยแผ่ความรู้ยัง กรุงสุโขทัย

หนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่พระมหาธรรมราชาลิไททรง พระราชนิพนธ์ขึ้นนั้น ก็จะทรงหมายไว้ให้พระสงฆ์ ใช้เป็นแนวทางใน

การอบรมสั่งสอนชาวบ้านชาวเมืองสุโขทัยเป็นสำคัญ

ในปี ๑๒๐๕ พ่อขุนรามคำแหงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใหม่ พระองค์ทรงย้ำว่า “ลายสือไทย” นี้หรืออักษรไทย

แบบนี้ เมื่อก่อนไม่มี แต่อักษรไทยแบบอื่นๆมี พ่อขุนรามคำแหงได้จารึกไว้ว่า “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปี

มะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจ ในใจแลใส่ลายสือไทย ลายสือไทย จึงมีเพื่อพ่อขุน ผู้นั้นใส่ไว้”

ปี ๑๒๐๕ นั้นเป็นปีของมหาศักราช ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๒๖ อักษรที่ พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้ สันนิษฐานกันว่า คง

ใช้วิธีผสมผสานอักษรไทยเดิม อักษรขอมหวัดเข้าด้วยกัน ให้มีความเหมาะสมและใช้สะดวกยิ่งขึ้น

กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐

เมื่ออนุมานเอาจากหลักฐานต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้ว กล่าวได้ว่า ในช่วงที่ยังไม่มีการติดต่อ

กับฝรั่งนั้น กรุงศรีอยุธยามี ธรรมเนียมการศึกษาเช่นเดียวกับกรุงสุโขทัย กล่าวคือ

๑. วัด เป็นศูนย์กลางการศึกษาทั้งของฆราวาสและของบรรพชิตแล้วเป็นศูนย์กลางกิจกรรม ต่างๆ ของสังคม

พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการอบรมสั่งสอนประชาชน และการที่วัดเป็นสำนักสั่งสอนวิชาการต่างๆ นั้น ได้สืบ

ประเพณีมาจนต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

๒. วิชาชีพ เช่น การทำนา ทำสวน การช่างต่าง ๆ เช่น ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างหล่อ ช่างบาตร ก็สอนกันใน

ครอบครัวหรือในวงศาคณาญาติ สำหรับชายหนุ่มที่หวังจะเอาดีทางวิชาการต่อสู้และป้องกันตัว เช่น วิชามวย วิชาฟันดาบ

วิชากระบี่กระบอง ก็จะเล่าเรียนจากสำนักต่างๆ

๓. ทางฝ่ายราชสำนัก นอกจากจะส่งพระราชกุมารไปศึกษากับพระสงฆ์ตามพระอารามต่าง ๆ แล้วก็มักจะมีพระ

มหาราชครูและ โหราธิบดีเข้ามา สอนนิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ราชประเพณี ตลอดจนวิชาการปกครอง และการรบพุ่งอื่นๆ

อีกด้วย พระมหาราชครูและพระโหราธิบดี ส่วนมากจะเป็น พราหมณ์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาเรารับปรัชญา

การศึกษามาทางฝ่ายราชสำนักจากศาสนาพราหมณ์ ทำให้ปรัชญาการศึกษาฝ่ายพุทธและ พราหมณ์อยู่คู่กันมาตราบเท่า

นอกจากนี้ยังมีการเรียนภาษาต่างประเทศ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส และมีโรงเรียนบาทหลวง สอนศาสนาได้อย่างเสรี

แผ่นดินที่วรรณกรรมเฟื่องฟูสุดขีด ก็คือ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันเป็นยุคที่มีการติดต่อทำมาค้าขายกับฝรั่ง

อย่างกว้างขวาง พระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัย ในด้าน อักษรศาสตร์เป็นพิเศษ

วรรณคดีสำคัญ ในสมัยนี้ก็มี เสือโคคำฉันท์ สมุทโฆษคำฉันท์ ลิลิตพระลอ อนิรุทธิ์คำฉันท์ กำสรวลศรีปราชญ์

ทวาทศมาส โคลงนิราศหริภุญไชย รำพันพิลาปคำฉันท์ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นต้น กวีสำคัญๆ ก็มี

พระมหาราชครู ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถ ขุนเทพกวี และองค์พระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเป็นกวีด้วย จินดามณี ซึ่งถือเป็น

แบบเรียนเล่มแรกของไทย ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ ผู้แต่งคือ พระมหาราชครู

วรรณคดีสมัยก่อน ใช้วิธีเขียนลงบนสมุดไทย หรือไม่ก็จะจารลงบนใบลาน วิธีการเรียนจะใช้วิธีท่องจำ นักเรียน

ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ส่วนนักเรียนหญิงจะเรียนการบ้านการเรือน และอยู่ในราชสำนัก

“ศาสตร์ต่างๆเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนี้”

แม้ว่ากรุงธนบุรีเป็นพระนครหลวงของไทยอยู่เพียง ๑๕ ปี และเป็น ๑๕ ปีแห่งการทำสงคราม ถึงกระนั้นกรุง

ธนบุรี ก็ยังได้วางพื้นฐานทั้งในด้านการค้า การศาสนา และอักษรศาสตร์ ไว้ให้กับ ราชอาณาจักรไทยอย่างมั่นคง ทั้งนี้ด้วย

พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโดยแท้ การศึกษาในสมัยกรุงธนบุรี แม้จะไม่เจริญก้าวหน้านัก แต่ก็เป็นการ

เริ่มต้นทางการศึกษาที่เป็น พื้นฐานให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4 : พ.ศ. 2325-2410)

แนวการจัดการศึกษาเริ่มมีแบบแผน แบบเรียนสมัยนี้มีหนังสือจินดามณี หนังสือ ประถม ก กา และ ปฐม มาลา

การศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ผิดแผกไปจากการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่าใดนัก กล่าวคือ ในราชสำนักคง

มีปราชญ์ราชบัณฑิต เป็นผู้ให้ความรู้แก่พระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนการศึกษาของสามัญชนก็

อาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง เป็นแหล่งให้ความรู้โดยมีพระเป็น ผู้สอนหนังสือ ให้รู้จักการอ่าน เขียน คิดเลขเป็น พร้อมทั้ง

สอดแทรกจริยธรรมและหลักธรรม ของพระพุทธศาสนาไปในตัว มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการจัดการศึกษา

เรียกว่า มาติกาการศึกษา มีหลักฐานปรากฏว่า ได้มีหนังสือเรียนไว้อยู่ 5 เล่ม คือ

ปฏิรูปการศึกษา (รัชกาลที่ ๕ - ๗ : พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๗๕)

ในสมัยอันยาวนานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) นับได้ว่าเป็นยุคของ

การปฏิรูป ประเทศอย่างแท้จริง การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นการปกครอง สังคม

กฎหมาย รวมทั้งการศึกษาด้วย

การศึกษาตามระบบโรงเรียนได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และกลายเป็นรากฐานที่สำคัญทำให้เกิด พระราชบัญญัติ

ประถมศึกษาใน พ.ศ.๒๔๖๔ ในการปฏิรูปทั้งหลายดังกล่าวมา การปฏิรูปการศึกษา มีความสำคัญเป็น พิเศษ เพราะไม่

เพียงแต่มีผลต่อการศึกษาโดยตรงเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการผลิตนักเรียนให้กับหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่กำลังขยาย

ตัวอย่างกว้างขวางด้วยแต่ก่อนที่จะกล่าวถึงการปฏิรูปควรจะได้กล่าวถึงปัจจัยที่ ทำให้เกิดการปฏิรูป การศึกษาก่อน ดังนี้

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา

๑. การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก

๓. การศึกษาในระบบโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาและ ทอดพระเนตรจาก

๔. ความขาดแคลนบุคคลที่มีความรู้เพื่อมารับราชการ

การศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๗๕ การศึกษาไทย ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่ง

เป็นปีแรกของการตั้งกระทรวงธรรมการ จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นก้าวแรกของการศึกษาไทยภายใต้การปกครองในระบอบ

สมบูรณาญาสิทธิราชของพระมหากษัตริย์ ไทย ๓ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ -

๒๔๕๓) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้วางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุด

คือ การขยายการศึกษาทั่วในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองให้กว้างขวางออกไป และที่สำคัญที่สุดพระองค์ทรงเห็นว่า

การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงและขยายออกไป ให้ถึงประชาชน

พลเมืองให้มากที่สุด ดังปรากฏข้อความในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘ ตอนหนึ่งว่า

“...ด้วยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า วิชาหนังสือ เป็นต้นเค้าคุณความเจริญของราชการ

บ้านเมืองยิ่งกว่าศิลปศาสตร์วิชาการอย่างอื่นๆ ทั้งสิ้น..."

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญ คือ

ส่งเสริมการขยายการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป ออกไปให้กว้างขวาง โดยได้ออกพระราชบัญญัติบังคับ เด็กเข้า เล่า

เรียน ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้ทรงพยายามส่งเสริมการศึกษาด้านวิชาชีพ และการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป อันได้แก่

มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งทรงส่งเสริมจัดการศึกษาเพื่อสร้างความรู้สึกนิยมแก่ประชาชนด้วย

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญคือ ขยายการ

ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาออกไปให้กว้างขวาง ส่งเสริมการเรียนวิชาชีพในโรงเรียนทุกระดับ โดย

เฉพาะระดับประถมศึกษา รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ดังได้ทรงกล่าวไว้ในที่ประชุมสมุหเทศาภิบาล คราวหนึ่ง ว่า

“การศึกษาสมัยนี้ควรถือเอาคุณภาพ (Quality) ไม่ใช่ถือเอาจำนวน (Quantity)”

ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๗๕ รัฐได้ประกาศใช้แผนการศึกษา รวม ๖ ฉบับ คือ

๔. โครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๖

๖. โครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔

กล่าวโดยสรุป นโยบายการศึกษาไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๗๕ นับเป็นยุคเริ่มแรกหรือ ก้าวแรก ของการ

จัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) รัฐได้พยายามที่จะขยายการศึกษาออกไปสู่ ประชาชนอย่าง

กว้างขวางในทุกระดับในกรุงเทพฯ และตามหัวเมือง โดยมุ่งเน้นในระดับประถมศึกษา เป็นสำคัญ กว่าระดับอื่น ทั้งนี้เพื่อ

ประโยชน์ในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน เพื่อสนองตอบความต้องการของ ชาติบ้านเมือง ที่ต้องการคนเข้ารับ

ราชการ และในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามนโยบาย นับได้ว่าบรรลุผลสำเร็จ พอสมควร โดยเฉพาะการจัดการศึกษา

ในระดับประถมศึกษาอันเป็นการศึกษาสำหรับประชาชนโดยทั่วๆ ไป ส่วนการศึกษาในระดับอื่นประสบผลสำเร็จไม่มาก

นัก อย่างไรก็ดีความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการ ในยุค เริ่มแรกที่ดำเนินการปรับปรุง โครงสร้างและระบบการบริหาร

การประกาศใช้แผนการศึกษาชาติหลายฉบับและอื่นๆ ล้วนแล้วแต่เป็นความพยายามที่จะจัดการศึกษาของชาติให้บรรลุ

ตามนโยบายที่กำหนดไว้ การจัดหลักสูตรการศึกษา พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๗๔ หลักสูตรการศึกษาในช่วงนี้ มีดังนี้

๗. พิกัดสำหรับการศึกษา พ.ศ. ๒๓๒๔ (หลักสูตรฉบับแรก)

๙. หลักสูตร ร.ศ.๑๒๔ (สำหรับสามัญศึกษา ๒๔๔๘)

๑๐. หลักสูตร ร.ศ.๑๒๖ (สำหรับโรงเรียนผู้หญิง พ.ศ. ๒๔๕๐)

๑๒. หลักสูตรสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๔

๑๓. หลักสูตรหลวง พ.ศ. ๒๔๕๖

๑๔. หลักสูตรสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔

๑๕. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๑

จุดเน้นและวิชาที่กำหนดให้เรียนในหลักสูตรดังกล่าว มีดังนี้

๑๖. พิกัดสำหรับการศึกษา พ.ศ.๒๔๓๕ (หลักสูตรฉบับแรก) ประกอบด้วย

๑๖.๑ ชั้นมูลศึกษา - มูลศึกษาชั้นต่ำ (๓ ปี) - มูลศึกษาชั้นสูง (๔ ปี) มุ่งให้ราษฎรได้รับประโยชน์เต็มที่

จากการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ

๑๖.๒ มัธยมศึกษา - ชั้นกลางสามัญ (๔ ปี) - ชั้นกลางสูง (๔ ปี) มุ่งการศึกษาต่อชั้นสูงขึ้น และ ประกอบอาชีพ

๑๗. หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๓๘ แบ่งเป็น

๑๗.๓ ประโยค ๓ (๔ ปี) มุ่งทำนุ บำรุง การเล่าเรียนวิชาให้เจริญ โครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๑ และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๔๕

๑๘. หลักสูตร ร.ศ.๑๒๔ (สำหรับสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๘) แบ่งเป็น

๑๘.๒ มัธยมศึกษา (๓ ปี) มุ่งขยายความรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้นแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๕๐

๑๙. หลักสูตร ร.ศ.๑๒๖ (สำหรับโรงเรียนผู้หญิง พ.ศ. ๒๔๕๐) แบ่งเป็น

๑๙.๑ หลักสูตรประถมสามัญ (๓ ปี)

๑๙.๒ หลักสูตรมัธยมสามัญ (๓ ปี)

๑๙.๓ หลักสูตรพิเศษ มุ่งให้ความรู้เพียงพอแก่ประโยชน์ในการทำงาน แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๕๒

๒๐. หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๕๒ แบ่งเป็น

๒๐.๑ หลักสูตรมูลศึกษา (๓ ปี)

๒๐.๒ หลักสูตรประถมศึกษา (๓ ปี)

๒๐.๓ หลักสูตรมัธยม (๓ ปี)

๒๐.๔ หลักสูตรมัธยมสูง (๓ ปี) มุ่งขยายการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น และเน้นการส่งเสริมอาชีพ

แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๒

๒๑. หลักสูตรสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๔ แบ่งเป็น

๒๑.๑ หลักสูตรมูลศึกษา (๓ ปี)

๒๑.๒ หลักสูตรประถมศึกษา (๓ ปี)

๒๑.๓ หลักสูตรมัธยมศึกษา (๓ ปี)

๒๑.๔ หลักสูตรประถมศึกษาพิเศษ

๒๑.๕ หลักสูตรมัธยมศึกษาพิเศษ

๒๑.๖ หลักสูตรมัธยมสูง (๓ ปี) มุ่งให้ราษฎร์ทุกคนมีความรู้อย่างต่ำระดับมูลศึกษา และมีอาชีพติดตัวเมื่อจบการศึกษา

โครงการศึกษา พ.ศ.๒๔๕๖, แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๕๘,แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๕๘ (ชาย),แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๕๘ (หญิง)

๒๒. หลักสูตรหลวง พ.ศ. ๒๔๕๖ แบ่งเป็น

๒๒.๑ ประถมศึกษา - สามัญ (๓ ปี) - วิสามัญ (๒ ปี) ๗.๒ มัธยมศึกษา - ตอนต้น (๓ ปี) - ตอนกลาง

(๓ ปี) - ตอนปลาย (๒ ปี) เพื่อมุ่งแก้ความนิยมในการเป็นเสมียน และมุ่งให้ราษฎร์เห็นความสำคัญ มีความรู้

ความสามารถใน วิชาสามัญจนนำไปประกอบอาชีพได้ในท้องถิ่นของตนตามความสามารถ

๒๓. หลักสูตรสามัญศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔ แบ่งเป็น ๔ ระดับ ได้แก่

๒๓.๑ ระดับประถมศึกษา - ชาย (๔ - ๕ ปี) - หญิง (๓ ปี)

๒๓.๒ ระดับมัธยมตอนต้น (๓ ปี)

๒๓.๓ ระดับมัธยมตอนกลาง (๓ ปี)

๒๓.๔ ระดับมัธยมตอนปลาย (๒ ปี) เน้นวิชาอาชีพมากขึ้น

๒๔. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๑ (๒ ปี) แบ่งเป็น ๓ แผนก

๒๔.๓ แผนกวิทยาศาสตร์ มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัดและความสนใจ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ – ๒๕๐๓

นโยบายการศึกษาในสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสม

บูรณญาสิทธิราช มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ส่งผล

กระทบต่อด้านการเมือง การบริหารการเศรษฐกิจ สังคม และทางการศึกษาของชาติ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา “คณะ

ราษฎร์” กำหนดไว้ว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎรทุกชนชั้น” เพื่อประโยชน์ในการปกครองตามระบอบ

ประชาธิปไตย และมีเจตนาที่จะพัฒนาการศึกษาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๓ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับถาวร ฉบับชั่วคราว และฉบับแก้ไข

จำนวน ๑๕ ฉบับ มีรัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ๓๐ ชุด มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๑๖

ท่าน ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการศึกษาอยู่มาก แต่ก็ไม่ทำให้การปรับปรุงระบบ

การศึกษาของชาติหยุดชะงักไป และในยุคนี้เป็นยุคที่เชื่อมโยงในการจัดการศึกษาของไทยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

แนวนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ในยุคนี้พอจะแยกออกเป็น ๓ ระยะ คือ

๑. ระยะแรก (พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๘๕) นโยบายในการจัดการศึกษาในช่วง ๑๐ ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงการ

ปกครอง จะเป็นการ ขยายการศึกษาระดับ ประถมศึกษาออกไปให้มากยิ่งขึ้นและให้ความสำคัญมากกว่าระดับอื่น ส่วนใน

ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษานั้น เป็นการขยายด้านปริมาณและปรับปรุงคุณภาพ

๒. ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๓) ช่วงแรกของระยะที่สอง ประเทศตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม นโยบาย

การบริหารราชการ แผ่นดิน จึงเน้นหนักในด้านการทหาร และการป้องกันประเทศ ส่วนในด้านการศึกษา จึงไม่ค่อยชัดเจน

นัก ภายหลังสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๘) รัฐบาลได้ปรับปรุงการศึกษาของชาติหลายประการ นโยบายในการจัดการศึกษาได้

เด่นชัดขึ้นทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ ปริมาณ และคุณภาพในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ อาชีวศึกษา

และอุดมศึกษา โดยรัฐบาลต้องเอาใจใส่และทำนุบำรุง การศึกษาของชาติ ทุกระดับ

๓. ระยะที่สาม (พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๐๓) มีรัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ๗ ชุดเป็นช่วงหนึ่งที่มี

ความสำคัญ ช่วงการศึกษา ของชาติ เป็นช่วงที่มีการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านและทุก

ระดับที่ปรากฏเด่นชัดที่สุด เช่น รัฐบาลจะ ส่งเสริมการศึกษาในทางปริมาณและคุณภาพ จะวางรากฐานเพื่อให้ประชาชน

มีพื้นความรู้สูงขึ้น และมีความสามารถที่จะประกอบอาชีพ ได้ดี พร้อมจะส่งเสริมให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและศีลธรรมอัน

ดีงาม ด้วยการอาศัยการศาสนาและการศึกษาเป็นหลัก

ในการจัด การศึกษาของชาติ ก็คือ “แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔” ได้กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา

เป็นสี่ส่วนนั้น ได้แก่ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา ในยุคนี้ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ รวม ๓ ฉบับ คือ

๑. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๕

๒. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๙

๓. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔

กล่าวโดยสรุปแล้ว นโยบายการจัดการศึกษาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๓ ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการ

ปกครอง มุ่งที่การขยาย การศึกษาภาคบังคับออกไปให้กว้างขวาง พร้อมทั้งผลิตครูให้เพียงพอในช่วงกลางของยุค (๒๔๘๔

- ๒๔๘๗) ทั่วโลกตกอยู่ภายใต้ภาวะของสงคราม รวมทั้งประเทศไทยด้วย นโยบายในการจัดการศึกษาจึงไม่ค่อยชัดเจนนัก

ภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ รัฐบาลได้มีแนวนโยบายในการดำเนินงาน จัดการศึกษา โดยที่จะปรับปรุงการศึกษาในทุก

ด้าน ทุกระดับ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะในระดับ ประถมศึกษาที่เป็น

การศึกษาภาคบังคับ รวมทั้งให้ทุนอุดหนุนการจัดการศึกษาของเอกชน

การพัฒนาการศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๒๐ ได้ขยายการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดย

ได้รับความร่วมมือจากองค์กร ระหว่างประเทศ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๕๒๐ กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันให้มี

การประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓ และปรับปรุงหลักสูตรระดับการศึกษา ทำให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่สำคัญ คือ มีการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น ๗ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๙

ได้มีการโอนการศึกษาประชาบาลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในยุคนี้มีจุดที่น่าสนใจ คือ ในระหว่างปี พ.ศ.

๒๕๐๓ - ๒๕๑๗ การศึกษาในสายอาชีวศึกษามีผู้สนใจจะเข้าศึกษาน้อยมาก แต่เพิ่มมากขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๗ -

๒๕๒๙ แต่ในขณะเดียวกันระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๑๕ มีการผลิตนักเรียนฝึกหัดครูเป็นจำนวนมากและภายหลังได้

ลดความนิยมลงไป เนื่องจากว่า มีบางส่วนหลังจากที่สำเร็จออกมาแล้ว ไม่มีงานทำ

ทางด้านภาคเอกชนหันมาให้ความสนใจในการจัดการพัฒนาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาแทนการจัด

การศึกษาในระดับประถม มากขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๒๐ ได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๙ ท่าน

เข้ามาบริหารราชการ และได้วางแนวนโยบายในการ บริหารงานการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดยจัดเอาแผนการศึกษา

ชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นแผนแม่บท ในยุคนี้ ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาหรือได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษา

แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๓ และต่อมาในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้ถือเอาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.

๒๕๐๓ เป็น แผนแม่บท และดำเนินการในรายละเอียดดังนี้

๔. แผนพัฒนาการศึกษาชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๙) เน้นการขยายการศึกษาภาคบังคับ อันเป็น

การศึกษาขั้นพื้นฐานและจัดแนว การศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งมีนโยบายหลัก ๔ ประการ คือ

๔.๑ ขยายการศึกษาภาคบังคับ จาก ๔ ปี เป็น ๗ ปี ให้ทั่วประเทศภายในเวลาอันเหมาะสม

๔.๒ ขยายและปรับปรุงการศึกษาระดับกลางทั้งสายสามัญและอาชีวศึกษาให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นพื้นฐาน

ของการศึกษาในชั้นสูงขึ้นไป

๔.๓ เน้นการผลิตครูให้เพียงพอแก่ความต้องการและส่งเสริมให้ครูมีวุฒิเข้าสู่ระดับมาตรฐาน เพื่อเป็น

การเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการศึกษา

๔.๔ ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกไปสู่ส่วนภูมิภาค เพื่อผลิตนักศึกษาในอาชีพต่างๆ ให้

เพียงพอกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในโอกาสต่อไป

๕. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔) จากการดำเนินงานพัฒนาการศึกษา

ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ นั้น ดังที่ปรากฏว่า มีเยาวชนอีกจำนวนมากไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา

มาตรฐานการศึกษาโดยทั่วไปยังไม่ดีพอ การผลิตผู้สำเร็จการศึกษาไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด ดังนั้น

รัฐบาลจึงได้กำหนดแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ ซึ่งมี นโยบายในการพัฒนาการศึกษาไว้ ดังนี้

๕.๑ จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

๕.๒ จัดและขยายการศึกษาให้สอดคล้องกับภาระผูกพันของรัฐที่มีต่อสังคม อันได้แก่ การศึกษาภาค

บังคับและการศึกษาแต่ละระดับของ ประชากรในวัยเรียน

๕.๓ ปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษา เช่น หลักสูตร แบบเรียนฯ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของ

๕.๔ ส่งเสริมการส่งเสริมในโรงเรียนราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

๖. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๙) แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่

๓ มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดในช่วงระยะของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ นโยบาย

ที่กำหนดในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ สรุปได้ดังนี้

(๑) ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พร้อมทั้งปลูกฝังให้

เยาวชนได้เกิดมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม และความมั่นคงของประเทศ

(๒) ส่งเสริมการศึกษาระดับ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(๓) ส่งเสริมการศึกษาด้านเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิตของเกษตรกร

(๔) ขยายและปรับปรุงการศึกษาภาคบังคับให้สอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนประชากรในวัยเรียน

(๕) เร่งผลิตครูให้เพียงพอกับความต้องการและส่งเสริมด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพของครู

(๖) ส่งเสริมความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา เร่งจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพ

(๗) สนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในอัตราส่วนและวิถีทางที่เหมาะสม

(๘) ส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมและวินัยของเด็กในวัยเรียน และส่งเสริมการศึกษาพลานามัยส่วน

บุคคลและส่วนรวม เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีความรักหมู่คณะและประเทศชาติ

นโยบายการศึกษา ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๓๕

การจัดการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๓๕ เป็นความพยายามที่จะนำเอาแนวคิดของนักการศึกษาไทยเข้า

มาใช้ในการจัดการศึกษาของชาติ โดยคำนึงถึงบริบททางการศึกษาและวัฒนธรรมไทยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน กล่าวคือ เป็น

การจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนสนใจและ ตระหนักในตนเอง ในด้านความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง

ของสังคม และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาตนเองและสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ หรือที่เรียกว่า การจัด การศึกษาเพื่อชีวิต

และสังคม เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รัฐบาลโดย

กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ วางกรอบแนวนโยบายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติโดยกำหนดแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ

การจัดหลักสูตรการศึกษาสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ปัจจุบัน

กล่าวโดยสรุป การจัดการศึกษาในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๓๔ รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้พยายาม

ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และ

การเมือง โดยดำเนินการจัดการศึกษาตามแผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ - ๖ ดังนี้ แผนพัฒนาการศึกษา

แห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔) ได้มีการเปลี่ยนระบบการศึกษาจาก ๔ : ๓ : ๓ : ๒ (๓) เป็น ๖ : ๓ : ๓ และมี

การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้เหมาะสม มีการขยายการศึกษาภาคบังคับและระบบการศึกษาใหม่ แผนพัฒนา

การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙) เป็นช่วงที่สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และการพัฒนาที่

ไม่สมดุล คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาตกอยู่กับคนบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน และความไม่เท่า

เทียมกันในด้านโอกาสของคนในชนบท ดังนั้นในการจัดการศึกษาในช่วงนี้ เป็นการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ และการขยาย

โอกาสทางการศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ได้สืบเนื่องมาถึงช่วงของแผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๔)

ซึ่งเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่กลุ่มคนในชนบทและผู้ด้อยโอกาส รวมถึงคนพิการในชนบท ที่อยู่ห่างไกล ด้วย

การพัฒนาระบบบริหารการศึกษา และคุณภาพทางการศึกษา

ใน พ.ศ.๒๓๗๔ มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๗๕ และต่อมามีการปรับปรุงแผนการศึกษาชาติ

พ.ศ.๒๔๗๙ เพื่อให้เหมาะสมกับการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย และไ ด้มีการปรับปรุงหลักสูตรประถมศึกษาและ

มัธยมศึกษาเป็นระยะๆดังนี้

(๑) ประมวลศึกษาภาค ๒ หลักสูตรชั้นประถมศึกษา มัธยมต้นและมัธยมปลาย พ.ศ. ๒๔๘๐

(๒) หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑

(๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๙๓

(๔) หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘

(๕) หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนปรับปรุง ป.๑ และ ป.๒ พ.ศ. ๒๕๐๑

(๖) หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรประโยค

มัธยมศึกษาตอนต้นและหลักสูตรประโยค มัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๐๓

(๗) หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๑๘

(๘) หลักสูตรประโยคประถมศึกษา หมวดวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น หมวดวิชา

สังคมศึกษาและหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษา ตอนปลาย หมวดวิชาสังคมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๐

จุดเน้นและวิชาที่กำหนดให้เรียนในหลักสูตรดังกล่าว มีดังนี้

แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๙

๑. ประมวลศึกษาภาค ๒ พ.ศ. ๒๔๘๐

(๑) หลักสูตรชั้นประถมศึกษา (๔ ปี)

(๒) หลักสูตรมัธยมต้น (๓ ปี)

(๓) หลักสูตรมัธยมปลาย (๓ ปี)

มุ่งให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษา ทั้งสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อจะได้ทำหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และให้

ทุกคนทำประโยชน์แก่ตนเองและ ประเทศชาติ ตามหน้าที่

(๑) หลักสูตรชั้นประถมศึกษา (๔ ปี)

(๒) หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา แบ่งเป็น ๒ แผนก

การอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว และได้เรียนวิชาที่สมควรแก่อัตภาพ

(๑) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (๓ ปี)

(๒) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (๓ ปี)

มุ่งให้เป็นการศึกษาของทวยราษฎร์อย่างแท้จริง และให้เรียนวิชาที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อการดำรงชีวิตและการประกอบ

(๑) หลักสูตรประถมศึกษา เพื่อพัฒนาความงอกงามของเด็กทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและ

อาชีพ โดยเน้นองค์ ๔ ของการศึกษา คือ จริยศึกษา พุทธิศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา

(๒) หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาจัดให้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อใน

๕. หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนปรับปรุง ป.๑, ป.๒ พ.ศ. ๒๕๐๑

เน้นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อให้สามารถดำรงตนเป็นพลเมืองดีของชาติในระบอบประชาธิปไตย

๖. หลักสูตร พุทธศักราช ๒๕๐๓

(๑) หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๐๓ (๔ ปี)

(๒) หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๐๓ (๓ ปี)

(๓) หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๐๓ (๓ ปี) แบ่งเป็น ๒ สาย

มุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้ดำรงตนเป็นพลเมืองดีของชาติในระบอบประชาธิปไตย โดยฝึกฝนอบรมให้มีคุณลักษณะ

ใหญ่ ๔ ประการ คือ ความเจริญแห่งตน มนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการครองชีพ และความรับผิดชอบตามหน้าที่

(๔) หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๐๓ (๓ ปี) แบ่งเป็น ๒ สาย คือ สาย

สามัญและสายอาชีพ สายสามัญ มี ๓ แผนก คือ

๗. หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๑๘

มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ และวัฒนธรรม ซึ่งจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ

(๑) หลักสูตรประโยคประถมศึกษา หมวดวิชาสังคมศึกษา (๑ ปี)

(๒) หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น หมวดวิชาสังคมศึกษา (๓ ปี)

(๓) หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หมวดวิชาสังคมศึกษา (๓ )ปี

มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ และวัฒนธรรมอันจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและการ

ดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๑ มุ่งให้ ผู้เรียนสามารถ

นำประสบการณ์ที่ได้จาก การเรียนไปใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการ ดำรงชีวิต ให้ผู้เรียนเป็นผู้มี

คุณธรรม รู้จักคิดวิจารณ์ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และเน้นให้มีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ระยะเวลาเรียนตลอด

หลักสูตร ๖ ปี โดยยึดเด็กเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ และ หลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนต้น พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่มุ่งวางพื้นฐานใน

การประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถ ความถนัดและความสนใจ ของตนเองเน้น

และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายให้สอดคล้องกับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและ

ประกาศใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๒๔ โครงสร้างของหลักสูตรทั้งสองฉบับนี้ จัดให้เรียนทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก วิชา

บังคับมีทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพ เน้นความสำคัญของวิชาการงานและอาชีพ การเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็น

ศูนย์กลางของการเรียน ส่วนการวัดและประเมินผลใช้ระบบหน่วยการเรียน แทนระบบหน่วยกิตที่ใช้ตาม หลักสูตร

มัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๑๘ หลักสูตร พ.ศ.๒๕๒๑ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)

ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร ๓ ระดับคือหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น

พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๓๓) และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุง

พ.ศ.๒๕๓๓) มีจุดหมายส่งเสริม ให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการ ให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในการ

ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองให้สอดคล้องกับยุค สารสนเทศและเทคโนโลยี

กรอบความคิด หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓) เพื่อให้ทุกคนได้ตรงไปที่เป้าหมาย

เดียวกัน หลักสูตรฉบับปรับปรุงจึงวางกรอบ ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนไว้ดังนี้ การพัฒนาตน - มีความรู้พื้นฐาน -

มีสุขภาพกายใจสมบูรณ์ - แก้ปัญหาเป็น - เสียสละ - มุ่งพัฒนา การพัฒนาอาชีพ - ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - รักการทำงาน -

มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต - เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพและจัดการเป็น การพัฒนาสังคม -

กรอบความคิดนี้ได้กำหนดจุดหมายในระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้

ต่อเนื่องกันจนเป็นการพัฒนา ที่เสริมต่อกัน เป็นการพัฒนาชีวิตที่ทำประโยชน์ต่อสังคม จุดเน้นและวิชาที่กำหนดให้เรียน

ในหลักสูตร หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๓๓)และ พุทธศักราช ๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.

(๑) หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๓๓) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันการ

เปลี่ยนแปลงของสังคม โดยการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสังคม

(๒) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๓๓) มุ่งแสวงหาแนวทางที่

เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้สังคมโดยเน้นการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพและพัฒนาสังคม

(๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๓๓) มุ่งให้ผู้เรียนลงมือทำ

ประโยชน์ให้สังคมตาม ความสามารถของตน โดยเน้นการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพและพัฒนาสังคม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ด้วยเหตุผลที่ว่าหลักสูตร พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓) มีจุดอ่อนในเรื่องสำคัญ ดังนี้

๑. การกำหนดหลักสูตรจากส่วนกลางไม่สามารถสะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและ

๒. การจัดหลักสูตรและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ยังไม่สามารถผลักดันให้ประเทศ

ไทยเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภูมิภาค จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้

คนไทยมีทักษะกระบวนการและเจตคติที่ดีทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์

๓. การนำหลักสูตรไปใช้ยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานในการคิด สร้างวิธีการเรียนรู้ให้คนไทยมีทักษะในการจัดการ

และทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถเผชิญปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังไม่สามารถที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ภาษา ต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ใน

การติดต่อสื่อสารและการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายในยุคสารสนเทศ

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าวได้กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความ

เป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดี ของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษา

แห่งชาติดังกล่าว กำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 9 ปี จึงได้มีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลักการ เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้

๑. เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

๒. เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมี

๓. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

๔. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้

๕. เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมี

ความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียน

เกิดคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ดังต่อไปนี้

๑. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ มี

คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

๒. ความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า

๓. มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะและศักยภาพ

ในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับ วิธีการคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์

๔. มีทักษะและกระบวนการโดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญา และทักษะ

๕. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

๖. ประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค

๗. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทยเป็นพลเมืองดียึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๘. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬาภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติและ

๙. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถปรับใช้ได้กับการจัดการศึกษา

ทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ในส่วนของการจัดการศึกษาปฐมวัย กำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการสร้าง

เสริมพัฒนาการและเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

การจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ช่วงชั้น ดังนี้

ช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓

ช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖

ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓

ช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖

ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และปีที่ 4-6 การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ

หลักสูตรที่จัดขึ้น มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิต กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน

การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การติดต่อสื่อสาร และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ เน้นการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งในด้าน

ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและวัฒนธรรม

ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจ

ความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง และพัฒนา บุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้าน

การเรียนรู้ และทักษะใน การดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความ

รับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐาน

ในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ

ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน มุ่ง

ปลูกฝังความรู้ ความสามารถ และทักษะในวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์ต่อการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งมั่นพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และ

ผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆลักษณะหลักสูตรในช่วงชั้นนี้จัดเป็นหน่วยกิตเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการจัดแผนการเรียนรู้

ที่ตอบสนองความสามารถความถนัด ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ และให้มี

กลุ่มสาระเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมเป็นกลุ่มสาระที่ ๙ ได้ กลุ่มสาระที่กำหนดนี้จะต้องเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่

๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ให้เหมาะสม ซึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่ม

๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบ่งเป็น ๕ สาระ ๕ มาตรฐานการเรียนรู้

๒. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบ่งเป็น ๖ สาระ ๒๐ มาตรฐานการเรียนรู้

๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น ๘ สาระ ๑๓ มาตรฐานการเรียนรู้

๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม แบ่งเป็น ๕ สาระ ๑๑ มาตรฐานการเรียนรู้

๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา แบ่งเป็น ๕ สาระ ๖ มาตรฐานการเรียนรู้

๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แบ่งเป็น ๓ สาระ ๖ มาตรฐานการเรียนรู้

๗. การงานอาชีพและเทคโนโลยี แบ่งเป็น ๕ สาระ ๖ มาตรฐานการเรียนรู้

๘. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ แบ่งเป็น ๔ สาระ ๘ มาตรฐานการเรียนรู้

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ซึ่งแบ่งเป็นเป็นสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด และมีหลักสูตร

แกนกลางกำหนดเนื้อหาให้ร้อยละ ๗๐ และให้สถานศึกษานำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม อีกร้อยละ ๓๐ แต่ในที่นี้

ผู้เขียนจะไม่แสดงรายละเอียดให้มากกว่านี้ เพียงแต่นำเสนอในภาพรวมของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

๒๕๔๔ เพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบเท่านั้น

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

หลังจากการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ มาได้ระยะเวลาหนึ่งก็พบว่ามีจุดอ่อนที่ต้อง

ปรับปรุงในส่วนของหลักสูตรแกนกลาง จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งให้มีโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา ๒๕๕๒ และให้มีการใช้ทั่วประเทศในปีการศึกษา

โดยสาระสำคัญยังคงใกล้เคียงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ยังคงมีหลักสูตร

แกนกลาง และให้ทางโรงเรียนจัดทำสาระของหลักสูตรเอง โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนา

ผู้เรียน ส่วนที่เปลี่ยนแปลงเด่นชัดก็คือ ยกเลิกระดับช่วงชั้น เป็นฃั้นปีเหมือนเดิม และในหลักสูตรได้เพิ่มตัวชี้วัดขึ้นมาเพื่อ

การจัดการเรียนการสอนให้สนองตัวชี้วัดที่กำหนดครบทุกตัวชี้วัด นอกนั้นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก และยังคงเพิ่มงาน