เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

�ç���ҧ�ҧ���ɰ�Ԩ�����ѵ���Թ���͹�� (��͹�� �.�.2398)
          1. ��ü�Ե�ѧ�繡�ü�Ե�����ѧ�վ �������ǹ����֧ͨ���Ң�����Թ���
          2. �Ѩ��¡�ü�Ե ���Թ ������դ����Ӥѭ�ҡ�����������繷�Ѿ���ô���� ����������ա�ë��͢�·��Թ��������Ѫ��ŷ�� 3 �ç�ҹ �ѧ�����ç�ҹ���㹤�ͺ���� ���������ѧ�ѡ���ա����Ҩ�ҧ�ç�ҹ��Ǩչ�������
          3. ��ü�Ե �ѧ���繡����л�١ ���� ���� ���� ��ԡ�� ��оת�ǹ �ת��� ����
          ����Ѻ��ü�Ե���ҧ�ص��ˡ��� �ѧ�����ص��ˡ���㹤������͹ ����ա�û�Сͺ�ص��ˡ����к��ç�ҹ��Ҵ����Դ��� ���� �ç�ҹ��ӵ�� ����ç�ҹ�����������
          4. ��ä��
                     ��ä������ �ѧ���繡�ë��͢���š����¹㹷�ͧ��� ��ä�Ң�·ҧ�������Ӥѭ����ա���觢ѹ��ä�������ҧ��ͤ�Ҩչ �Ѻ��ͤ�Ҫ�ǵ��ѹ��
                     ��ä�ҡѺ��ҧ�����
                               �Թ��Ң��͡����Ӥѭ ���� ���� ��ӵ�� ���ѵ�� ˹ѧ�ѵ�� ��Ե�ѳ��ҡ�������ͧ��
                               �Թ��Ң���ҷ���Ӥѭ ���� ������ ����ͧ���ª�� �� �ͧ����� ���ظ�׹
          5. ����������ҡ� �ѧ������͹�Ѻ������ظ�� ��駡��������㹻���� ��С�ä�ҡѺ��ҧ����� �������Ѫ��ŷ�� 3 �ա�èѴ�����š�����������¡���
��к���������ҡÔ
          6. �к��Թ��� ���Թ��������͡�ҧ㹡���š����¹ ���������������� ��� �Թ����ǧ ��������¢�Ҵ
          7. ��÷�ʹ���ѭ�ҡѺ��ҧ�����
                    ʹ���ѭ�������� �.�.2369 ��ʹ���ѭ�ҩ�Ѻ�á���ӡѺ��ҧ�����
                    ʹ���ѭ�������ԧ �.�. 2398 ���������Ӥѭ�ѧ���
                              - ¡��ԡ��ü١�Ҵ��ä�Ңͧ�����Ф�ѧ�Թ���
                              - ��ͤ������ö��Ң���Թ����͡�͡������� ¡��� ���� ���� ��л��
                              - �������͡㹡ó��Դ��âҴ�Ź㹻����
                              - ��˹��ѵ�����բ���������� 3 ��ǹ���բ��͡��ͧ�纵���ԡѴ���յ������˹���ѭ��
                              - ¡��ԡ��������͡���Ӣ����͡�͡����� ���Դ�繡�ä��Ẻ���� ¡��� ���ظ�׹��ͧ�������Ѱ�����ҹ��
                              - ���������դ�� ����Թ�������͡��������
                               ��ͺ����ͧ�ͧ�ѭ�������ԧ
                                          1. ���������º�ҧ��ҹ������
                                          2. �ѭ������ͧ��˹����Ңͧ�ѭ��
                                          3. ��͡�˹��ѭ�������ԧ��ͧ�ӡѺ����ȵ�ҧ� ����

เศรษฐกิจสมัยต้นรัตนโกสินทร์
         

ลักษณะเศรษฐกิจแบบยังชีพ         

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ก่อนเกิดสัญญาเบาว์ริง) สภาพเศรษฐกิจของไทยมีลักษณะเป็น "เศรษฐกิจแบบยังชีพ" เป็นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น ในส่วนรายได้ของหลวงได้มาจากภาษีประเภทต่าง ๆ เป็นหลัก ได้แก่
          จังกอบ คือ ภาษีที่เก็บจากสินค้าขาเข้า - ขาออก
          อากร คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบอาชีพของราษฎรที่ไม่ใช่การค้า เช่น ทำนา ต้องเสียอากรนา
          ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎร เมื่อขอให้ทางการจัดทำสิ่งใดได้ เช่น การออกโฉนดที่ดิน
          ส่วย มีหลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งของ หรือเงินทดแทนค่าแรงงานที่ราษฎรจ่ายให้เพื่อไม่ต้องเข้ามาทำงานให้ทางการ

นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีรายได้มาจาก          

๑.  กำไรจากการผูกขาดการค้าโดย "พระคลังสินค้า" เป็นหน่วยราชการที่ทำหน้าที่ค้าขายกับต่างประเทศ (สังกัดกรมคลังหรือกรมท่า)
          ๒.  การค้าเรือสำเภาหลวง โดยพระคลังทำหน้าที่แต่งเรือสำเภาหลวงนำสินค้าไปขายยังต่างแดน เช่น จีน ชวา มลายู

การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากรและรายได้เพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๓          

๑.  การประมูลผูกขาดการเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร"
          ๒.  เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นเงินที่ชาวจีนต้องเสียให้รัฐแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน
          ๓.  เงินค่าราชการ เป็นเงินที่ไพร่หรือราษฎรชายชาวไทยต้องให้รัฐแทนการเข้าเวรรับราชการ

เศรษฐกิจไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก
          สมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ทำให้การค้ากับต่างประเทศมีความคล่องตัว และมีเสรีทางการค้ามากขึ้น
          สมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีจัดเก็บภาษีและการบริหารด้านภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พระองค์ทรงปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการคลังให้มีระบบที่ชัดเจนดังนี้

  1.  ยกเลิกระบบการเก็บภาษีอากรเดิม โดยการวางพิกัดอัตราเก็บภาษีเดียวกันทุกมณฑล และแต่งตั้งข้าหลวงคลังไปประจำทุกมณฑล เพื่อดูแลการเก็บภาษีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
  2. ทำงบประมาณแผ่นดิน เพื่อควบคุมรายรับรายข่ายของแผ่นดิน
  3. ทำสนธิสัญญาเพราะราชไมตรีว่าด้วยการค้าขาย และพิกัดอัตราภาษีกับประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
  4. ประกาศเปลี่ยนการใช้มาตรฐานเงินมาเป็นมาตรฐานทองคำ
  5. พิมพ์ธนบัตรใช้เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕
  6. การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพ.ศ. ๒๔๑๖
  7. จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ คือ แบงก์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์
         

สมัยรัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๘) มีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า

  1. การจัดตั้งธนาคารออมสิน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
  2. การจัดตั้งกรมอากาศยาน สนามบินดอนเมือง
  3. การขยายเส้นทางรถไฟ มีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น ทั้งสายเหนือ สายใต้ สายตะวันออก และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  4. การส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งสถานีทดลองพันธุ์ข้าว จัดตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก
  5. การจัดการด้านการชลประทาน เช่น สร้างเขื่อนพระรามหก จังหวัดอยุธยา เป็นเขื่อนแรกแห่งประเทศไทย
         

ความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๖

  1. เกิดอุทกภัยในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย
  2. เกิดภาวะฝนแล้งอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. ๒๔๖๗
  3. รัฐบาลยกเลิกหวย ก.ข. และการพนันบ่อนเบี้ย ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้จากเงินค่าอากรปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก

          ความตกต่ำทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๗
          รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗) รัฐบาลต้องประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหนักยิ่งขึ้นกว่าเดิม ฐานะการคลังของประเทศขาดความมั่นคง มีรายจ่ายสูงมากกว่ารายรับ เกิดจากสาเหตุดังนี้คือ

  1. ความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจที่สะสมมาตั้งแต่ในรัชกาลก่อน
  2. ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑) ไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

          การแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๗

  1. ตัดทอนรายจ่ายของประเทศ ลดค่าใช้จ่ายในพระราชสำนักและค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ตัดทอนรายจ่ายของกระทรวง ทบวง กรม ลดเงินเดือนข้าราชการ และปรับดุลข้าราชการออกไปจำนวนหนึ่ง
  2. การเพิ่มอัตราภาษีศุลากากร และเก็บเงินค่าธรรมเนียมคนเข้าเมือง

เศรษฐกิจไทยยุคทุนนิยมโดยรัฐ
          สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๗ มีนโยบายพัฒนาประเทศดังนี้

  • นโยบายส่งเสริมลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ภายใต้คำขวัญ "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"
  • ด้านพาณิชยกรรม รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้คนไทยประกอบอาชีพค้าขาย
  • ด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลจะลงทุนดำเนินการผลิตในอุตสาหกรรมที่เอกชนไม่มีทุน หรือขาดความชำนาญ

สภาพเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          ภายหลังที่จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ได้ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้วได้นำเอาความคิดเกี่ยวกับการวางแผนเศรษฐกิจมาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๙ มีระยะเวลา ๖ ปี จนมาถึงปัจจุบันประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐

ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน

  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔ ขาดดุลการค้ามากขึ้น
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๘ การขึ้นราคาน้ำมันเป็นผลให้สินค้ามีราคาแพง
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ เกิดปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๗ ดุลการชำระเงินขาดดุลและขาดแคลนเงินตราต่างประเทศทำให้รัฐบาลต้องประกาศ "ลดค่าเงินบาท"
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รัฐบาลพลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ ประกาศนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า"
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓ เกิดปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศตกต่ำและปัญหาการขาดความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาท
  • ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นมารัฐบาลต้องดำเนินนโยบายอย่างประหยัด เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินและการคลัง และมีมาตราการใหม่ ๆ ออกมาใช้

ที่มา : กฤษณา  วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๔๗ -๔๙

ข้อใดคือรูปแบบเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้องผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้กับ การ ...

เศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นอย่างไร

สภาพทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.ผลิตผลทางการเกษตร ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว อ้อย และพริกไทย พื้นที่ที่ใช้ปลูกข้าวกว้างใหญ่ที่มีน้ำท่วมถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีดินอุดมสมบูรณ์มาก สามารถปลูกข้าวได้ผลิตผลสูง รวมไปถึงพืช ผัก ผลไม้อื่นๆ ด้วย

สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญด้านเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคืออะไร

เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นใหม่ๆนั้นการค้ากับต่างประเทศมียังไม่มากเพราะมีปัญหาภายในและต้องทำสงครามกับพม่า ภายหลังไทยสามารถเอาชนะพม่าได้อย่างเด็ดขาดในสงครามท่าดินแดง(พ.ศ.2329)ทำให้มีหลายประเทศเข้ามาทำการค้าด้วย เศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เจริญรุ่งเรือง คือ การ ...

รายได้ของรัฐในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอะไรบ้าง

รายได้ในสมัยรัตนโกสินทร์.
ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ ... .
ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ ... .
อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ ... .
ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า.